อุทยานแห่งชาติแม่ปิง |
|
|
อุทยาน แห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอดอยเต่า
จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา
จังหวัดตาก
เป็นป่าที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า
มีทิวเขาทอดยาวเหยียดสลับซับซ้อน
ลำห้วยน้อยใหญ่หลายสิบสาขาไหลผ่านที่สำคัญคือ ลำห้วยแม่หาด
ลำห้วยแม่ก้อและทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามโดยเฉพาะพื้นที่ป่าตั้งอยู่ทาง
ฝั่งซ้ายของลำน้ำปิงตอนเหนือของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
มีเนื้อที่ประมาณ 627,346 ไร่ หรือ 1,003.7536
ตารางกิโลเมตร
เนื่องจากคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวสภาจังหวัดลำพูน
ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521
เสนอแนะให้จังหวัดลำพูน
จัดตั้งวนอุทยานขึ้นครอบคลุมบริเวณจุดท่องเที่ยวต่างๆ
ในป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด-ป่าแม่ก้อ ท้องที่อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน
เพื่อจะได้เข้าไปควบคุมและจัดระเบียบกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนใน
พื้นที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ซึ่งทางสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ได้ให้ นายเฉลียว
นิ่มนวล
ไปสำรวจพื้นที่และมีความเห็นควรจัดเป็นวนอุทยานขึ้น
จึงรายงานให้กรมป่าไม้ดำเนินการ
ประกอบกับทางจังหวัดลำพูนได้เสนอให้กรมป่าไม้จัดพื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ
เป็นแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติเช่นกัน
ตามรายงานการสำรวจของ นายจีรเดช บารมี เจ้าพนักงานป่าไม้ 3
ประจำอำเภอลี้ ดังนั้นในเดือนธันวาคม 2522
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่ง ที่ 2294/2522
ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน เจ้าพนักงานป่าไม้ 3
ไปทำการสำรวจอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า
พื้นที่ป่าแม่หาด-แม่ก้อ เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน
สภาพป่าสมบูรณ์ดี
มีทิวทัศน์สวยงามดีและมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ
ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกก้อหลวง ทุ่งหญ้า
มีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ตามหนังสือรายงานการสำรวจ ที่ กส 0708(มก)/51 ลงวันที่ 17
มิถุนายน 2523
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8
สิงหาคม 2523
ให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่หาดและป่าแม่ก้อ
ในท้องที่ตำบลดอยเต่า ตำบลโป่งทุ่ง อำเภอดอยเต่า
จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลแม่ลาน ตำบลก้อ อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน และตำบลบ้านนา ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา
จังหวัดตาก เนื้อที่ประมาณ 626,875 ไร่ หรือ 1,003
ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 115 ลงวันที่
13 กรกฎาคม 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 32 ของประเทศ
อนึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งได้ใช้ชื่อว่า
อุทยานแห่งชาติแม่หาด-แม่ก้อ ต่อมาเมื่อ
ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
กรมป่าไม้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
เพราะแนวเขตอุทยานแห่งชาติซีกซ้ายทั้งหมดครอบคลุมลำน้ำแม่ปิง
ซึ่งเป็นเส้นน้ำสายใหญ่ และมีธรรมชาติที่สวยงาม
เป็นจุดเด่นที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ
ต่อมาได้มีการขยายเขตอุทยานแห่งชาติให้ครอบคลุมทางหลวงจังหวัดหมายเลข
