กอง อุทยานแห่งชาติได้รับหนังสือจากจังหวัดลำปางที่ ลป 09/7227 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2525 เรื่อง โครงการอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อชุมชน ความว่า ป่าดอยม่านกลาง พื้นที่บริเวณป่าแม่วะ ห้วยแม่มอก ป่าดอยแม่ตอน ป่าขุนเจือ ป่าแม่เติน ป่าแม่ถอด ป่าแม่ลอง ป่าดอยฝั่งมั่น และท้องที่อำเภอเถิน และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีไม้สนเขาขึ้นอยู่มากมายสวยงามมากเป็นที่รู้จักกันทั่วไป รวมทั้งนักบินที่สังกัดในหน่วยบินเกษตร ก็ได้รายงานให้กองอุทยานแห่งชาติทราบถึงความสวยงามของพื้นที่ เหมาะที่จะจัดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 540/2530 ให้ นายตระกูล คุณาพัทธ์ นักวิชาการป่าไม้ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการวนอุทยาน และนายนิยม ย้อมแสง เจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายจัดการวนอุทยานไปสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในบริเวณท้องที่ ป่าแม่วะ ห้วยแม่มอก ป่าดอยแม่ตอน ป่าดอยขุนเจือ ป่าแม่เติน แม่ถอด แม่ลอง ป่าดอยฝั่งมั่น และป่าดอยม่อนกลาง อำเภอเถิน และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยาน หรืออุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจพบว่า สภาพป่าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่วะ สภาพป่าสมบูรณ์ประกอบด้วยเทือกเขาใหญ่สูงสลับซับซ้อน มีสภาพธรรมชาติสวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ และ มีสัตว์ป่าชุกชุม สมควรที่จัดเป็นวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติได้พิจารณาแล้วเนื่องจากพื้นที่นี้มีทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ชุกชุมด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและเพื่อความรื่นรมย์ของประชาชน จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ กษ 0712.3/19921 ลงวันที่ 30 ก.ค. 2542 ตามที่ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่เลิม ป่าแม่ปะ และป่าแม่วะ ป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลแม่ปะ ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่มอก ตำบลเถินบุรี ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และป่าแม่สลิด ป่าโป่งแดง ในท้องที่ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา และตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อไปดำเนินการนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการ ต่อไปได้ ในการประชุมตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 ณ ห้องประชุม 200 (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) ที่ประชุมได้มอบหมายให้ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมป่าไม้) รับไปตรวจสอบแก้ไขแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังนี้ แก้ไขชื่อร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เป็น ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่เลิม ป่าแม่ปะ และป่าแม่วะ ป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลแม่ปะ ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่มอก ตำบลเถินบุรี ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และป่าแม่สลิด ป่าโป่งแดง ในท้องที่ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา และตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีหนังสือ ที่ นร 0601/375 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ยืนยันมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและตรวจพิจารณาแก้ไข ร่างฯและแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น อุทยานแห่งชาติแม่วะ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่เลิม ป่าแม่ปะ และป่าแม่วะ ป่าแม่มอก ในท้องที่ตำบลแม่ปะ ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่มอก ตำบลเถินบุรี ตำบลเวียงมอก ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และป่าแม่สลิด ป่าโป่งแดง ในท้องที่ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา และตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 117 ตอนที่ 108 ก วันที่ 17 พฤศจิกายน 2543
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ทางตอนกลางถึงตอนใต้ของพื้นที่เป็นเทือกเขาสูง โดยบริเวณยอดเขาจะเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ ซึ่งมีต้นสนเขาขนาดใหญ่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ส่วนทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นภูเขาหินปูน ความสูงประมาณ 300-400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยดอยผาจี่ ดอนผาขัดห้าง ดอยปูโมะ และดอยแปรหลวง โดยมีดอยผาจี่ เป็นดอยที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1,027 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยแม่วะ ห้วยแม่แสลม ห้วยแม่สลิด ซึ่งห้วยเหล่านี้จะไหลลงแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง และแม่น้ำยม
