อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า |
|
|
อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้า
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร
จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง
มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม
เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น
มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร
ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ไปตรวจราชการในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร
เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน
และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม
2531
ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยาน
แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531
มีมติเห็นสมควรกำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ
0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2531
เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม
2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4
สำรวจจัดตั้งป่าบริเวณดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็น
อุทยานแห่งชาติ
ผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ
0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532
รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก
จังหวัดกำแพงเพชร
ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488
(พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175
ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า
อำเภอเมืองตาก
ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ.
2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116
ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2507
มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าต้นน้ำลำธาร
มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง
และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก
จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก
ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร
และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533
เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
พื้นที่ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างบริเวณเขตเทือกเขาภาคตะวันตกกับบริเวณขอบที่ราบภาค
กลาง สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน
แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้
เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย
ที่ราบอยู่ทางตอนกลางพื้นที่
ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่างกะทะขนาดเล็ก จำนวน 2 แอ่ง พื้นที่
2,000-5,000 ไร่ แนวเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเย็น เขาสน
เขาเต่าดำ เขาขนุน เขาขาแล้ง เขาอีโละโคะ เขาวังเจ้า
เขาปั๋งใหญ่ ดอยลวก และเขาวุ๊งกะสัง เป็นต้น
ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-1,898
เมตรโดยมียอดเขาเย็นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่สูงที่สุด
พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำปิง
ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองวังเจ้า ประกอบด้วย
คลองแม่ยะมา คลองวังเจ้า คลองขุนหมาก คลองแขยง
และลุ่มน้ำคลองสวนหมาก ประกอบด้วย คลองไพร คลองวุ๊งกะสัง
คลองพลู คลองอีหมี คลองส้มโอ คลองปั๋งใหญ่ คลองสวนหมาก
คลองเต่าดำ คลองผู้ใหญ่เลา คลองนายปู คลองขาแข้ง คลองจำปา
คลองตะเนาะ และคลองปางขบ เป็นต้น |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
อุทยาน
แห่งชาติคลองวังเจ้าได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
ทำให้มีความชื้นในอากาศสูง มีเมฆมาก ฝนตกหนัก
มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,318 มิลลิเมตรต่อปี
และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลาง
เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง
มีอุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม 14 องศาเซลเซียส
และช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างลมมรสุมทั้งสอง
อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 36 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26 องศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าปกคลุมด้วยพื้นที่ป่า 5 ชนิด
ประกอบด้วย
ป่าเบญจพรรณ
เป็นสังคมพืชที่ปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากที่สุดประมาณ
65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
พบกระจายตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 200-1,000 เมตร
ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สัก รกฟ้า แดง ประดู่ และมะกอกเกลื้อน
รักใหญ่ เสลา โมกมัน สะทิบ กางขี้มอด ปอตูบหูช้าง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีไผ่ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ไร่
เป็นต้น เป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของ กระทิง เก้ง กวางป่า
เสือปลา หมูป่า สัตว์ฟันแทะต่างๆ ไก่ป่า เป็นต้น
ป่าดิบเขา พบกระจายบนเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก
ตลอดแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล
1,000 เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อใบเลื่อม
ฝาละมี ค่าหด สารภีดอย พะวา โพบาย ก่อหม่น ทะโล้ ฯลฯ
พืชพื้นล่างค่อนข้างแน่นทึบ เช่น เฟิน ปอ กระวาน อ้อ แขม
หวาย เป็นต้น
มีสัตว์ขนาดใหญ่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ในบางฤดู เช่น
กระทิง และยังมีสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ เช่น
กระรอกบินเล็กแก้มขาว กระรอกบินจิ๋วท้องขาว นกพญาไฟใหญ่
นกพญาไฟเล็ก นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง
พบกระจายอยู่บริเวณแนวหุบเขาตอนกลางของพื้นที่
ในระดับความสูงประมาณ 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ชนิดไม้ที่พบได้แก่ ชุมแสงแดง เสลา ยมหิน กระโดงแดง เติม
สะบันงา กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า มะเดื่อ ตาว เต่าร้าง ค้อ ฯลฯ
เป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหาร และหลบภัยของ กระทิง กวางป่า
กระจงหนู เสือไฟ แมวดาว พญากระรอกท้องดำ นกกก
นกเงือกกรามช้าง และนกตั้งล้อ เป็นต้น
ป่าเต็งรัง พบกระจายเป็นหย่อมๆ
ตามบริเวณยอดเขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ
ทางด้านตะวันออกและตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ
ในระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตร ชนิดไม้ที่พบได้แก่
เต็ง รัง เหียง พลวง กระท่อมหมู ก่อนก ก่อแพะ ส้านใหญ่
มะม่วงหัวแมงวัน ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบเป็นจำพวกหญ้า เช่น
หญ้าเพ็ก โจด หญ้าคา หญ้าหนวดฤาษีเล็ก เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง ตะกวด เต่าเหลือง เป็นต้น
ป่าสนเขา พบกระจายเป็นหย่อมๆ
ตามแนวสันเขาและบนยอดเขาบริเวณตอนกลางตามแนวเหนือ-ใต้
ที่ระดับความสูงประมาณ 900-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ชนิดไม้ที่พบได้แก่ สนสามใบ มะก่อ ทะโล้ สารภีดอย ตำเสาหนู
เป็นต้น มีสัตว์ป่าเข้าไปใช้ประโยชน์บางฤดู เช่น เลียงผา
หมูป่า ลิงกัง ชะมดแผงหางปล้อง เม่นเล็กหางพวง
หนูฟานเหลือง เป็นต้น บริเวณแหล่งน้ำและลำคลองต่างๆ
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ
นกเงือกกรามช้าง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกะเต็นหัวดำ
นกเป็ดผีเล็ก เขียดว้าก กบหนอง กบห้วยขาปุ่ม
อึ่งกรายห้วยเล็ก กบทูด อึ่งขาคำ จงโคร่ง อึ่งน้ำเต้า
อึ่งอ่างก้นขีด คางคกแคระ เขียดจะนา ปลาจาด
ปลาซิวควายแถบดำ ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาพลวงหิน ปลาแขยงหิน
ปลาช่อน ปลาสลาด ปลากด เป็นต้น |
|
|
|
โซน |
ชื่อห้องประชุม |
รองรับ
ได้ (คน) |
ราคา
(บาท) |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
โซนที่ 1 |
1. วังเจ้า 011 - ห้องประชุมคลองสมอกล้วย (09.00 - 12.00
น.) |
100 |
800 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
2. วังเจ้า 011 - ห้องประชุมคลองสมอกล้วย (18.00 - 21.00
น.) |
100 |
800 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
3. วังเจ้า 011 - ห้องประชุมคลองสมอกล้วย (13.00 - 16.00
น.) |
100 |
800 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
เขากระดาน เป็นหน้าผาของเขาเต่าดำ
อยู่ใกล้น้ำตกเต่าดำ
มีลักษณะเหมือนมีคนเอากระดานมาเรียงต่อกันเป็นหน้าผาสูงขึ้นประมาณ
300 เมตร |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
จุดชมทิวทัศน์ผาตั้ง อยู่
ริมเส้นทางบ้านโละโคะ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3
กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเส้นทางที่จะไปบ้านโละโคะ
เป็นจุดที่สามารถมองลงไปเห็นดอยผาตั้ง
เหมาะแก่การชมสภาพป่าเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะความงามของดวงอาทิตย์ตกลับเหลี่ยมเขาในยามเย็น |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ถ้ำเขาพนัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ริมคลองสวนหมากเป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงามมากมีความลึกประมาณ100
เมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำเทพพนม เป็น
ถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม
มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ วจ.5
(โละโคะ) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
น้ำเข้ารู เป็น
ชื่อที่ชาวเขาใช้เรียกชื่อบริเวณหนึ่ง ที่มีลักษณะตรงตัว
คือ ลำห้วยโละโคะไหลลงมา
ถึงบริเวณนี้จะมุดหายเข้าไปในภูเขา เป็นระยะทางประมาณ 1
กิโลเมตร ไปโผล่อีกด้านหนึ่งของภูเขา จึงเรียกบริเวณนี้ว่า
น้ำเข้ารู |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
|
|
น้ำตกกระแตไต่ไม้ ห่าง
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.7 กิโลเมตร
เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ
และลานหินกว้างสำหรับนั่งพักผ่อน
ในบริเวณนั้นจะมีเฟินกระแตไต่ไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก
จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก
เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วย |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกเขาเย็น เป็น
น้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ มีความสูงเกือบ 1,000 เมตร
ตั้งอยู่บนยอดเขาเย็น
ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ
การเข้าถึงต้องเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหมู่บ้านโละโคะประมาณ
29 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางไปน้ำตกเขาเย็นประมาณ
6 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
จึงจะถึงตัวน้ำตก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทาง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกคลองโป่ง มี
ชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า น้ำตกคลองน้ำแดง เป็นน้ำตกหินชนวนมี
4 ชั้น ชั้นบนสูง 100 เมตร
จากบ้านโละโคะต้องเดินเท้าอีกประมาณ 20 กิโลเมตร
ผ่านป่าดิบแล้ง โดยพักแรมในป่าประมาณ 2 คืน
ระหว่างทางมีน้ำพุร้อนธรรมชาติให้แวะชม
และในฤดูที่มีความชื้นสูงจะพบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรขึ้นบริเวณตัวน้ำตก
อย่างหนาแน่นสวยงาม |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
เดินป่าระยะไกล
|
|
น้ำตกคลองวังเจ้า เป็น
น้ำตกขนาดใหญ่ของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
แนวเขตจังหวัดตาก-กำแพงเพชร
เป็นน้ำตกชั้นเดียวไหลทิ้งตัวในแนวตั้งฉาก สูงประมาณ 60
เมตร ความกว้างประมาณ 100 เมตร ถือเป็นน้ำตกขนาดกลาง
และเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
อยู่ห่างจากถนนพหลโยธิน 29 กิโลเมตร บนถนนวังเจ้า-โละโคะ
หลักกิโลเมตรที่ 29 การเดินทางสะดวก |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกคลองสมอกล้วย เป็น
น้ำตกขนาดกลาง แต่มีลักษณะเด่นสวยงาม มี 5 ชั้น ชั้นที่ 1
มีความสูง ประมาณ 40 เมตร ทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่ง
ส่วนชั้นอื่นๆ มีความสูงแตกต่างกันไป
เป็นน้ำตกที่มีสีบุษราคัม
มีลักษณะสวยงามแฝงด้วยความน่ากลัวอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
800 เมตร เดินทางได้สะดวก |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกเต่าดำ เป็น
น้ำตกขนาดใหญ่มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า 200
เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 3 มีความสูงประมาณ 270 เมตร
มีความสูงรวมกันประมาณ 600 เมตร ชั้นที่ 3
ทิ้งตัวในแนวตั้งฉากสวยงามและยิ่งใหญ่มาก
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 34 กิโลเมตร
โดยไปทางบ้านโละโคะจนสุดทางที่ป่าไผ่
แล้วเดินลงเขาชันไปอีก 500 เมตร จะถึงน้ำตก
การไปท่องเที่ยวน้ำตกเต่าดำหากไปในช่วงฤดูฝน
ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เท่านั้น |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกนาฬิกาทราย น้ำตก
นาฬิกาทรายอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1.9
กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร
แต่มีรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม คล้ายนาฬิกาทราย
มีแอ่งให้เล่นน้ำ บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นของต้นไม้
เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วยและน้ำตกกระแตไต่ไม้ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
ปากคลองนาคีรี เป็นแก่งน้ำตามธรรมชาติที่สวยงามไหลผ่านโขดหินแกรนิตสีขาวสะอาด
สะท้อนแสง
เป็นจุดบริเวณที่คลองนาคีรีไหลมารวมกับคลองวังเจ้า |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
|
|
โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็น
บ่อน้ำร้อน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร
มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่
เป็นโป่งน้ำที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง
กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อาบน้ำแร่
|
|
โป่งน้ำร้อน เป็น
บ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน
อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร
มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่
เป็นโป่งน้ำร้อนที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า
เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
อาบน้ำแร่
|
|
ผากลม เป็น
หน้าผาสูงชันทุกด้าน 360 องศา
มีลักษณะคล้ายเอาแท่งดินสอขนาดใหญ่มาปักไว้บนดินมีลักษณะเด่นงดงามมาก
การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าห่างจากน้ำเข้ารู ประมาณ 3
กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
|
|
สิ่งอำนวยความสะดวก |
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย
มีห้องสุขาชายให้บริการ |
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง
มีห้องสุขาหญิงให้บริการ |
|
ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว |
|
ลานกางเต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว |
|
ค่ายเยาวชน
มีเวทีกลางแจ้ง
โรงประกอบเลี้ยง ห้องน้ำและห้องอาบน้ำ
สามารถรองรับได้ไม่น้อยกว่า 400 คน |
|
ที่จอดรถ
มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว |
|
บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว
สามารถติดต่อเรื่องอาหารได้ที่หมายเลข 0 5576 6005 |
|
ร้านขายของที่ระลึก
มีร้านขายของที่ระลึก |
|
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มี
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ
นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน
ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น. |
|
เต็นท์
มีเต็นท์ให้บริการ
การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง |
|