1087 ในท้องที่ตำบลแม่ลาน และตำบลก้อ อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน ระยะทาง 14.198 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 471
ไร่ หรือ 0.7536 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้สามารถควบคุม
ป้องกัน และปราบปรามการลัดลอบตัดไม้ทำลายป่า ล่าสัตว์
และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก ลงวันที่
21 ธันวาคม 2537 |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
ภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
ทอดแนวจากทิศเหนือในเขตพื้นที่อำเภอดอยเต่า
จังหวัดเชียงใหม่
จรดทิศใต้บริเวณตอนเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ภูเขาส่วนใหญ่มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-800 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดชื่อ
ดอนห้วยหลาว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
มีความสูงประมาณ 1,238 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารของห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ
ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยขุนเม่น ห้วยไคร้ เป็นต้น
ห้วยต่างๆ
เหล่านี้จะไหลลงสู่ลำน้ำปิงที่ทอดยาวตลอดแนวเขตพื้นที่ด้านทิศตะวันตก
สำหรับพื้นน้ำส่วนที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง
เริ่มจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ไหลลัดเลาะตามหุบเขา โตรกผา
ลงมาทางทิศใต้จนถึงตอนบนของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล
อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
ความกว้างโดยเฉลี่ยของลำน้ำแม่ปิงประมาณ 500 เมตร
ความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร
ส่วนที่กว้างที่สุดของลำน้ำแม่ปิงในเขตอุทยานแห่งชาติ
อยู่ทางตอนใต้บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล
เขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีความกว้างประมาณ 6 กิโลเมตร
โดยทั่วไปชาวบ้านเรียกว่า บ่อลม และ พระบาทห้วยห้าง
|
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
โดย ทั่วไปอุทยานแห่งชาติแม่ปิง
มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับท้องถิ่นใกล้เคียงของจังหวัดในภาคเหนือ
แต่เนื่องจากลักษณะความสูงต่ำของภูมิประเทศและการมีป่าปกคลุมพื้นที่เป็น
บริเวณกว้าง
ภูมิอากาศบางส่วนจึงแตกต่างไปจากบริเวณโดยรอบอยู่บ้าง
โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ตอนบนของอุทยานแห่งชาติประมาณ
25 องศาเซลเซียส
ในขณะที่อุณหภูมิตอนล่างของพื้นที่บริเวณเขื่อนภูมิพลและเขตจังหวัดตากจะสูง
กว่าเล็กน้อยประมาณ 27 องศาเซลเซียส
ฝนตกในบริเวณทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติมากกว่าทางตอนใต้
เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,060-1,184 มิลลิเมตรต่อปี
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
พื้นที่ ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
โดยเฉพาะตามเทือกเขาที่เป็นดินปนทรายและมีความสูงไม่เกิน
1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่เหลือประมาณ 20
เปอร์เซ็นต์ เป็นป่าดงดิบขึ้นอยู่เป็นพื้นที่แคบๆ
ตามหุบเขาและริมลำห้วย
ป่าเต็งรัง
เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่มากที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง
พบอยู่ทั่วไปทั้งในที่ราบ ตามลาดเขาสูงชัน และบนสันเขา
ในระดับความสูงจากน้ำทะเล 450-1,000 พันธุ์ไม้ที่พบบ่อย
ได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง มะขามป้อม พลวง กุ๊ก รกฟ้า
มะกอกเกลื้อน แสลงใจ ผักหวาน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เป้ง
