ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
 
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
 

อุทยาน แห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอปราณบุรี กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และรื่นรมย์ของประชาชน มีเนื้อที่ประมาณ 605,625 ไร่ หรือ 969 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา : จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุล ธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศ

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

สภาพ ทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาขวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อันเป็นเทือกเขาซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งมีสภาพพื้นที่แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ แบบลูกคลื่นลอนชั้นถึงเนินเขา มีความลาดชันประมาณ 80-100 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกบุกรุกแผ้วถางทำไร่สับปะรด อ้อย ผักต่างๆ และแบบภูเขา ประกอบด้วยภูเขาสูงชัน ลาดชันประมาณ 35% และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 750 เมตรขึ้นไป ประกอบด้วยเขาวังไทรดิ่ง เขาหนองหว้า..เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตะลุยแพรกขวา ห้วยตะลุยแพรกซ้าย คลองกุย เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

อุทยาน แห่งชาติกุยบุรี มีภูมิอากาศจัดอยู่ในประเทศฝนเมืองร้อน เฉพาะฤดู (Tropical Savannah Climate) กล่าวคือ อุณหภูมิจะสูงตลอดทั้งปี และมีช่วงแล้งที่เห็นได้ชัดในรอบปี ทั้งนี้ตามระบบการจำแนกทางภูมิศาสตร์ ลักษณะข้างต้นเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งชื้นแล้ง โดยมีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อน และกลางวันสั้นในฤดูหนาว จะมีช่วงที่มีน้ำมากเกินเพียงพอเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่มีเลย มีฤดูใหญ่อยู่ 3 ฤดู คือ
 

ฤดูฝน
จะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมนี้พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย โดยฝนจะหนักในเดือนพฤษภาคม แล้วฝนจะทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นฝนจะตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,179 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้จะเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งลมนี้จะพัดมาจากบริเวณความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้ซึ่งจะพัดเอาความร้อน ชื้นมา อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 25 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนพฤษภาคม โดยระยะนี้เป็น ช่วงรอยต่อของฤดูลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อน และมีอากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายร้อนลงไป อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 29 องศาเซลเซียส
 


พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พลอง ทะลายเขา เขล็ง กระชิด พลวง สมอ ตะเคียนหิน มะไฟป่า พืชตระกูลปาล์มชนิดต่างๆ เช่น หมากเขียว หวายชนิดต่างๆ เต่าร้าง โดยเฉพาะหวายมีเป็นจำนวนมาก พืชชั้นล่างหลายชนิด เช่น พวกพืชในวงศ์ขิง ข่า เฟิน บอน เป็นต้น

สำหรับสัตว์ป่ายังมีชุกชุม เนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ สัตว์ป่าทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่า หมี เก้ง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่าง เลียงผา กระจง หมูป่า กระต่ายป่า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกชนิดต่างๆ เช่น นกกาฮัง ไก่ป่า นกระวังไพร นกกางเขนดง นกเขา นกยางกรอก นกยางแดง และยังมีสัตว์เลื้อยคลานได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้แก่ กบทูด คางคก เขียด และปลาชนิดต่างๆ


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ตู้ ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี อ. กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์  77150
โทรศัพท์ : 0 3264 6292 (VoIP), 08 6628 8872 (จนท.)
ผู้บริหาร : บุญลือ พูลนิล   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

จากกรุงเทพฯ เดินทางล่องใต้ตามหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 290 แยกขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3217 (กุยบุรี - ยางชุม) ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงบ้านยางชุม แล้วแยกซ้ายตามถนนข้างอ่างเก็บน้ำยางชุม ถึงบ้านย่านซื่อ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จากนั้นแยกซ้ายระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ การเดินทางสะดวกเป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทางการเดินทาง

 
รถไฟ

จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถไฟที่สถานีหัวลำโพง ซื้อตั๋วโดยสารกรุงเทพฯ - อำเภอกุยบุรี ลงที่สถานีอำเภอกุยบุรี จากนั้นจ้างเหมารถ เดินทางต่อไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
รถโดยสารประจำทาง

จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายใต้ เลือกโดยสารใดก็ได้ที่เดินทางไปใต้ เนื่องจากทุกสายจะผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แจ้งพนักงานขับรถหรือพนักงานเก็บเงิน ขอลงที่อำเภอกุยบุรี จากนั้นจ้างเหมารถ เดินทางต่อไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. กุยบุรี 101 (กุยบุรี 1) 3 2 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. กุยบุรี 102 (กุยบุรี 2) 3 2 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 กุยบุรี 101-103 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 2 กุยบุรี 201 บ้านพักเดี่ยว หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กร.1 (ป่ายาง)

