ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยาน แห่งชาติเขาสามร้อยยอด มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ 280 - 230 ล้านปีมาแล้ว ที่มีความสูงชันริมฝั่งทะเลผสมกับที่ราบริมฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลนและห้วงน้ำ ทะเลตื้น รวมตลอดถึงเกาะหินปูนที่ตั้งเรียงรายใกล้ชายฝั่งทะเลซึ่งยาวจากเขากระโหล กทางทิศเหนือถึงเขาแร้งทางทิศใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร ได้แก่ เกาะโครำ เกาะนมสาว เกาะระวาง เกาะระวิง เกาะสัตกูด และเกาะขี้นก มีพื้นที่ราบที่มีน้ำขังตลอดปีอยู่ทางด้านตะวันตกของอุทยานแห่งชาติคือ ทุ่งสามร้อยยอด ซึ่งในอดีตเคยเป็นทะเลหรืออ่าว ต่อมาถูกปิดกั้นด้วยตะกอนและสันทราย ทะเลถอยร่นออกไป ได้รับอิทธิพลน้ำจืดจากแผ่นดิน มีการสะสมของตะกอนที่ราบลุ่ม ค่อยๆ กลายเป็นทุ่งน้ำกร่อยและทุ่งน้ำจืดตามลำดับ น้ำจืดในทุ่งสามร้อยยอดส่วนหนึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่าน ห้วยโพระดก ห้วยขมิ้น ห้วยหนองคาง ห้วยไร่ตาพึง แล้วระบายลงสู่ทะเลตามคลองเขาแดง อีกส่วนหนึ่งไหลจากเทือกเขาสามร้อยยอด ทุ่งสามร้อยยอดมีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 3 เมตร เนื่องจากสภาพทางธรณีของเขาสามร้อยยอดเป็นหินปูนที่มีความลาดชันสูง ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชันและหุบเหวลึก มีความสูงของยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติถึง 605 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาชโลงฟาง เขากระโจม เขาใหญ่ เขาถ้ำประทุน เขาแดง เขาเทียน เขาหุบจันทร์ และเขาขั้นบันได ฯลฯ บริเวณนี้มีสภาพธรณีเป็นหินปูน มีหลายแห่งที่หินปูนถูกอิทธิพลของธรรมชาติกัดเซาะหรือผุกร่อนกลายเป็นถ้ำ หรือปล่องหุบเหวขนาดใหญ่ ที่สำคัญได้แก่ ถ้ำแก้ว ถ้ำไทร ถ้ำพระยานคร เป็นต้น
พรรณไม้และสัตว์ป่า
เนื่อง จากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขาและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ ส่งผลให้สังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ สังคมพืชที่เกิดในพื้นที่ชุ่มน้ำ และสังคมพืชป่าบก ดังนี้ สังคมพืชที่เกิดขึ้นในที่ลุ่มน้ำขัง ประกอบด้วย สังคมพืชที่พบในพรุบึงน้ำจืดบริเวณทุ่งสามร้อยยอด ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกพวกกกชนิดต่างๆ แห้วทรงกระเทียม อ้อ แขม หญ้าปล้อง หญ้าไซ บัวหลวง บัวสายชนิดต่างๆ ผักตบไทย บอน ตาลปัตรฤาษี จอก แหน สาหร่ายข้าวเหนียว เป็นต้น ป่าชายเลน ซึ่งพบตามแนวชายคลองบางปู คลองเขาแดง และลำรางสาขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แสมทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตาตุ่มทะเล ตะบูนดำ โปรงแดง ถั่วขาว ฝาดดอกแดง สำมะง่า จาก เถาถอบแถบ เป็นต้น บริเวณที่โล่งซึ่งเป็นดอนตะกาดซึ่งได้รับอิทธิพลความเค็มของน้ำทะเลท่วมถึง แต่ไม่ท่วมต่อเนื่องกันทุกปี พบพืชล้มลุกพวก ชะคราม ผักเบี้ย หญ้าปราบน้ำเค็ม หญ้าขม เป็นต้น สังคมพืชป่าบก ประกอบด้วย ป่าชายหาด พบตามชายหาดบริเวณที่น้ำไม่ท่วมจนถึงบริเวณเชิงเขา พื้นดินเป็นทราย กรวด และโขดหิน พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ สนทะเล โพทะเล กระทิง เม่า หูกวาง เกด มะนาวผี เตยทะเล ผักบุ้งทะเลเป็นต้น ป่าเบญจพรรณ ส่วนใหญ่ขึ้นบนเขาหินปูน พรรณไม้ที่ขึ้นหลายชนิดมักเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นเฉพาะแห่ง เช่น จันทน์ผา จันทน์ชะมด โมกเขา ทะลายเขา และแก้วผา เป็นต้น ไม้ยืนต้นที่พบมักมีลำต้นแคระแกร็น เนื่องจากพื้นที่เป็นหินปูนมีเนื้อดินน้อย ส่วนบริเวณที่มีการสะสมสารอินทรีย์มากและเนื้อดินหนาในบริเวณหุบเขาและเชิง เขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะมีลำต้นสูงใหญ่ แต่มีอยู่เป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กุ่มน้ำ มะเกลือ พลับดง มะค่าโมง โมกมัน โมกขาว กระดูกไก่ และพลอง เป็นต้น คำว่า สามร้อยยอด นอกจากใช้เป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ ชื่อภูเขา ยังใช้เป็นชื่อของพืชด้วย คือ สามร้อยยอด หรือกูดขน แหยงแย้ รังไก่ เป็นพืชใกล้ชิดกับเฟินที่พบทั่วไปในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และภาคตะวันออก ลำต้นมี 2 ลักษณะ คือ มีทั้งลำต้นที่ทอดนอนเลื้อยไปกับพื้นดินและลำต้นตั้งตรงซึ่งอาจสูงถึงครึ่ง เมตร แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายสนฉัตร มีใบเล็กๆ ติดอยู่ อวัยวะขยายพันธุ์เกิดเป็นตุ่มห้อยที่ปลายต้น เรียกว่า Cones สามร้อยยอดมักขึ้นตามดินทราย ที่ราบชายเขาที่ได้รับแสงแดดจัดจ้า แต่ชุ่มชื้น ตั้งแต่พื้นที่ราบไปจนถึงระดับความสูงกว่า 1,000 เมตร บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีความหลากหลายของสัตว์ป่า โดยเฉพาะนกซึ่งมีมากถึง 316 ชนิด ประกอบด้วยนกที่อาศัยประจำถิ่นและที่ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นตามฤดูกาล และเป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทยที่นกกระสาแดง สร้างรังวางไข่ รวมทั้งมีเป็ดแดงอาศัยอยู่ตลอดปี เช่นเดียวกับนกอัญชันอกเทา นกอัญชันคิ้วขาว และนกอีโก้ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีน้อยมาก ที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินกลางคืนและสัตว์ที่ขุดรูอยู่ใต้ดินใน ทุ่ง ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจงเล็ก หมูป่า ลิงลม ลิงแสม ค่างแว่นถิ่นใต้ อีเห็น พังพอนธรรมดา เม่น ชะมด ค้างคาว หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว ค้างคาวมงกุฏมลายู และชนิดที่น่าสนใจที่พบในน่านน้ำชายฝั่งทะเลบริเวณนี้คือ โลมาหัวบาตร สำหรับสัตว์เลื้อยคลานและสะเทินน้ำสะเทินบกที่พบได้แก่ เต่าเหลือง เต่าหับ เต่าดำ กิ้งก่าบินปีกส้ม กิ้งก่าหัวแดง กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เหี้ย งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ งูสิงธรรมดา งูเขียว คางคกบ้าน เขียดหลังปุ่ม กบหนอง กบน้ำเค็ม อึ่งขาคำ อึ่งบ้าน เขียดบัว และเขียดจิก จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล พบปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชนิด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน ปลานิล ปลาซิว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหล ปลาทู ปลาลัง ปลากระบอก ปลากระเบน ปลาตีน กุ้งแชบ๊วย หมึกกล้วย ปูแป้น ปูม้า หอยโข่ง หอยขม หอยแมลงภู่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา ผีเสื้อเณรจิ๋ว แมลงปอ ยุงน้ำจืด ตั๊กแตนหนวดสั้น จิ้งหรีด มวนแดง และแมงดา เป็นต้น
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ซึ่งอยู่บริเวณเขาแดง ตามเส้นทางหลัก 2 ทาง คือ
มีรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาให้บริการที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ไปยังอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นจะมีรถโดยสารหรือรถยนต์รับจ้างให้บริการจาก ปราณบุรี-บางปู, บางปู-แหลมศาลา, ปราณบุรี-ที่ทำการฯ, บางปู-ที่ทำการฯ
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ถ้ำพระยานคร เป็น ถ้ำขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณหาดแหลมศาลา มี 3 คูหา โดยสองคูหามีปล่องด้านบน ส่วนด้านล่างในถ้ำเป็นป่า ต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด ถ้ำพระยานครถูกค้นพบโดยพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช แต่ไม่ทราบนาม และในสมัยรัชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงทราบว่าถ้ำนี้สวยงามมาก จึงมีพระราชประสงค์ใคร่จะเสด็จประพาส จึงให้นายช่างประจำราชสำนักก่อสร้างพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อยตั้ง ไว้บนเนินดินกลางถ้ำ พระองค์เสด็จประพาสเมื่อ 20 มิถุนายน 2433 และพระราชทานนามพลับพลานี้ว่า พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ถ้ำพระยานครนี้จะต้องเดินเท้าขึ้นไปจากหาดแหลมศาลาอีกประมาณ 430 เมตร
