อุทยานแห่งชาติแม่จริม |
|
|
ผจญภัยสุดขั้ว ล่องแก่งน้ำว้า |
|
อุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า
เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์
ป่า ภูเขา ลำธาร และหน้าผาที่สวยงามยิ่ง
สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504
เพื่อสงวนไว้ให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป
มีเนื้อที่ประมาณ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร
มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เด่นคือ
การล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร
เริ่มต้นจากบ้านน้ำปุ๊ อำเภอแม่จริม ถึงบ้านหาดไร่
อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ความเป็นมา : สืบเนื่องจากนายวิทยา หงษ์เวียงจันทร์
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
จังหวัดน่านได้ทำหนังสือเสนอส่วนอุทยานแห่งชาติว่า
พื้นที่ป่าระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยภูคาและอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีความอุดม
สมบูรณ์มาก
มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งสมควรที่จะได้มีการสำรวจเพื่อจัดตั้ง
เป็นพื้นที่อนุรักษ์ในรูปแบบของอุทยานแห่งชาติ
ส่วนอุทยานแห่งชาติเห็นชอบตามเสนอและรายงานตามลำดับถึงกรมป่าไม้
ซึ่งกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สัตว์ป่า
แหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
จึงได้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1586/2537 ลงวันที่ 13
กันยายน 2537 ให้นายผดุง อยู่สมบูรณ์ นักวิชาการป่าไม้ 5
ส่วนอุทยานแห่งชาติ ทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานพุม่วง
จังหวัดสุพรรณบุรี และหัวหน้าวนอุทยานพระแท่นดงรัง
จังหวัดกาญจนบุรี
ในขณะนั้นไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า-ป่าแม่
จริม ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้า ป่าห้วยสาลี่
และพื้นที่ป่าใกล้เคียงในท้องที่อำเภอแม่จริม
อำเภอเวียงสาและอำเภอใกล้เคียง จังหวัดน่าน
เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.
2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ แห่งนี้ด้วย
จากการสำรวจพบว่า สภาพป่าดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์
มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ
ตลอดจนมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ
และได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
เมื่อคราวการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่
2/2538 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2538
ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้ลงมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่า
สงวนแห่งชาติ ตามรายงานเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
อุทยานแห่งชาติแม่จริมจึงมีสถานภาพอยู่ในขั้นเตรียมการประกาศ
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริมอยู่บริเวณริมลำน้ำว้า
บ้านห้วยทรายมูล หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม
จังหวัดน่าน
|
|
กรม ป่าไม้ได้มีหนังสือ ที่ กษ 0712.3/1469 ลงวันที่ 21
กันยายน 2543
ว่าได้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม
ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและ
ป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม
และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ
อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
พร้อมจัดทำบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบการร่างพระราชกฤษฎีกาและแผนที่ท้าย
พระราชกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว
และเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/801
ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543
ขอให้กรมป่าไม้จัดตั้งผู้แทนไปร่วมชี้แจงรายละเอียดในการตรวจร่างพระราช
กฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าดังกล่าว ในวันที่ 7 ธันวาคม 2543
และกรมป่าไม้ได้สั่งการให้ นายนฤมิต ประจิมทิศ
เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6 ส่วนอุทยานแห่งชาติ
ไปร่วมชี้แจงรายละเอียดการประชุมเพื่อตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาฯ
และที่ประชุมพิจารณาแล้วได้มอบหมายให้
ผู้แทนกรมป่าไม้รับไปแก้ไขรายละเอียดแผนที่ฯให้เป็นไปตามผลการประชุมคณะ
กรรมการกฤษฎีกาต่อไป
ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร
0602/371 ลงวันที่ 11 เมษายน 2544 แจ้งว่า
ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม
ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่
ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย อำเภอแม่จริม
และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่ ตำบลน้ำมวบ
อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เสร็จแล้ว
และขอให้กรมป่าไม้แจ้งยืนยันความเห็นชอบในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกลับไป
ยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และกรมป่าไม้เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
ตามหนังสือ ที่ กษ 0712.3/11313 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2544
ต่อมาปี 2550
ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าแม่จริม
ป่าน้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ และป่าน้ำว้า
และป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลน้ำพาง ตำบลน้ำปาย
อำเภอแม่จริม และตำบลไหล่น่าน ตำบลส้านนาหนองใหม่
ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
124 ตอนที่ 31 ก ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550
จัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 106 ของประเทศ
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
ภูมิประเทศ ของอุทยานแห่งชาติแม่จริม
มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงชันมากกว่า 35
เปอร์เซ็นต์ ทอดตัวจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
มีเทือกเขาหลวงพระบางซึ่งทอดตัวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้
เป็นเขตแนวเขตกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว
อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300-1,652 เมตร
ความสูงของเทือกเขาจะค่อยลดหลั่นไปทางทิศตะวันตก
ยอดดอยที่มีความสูงมากที่สุดคือ ดอยขุนลาน (1,652 เมตร)
อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ รองลงมาคือ ดอยแดนดิน (1,558
เมตร) ดอยขุนน้ำปูน (1,530 เมตร) ดอยขุนคูณ (1,307 เมตร)
มีแม่น้ำว้าซึ่งไหลมาจากเทือกเขาหลวงพระบางไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่
เป็นระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีลำธาร
และลำห้วยที่เป็นต้นน้ำน่านอยู่หลายสาย เช่น ห้วยทรายมูล
ห้วยสาสี่ ห้วยบ่ายน้อย ห้วยบ่ายหลวง ห้วยน้ำพาง ลำน้ำแปง
และแต่ละสายล้วนเป็นอู่น้ำของราษฎรรอบพื้นที่ |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
ลักษณะ ภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู
คือฤดูร้อนซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้
ฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน
เริ่มเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
และฤดูหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
พัดพาเอาความหนาวเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือมายังประเทศไทย
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2541
วัดที่สถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดน่าน วัดได้ 1,206
มิลลิเมตรต่อปี เฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคมวัดได้ 320
มิลลิเมตร และต่ำสุดในเดือนมกราคม วัดได้ 6 มิลลิเมตร
อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 2541 วัดได้ 27
องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเดือนพฤษภาคม วัดได้ 30
องศาเซลเซียส และต่ำสุดเดือนมกราคม วัดได้ 22 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2541 วัดได้ 76
เปอร์เซ็นต์ ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ เฉลี่ยสูง
สุดในเดือนสิงหาคม 85 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนมีนาคม
63 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายปี 77
เปอร์เซ็นต์
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
สภาพ ป่าอุทยานแห่งชาติแม่จริมประกอบด้วย ป่าดิบชื้น
ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
สัตว์ป่าที่ เด่น ได้แก่ เสือ เลียงผา หมี และนกยูง |
|
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
เส้นทางขับรถชมวิว ตาม
เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1259 (บ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า)
ระยะทาง 25 กิโลเมตร
ตัดตามสันเขาผ่านสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ตลอดเส้นทาง
สามารถจอดรถชมทิวทัศน์หุบเขาและหมู่บ้านทะเลหมอกยามเช้า
ตลอดจนทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินได้หลายจุด
ระหว่างเส้นทางมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่จริมที่ 1
(ห้วยเต่า) ตั้งอยู่
มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการสิ้นสุดเส้นทางชมวัฒนธรรมความเป็น
อยู่ของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง
และโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
ชมวัฒนธรรมและประเพณี
|
|
เส้นทางเดินป่าตามลำน้ำแปง เป็น
เส้นทางสัญจรในอดีตระหว่างบ้านร่มเกล้ากับบ้านห้วยทรายมูล
มีจุดเริ่มต้นจากบ้านร่มเกล้าถึงปากน้ำแปงบรรจบลำน้ำว้า
ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เดินทางเลียบตามริมลำน้ำแปง
ผ่านป่าดงดิบ
และป่าเบญจพรรณระหว่างเส้นทางาจะพบน้ำตกขนาดเล็ก ถ้ำ
หน้าผา ธรรมชาติ และพรรณไม้ที่สวยงาม |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
|
|
เส้นทางเดินป่าบ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า
เป็นเส้นทางเดินสัญจรในอดีตของชาวบ้านร่มเกล้า
ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
ตามสันเขาผ่านสภาพป่าดงดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ มีป่าเต็งรัง
ป่าสนเขา
และป่าเบญจพรรณสลับบางช่วงสามารถพบเห็นนกได้หลายชนิด
อากาศเย็นสบาย มีทะเลหมอก
หุบเขาและพรรณไม้ที่สวยงามตลอดเส้นทางใช้เวลาเดินทางประมาณ
5 ชั่วโมง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ดูนก
|
|
เส้นทางปีนผาหน่อ ผา
หน่อ เป็นภูเขาหินปูน รูปแท่งเข็ม หรือหน่อไม้ มีความสูง
824 เมตร จากระดับน้ำทะเล
สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวของพื้นดินเชิงเขาบริเวณรอบๆ
เป็นหน้าผาชันเกือบ 90 องศา
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินป่าและปีนเขา
หากขึ้นถึงยอดเขาจุสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบด้าน
ในผาหน่อพบถ้ำที่เป็นที่อยู่ของ ค้างคาว และเลียงผา
บริเวณหน้าผาพบภาพเขียนโบราณเป็นรูปเลขาคณิตและรูปคล้ายผู้หญิงตั้งครรภ์
ปรากฎอยู่ ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 8 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
|
|
ด้านท่องเที่ยวผจญภัย |
|
ล่องแก่งลำน้ำว้า เป็น
การล่องแก่งโดยใช้แพยาง (ลำละไม่เกิน 8 คน)
มีจุดเริ่มต้นบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม
ถึงจุดสิ้นสุด (ปางช้าง) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร
ใช้เวลา 2 ชั่วโมง หรือสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ระยะทางประมาณ
15 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางมีแก่งต่างๆ
ให้ผจญภัยและเล่นน้ำ กว่า 10 แก่ง สองข้างทาง
เป็นหาดทรายและป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ มีธรรมชาติ สวนหิน
และหุบเขาที่สวยงามตลอดเส้นทางสามารถล่องแก่งได้ตลอดทั้งปี
ยกเว้นวันที่น้ำหลาก
ไม่สมควรล่องแก่งเพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ล่องแก่ง
แค้มป์ปิ้ง
|
|
ด้านวัฒนธรรมและประเพณี |
|
หมู่บ้านชาวเขาบ้านร่มเกล้า เป็น
หมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง
อยู่ในพื้นที่กันออกบริเวณใจกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
มีโครงการพัฒนาเพื่อความมั่งคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ 3 บ้านร่มเกล้า
เป็นหน่วยงานจัดสรรดูแลการใช้ประโยชน์พื้นที่
สามารถชมวิถีความเป็นอยู่ วัฒนธรรม
และการดำรงชีวิตตามแบบของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งได้
|
|
กิจกรรม :
ชมวัฒนธรรมและประเพณี
|
|
ด้านศึกษาธรรมชาติ |
|
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชบาป่า สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระดำเนินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางนี้ เมื่อวันที่ 29
พฤศจิกายน 2542 ทรงพบดอกไม้ป่าสกุลเดียวกับชบา
ดอกสีชมพูอมม่วงขนาด 2-3 เซ็นติเมตร. พระราชทานนามว่า
ชบาป่า (Urena lobata) ทางเดินมีระยะทางประมาณ 2
กิโลเมตร
จากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นวงรอบไปสิ้นสุดบริเวณหาดทรายริมลำ
น้ำว้า ผ่านสภาพป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ
มีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติ 9 สถานี ได้แก่ เต็งรังกันไฟ
การทดแทนกษัยการ (EROSION) เกื้อกูล ไตรลักษณ์ เป้ง
ความเหมือนที่แตกต่างพรมแดนแห่งป่า (ECOTONE) และไทร
นักบุญแห่งป่านักฆ่าเลือดเย็น ตามลำดับ
มีจุดชมวิวทิวทัศน์ของลำน้ำว้า และขุนเขาหลายจุด
ใช้เวลาเดินประมาณ 1.5 ชั่วโมง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
|
|