ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
 
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
 

อาณาจักรพะยูนฝูงสุดท้าย
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีพื้นที่ครอบคลุมอยุ่ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ทางทะเลอันดามัน ประกอบด้วยป่าชายเลน หญ้าทะเล เกาะแก่ง มีหาดทรายขาวนวลเรียงยาวไปตามผืนแผ่นดินกว่า 20 กิโลเมตร และสนทะเลตามธรรมชาติอันสวยงาม อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 144,292.35 ไร่ หรือ 230.87 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2522 นายประมูล รักษาแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้กันตัง กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีบันทึกลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 เสนอกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ว่า ได้ทำการออกสำรวจป่าเพื่อทำการวิจัยนิเวศวิทยาในท้องที่ตำบลกันตัง จังหวัดตรัง พบว่า บริเวณหาดแหลมหยงลำเป็นหาดทรายขาวสวยงาม มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร มีสนทะเลขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเหมาะที่จะจัดให้เป็นวนอุทยาน เป็นที่พักผ่อนของประชาชน กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ 2502/2522 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2522 ให้ นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจซึ่งปรากฏว่า สภาพพื้นที่เหมาะแก่การจัดตั้งเป็นวนอุทยานได้ กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 378/2523 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2523 ให้ นายประมูล รักษาแก้ว ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานแหลม หยงลำ อีกหน้าที่หนึ่ง

ต่อมาวนอุทยานแหลมหยงลำได้มีหนังสือที่ กส.0708(ลล)/1 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2523 และบันทึกที่ กส.0708(ลล)/พิเศษ ลงวันที่ 11 กันยายน 2523 ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นวนอุทยานแหลมหยงลำเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่ง ชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้ง ที่ 3/2523 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 เพื่อพิจารณากำหนดที่ดินบริเวณแหลมหยงลำเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรปรับปรุงแนวเขตใหม่ให้เหมาะสมโดยจัด ตามแนวเขตธรรมชาติให้มากที่สุด กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการสำรวจแนวเขตพื้นที่ดังกล่าว และได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 4/2523 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2523 ได้มีมติเห็นสมควรให้กำหนดพื้นที่แหลมหยงลำ หาดยาว หาดสั้น หาดเจ้าไหม และหาดปากเมง เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าคลองไหโละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา ตำบลบ่อน้ำร้อน ตำบลบางสัก ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง พื้นที่ 144,300 ไร่ หรือ 230.88 ตารางกิโลเมตร เป็น อุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36 ของประเทศไทย

ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติป่าคลองไห โละ ป่าคลองปอ และป่าคลองกันตัง ในท้องที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่152 ลงวันที่ 13 กันยายน 2532 จำนวน 0.012 ตารางกิโลเมตร เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนบ้านหาดยาว ของสำนักงานประถมศึกษาอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมในปัจจุบันคงเหลือเพียง 230.868 ตารางกิโลเมตร
 
   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 17 ลิบดา - 7 องศา 32 ลิบดา เหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 13 ลิบดา - 99 องศา 29 ลิบดา มีอาณาเขตทิศเหนือจดเขาจองจันทร์ อำเภอกันตัง คลองเมงและคลองลำยาวตำบลไม้ฝาด อำเภอ สิเกา จังหวัดตรัง ทิศใต้จดทะเลอันดามัน เกาะลิบง และปากน้ำกันตัง ทิศตะวันออกจดควนดินแดง ควนเม็ดจุน ควนลุ และควนแดง ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน เกาะไหง เกาะม้าของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่
พื้นที่ดินชายฝั่งทะเล รวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน เกาะเชือก เกาะเมง เกาะปลิง และเกาะเจ้าไหม บริเวณชายฝั่งนี้ประกอบด้วยเขาหินปูนสูงชัน ทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์ เทือกเขาควนเม็ดจูน เทือกเขาควนแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางสัก ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง

พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137.22 ตารางกิโลเมตร เป็นห้วงน้ำลึก มีความลึกเฉลี่ย 20 เมตร

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น สลับชุ่มชื้น ได้รับอิทธิพลจากลมมรุสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง สองด้าน จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดปี ทำให้เกิดฤดู 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน เด่นชัดกว่าฤดูหนาว โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน ส่วนฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม อากาศร้อนชื้นถึงชุ่มชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนมากว่า 2,100 มิลลิเมตรต่อปี

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สังคมพืชที่พบในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งตอนในบริเวณเขาน้ำราบ บ่อน้ำร้อน ทิศตะวันออกของหาดทรายเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งบนเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางวาด ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ตำเสา หลุมพอ คอแลน ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหวายและเถาวัลย์

