เมื่อ ปี 2525 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เห็นว่า สภาพธรรมชาติที่เป็นเกาะแก่ง หาดทรายชายทะเล ในบริเวณชองแคบมะละกา เขตจังหวัดสตูล ยังมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์อยู่มาก น่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณหมู่เกาะเภตรา ปรากฏว่า มีสภาพเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตรา และเกาะเขาใหญ่ สภาพป่าสมบูรณ์ ทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการัง หาดทรายขาวสะอาด มีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา ทั้งเป็นที่วางไข่และอยู่อาศัยของเต่าทะเลหลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตำบลตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลแหลมสน และตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร
นิทานพื้นบ้าน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเตรา มีตำนานเกาะเภตราซึ่งตัวเกาะเภตราตั้งอยู่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มองจากที่ไกลๆ คล้ายกับเรือสำเภากำลังอับปาง ดังมีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาถึงการเกิดเป็นหมู่เกาะเภตราว่า มีครอบครัวๆ หนึ่ง มีตาพุดกับยายทองและลูกชายอีกหนึ่งคน นับถืศาสนาพุทธ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านพระม่วง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่มาวันหนึ่งมีเรือสำเภาของพ่อค้าชาวไทรบุรีได้นำสินค้าเข้ามาค้าขายที่ ท่าเรือกันตัง ฝ่ายลูกชายของตายายก็ได้มาชมสินค้าในเรือเหมือนกับคนอื่นๆ เมื่อพ่อค้าเห็นเข้าก็เกิดความรักความเอ็นดู จึงเอ่ยปากชวนไปอยู่ที่เมืองไทรบุรีด้วย และได้ช่วยพ่อค้าทำงานอย่างขยันขันแข็ง อยู่มาวันหนึ่งเจ้าพระยาเมืองไทรบุรีได้มาเห็นเด็กชาย็เกิดความรักความ เอ็นดู จึงขอเด็กชายจากพ่อค้าไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรมโโยให้เข้านับถือศาสนาอิส ลาม เจ้าพระยาได้เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทำให้เด็กชายหลงระเริงลืมตนว่าเป็นใคร ครั้นมีอายุสมควรแก่การมีเหย้ามีเรือน เจ้าพระยาก็ให้แต่งงานกับลูกสาวของตน หลังจากแต่งงานฝ่ายหญิงก็คิดที่จะไปเยี่ยมพ่อแม่ของสามีและคอยรบเร้าจนสามี ต้องยอม จึงได้ตกแต่งเรือสำเภาขนาดใหญ่ และให้คนเดินทางล่วงหน้าไปก่อนเพื่อแจ้งข่าวให้กับตายาย ตายายเมื่อรู้ข่าวว่าลูกชายลูกสะใภ้จะมาเยือนก็ดีใจยิ่งนัก จึงได้จัดเตรียมข้าวของมากมายไว้คอยต้อนรับโดยเฉพาะหมูย่าง เพราะคิดว่าลูกชายยังคงอยากกินเหมือนสมัยที่เคยอยู่กับตน ครั้นถึงวันกำหนดสองสามีภรรยาก็แล่นเรือมาถึงปากน้ำกันตัง ลูกชายเมื่อเห็นสภาพของพ่อแม่ก็เกิดความอับอายไม่ยอมรับว่าเป็นพ่อแม่ของตน สองตายายเกิดความเสียใจเป็นอันมากจึงเอาหมูย่างไปวางที่กัวเรือแล้วอธิษฐาน ว่า ถ้าหากเป็นลุกชายของตนจริงขอให้มีอันเป็นไป ออกจากท่าเรือไม่ได้ พอสิ้นคำสาปแช่งก็เกิดพายุอย่างหนัก ได้พัดเรือของลูกชายลูกสะใภ้อับปางลง สมบัติพัสฐานข้าวของต่างๆ ก็ล่องลอยกลายเป็นเกาะต่างๆ ในน่านน้ำแห่งนี้ เช่น หมูย่างกลายเป็นเกาะสุกร เรือสำเภากลายเป็นเกาะเภตรา นอกนั้นมีเกาะไข่ เกาะกล้วย เกาะเขาหินตา เกาะเขาหินยาย เกาะไก่ เป็นต้น
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพ ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ส่วนใหญ่เป็นเกาะเขาหินปูนที่มีความลาดชันสูง มีที่ราบเพียงเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นหุบเขาและชายหาด ประกอบด้วยเกาะมากกว่า 22 เกาะ กลางท้องทะเลอันดามัน ที่เรียงรายกระจัดกระจายตั้งแต่เขตอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เรื่อยไปจนจรดอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะน้อยใหญ่ โดยมีเกาะที่สำคัญเรียงจากเหนือไปใต้คือ เกาะเหลาเหลียงเหนือ เกาะเหลาเหลียงใต้ เกาะเบ็ง เกาะตากใบ เกาะกล้วย เกาะตุงกู เกาะละมะ เกาะบุโหลนขี้นก เกาะบุโหลนใหญ่ เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะเขาใหญ่ และเกาะลิดี มีพื้นที่รวมประมาณ 494.38 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 94.7 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่บางส่วนกันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ เช่น หมู่บ้านบ่อเจ็ดลุก และบางส่วนทางราชการโดยกองทัพเรือขออนุญาตใช้พื้นที่