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. กุยบุรี 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 100 800  ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. กุยบุรี 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 100 800  ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. กุยบุรี 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 100 800  ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 กุยบุรี 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

จุดชมทิวทัศน์สันมะค่า  เป็นจุดชมทิวทัศน์ ณ จุดนี้ ในช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวสามารถชมทะเลหมอกและน้ำตกได้

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์  

ชมช้างป่า  อุทยาน แห่งชาติกุยบุรี จัดสถานที่ชมช้างป่า สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจชมช้างป่าตามธรรมชาติ ชมชีวิตความเป็นอยู่ช่วงหนึ่งของช้างที่ลงมากินน้ำ อาบน้ำ และหาอาหาร ช่วง เวลาที่เหมาะสมในการชมช้างป่า คือ ระหว่างเวลา 15.00 - 18.00 น. และสำหรับผู้ที่มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้าง ทางอุทยานแห่งชาติร่วมกับชมรมต่างๆ จัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ช้างไทย ระหว่างวันที่ 11 - 12 มีนาคม ของทุกปี ผู้ที่สนใจชมช้างป่าหรือเข้าร่วมกิจกรรมขอให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่อุทยาน แห่งชาติโดยตรง

กิจกรรม : ส่องสัตว์  

ดูผีเสื้อ  จุดที่น่าสนใจสำหรับการดูผีเสื้ออยู่บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ดูผีเสื้อ  

น้ำตกด่านมะค่า  น้ำตก ด่านมะค่า เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีความสูงของน้ำตกประมาณ 6 - 7 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกผาสวรรค์  น้ำตก ผาสวรรค์ เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำ กุยบุรีแพรกซ้าย มีชั้นน้ำตก 5 ชั้น น้ำตกชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่สวยที่สุด มีความสูงประมาณ 7 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 7 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกผาหมาหอน  น้ำตก ผาหมาหอน เป็นน้ำตกที่มีระดับ ลดหลั่นกันลงมา 3 ชั้น เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีลักษณะเป็นผาลาดสูงชันเกือบตั้งฉาก มีสายน้ำใสไหลแรงตลอดเวลา บริเวณตอนกลางมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และบริเวณพื้นล่างมีพันธุ์ไม้จำนวนมาก เช่น เฟิร์น ปาล์มหลากชนิดเหมาะแก่การเดินชมศึกษาสภาพธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยการเดินทางด้วยเท้า

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกห้วยดงมะไฟ  น้ำตก ห้วยดงมะไฟ เป็นน้ำตกที่ลดหลั่นกันลงมา 15 ชั้น จากต้นน้ำกุยบุรีแพรกขวามีลักษณะเป็นแก่งหินแกรนิต มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นได้ มีความสวยงามร่มรื่นของสภาพป่าสองฝั่งลำธารน้ำใสและบริสุทธิ์มาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดีอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 11 กิโลเมตร โดยการเดินทางด้วยเท้า

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   เดินป่าระยะไกล  

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ  อยู่ ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เส้นทางผ่านป่าดิบแล้ง ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น เถาวัลย์ ไทร จุดชมทิวทัศน์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของช้างป่าให้พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งกองมูลและรอยตีนช้าง หากต้องการศึกษาสภาพการดำรงชีวิตของช้างป่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.1 (ป่ายาง) หมู่ที่ 7 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี เวลาที่เหมาะสมในการชมช้างป่าอยู่ในช่วง 15.00-18.00 น.

 

  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งพรม
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างเก็บน้ำย่านซื่อ - คลองกุยบุรี
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกด่านมะค่า
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผาสวรรค์
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกดงมะไฟ
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่ายางใหญ่
  • เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแพรกตะคร้อ 

  • กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ส่องสัตว์  

    สิ่งอำนวยความสะดวก
     

    ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ


    ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


    ที่พักแรม/บ้านพัก    บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


    ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


    ที่จอดรถ    มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


    ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


     
     
    อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
    ตู้ ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี  อ. กุยบุรี  จ. ประจวบคีรีขันธ์   77150
    โทรศัพท์ 0 3264 6292 (VoIP), 08 6628 8872 (จนท.)   อีเมล kui_np@hotmail.com

      
     

     
     
    dooasia.com
    สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

    เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
    dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์