ป่าเขาหินปูน พบด้านทิศตะวันตกของเกาะมุกต์ เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะปลิง เขาแบนะ เขาหยงหลิง เขาเมง และเขาเจ้าไหม ประกอบด้วยพืชพรรณเฉพาะพื้นที่ เช่น จันทน์ผา เป้ง สลัดได ยอป่า เตยเขา ปรงเขา กล้วยไม้ชนิดต่างๆ และบอน เป็นต้น

ป่าชายหาด ขึ้นอยู่เป็นบริเวณแคบๆ ตามชายหาดและโขดหินที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น หู กวาง สนทะเล กระทิง เม่า พื้นที่ราบต่อจากชายหาดเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้แคระแกร็น พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ เคี่ยม นนทรี เสม็ดแดง ยอป่า หนามแท่ง ช้องแมว พืชชั้นล่างเป็นพวกหญ้าชนิดต่างๆ

ป่าชายเลน พบในพื้นที่ถัดจากชายหาดเข้ามาในบริเวณหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติตลอดแนว จากหาดปากเมงถึงหาดเจ้าไหม และมีการกระจายอยู่ตามอ่าวของเกาะมุกต์ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปรง ตะบูน ตะบัน ถั่ว ตาตุ่มทะเล เป้งทะเล เหงือกปลาหมอ จาก และหวายลิง เป็นต้น สังคมพืชน้ำ ได้แก่ หญ้าทะเล และสาหร่ายทะเล ซึ่งอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 3,975 ไร่ ระหว่างแหลมหยงหลิงและเกาะมุกต์ จากการสำรวจพบหญ้าทะเลขึ้นอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ หญ้าเต่า หญ้าชะเงาใบยาว หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าชะเงาใบสั้นสีเขียว หญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาว หญ้าใบสน หญ้าผมนาง และหญ้าใบมะกรูด

สัตว์ที่พบอยู่ในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจำแนกออกได้เป็น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบรวม 51 ชนิด ได้แก่ พะยูน เลียงผา ค่างดำ ค้างแว่นถิ่นใต้ เก้ง กระจงเล็ก เสือไฟ แมวดาว นากเล็กเล็บสั้น ชะมดแผงหางดำ กระเล็นขนหางปลายหูสั้น หนูฟานสีเหลือง และค้างคาวชนิดต่างๆ ฯลฯ

นก พบรวม 137 ชนิด ได้แก่ นกกระสาคอดำ นกตะกรุม นกยางจีน นกทะเลขาเขียวลายจุด นกนางนวลแกลบพันธุ์จีน นกกก นกแต้วแล้ว และ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ ฯลฯ

สัตว์เลื้อยคลาน พบ 29 ชนิด ได้แก่ เต่าบึงหัวเหลือง จิ้งจกหางเรียบ ตุ๊กแกหางเรียบ กิ้งก่าสวน แย้จุด เหี้ย จิ้งจกเรียวท้องเหลือง งูเหลือม งูไซ และงูพังกา เป็นต้น br>
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบ 9 ชนิด ได้แก่ จงโคร่ง คางคกบ้าน กบอ่อง ปาดบ้าน อึ่งอ่างบ้าน เป็นต้น

สัตว์น้ำ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมเป็นแหล่งระบบนิเวศที่สำคัญทั้งระบบนิเวศป่าชายเลน หญ้าทะเล และแนวปะการัง จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร หลบภัย และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น ปูแสม ปูม้า หอยนางรม หอยตะเภา หอยชักตีน ปลาเก๋า ปลาผีเสื้อ และโลมา เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
บ้านฉางหลาง หมู่ที่ 5 ต.ไม้ฝาด อ. สิเกา จ. ตรัง  92150
โทรศัพท์ : 0 7521 3260   โทรสาร : 0 7521 3260
ผู้บริหาร : ธนกร จรูญรัชฎ์   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

จาก จังหวัดตรังไปตามทางหลวงจังหวัดตรังหมายเลข 4046 (ตรัง – สิเกา) ถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4162 สู่หาดปากเมงเป็นระยะทาง ประมาณ 40 กิโลเมตร จากหาดปากเมงเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบชายหาดอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม (บริเวณหาดฉางหลาง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 47 กิโลเมตร