การดูนก พื้นที่ ทุ่งสามร้อยยอด หาดดอนต้นสน และหาดสามพระยา เป็นแหล่งดูนกน้ำ นกทุ่ง และนกชายเลน ทั้งที่เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพซึ่งจะมาในช่วงฤดูหนาว มาอาศัย หากิน สร้างรัง และวางไข่ เนื่องจากพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดมีความหลากหลายทางชีวภาพ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ ภูเขา ทะเล ถ้า ป่าชายเลน และทุ่งน้ำจืด ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดูนก คือ นกประจำถิ่น ดูได้ทั้งปี สำหรับนกอพยพ ดูระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
คลองเขาแดง อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมได้แก่ การล่องเรือ โดยเช่าเรือจากบ้านเขาแดง ลงเรือที่ท่าน้ำหน้าวัดเขาแดงล่องไปตามลำคลองประมาณ 3-4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไปกลับประมาณ 1 ชั่วโมง ในระหว่างล่องคลองชมวิวทิวทัศน์ป่าชายเลน จะเห็นนกนานาชนิด เวลาที่เหมาะสมที่จะล่องเรือชมธรรมชาติอีก เวลา 16.3017.00 น. เพราะสามารถชมและถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก
จุดชมวิวเขาแดง ใน บริเวณนี้จะมีจุดชมวิวบนยอดเขาแดงที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 157 เมตร จุดชมวิวนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปตามถนนลาดยาง 400 เมตร แล้วเดินขึ้นเขาไปอีก 300 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิว คือ ตอนเช้ามืดประมาณ 05.30 น. เพราะสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบทะเลบ้านเขาแดงและทัศนียภาพรอบๆ ได้ดี ตลอดจนชมนก ลิงแสม และค่างแว่นที่ออกหาอาหารในตอนเช้าตรู่
ถ้ำแก้ว อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปทางบ้านบางปู ประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณหุบเขาจันทร์ เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ลักษณะเด่นของหินงอกหินย้อยที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างใส และโปร่งแสง การเดินชมภายในถ้ำค่อนข้างลำบาก เนื่องจากภายในถ้ำมืดมาก และพื้นไม่เรียบเต็มไปด้วยหินใหญ่น้อยระเกะระกะ จำเป็นต้องใช้ตะเกียงเจ้าพายุ หรือไฟฉาย การเที่ยวชมควรมีมัคกุเทศก์ท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินำทาง ใช้เวลาเที่ยวชมภายในถ้ำ ประมาณ 2 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมไฟฉายไปด้วย
ถ้ำไทร อยู่ บริเวณคุ้งโตนด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 9 กิโลเมตร การขึ้นชมถ้ำมีระยะทางไม่ไกล สามารถนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่เชิงเขาแล้วเดินเท้าขึ้นเขาไปอีก 280 เมตร ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ภายในถ้ำค่อนข้างมืดต้องใช้ไฟฉายหรือตะเกียงซึ่งจะมีบริการในวันหยุดราชการ หากเป็นวันธรรมดาสามารถติดต่อขอเช่าตะเกียงได้ที่บ้านคุ้งโตนด ลักษณะภายในถ้ำพบหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ระยะเวลาที่เข้าชมภายในถ้ำประมาณ 1 ชั่วโมง
ทุ่งสามร้อยยอด เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนึ่ง มีพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำขังหรือท่วมถึงตลอดทั้งปี มีทั้งส่วนที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อย เป็นแหล่งที่มีองค์ประกอบทางชีวภาพและกายภาพ เป็นเอกลักษณ์ของระบบซึ่งมีความหลากหลายชนิดของพืช สัตว์ และธาตุอาหาร ทุ่งสามร้อยยอดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาล นับเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ บริเวณเชิงเขา มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งสามร้อยยอด สะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติ และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนัดท่องเที่ยว การเดินทางเข้าถึงสะดวกเป็นทางลาดยางจนถึงศูนย์ศึกษาธรรมชาติ (ทางเข้าเดียวกับสถานีรถไฟสามร้อยยอด)