ปรง กวาวเครือ กล้วยไม้ดิน และหญ้าชนิดต่างๆ
ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นไปทั่วทั้งในที่ราบและตามลาดเขา
ในระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง 450-800 เมตร
ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ สัก แดง กระพี้เขาควาย มะกอกเกลื้อน
กระพี้จั่น ประดู่ ตะคร้อ เก็ดแดง ตีนนก ฯลฯ
พืชพื้นล่างได้แก่ เสี้ยวป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล ไผ่หนาม
เป้ง กวาวเครือ ถั่ว ปอยาบ เป็นต้น
ในบริเวณของป่าผลัดใบทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ
กระต่ายป่า เก้ง กวางป่า วัวแดง ไก่ป่า นกกระทาทุ่ง นกคุ่ม
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานตะโพกแดง นกขี้เถ้าใหญ่
นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง แย้ ตะกวด และงูกะปะ เป็นต้น
ป่าดงดิบ ประกอบด้วยป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น
พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง กระบก มะกอก
และสมอพิเภก เป็นต้น
เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งหลบซ่อนตัวของหมีควาย กวางป่า
วัวแดง ลิงลม ลิงวอก ชะนีมือขาว กระรอก นกกาฮัง นกแก๊ก
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ และนกเขียวคราม ในบริเวณทุ่งหญ้า
เช่น ทุ่งกิ๊ก และทุ่งนางู ซึ่งเป็นที่ราบบนเนินเขา
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 550 เมตร
ดินเป็นดินปนทรายหรือลูกรัง มีความลึกพอสมควร
มีไฟป่าเกิดเป็นประจำ
มีไม้ยืนต้นขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ ได้แก่ รักขาว
รกฟ้า และสมอไทย ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ เป้ง หญ้าคา ถั่ว
และกระเจียว เป็นต้น
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น
กระจ้อน กระแต อ้นเล็ก เก้ง หมูป่า เม่นใหญ่แผงคอสั้น ชะมด
อีเห็น นกปรอดสวน นกปรอดก้นแดง นกกะติ๊ดขี้หมู เหยี่ยวขาว
นกคุ่มอืด นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน
คางคกบ้าน เขียดหนอง อึ่งอี๊ดต่างๆ เป็นต้น
ตามบริเวณยอดเขา หลืบผา ถ้ำ และหน้าผาหินปูน
เป็นที่อาศัยของเลียงผา กวางผา เม่นใหญ่แผงคอสั้น อ้นใหญ่
ลิงวอก ชะมด อีเห็น กระรอก ค้างคาว และเป็นที่สร้างรัง
วางไข่ของเหยี่ยวชนิดต่างๆ และนางแอ่นตะโพกแดง
ในบริเวณริมฝั่งน้ำ พื้นที่ชายน้ำ
หรือในแหล่งน้ำเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนากใหญ่
พังพอนกินปู เสือปลา เหี้ย นกอีล้ำ เป็ดแดง นกกระสานวล
นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางเขียว นกกวัก เต่าหวาย ตะพาบน้ำ
งูลายสอ เขียดหนอง เขียดหลังเขียว ปลารากกล้วย ปลาก้าง
ปลาดุก ปลาไหล เป็นต้น
สัตว์ป่ามีอยู่ชุกชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามริมฝั่งแม่น้ำปิง
เช่น เก้ง วัวแดง หมูป่า หมีควาย เลียงผา กวางผา เสือปลา
ไก่ป่า ชะมดเช็ด ลิง ค่างเทา ชะนี หมาจิ้งจอก กระต่ายป่า
กระรอก นอกจากนี้ ยังมีนกชนิดต่างๆ ทั้งนกประจำถิ่น
และย้ายถิ่นอีกมากมายภายในเขตอุทยานแห่งชาติ
รวมทั้งยังเป็นแหล่งพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญ เช่น ปลานิล
ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาบู่ ปลาแรด เป็นต้น |
|
|
|
โซน |
ชื่อที่พัก-บริหาร |
ห้องนอน |
ห้องน้ำ |
คน/หลัง |
ราคา/คืน |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
โซนที่ 1 |
1. แม่ปิง 811 |
2 |
2 |
6 |
1,800 |
เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น,
โต๊ะเครื่องแป้ง, สบู่, ยาสระผม, ผ้าห่ม (ผ้านวม)
|
โซนที่ 1 |
2. แม่ปิง 812/1 |
2 |
1 |
6 |
1,800 |
เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง,
สบู่, ยาสระผม, ผ้าห่ม (ผ้านวม)
|
โซนที่ 1 |
3. แม่ปิง 812/2 |
2 |
1 |
6 |
1,800 |
เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะเครื่องแป้ง,
สบู่, ยาสระผม, ผ้าห่ม (ผ้านวม)
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
แก่งก้อ เป็น
ชื่อเรียกของแก่งหิน จุดหนึ่งใน 32 แก่งหินของแม่น้ำปิง
ก่อนการสร้างเขื่อนภูมิพล
ซึ่งในสมัยก่อนแม่น้ำปิงถูกใช้เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักระหว่างผู้คนในภาค
กลางและ ภาคเหนือใน จังหวัด ลำพูน เชียงใหม่
ปัจจุบันแก่งก้อกลายเป็นเวิ้งน้ำขนาดใหญ่ ที่เกิดจาก
ลำห้วยแม่ก้อไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง
โดยมีระดับน้ำที่สูงขึ้นมาจากเดิมมากหลังจากการ
สร้างเขื่อน แก่งก้อมีทัศนียภาพที่สวยงาม
เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว แก่งก้อยังเป็นจุด
ครึ่งทางของการสัญจรทางน้ำระหว่างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
และอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันแก่งก้อกลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำของอุทยานแห่งชาติ
-แม่ปิง ซึ่งรองรับการทำกิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ เช่น
การนั่งเรือชมทิวทัศน์สองฝากฝั่งแม่น้ำปิง
การลากเรือนแพไปตามลำน้ำ เล่นน้ำ ตกปลา ปีนหน้าผาริมน้ำปิง
และยังสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวใน จุดท่องเที่ยวอื่น ๆ
ในแม่น้ำปิงได้อีก เช่น โรงเรียนเรือนแพ อุ้มปาด
ถ้ำช้างร้อง วัดพระธาตุแก่งสร้อย พระบาทท่าฮ้าว ถ้ำโยคี
พระบาทบ่อลม พระบาทเขาหนาม เขื่อนภูมิพล น้ำตกอุมแป
และอ่างเก็บน้ำดอยเต่าเป็นต้น
แก่งก้ออยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิงประมาณ 23
กิโลเมตร รถยนต์สามารถเดินทางได้สะดวก
และสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
ชมวัฒนธรรมและประเพณี
|
|
จุดชมค้างคาวถ้ำฮ่อมแสน จุด
ชมค้างคาวถ้ำฮ่อมแสน
อยู่ห่างจากแก่งก้อไปทางทิศเหนือประมาณ 7 กิโลเมตร
เป็นจุดที่สามารถชมฝูงค้างคาวนับล้านตัวของถ้ำฮ่อมแสนบนหน้าผาสูงออกหากินใน
ตอนพลบค่ำของทุกวัน
นักท่องเที่ยวสามารถชมค้างคาวได้โดยการจอดเรืออยู่ในแม่น้ำปิง |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ส่องสัตว์
ชมทิวทัศน์
|
|
ถ้ำช้างร้อง ถ้ำ
ช้างร้อง อยู่ห่างจากแก่งก้อไปทางทิศใต้ ประมาณ 25
กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดเล็ก ริมแม่น้ำปิง
ภายในมีโบราณวัตถุในอดีตปรากฏหลักฐานต่าง ๆ
ให้เห็นจนถึงปัจจุบัน |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำยางวี เป็น
ถ้ำหินปูนขนาดกลางภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงาม
เมื่อกระทบกับแสงไฟจะส่องแสง เป็นประกายสวยงาม
บรรยากาศภายในสดชื่นเย็นสบาย สามารถเดินทางเข้าถึงโดย
การเดินเท้า และจักรยานเสือภูเขา
อยู่ห่างจากทุ่งกิ๊กประมาณ 18 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
เดินป่าระยะไกล
|
|
ทุ่งกิ๊ก อยู่
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 14 กิโลเมตร
มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติกว้างใหญ่ซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเต็งรังและป่า
เบญจพรรณ อยู่ด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ
ภูมิประเทศเป็นที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง
มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวก เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า
ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ มากมาย
ในช่วงฤดูแล้งดอกไม้ป่าหลายชนิดจะพากันบานเต็มทุ่งกิ๊ก