 
เรือ

การ เดินทางไปตามเกาะต่างๆ ให้ติดต่อเช่าเหมาเรือที่ท่าเรือปากเมง ท่าเรือหาดยาว และท่าเรือควนตุ้งกู ท่าเรือปากเมงเป็นท่าเรือหลักที่จะไปยังเกาะต่างๆ คือ เกาะกระดาน เกาะมุกต์ เกาะแหวน และเกาะเชือก โดยมีที่พักในหมู่เกาะเหล่านี้ 3 แห่ง คือ เกาะกระดาน เกาะมุกต์ และเกาะไหง ระยะทางจากหาดปากเมงถึงตรัง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที มีเรือให้เช่าโดยลักษณะการเช่าเป็นวัน ท่าเรือหาดยาว เป็นท่าเรือที่ตั้งอยู่ถนนสายตรัง-กันตัง ข้ามฟากไปท่าส้ม แล้ววิ่งตามทางไปยังหาดเจ้าไหม ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วลงไปยังท่าเรือไปเกาะต่างๆ ได้

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. เจ้าไหม 101 (สุรินทร์) 3 2 6 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 2. เจ้าไหม 102 (เจ้าไหม) 3 2 6 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 3. เจ้าไหม 103 (สิมิลัน) 3 2 6 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 4. เจ้าไหม 104 (พังงา) 3 2 6 1,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม
โซนที่ 1 5. เจ้าไหม 105 (เภตรา) 3 2 6 1,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม
โซนที่ 1 6. เจ้าไหม 108/1 (พีพี 1) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 7. เจ้าไหม 108/2 (พีพี 2) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 8. เจ้าไหม 108/3 (พีพี 3) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 9. เจ้าไหม 108/4 (พีพี 4) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 10. เจ้าไหม 109/1 (แหลมสน 1) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 11. เจ้าไหม 109/2 (แหลมสน 2) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 12. เจ้าไหม 109/3 (แหลมสน 3) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
โซนที่ 1 13. เจ้าไหม 109/4 (แหลมสน 4) 1 1 2 800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, ตู้เย็น, โต๊ะเครื่องแป้ง
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 เจ้าไหม 101-103 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติบนฝั่ง บริเวณหาดฉางหลาง
โซนที่ 1 เจ้าไหม 104-107 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติบนฝั่ง บริเวณหาดฉางหลาง
โซนที่ 1 เจ้าไหม 108/1-4 บ้านพักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติบนฝั่ง บริเวณหาดฉางหลาง
โซนที่ 1 เจ้าไหม 109/1-4 บ้านพักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติบนฝั่ง บริเวณหาดฉางหลาง
โซนที่ 1 เจ้าไหม 110 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติบนฝั่ง บริเวณหาดฉางหลาง

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

อุทยาน แห่งชาติหาดเจ้าไหม มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่อยู่บนฝั่งและอยู่ในทะเล ประเภทถ้ำ บ่อน้ำร้อน ชายหาด และแหล่งดำน้ำดูปะการัง เป็นต้น แต่เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ช่วงระหว่าเดือนกรกฎาคม - กันยายน มีฝนตกชุก คลื่นลมแรง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จึงมีกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปี บริเวณถ้ำมรกต เกาะกระดาน เกาะเชือก และเกาะแหวน ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน ของทุกปี สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่บนฝั่ง สามารถท่องเที่ยวได้ตามปกติตลอดทั้งปี

สำหรับในปี 2551 ช่วงเดือนมิถุนาายน อุทยานแห่งชาติปิดการท่องเที่ยวบริเวณถ้ำมรกต เกาะกระดาน เกาะเชือก และเกาะแหวน เป็นการชั่วคราว เนื่องจากฝนตกชุกและคลื่นลมแรง การสัญจรลำบากและอาจเกิดอันตรายได้

 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เกาะกระดาน  ไป ทางด้านตะวันตกของเกาะมุกต์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 12 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะถึงเกาะอีกแห่งหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนภูเขาห้าลูกเป็นพืดเรียงตัวติดต่อ กัน นั่นคือ เกาะกระดาน ร้อยละ 70 ของพื้นที่เกาะเป็นภูเขาจุดสูงสุด 100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีแนวปะการังแข็งตลอดชายฝั่งของเกาะกระดาน มีประการังอ่อนและกัลปังหา ทางด้านทิศใต้ของเกาะ ปะการังที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังเขากวางก้านยาว ปะการังเห็ด ปะการังสมอง ปะการังอ่อน บริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติใช้เป็นสถานที่กางเต็นท์พักแรม

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   ดำน้ำตื้น   พายเรือแคนู/คยัค   แค้มป์ปิ้ง  