หาดสามพระยา อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่สวยงามสงบเงียบท่ามกลางดงสน ความยาวของหาดทรายประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถกางเต็นท์พักแรมและมีอาหารบริการนักท่องเที่ยว
หาดแหลมศาลา เป็น หาดสน ที่มีทรายขาว ล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นรูปตัวยู ด้านหน้าเป็นชายทะเล มีเกาะสัตกูดบังคลื่นอยู่ด้านหน้า ทำให้เกิดบรรยากาศอันเงียบสงบเหมะสำหรับการพักผ่อน มีบ้านพัก เต็นท์ ห้องน้ำ-ห้องสุขา เส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ไว้บริการ มีร้านอาหารของภาคเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แล้ว การเดินทางไปหาดแหลมศาลา หากเริ่มต้นที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปหมู่บ้านชาวประมง "บ้านบางปู" ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร นำรถยนต์ไปจอดที่วัดบางปู (รถยนต์เข้าไม่ถึงหาด) จากนั้นต้องตัดสินใจว่าจะเดินทางโดยวิธีการใดใน 2 ทางเลือกนี้ ทางเรือ มีเรือหางยาวของชาวบ้านให้บริการรับ-ส่ง จากหาดบ้านปูไปหาดแหลมศาลา เป็นการเดินทางเลียบชายฝั่ง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีสัมภาระมาก ทางเท้า ให้สอบถามชาวบ้านหรือสังเกตป้ายบอกทางไปหาดแหลมศาลา เดินข้ามเขาไปตามทางเดินที่อุทยานแห่งชาติจัดทำไว้ ระยะทางประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรืออาจมากกว่าเล็กน้อย ระหว่างทางสามารถชมทิวทัศน์ท้องทะเล หมู่บ้านชาวประมง และพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามเทือกเขาหินปูน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน บริเวณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนไว้บริการนัก ท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน ตลอดทางเดินจะมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน เป็นระยะๆ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนที่ 1 บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (เขาแดง) ไม่ติดชายทะเล
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนที่ 2 บริเวณหาดแหลมศาลา ติดชายทะเล
ลานกางเต็นท์ ลานกางเต็นท์บริเวณหาดสามพระยา ซึ่งอยู่ติดชายทะเล บริเวณนี้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 300 คน
ลานกางเต็นท์ บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งสามร้อยยอด ไม่ติดชายทะเล บริเวณนี้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 100 คน
ลานกางเต็นท์ ลานกางเต็นท์บริเวณหาดแหลมศาลา อยู่ติดชายทะเล บริเวณนี้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 400 คน
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไม่ติดชายทะเล เป็นร้านสวัสดิการ
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหาดสามพระยา อยู่ติดชายทะเล เป็นร้านสวัสดิการ
บริการอาหาร บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งสามร้อยยอด ไม่ติดชายทะเล เป็นร้านสวัสดิการ
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณหาดแหลมศาลา อยู่ติดชายทะเล เป็นร้านของเอกชนที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติทุ่งสามร้อยยอด เป็นนิทรรศการที่เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำ
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (เขาแดง)