สวยงามน่าชมมาก
บริเวณทุ่งกิ๊กนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ
ชื่นชอบกิจกรรมดูนก ซึ่งมีนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น
นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกกระทาทุ่ง
ฯลฯ จากบริเวณทุ่งกิ๊กเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร
จะพบน้ำตกก้อน้อย
ซึ่งเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน
ระหว่างทางจะพบกับดงเถาวัลย์ที่สวยงาม |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
ดูนก
ดูดาว
|
|
น้ำตกก้อน้อย น้ำตก
ก้อน้อย มีทั้งหมด 7 ชั้น เป็นน้ำตกที่อยู่กลางป่าลึก
สายของน้ำตกเกิดจากลำห้วยแม่ก้อน้อย
ที่ผ่านป่าสนพระบาทยางวี
ไหลลงสู่หุบเขาสูงชั้นทำให้เกิดเป็นชั้นน้ำตกขนาดใหญ่
บางชั้นมีความสูงกว่า 100 เมตร
บริเวณดังกล่าวยังมีจุดที่สามารถชมวิวทิวทัศน์เบื้องล่าง
คือหมู่บ้านตำบลก้อ
และอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลบริเวณห้วยแม่ก้อได้ในระยะไกล
และในช่วงฤดูหนาว
สามารถชมทะเลหมอกบริเวณดังกล่าวได้อีกด้วย
น้ำตกก้อน้อยสามารถเดินทางเข้าถึง โดยการเดินเท้า
และจักรยานเสือภูเขาเท่านั้น
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ประมาณ 23
กิโลเมตร
ใช้เส้นทางผ่านจากทุ่งกิ๊กก่อนเข้าถึงน้ำตกก้อน้อย |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกก้อหลวง อยู่
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 22 กิโลเมตร
รถยนต์สามารถเข้าไปถึง
เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างดีของชาวจังหวัดลำพูนและจังหวัด
ใกล้เคียง
น้ำตกก้อหลวงเป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำน้ำในห้วยแม่ก้อ
ไหลผ่านหินดินดานเทาดำและหินทรายของหน้าผาที่มีความสูงต่างระดับกันลดหลั่น
กันลงมามีทั้งหมด 7 ชั้น
เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีหินปูนและมีน้ำไหลตลอดปี
จึงทำให้บริเวณน้ำตกมีหินงอกหินย้อยมากมาย
และมีความสวยงามตามธรรมชาติ
บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่สะอาดไม่มีสิ่งใดรบกวน
ทำให้มีปลาชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกแม่ดูด น้ำตก
แม่ดูด เป็นน้ำตกที่อยู่ในท้องที่ตำบลยกกระบัตร
อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีทั้งหมด 5 ชั้น
บนตัวน้ำตกสามารถใช้เป็นจุดชมวิว
พื้นที่หมู่บ้านเบื้องล่างได้อีกด้วย
อยู่ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ที่
มป. 11 (ดอยขุนเม่น) ประมาณ 2 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
ป่าสนพระบาทยางวี ป่า
สนพระบาทยางวี เป็นสภาพผืนป่าสนสองใบผสมป่าพลวง
มีเนื้อที่ขนาดใหญ่ อยู่บนที่ราบสูง
มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 750 900
เมตรในพื้นที่ป่าใจกลางอุทยานแห่งชาติ
สภาพป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก
บริเวณป่าสนพระบาทยางวียังมีรอยพระบาทยางวี
ซึ่งชาวบ้านตำบลก้อมีความเชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาท
ดังนั้นจึงมีประเพณี ที่ชาวบ้านตำบลก้อ
เดินทางจากหมู่บ้านทำการบวงสรวง สักการะรอยพระบาทดังกล่าว
เป็นประจำทุกปี
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงได้โดยการเดินเท้าหรือใช้จักรยานเสือภูเขา
ป่าสนพระบาทยางวีอยู่ห่างจากทุ่งกิ๊ก ประมาณ 14 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
ผาแมว เป็นผาสูงชันริมแม่น้ำปิงบรรยากาศสงบร่มรื่น
เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่ดีอีกจุดหนึ่ง
เหมาะสำหรับกิจกรรมไต่หน้าผา |
|
กิจกรรม :
ไต่หน้าผา
ชมทิวทัศน์
|
|
อุ้มปาด - โรงเรียนเรือนแพ - เกาะคู่สร้างคู่สม อุ้ม