เกาะเชือก  เป็น เกาะเล็กๆ ที่อยู่ในวงล้อมของเกาะมุกต์และเกาะกระดานอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่ง ชาติ 16 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ 2 เกาะ ที่อยู่ติดกัน เกาะที่อยู่ด้านตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 0.08 ตารางกิโลเมตร เกาะที่อยู่ด้านตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 0.1 ตารางกิโลเมตร จุดสูงสุด สูง 60 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นเกาะที่มีสัมปทานรังนก สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีปะการังแข็ง ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล กัลปังหา สลับกันอยู่ตลอดแนวชายฝั่ง ซึ่งจะมีแนวปะการังค่อนข้างสมบูรณ์มาก

กิจกรรม : ดำน้ำตื้น  

เกาะมุกต์  เป็น เกาะใหญ่อีกเกาะหนึ่งในน่านน้ำตรัง หากมองจากภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นหัวแหลมของเกาะมุกต์ยื่นแหลมออกมากลางทะเล บริเวณหัวแหลมคือเขตชุมชนบ้านเกาะมุกต์ ที่ขนาบด้วยหาดหัวแหลม และอ่าวพังกา ชายทะเลทั้ง 2 ด้านมีหาดขาวละเอียด น้ำใส เหมาะที่จะเล่นน้ำได้ดี บริเวณหน้าผาด้านตะวันตกเป็นที่ซ่อนถ้ำลึกลับแสนสวย เรียกว่า ถ้ำน้ำ หรือ ถ้ำมรกต ที่มีทางเข้าเป็นโพรงเล็กๆ พอเรือลอดได้ในช่วงน้ำลง ความคดเคี้ยวและความมืดในโพรงถ้ำแคบๆ ที่มีช่วงยาว 80 เมตร คือ นาทีแห่งความระทึกใจ แต่ความตื่นตาตื่นใจจะเข้ามาแทนที่ทันทีที่ถึงปากถ้ำ ที่มีน้ำทะเลใสสีมรกต หาดทรายขาวสะอาด และพันธุ์ไม้บางชนิด นอกจากนี้ทางด้านทิศเหนือ ตะวันตก และตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ ยังมีจุดดำน้ำลึกซึ่งมีปะการังอ่อนและกัลปังหาน่าชมมาก

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   กิจกรรมชายหาด   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ดำน้ำตื้น  

ถ้ำเจ้าไหม  ถ้ำ เจ้าไหม อยู่ลึกเข้าไปตามคลองเจ้าไหม ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 18 กิโลเมตร ซึ่งสามารถแล่นเรือเข้าปากถ้ำได้ ถ้ำเจ้าไหมมีหลายชั้นซับซ้อน ชั้นล่างเป็นถ้ำกว้างที่มีหินงอกหินย้อยเหมือนเสาต้นใหญ่ๆ ไต่หน้าผาไปทางขวาอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงถ้ำชั้นบน ตามผนังถ้ำมีลักษณะเหมือนเปลือกหอยเรียงซ้อนเป็นชั้นๆ และยังมีแอ่งน้ำใสเย็นก่อน เข้าสู่ชั้นในถ้ำ

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

หาดเจ้าไหม  ห่าง จากตัวจังหวัดตรัง 59 กิโลเมตร หากเลียบชายทะเลมาทางปากเมง และ 47 กิโลเมตร หากผ่านทางกันตัง เกาะเจ้าไหม ถูกโอบล้อมด้วยทะเลด้านหนึ่ง และลำคลองอีกด้านหนึ่ง มีเขารูปกระโดงฉลามที่โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ นับจากเขากระโดงฉลามมา 5 กิโลเมตร ไปจรดแหลมหยงหลิงเป็น หาดยาว ชึ่งเป็นชายหาดกว้างขวางเหมาะที่จะมาเข้าค่ายพักแรม แต่ควรระมัดระวังในเรื่องการเล่นน้ำ เนื่องจากน้ำลึกและคลื่นจัด ถัดเข้าไปอีกเป็นชายหาดที่ทอดยาวไปทางตะวันตกที่เรียกว่า หาดเจ้าไหม ชายหาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร เหมาะในการเล่นน้ำเพราะน้ำตื้นและบริเวณกว้าง เบื้องหน้าจะมองเห็นเกาะลิบงอยู่ไม่ไกลนัก หาดทรายขาวและสงบเงียบ ส่วนเบื้องหลังเป็นดงสนร่มรื่น สุดชายหาดคือโขดเขาอีกด้านหนึ่งของเขากระโดงฉลาม ในยามน้ำลงอาจเดินลัดเลาะโขดหินไปสู่เวิ้งอ่าวเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งที่เรียก อ่าวปอ แนวชายฝั่งของหาดเจ้าไหมมีหญ้าทะเลขึ้นอยู่จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งหากินของฝูงพะยูนหลายสิบตัว


