อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏหรือเขาพระบาท ท้องที่อำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขา ทิวทัศน์ที่งดงาม มียอดเขาสูงสุดอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกกระทิง และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในด้านความเชื่อถือทางศาสนาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ มีเนื้อที่ประมาณ 58.31 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,444.05 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2501 นายกนิยมไพรสมาคม ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เสนอให้รักษาป่าเขาคิชฌกูฏ ท้องที่จังหวัดจันทบุรี ไว้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์และจัดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงให้ป่าไม้เขตศรีราชาประสานงานกับป่าไม้จังหวัดจันทบุรีดำเนิน การ และได้มีคำสั่ง ที่ 852/2517 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2517 ให้นายสมพล วรรณกุล นักวิชาการป่าไม้เอก ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งผลการสำรวจ ตามรายงานการสำรวจลงวันที่ 16 มิถุนายน 2518 พบว่า สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพทางธรรมชาติสวยงาม ประกอบด้วย ถ้ำ น้ำตก และมีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะกับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนป่าเขาคิชฌกูฏ ซึ่งมีสถานภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 39 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2508 ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติก่อน โดยมีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 7 กันยายน 2519 ต่อมาดำเนินการจัดตั้งป่าเขาคิชฌกูฏเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาคิชฌกูฏ ในท้องที่ตำบลตะเคียนทอง ตำบลฉมัน ตำบลพลวง และตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ 36,687 ไร่ หรือ 58.70 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 14 ของประเทศไทย ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเนื้อที่บางส่วน จำนวน 242.95 ไร่ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 ก.ย.2541 จึงคงเหลือพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ 36,444.05 ไร่ หรือ 58.31 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจากการดันตัวของเปลือกโลก หินฐานเป็นหินอัคนีพวกหินแกรนิต ยุคจูแรสสิค มีอายุประมาณ 135-180 ล้านปี ทางด้านทิศตะวันออกจะมีความลาดชันมาก แนวสันเขาวางตัวไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้มีความลาดชันน้อย มียอดเขาพระบาทเป็นภูเขาสูงสุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,085 เมตร มีที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตกเพียงเล็กน้อย บนเขาพระบาทมีหินก้อนใหญ่ลักษณะกลมเกลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณรอยพระพุทธบาทมีหินก้อนใหญ่มาก สามารถมองเห็นได้จากพื้นราบนอกเขตอุทยานแห่งชาติ เทือกเขาสูงในอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่ สำคัญ เช่น คลองกระทิง คลองตะเคียน คลองทุ่งเพล คลองพลวง เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำจันทบุรี
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะ ภูมิอากาศบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวัน ออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมจะมีความชื้นในอากาศสูง เกิดเมฆและฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 2,900 มิลลิเมตร ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27 องศาเซลเซียส
พรรณไม้และสัตว์ป่า
ระบบ นิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยางแดง กระบาก หย่อง มะก่อ บุนนาค ลูกดิ่ง สารภี เนียนดำ มะไฟ จิกดง มะซาง ดีหมี เลือดควาย สำรอง กระบกกรัง ฯลฯ และป่าดิบเขา จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตรขึ้นไป หรือจะพบเฉพาะบริเวณยอดเขา เช่น เขาพระบาทพลวง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะก่อ กระบกกรัง สารภี บุนนาค ทำมัง พิมเสนป่า พลอง คอเหี้ย ชันใบใหญ่ รง พลับ อบเชย และดีหมี เป็นต้น ในส่วนของสัตว์ป่า เนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน และประกอบกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติไม่ลักลอบ ล่าสัตว์ เพราะมีอาชีพที่เป็นหลักแหล่งและทำรายได้ดีอยู่แล้ว คือ การทำสวนผลไม้ สัตว์ป่าจึงยังมีชุกชุม ได้แก่ ช้าง กระทิง เสือปลา หมีควาย กวางป่า เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะนีมงกุฎ เม่นใหญ่ อีเห็นข้างลาย พังพอนเล็ก กระต่ายป่า กระแต กระรอกหลากสี ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง นกกระทาทุ่ง ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรณ์ ไก่ป่า นกกวัก นกเขาเปล้า นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกกก นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางปลา นกกางเขนดง นกกินปลีอกเหลือง เต่าเหลือง จิ้งจกหางหนาม ตุ๊แกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ ตะกวด จิ้งเหลนบ้าน งูหลาม งูเขียวหางไหมท้องเหลือง คางคกบ้าน กบบัว ปาดบ้าน อึ่งอ่าง ฯลฯ ตามลำห้วยลำธารต่างจะพบปลาตะเพียนทราย ปลาซิวหางแดง ปลาสร้อยนกเขา ปลาชอนทราย ปลาติดหิน ปลากดเหลือง ปลาแป้น ปลาหมอไทย ปลาบู่ ปลากระทิง และปลากระทุงเหว เป็นต้น