ปาด - โรงเรียนเรือนแพ - เกาะคู่สร้างคู่สม
อยู่ห่างจากแก่งก้อไปทางทิศใต้ ประมาณ 10 กิโลเมตร
เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ที่ มป.10
(อุ้มปาด) สามารถใช้เป็น ที่พักค้างแรม
และจุดแวะพักผ่อนชมวิว โดยเฉพาะการชมพระอาทิตย์ตก
ตรงข้ามกับหน่วยพิทักษ์ฯ อุ้มปาด
อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเรือนแพ
ซึ่งเป็นโรงเรียนสาขาหนึ่งของโรงเรียนบ้านก้อจัดสรร
เปิดบริการการเรียนการสอนให้กับบุตรหลานของครอบครัวชาวเรือนแพประมงที่อาศัย
อยู่ในลำน้ำปิง
มีอาคารเรียนและที่พักนอนเป็นเรือนแพที่ลอยอยู่ในน้ำระหว่างโรงเรียนเรือนแพ
กับหน่วยพิทักษ์ฯ อุ้มปาด
นอกจากนี้ยังมีเกาะคู่สร้างคู่สมอยู่ระหว่างกลาง
เกิดจากระดับน้ำของเขื่อนภูมิพลที่
ท่วมสูงขึ้นทำให้ผืนแผ่นดินกลายเป็นเกาะกลางน้ำมีทัศนียภาพที่สวยงาม |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ชมทิวทัศน์
|
|
ด้านท่องเที่ยวผจญภัย |
|
เส้นทางเดินป่าระยะไกล ทุ่งกิ๊ก - น้ำตกก้อน้อย -
น้ำตกก้อหลวง ทุ่ง
กิ๊ก - น้ำตกก้อน้อย - น้ำตกก้อหลวง มีความยาวประมาณ 16
กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 2 วัน ต้องพักค้างแรม 1 คืน
นักท่องเที่ยวสามารถพักค้างแรมและชมน้ำตกก้อน้อย
จุดชมวิวตำบลก้อได้ มีลักษณะเด่นในเรื่องของสังคมทุ่งหญ้า
สังคมป่าเต็งรัง ป่าสัก และ ต้นน้ำลำธารของห้วยแม่ก้อ |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
เดินป่าระยะไกล
|
|
เส้นทางเดินป่าระยะไกล น้ำตกก้อน้อย - ป่าสนพระบาทยางวี -
จุดชมวิวแม่น้ำปิง น้ำตก
ก้อน้อย - ป่าสนพระบาทยางวี - จุดชมวิวแม่น้ำปิง
มีระยะทางไปกลับประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5
ชั่วโมง โดยเริ่มเดินจากน้ำตกก้อน้อย
ไปสิ้นสุดที่จุดชมวิวแม่น้ำปิง
แล้วเดินกลับมาพักค้างแรมที่น้ำตกก้อน้อย 1 คืน
จากนั้นสามารถเลือกเส้นทางเดินกลับระหว่างทุ่งกิ๊ก
หรือน้ำตกก้อหลวงในวันต่อไป มีลักษณะเด่นในเรื่อง
สังคมป่าเต็งรังที่มีไม้พลวงเป็นไม้เด่น
ป่าสนสองใบผสมป่าเต็งรัง ดอกไม้ป่า จุดชมวิวแม่น้ำปิง |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
เดินป่าระยะไกล
|
|
เส้นทางเดินป่าระยะไกล น้ำตกก้อน้อย - ป่าสนพระบาทยางวี -
ถ้ำยางวี น้ำตก
ก้อน้อย - ป่าสนพระบาทยางวี - ถ้ำยางวี
มีระยะทางไปกลับประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7
ชั่วโมง โดยเริ่มเดินจากน้ำตกก้อน้อย ไปสิ้นสุดที่ถ้ำยางวี
และเดินกลับมาพักค้างแรมที่นำตกก้อน้อย 1 คืน
จากนั้นสามารถเลือกเส้นทางเดินกลับระหว่างทุ่งกิ๊ก
หรือน้ำตกก้อหลวง มีลักษณะเด่นในเรื่อง
สังคมป่าเต็งรังที่มีไม้พลวงเป็นไม้เด่น
สังคมป่าป่าสนสองใบผสมป่าเต็งรัง ดอกไม้ป่า และถ้ำยางวี |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
แค้มป์ปิ้ง
เดินป่าระยะไกล
|
|
ด้านศึกษาธรรมชาติ |
|
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จุดชมวิวผาตูบ เส้น
ทางเดินศึกษาธรรมชาติจุดชมวิวผาตูบ มีความยาวประมาณ 1,135
เมตร อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
มีลักษณะเด่นในเรื่องของสังคมป่าเต็งรัง สังคมป่าไผ่
สังคมป่าเบญจพรรณ สังคมป่าดิบแล้งริมลำห้วย
ลักษณะของหน้าผาหิน พืชพรรณไม้
กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยตามหน้าผา
และจุดชมวิวผืนป่าบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ทุ่งกิ๊กแดนมหัศจรรย์ เส้น
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ทุ่งกิ๊กแดนมหัศจรรย์
มีระยะทางประมาณ 2,000 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง
มีลักษณะเด่นในเรื่องของสังคมทุ่งหญ้า สังคมป่าเต็งรัง
พรมแดนป่า และจุดชมวิวทุ่งกิ๊ก |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|