หาดฉางหลาง  เป็น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตรและห่างจากหาดเจ้าไหม 16 กิโลเมตร เป็นชายหาดกว้างและร่มรื่นด้วยแมกไม้ ทิศใต้ของหาดฉางหลางจรดเขาริมน้ำ คือ เขาแบนะ ซึ่งมีร่องรอยภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ค่อนข้างลบเลือนด้วยกาลเวลา สามารถเดินรอบเกาะได้ มีสัตว์ป่าจำพวกค่างแว่นถิ่นใต้ นก มีหญ้าทะเล บนเขาแบนะเป็นจุดดูพะยูน พื้นที่ชายหาดตรงเชิงเขากว้างขวางและร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีบ่อน้ำจืดพร้อม เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม สุดทางเหนือของหาดคือ คลองฉางหลาง ซึ่งบริเวณปากคลองเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มีทัศนียภาพหลากหลาย

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   แค้มป์ปิ้ง  

หาดปากเมง  เป็น ชายหาดรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว หาดทรายชายทะเลแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกของเมืองตรัง อยู่ห่างจากตัวเมือง 40 กิโลเมตร ภาพแรกที่ดึงดูดสายตาผู้มาเยือนได้แก่ โขดเขาใหญ่กลางน้ำรูปร่างคล้ายคนนอนหงายทอดตัวยาวไปทางด้านเหนือ นั่นคือ เขาเมง หรือ เกาะเมง สัญลักษณ์ประจำหาดนี้ เป็นหาดทรายที่สงบเงียบและสวยงาม มีสนทะเลขึ้นตลอดแนวประมาณ 5 กิโลเมตร เมื่อน้ำต่ำสุดเห็นหาดทรายกว้าง 500 เมตร สามารถหาดูหอยตะเภาได้ที่หาดนี้

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   ชมทิวทัศน์  

หาดหยงหลิง-หาดสั้น  ด้าน ทิศใต้ที่ต่อกับหาดยาว เป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสนที่เรียก หาดหยงลิง สุดชายหาดเป็นเขาสูงที่เต็มไปด้วยเวิ้งและโพรงถ้ำ ซึ่งสามารถเดินลัดเลาะออกไปสู่หน้าผาริมทะเลได้ จากหาดหยงหลิงมีถนนผ่านไปทางด้านเหนืออีก 1 กิโลเมตร จะมีชายหาดอีกแห่งหนึ่งคนละฟากเขาที่เรียก หาดสั้น และไกลสุดตาลิบๆ อยู่ทางด้านเหนือคือ แหลมหยงลำ

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   ชมทิวทัศน์  

ด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

บ่อน้ำร้อนควนแคง  ตั้ง อยู่บริเวณตำบลบ่อน้ำร้อน ห่างจากที่ว่าการอำเภอกันตัง 6 กิโลเมตร น้ำในบ่ออุ่นจัดอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ฟองพรายที่ผุดพลุ่งขึ้นมาเป็นครั้งคราวมีกลิ่นจางๆ ของกำมะถันแทรกขึ้นมาด้วย บริเวณโดยรอบบ่อน้ำร้อนมีการปรับสภาพภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบ่อน้ำร้อนที่เกิดในพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งแปลกแตกต่างจากบ่อน้ำร้อนที่อื่นๆ มีอาคารบริการ ห้องน้ำ-ห้องสุขา พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ด้วย

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน้าเขาแบนะ 2 แห่ง ขนาดประมาณ 1,000 ตารางเมตร และ 1,100 ตารางเมตร และบริเวณหน้าร้านสวัสดิการ 1 แห่ง ขนาดประมาณ 2,500 ตารางเมตร การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติ่ม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หาดฉางหลาง
 

  • บริเวณหน้าเขาแบนะ 2 แห่ง ขนาดประมาณ 800 ตารางเมตร และขนาด 650 ตารางเมตร
     
  • บริเวณหน้าร้านสวัสดิการ 1 แห่ง ขนาดประมาณ 2,000 ตารางเมตร 


  • บริการอาหาร    มีร้านอาหารและร้านขายของไว้บริการนักท่องเที่ยว


    ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีการจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อให้ข้อมูลและความรู้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 2 แห่ง
     

  • บริเวณหาดหยงหลิง 1 แห่ง
  • บริเวณหาดปากเมง 1 แห่ง 


  •  
     
    อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
    บ้านฉางหลาง หมู่ที่ 5 ต.ไม้ฝาด  อ. สิเกา  จ. ตรัง   92150
    โทรศัพท์ 0 7521 3260   โทรสาร 0 7521 3260   อีเมล reserve@dnp.go.th

      
     

     
     
    dooasia.com
    สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

    เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
    dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์