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางถนนสายบางนา-ตราด เมื่อถึงสี่แยกเขาไร่ยา ตรงหลักกิโลเมตร 324 แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าถนนบำราศนราดูร เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ให้เลี้ยวขวาไปอีก 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
ยอดเขาพระบาท อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 16.5 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์ 10 กิโลเมตร และเดินเท้าขึ้นเขาอีกประมาณ 6.5 กิโลเมตร บริเวณยอดเขามีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่สอดคล้องกับตำนานทางพระพุทธศาสนา ได้แก่รอยพระพุทธบาท ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง สภาพพื้นที่บนยอดเขาพระบาทมีหินรูปร่างแปลกๆ ที่มีตำนานเกี่ยวข้องกัน เช่น หินบาตรคว่ำ ศิลาเจดีย์ ถ้ำฤาษี ลานแข่งรถพระอินทร์ หินรูปเต่าและรูปช้าง ซึ่งในปี 2553 จะทำการบวชชีพราห์ม วันที่ 31 ธันวาคม 2552 5 มกราคม 2553 และวันที่ 14 มกราคม 2553 จะทำพิธีบวงสรวง และจะเปิดให้ขึ้นยอดเขาพระบาท ระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 16 มีนาคม 2553 (ช่วงเวลาที่จะเปิดให้ขึ้นยอดเขาพระบาทจะไม่ตรงกันทุกปี จะอยู่ในช่วงเวลาก่อนและหลังตรุษจีน รวม 3 เดือน) ประชาชนหลายหมื่นคนจะเดินทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาทบนยอดเขาแห่งนี้จนเป็น งานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี แห่งนี้จนเป็นงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี นอก จากนี้ยอดเขาพระบาทยังมีอากาศเย็นสบายและเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม มองเห็นไกลไปถึงชายฝั่งอ่าวไทย ซึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสซึ่งยึดครองเมืองจันทบุรี ได้ใช้ยอดเขานี้เป็นฐานเพื่อใช้ส่องกล้องดูข้าศึกทางทะเล และทำแผนที่ จึงทำให้ยอดเขานี้มีชื่อเรียกว่า ห้างฝรั่ง หรือเขาส่องกล้อง
น้ำตกกระทิง ต้น น้ำเกิดจากเทือกเขาคิชฌกูฎ มีความสูงถึง 13 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามแบบต่างๆ กัน และมีแอ่งน้ำใสสะอาดลงเล่นน้ำได้ แต่ละชั้นมีพืชจำพวก มอส เฟิน ขึ้นปกคลุมเต็มทั้งสองข้างลำธาร เขียวชะอุ่ม ชั้นน้ำตกที่สวยงามที่สุด คือ ชั้นที่ 8 และชั้นที่ 9 ซึ่งสายน้ำไหลตกลงมาจากผาสูงชัน ส่งละอองน้ำฟุ้งกระจาย น้ำตกชั้นที่ 10 มีน้ำไหลแรงมากและไม่มีแอ่งน้ำ แต่เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มองเห็นอ่างเก็บน้ำทุ่งเพลและผืนป่าดิบชื้นที่ปก คลุมพื้นที่อย่างหนาแน่น น้ำตกกระทิง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเพียง 500 เมตร สามารถพายเรือแคนูชมธรรมชาติรอบอ่างเก็บน้ำหาดกระทิงและน้ำตกกระทิง
น้ำตกคลองช้างเซ อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 12.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีหน้าผาสูงชัน มีชั้นน้ำตก 3 ชั้น แต่ละชั้นสูงประมาณ 10 เมตร และมีน้ำไหลตลอดปี บริเวณใกล้ธารน้ำตกมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมและเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางและดูแลความปลอดภัย น้ำตกตั้งอยู่ในหุบเขาบนเส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาพระบาท เดินเท้าจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คก.1 (เขาพระบาท) ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ช่วงต้นของเส้นทางจะมองเห็นทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนทุ่งเพล เส้นทางนี้เหมาะสำหรับผู้รักธรรมชาติและการดูนก
น้ำตกคลองไพบูลย์ เป็น ธารน้ำตกขนาดใหญ่เหมาะแก่การลงเล่นน้ำและพักผ่อน บรรยากาศสงบร่มรื่น อยู่บริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ คก.2 (คลองไพบูลย์) ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 8 กิโลเมตร
เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ มี อยู่หลายเส้นทางซึ่งมีจุดที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไป เช่น ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปน้ำตกกระทิง มีทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 800 เมตร และ 4 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกคลองช้างเซ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว บริเวณโซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.