อุทยานแห่งชาติขุนแจ |
|
|
อุทยาน แห่งชาติขุนแจ เป็นชื่อเรียกตามชื่อของน้ำตกขุนแจ
ตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่
ใช้เวลาเดินทางจากเชียงใหม่ประมาณ 1 ชั่วโมง
ตามทางหลวงสายเชียงใหม่-เชียงราย อุทยานแห่งชาติขุนแจ
ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538
ถือเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญครอบคลุมเนื้อที่ถึง 270
ตารางกิโลเมตร ภายในอุทยานแห่งชาติ
มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ สัตว์ป่า
น้ำตกและทิวทัศน์ที่งดงาม มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118
(เชียงใหม่-เชียงราย) ตัดผ่านกลางพื้นที่
และแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน
เนื่องจากสถานการณ์เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ของชาติในปัจจุบันที่ค่อนข้าง
วิกฤต ดังที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปในฤดูกาลต่างๆ เช่น
ฤดูฝนน้ำท่วม ฤดูร้อนมีอากาศร้อนอบอ้าวมาก
และฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด เป็นต้น
ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่ถูกหลักวิชาการ
มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้และการยึดครอง ที่ดิน
ตลอดจนการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยมิได้คำนึงถึงผลเสียที่เกิดติดตามมา
ภายหลัง
รัฐบาลจึงได้ปิดป่าสัมปทานทั่วประเทศและมีนโยบายที่จะอนุรักษ์ทรัพยากร
ป่าไม้ในรูปป่าอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่ง
และจัดเป็นป่าเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง
เพื่อจะได้แยกการจัดการทรัพยากรให้เป็นไปตามหลัก
วิชาการและบรรลุเป้าหมายโดยเร็ว
ทางกรมป่าไม้พิจารณาแล้วจึงเห็นควรที่จะสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะอนุรักษ์
ของชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ไว้ในลักษณะของอุทยานแห่งชาติ
จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532
ให้ นายสุเมธ สิงห์ขวา นักวิชาการป่าไม้ 4
ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกขุนแจและพื้นที่ใกล้เคียง
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปูนน้อย ป่าแม่ปูนหลวง
และป่าห้วยโป่งเหม็น ในท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนแจ
และ ปี พ.ศ. 2538
มีการประกาศในพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 28 เล่มที่ 112 ตอนที่ 33
ก. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีชื่อว่า
อุทยานแห่งชาติขุนแจ |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
สภาพ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนแจเป็นภูเขาสูงและที่ราบสลับเนินเขา
ประกอบด้วยหิน 2 ชนิด คือ หินอัคนีและหินตะกอน
พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นหินแกรนิตซึ่งเป็นหินที่พบเห็นได้ทั่วไปตามภาคเหนือ
ของไทย หินแกรนิตเกิดจากการหลอมละลาย
ของชั้นหินภายใต้ผิวโลกและถูกแรงบีบคั้นจนไหลออกมาตามรอยแยกบนพื้นโลก
และเย็นลงอย่างช้าๆ และ
ปรากฏขึ้นบนผิวโลกโดยขบวนการพังทลาย
หินแกรนิตจะดูคล้ายกับเกล็ดเกลือสะท้อนแสง
และพริกไทยสีดำขนาดใหญ่ ส่วนที่เป็นสีขาวคล้ายเกลือนั้น
คือ แร่ควอซ์ดและ เฟลสปา ส่วนที่เป็นสีดำ คือ ไมก้า
หินอัคนีอีกชนิดหนึ่งที่พบในอุทยานแห่งชาติ เรียกว่า
บะซอลท์ (basaltic)
ซึ่งเกิดจากลาวาภูเขาไฟที่เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว
เป็นหินสีเทาที่มีเนื้อละเอียด
หินภูเขาไฟเหล่านี้สามารถพบทางแถบตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ
ส่วนหินตะกอน หินทราย และหินเชล
เกิดจากการทับถมของตะกอนในแม่น้ำเวลานานเข้า
จึงเกิดเป็นชั้นหินทรายที่พบในอุทยานแห่งชาติขุนแจ
เป็นเม็ดทรายขนาดเล็กสีเทาทับถมเป็นชั้นๆ
หินเชลมีสีเป็นสีเนื้ออ่อนและง่ายต่อการแตกหัก
จุดสูงสุดคือยอดดอยลังกาหลวง มีความสูงถึง 2,031
เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาวซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำกก
ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นหุบเหว
ซึ่งเกิดจากการกระทำของกระแสน้ำกัดเซาะ
จนทำให้เกิดน้ำตกมากมาย
ปริมาณน้ำฝนที่มากจึงมีอัตราการพังทลายของดินที่สูง
ทำให้เกิดภูมิประเทศที่เป็นหุบเหวลึกนี้ |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
ฤดู แล้งในอุทยานแห่งชาติขุนแจ
อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม มีอุณหภูมิประมาณ 2-29
องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์
มีฝนตกเฉลี่ย 60 มิลลิเมตร/เดือน มีอุณหภูมิประมาณ 19-29
องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน
(เป็นช่วงที่มีการเกิดไฟไหม้) อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22-23
องศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
อุทยาน
แห่งชาติขุนแจมีพันธุ์ไม้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่จาก
300-800 เมตร จะเป็นป่าไผ่และป่าเบญจพรรณระดับความสูง
800-1,000 เมตร เป็นป่าดงดิบและป่าเต็งรัง
มีความสูงระหว่าง 1,000-1,500 เมตร เป็นป่าดิบและป่าสน
ส่วนสภาพป่าที่สูงกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป