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็น แบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูฝนเริ่มกลางเดือนพฤษภาคม-กันยายน และมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน ฤดูหนาวเริ่มเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม
พรรณไม้และสัตว์ป่า
สภาพ ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง แดง ประดู่ ตะแบก ชิงชัง มะกอกป่า ยมหิน รกฟ้า กระโดน ตะเคียนทอง กระบาก เต็ง รัง เหียง สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น ส่วนสัตว์ป่านั้นเนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตภูเขาสลับซับซ้อน อีกทั้งสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก เช่น เสือโคร่ง กระทิง หมีควาย กวางป่า เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า จำพวกนกได้แก่ เหยี่ยว นกฮูก นกกระปูด นกเค้าแมว กบและปลาชนิดต่างๆ
เดิน ทางจากจังหวัดลำปางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) สายจังหวัดลำปาง-ตาก ระหว่างกิโลเมตรที่ 498-499 จะมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร (บริเวณทางแยกเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแม่วะวิทยา) นอกจากนี้บริเวณทางทิศเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีอาณาเขตจดทางหลวง จังหวัดหมายเลข 1048 จากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุทยาน แห่งชาติแม่วะอยู่ในบริเวณพื้นที่อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด มีทิวทัศน์ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ เช่น น้ำตกแม่วะ มีน้ำไหลตลอดปี เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเถินประมาณ 19 กิโลเมตร มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่
ถ้ำน้ำผ่าผางาม อยู่ ในเขตท้องที่บ้านวังสำราญ ตำบลพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ มีทางวกไปวนมาและมีความลึกมาก ภายในถ้ำมีน้ำไหลผ่าน และมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามตระการตา
ถ้ำพระเจดีย์ อยู่ ในเขตท้องที่บ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลางภายในถ้ำมีหินงอกรูปทรงเจดีย์อยู่บนพื้น และรูปอ่างเก็บน้ำเป็นชั้นๆ ราษฎรบ้านน้ำดิ[ได้ร่วมกันพัฒนาบริเวณถ้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำหมู่ บ้าน บริเวณใกล้เคียงกับถ้ำพระเจดีย์ ยังมีถ้ำช้างและถ้ำเล็กถ้ำน้อยอีกหลายแห่ง ซึ่งถ้ำเหล่านี้อยู่ห่างจากบ้านน้ำดิบประมาณ 3 กิโลเมตร
ทิวทัศน์และสภาพป่า บริเวณ ยอดดอยขุนห้วยปง ดอยกิ่งคอด ดอยตาจี่ ซึ่งอยู่บริเวณตอนกลางถึงตอนใต้ของพื้นที่ที่สำรวจเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีต้นสนสองใบ สนสามใบขนาดใหญ่ขึ้นกระจัดกระจายปะปนกับไม้ก่อชนิดต่างๆ ส่วนพื้นล่างที่จะมีต้นหญ้าคาขึ้นอยู่ทำให้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับเดินป่าเพื่อศึกษาธรรมชาติ
น้ำตกแม่วะ อยู่ ในเขตพื้นที่บ้านน้ำดิบ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง บริเวณโดยรอบของน้ำตกแม่วะประกอบไปด้วยภูเขาสูงชัน มีดอยแปลหลวง เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกนี้ และจะไหลลงสู่แม่น้ำวังในที่สุด น้ำตกแม่วะประกอบไปด้วย น้ำตกแม่วะประกอบไปด้วย น้ำตกชั้นต่างๆ ทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีความงามแบบต่างๆ กัน มีทางเดินขึ้นไปถึงแค่น้ำตกชั้นที่ 8 สภาพเส้นทางระหว่างน้ำตกชั้นที่ 1-4 ระยะทาง 700 เมตร เดินได้สะดวก จากนั้นทางเริ่มสูงชันขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 8 รวมระยะทาง 2.2 กิโลเมตร สำหรับน้ำตกชั้นที่ 9 มีชื่อว่า ตาดหลวง มีความสูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนหน้าผาจากน้ำตกชั้นที่ 8 ขึ้นไปอีกไกลจึงจะถึง การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เมื่อผ่านอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ไปถึงประมาณกิโลเมตรที่ 500 จะมีทางแยกเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ผ่านทางแยกนี้ไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.1 (น้ำตกแม่วะ) น้ำตกอยู่ห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร นอกจากนี้ยังมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นทางเดินขึ้นเขาผ่านป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ แล้วเดินขึ้นสันเขาผ่านจุดชมทิวทัศน์ไปจนพบกับน้ำตกชั้นที่ 8 รวมระยะทางประมาณ 3.8 กิโลเมตร เหมาะสำหรับการเดินชมป่าเปลี่ยนสีในช่วงฤดูแล้ง
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 1 ใกล้น้ำตกแม่วะ จำนวน 1 หลัง
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 หลัง
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 1 (น้ำตกแม่วะ) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 10 กิโลเมตร
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวไว้บริการด้านข้อมูล