เป็นป่าดิบเขาบริเวณหุบห้วย
ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มซึ่งเป็นไม้จำพวกยางชนิดของต้นไม้ที่พบ
เป็นพืชชั้นล่างที่เด่น ได้แก่ กล้วยป่า เฟิน มอส
และหญ้าที่ขึ้นตามชายน้ำ
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติขุนแจ
สามารถพบเห็นได้แตกต่างกันตามสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยและช่วงเวลาระหว่างวันใน
หุบเขาริมธารและป่าชุ่มชื่นเป็นบริเวณที่มีพืชพันธุ์เขียวชอุ่ม
ซึ่งพบเห็นสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ ชะมด หมูป่า เก้ง เม่น
กระรอกหลายชนิด ทั้งที่อาศัยอยู่บนต้นไม้และพื้นดิน
ค้างคาว กระต่ายป่า สัตว์ที่คาดว่าจะพบได้ในอุทยานแห่งชาติ
เช่น หมี ลิงลม ชะนีธรรมดา แมวป่า เลียงผา นกต่างๆ เช่น
นกแซงแซวสีเทา เหยี่ยวรุ้ง เหยี่ยวนกเขาซิครา
นกจับแมลงหัวเทา นกตีทอง นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า ไก่ป่า
สัตว์เลื้อยคลานเช่น งูเขียวหางไหม้ งูจงอาง กิ้งก่าบิน
ตุ๊กแก จิ้งเหลน เป็นต้น |
|
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
ดอยผาโง้ม เป็น
เทือกเขาตอนกลางของพื้นที่
มีรูปร่างทอดตัวยาวในแนวตะวันตก-ตะวันออก
โดยมีหน้าผาหินตัดโง้มลาดลงในทิศตะวันตก
สภาพป่าเป็นป่าดิบเขาปนป่าเบญจพรรณ และป่าสนเขา
เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจแบบไต่เขา หรือเดินป่าชมทิวทัศน์ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
|
|
ดอยมด ความ
หนาแน่นของป่าดิบชื้นระหว่างทางเดินขึ้นสู่ยอดดอยมด
ทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิดปกคลุมแอ่งน้ำใสสะอาดเต็มไปด้วยพืชชั้นล่าง
มากมายรวมทั้งพืชชั้นต่ำ เช่น กล้วยไม้ดิน เฟิน มอส
และพืชอื่นๆ ร่มรื่นและชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา
บนยอดดอยที่ระดับความสูง 1,700 เมตร
รายรอบด้วยสภาพภูมิประเทศแปลกตาและป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์
สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่ทางทิศตะวันตก
ตัวเมืองเชียงรายทางทิศตะวันออก
ยอดดอยลังกาทางทิศใต้และยอดดอยปางกอมทางทิศเหนือ
นอกจากนี้บริเวณใกล้กับดอยมด ยังมียอดดอยหลวงและดอยผาช้าง
ซึ่งเป็นสันปันน้ำที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
และเชียงรายอีกด้วย |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
ดอยลังกา ความ
อลังการของยอดดอยลังกา มีความสูง 2,031
เมตรจากระดับน้ำทะเล สูงเป็นลำดับที่ 5 ของประเทศไทย
ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามสลับซับซ้อนของเทือกเขาผีปันน้ำ
และสภาพความหลากหลายของธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
ยอดดอยลังกาและดอยบริวารตั้งอยู่ทางใต้สุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
การเดินทางสู่ดอยลังกาต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 3
คืน 4 วัน บนยอดดอยปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและป่าสนเขา
สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ต้นกุหลาบพันปีจะออกดอกบานสะพรั่ง |
|
กิจกรรม :
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
เดินป่าระยะไกล
|
|
ต้นไทร ใกล้ๆ
กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
มีต้นไทรที่มีความโดดเด่นเจริญเติบโตจากต้นไม้หลายๆ
ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกไปมากมาย
กว้างใหญ่ให้ร่มเงาครอบคลุมพื้นที่ถึง 1,600 ตารางเมตร
และมีพืชอิงอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด |
|
กิจกรรม :
ชมพรรณไม้
|
|
น้ำตกขุนแจ เป็น
น้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามและความโดดเด่น
ประกอบด้วยน้ำตก 6 ชั้น
บริเวณน้ำตกมีพื้นที่สำหรับตั้งแค็มป์และกางเต็นท์
ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ
2 ชั่วโมง จากนั้นเดินเท้าต่ออีก 1 ชั่วโมง
เพื่อไปยังน้ำตก |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
แค้มป์ปิ้ง
|
|
น้ำตกแม่โถ เป็น
น้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความงดงาม มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีทั้งหมด
7 ชั้น และมีความสูงที่สุดประมาณ 40 เมตร
ในฤดูฝนชั้นนี้จะสวยงามมาก
การเดินทางโดยรถยนต์จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ถึงทางขึ้นน้ำตก (บ้านแม่โถ) ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที
ต่อจากนั้นเดินเท้าไปยังน้ำตกใช้เวลาชมน้ำตกทั้ง 7 ชั้น
ประมาณ 2 ชั่วโมง |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกลำเกลียว เป็นน้ำตกขนาดกลาง
ทีสวยงาม เหมาะแก่การลงเล่นน้ำ เดินศึกษาธรรมชาติ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
อ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว อยู่
ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขจ.1 (แม่ฉางข้าว)
เป็นอ่างเก็บน้ำที่เหมาะสำหรับการไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
หรือรับประทานอาหารกลางวันบนแพกลาง อ่างเก็บน้ำที่ใส
สะอาดก็จะได้บรรยากาศที่ดีทีเดียว |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ชมทิวทัศน์
|
|