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตั้งอยู่ในเขตโชนร้อน ลักษณะลมฟ้าอากาศคล้ายคลึงกันตลอดปีความแตกต่างระหว่างฤดูกาลไม่เด่นชัด มีฤดูฝนอันยาวนานจนกล่าวได้ว่ามีฝนกระจายตลอดทั้งปี แต่ระยะที่มีฝนหนักจริงๆ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมต่อกันไปจนถึงเดือนตุลาคม สิ้นเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมปริมาณฝนจะลดลงสำหรับฤดูร้อนจะปรากฏเป็น ช่วงสั้น ๆ ในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระยะการเปลี่ยนแปลงฤดูมรสุม จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนช่วงการเปลี่ยนแปลงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนตุลาคมนั้นทำให้สภาพภูมิอากาศของพื้นที่แตกต่างกันไปบ้างแต่ไม่เด่น ชัดนัก
พรรณไม้และสัตว์ป่า
ลักษณะพันธุ์พืชตามธรรมชาติประกอบด้วย ป่าดงดิบ ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปเป็นป่ารกทึบทั้งในเรือนยอดไม้ใหญ่และพืชพื้นล่าง พบกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย ยาง สาวดำ ตะแบก ไฉน มะม่วงป่า พะยอม ศรีตรัง แคฝอย อินทนิล กระโดน ส้มเสี้ยว ฯลฯ และพืชพื้นล่าง เช่น หวาย เฟิน มอส ขิง ข่า ไผ่ เป็นต้น ป่าชายหาด มีปรากฏเฉพาะหาดทรายที่เป็นที่ราบตามอ่าวของเกาะต่างๆ ซึ่งมีอยู่ไม่กว้างนัก สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล กระทิง ปอทะเล โพทะเล หูกวาง กาหยี จิกเล พืชพื้นล่างเป็นพวกเตยทะเลหรือลำเจียก ป่าชายเลน พบขึ้นอยู่ในดินเลนบริเวณริมทะเลและตามปากคลอง ซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรง ตะบูน ถั่วดำ ถั่วขาว ฯลฯ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา มีสภาพเป็นเกาะที่มีขนาดเล็ก ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์จึงมีไม่มาก สามารถจำแนกออกได้เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ พะยูน นางอายหรือลิงลม ค่างแว่นถิ่นใต้ กระจง หมูป่า อีเห็น พญากระรอก และค้างคาวชนิดต่างๆ ฯลฯ นก ประกอบด้วย นกยางทะเล นกออก เหยี่ยวแดง เหยี่ยวรุ้ง นกชาปีไหน นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกาฮัง นกกะเต็น นกขมิ้นน้อย นกเขียวคราม นกแอ่นกินรัง นกแอ่นหางสี่เหลี่ยม นกนางแอ่นแปซิฟิก ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย งูเหลือม และตะกวด ฯลฯ นอกจากนี้ในบริเวณเกาะต่างๆ เหล่านี้ยังมีแนวปะการังใต้น้ำที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ธรรมชาติใต้ทะเล ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ปักเป้าทะเล ปลากระทงแดง ปลาไหลทะเล ปลากระบอก ปลากะพง ปลาจะละเม็ดดำ ปลาอินทรี ปลาโอ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลาสาก ปลาสิงโต ปลาโนรี ปลาผีเสื้อ ม้าน้ำ กุ้ง ปู หอย ปลิงทะเล และดาวทะเล เป็นต้น
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านเข้าจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง จากพัทลุงไปอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ให้ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 ถึงจังหวัดสตูล จากจังหวัดสตูลใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 (สตูล-ตรัง) ถึงอำเภอละงูเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4052 (ละงู-ปากบารา) ประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงท่าเรือปากบารา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ก่อนถึงท่าเรือปากบาราประมาณ 3 กิโลเมตรโดยห่างจากตัวอำเภอละงู จังหวัดสตูล 7 กิโลเมตร
ไม่ มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดสตูล แต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯหาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางจากตัวอำเภอหาดใหญ่ ไปท่าเรือปากบารา
สามารถ เดินทางไปกับขบวนรถกรุงเทพฯยะลา หรือกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ได้ โดยลงที่สถานีหาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถแท็กซี่ รถจอดที่ใต้สะพานลอย หน้าที่ทำการไปรษณีย์ สาขารัถการ หรือรถตู้โดยสารประจำทางจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร รถจอดที่บ้านพักรถไฟ มีบริการทุกวัน และรถจะออกทุกๆ 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.-16.00 น.หรือรถโดยสารธรรมดา หาดใหญ่-ปากบารา-สตูล รถจอดที่หอนาฬิกาหาดใหญ่ มีบริการทุกวัน วันละ 3 เที่ยว เริ่มตั้งแต่ 07.00 น. และ 15.00 น.
จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสตูล เดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารประจำทางเส้นตรัง-สตูล ถึงอำเภอละงูขึ้นรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อยู่ในท้องที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินเดีย บริเวณช่องแคบมะละกา ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ประกอบด้วยเกาะสำคัญ คือ เกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และเกาะบริวารต่างๆ รวม 22 เกาะ เรียงจากเหนือไปใต้ ได้แก่ เกาะเหลาเหลียงเหนือ เกาะเหลาเหลียงใต้ เกาะเบ็ง เกาะตุกุนแพ เกาะจังกาบ เกาะเภตรา เกาะโต๊ะโหรยน้อย เกาะโต๊ะโหรยใหญ่ เกาะหลัก เกาะตากใบ เกาะแดง เกาะกล้วย เกาะตุงกู เกาะละมะ เกาะบุโหลนเล เกาะบุโหลนไม้ไผ่ เกาะบุโหลนดอน เกาะลินตี เกาะลินัน เกาะเขาใหญ่ เกาะลิดีใหญ่ และเกาะลิดีเล็ก แต่ละเกาะมีหาดทรายขาวสะอาด มีถ้ำที่สวยงาม บางเกาะเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล และภายใต้ท้องทะเลมีปะการังที่สวยงามมากมาย มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่
เกาะเขาใหญ่ เกาะ เขาใหญ่เป็นปฏิมากรรมของธรรมชาติที่คล้ายกับปราสาทหิน มีสะพานธรรมชาติยื่นโค้งเข้าไปในทะเล เมื่อน้ำลดสามารถพายเรือลอดเข้าไปได้ บนเกาะมีอ่าว ชื่อ อ่าวก้ามปู ภายในอ่าวมีน้ำตกไหลมาเป็นลำธารเล็กๆ เป็นอ่าวที่สงบปราศจากคลื่นลมตลอดปีเวลาน้ำลดระดับต่ำสุด แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลจะปรากฎให้เห็นตลอดแนวชายฝั่ง นอกจากนี้บริเวณอ่าวก้ามปูจะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่อีกด้วย
เกาะบุโหลน อยู่ ห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำใส สามารถมองเห็นปะการังใต้น้ำเมื่อยามน้ำลดเต็มที่จะมองเห็นปะการังเขากวาง จำนวนมาก เกาะบุโหลนได้ชื่อว่าเป็นมุกใหม่แห่งอันดามัน บริเวณใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปะการังหลากสีสันและหมู่ปลานานาพันธุ์ เหมาะสมต่อการดำน้ำและยังมีหาดทรายที่ขาวสะอาด
เกาะเภตรา อยู่ ทางทิศใต้ของแหลมตะเสะ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร อยู่ในเขตจังหวัดสตูล มีหาดทรายหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออก ตามหน้าหาดมีปะการังที่สวยงาม เหมาะสำหรับกิจกรรมดำน้ำดูปะการัง มีชายหาดที่กว้างและมีมุมพักผ่อนมากมาย
เกาะลิดี อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบารา 7 กิโลเมตร มีหน้าผาและถ้ำ เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น เกาะลิดีมีเนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร มีหาดทรายขาวและมีเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในตัวเกาะ ความลึก 3-5 เมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล เป็นมุมสงบที่น่าพักผ่อนของเกาะลิดี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภต.2 (เกาะลิดี) จากภาพ : เป็นช่วงเวลาน้ำลง ทำให้สามารถเดินไปยังเกาะเล็กๆ ที่อยู่ด้านหน้าเกาะลิดีได้
เกาะเหลาเหลียง อยู่ ในท้องที่อำเภอปะเหลียน ห่างจากแหลมตะเสะ จังหวัดตรัง ประมาณ 18 กิโลเมตร สามารถลงเรือได้จากอำเภอปะเหลียนหรือที่อำเภอกันตังก็ได้ทั้งสองทาง ใช้เวลาเดินทางโดยเรือประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที หาดทรายของเกาะหันหน้าสู่ด้านตะวันออก ตามหน้าหาดจะมีปะการังน้ำตื้นบางส่วนโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอวดความงามยามเมื่อน้ำ ลง ด้วยเหตุที่เกาะเหล่านี้อยู่ใกล้ปากอ่าวจึงได้รับอิทธิพลของตะกอนจากปากน้ำ กันตังและปะเหลียน ทำให้น้ำทะเลไม่ใสนัก ไม่เหมาะสำหรับการดำน้ำ คงมีแต่เพียงการเดินเล่นชายหาด ถ่ายรูป ชมปะการังน้ำตื้น
หาดราไวย์ เป็น ชายหาดซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหมู่ที่ 2 และ 4 ตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ห่างจากที่ทำการอำเภอทุ่งหว้า 26 กิโลเมตร ไปตามถนนสายละงู-ทุ่งหว้า แยกตรงบ้านวังตง ตามชายหาดเป็นแนวต้นสน เหมาะสำหรับเป็นที่ตั้งแค็มป์พักแรม
อ่าวนุ่น เป็น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อยู่บนฝั่ง) บริเวณนี้จัดเป็นส่วนบริการของอุทยานแห่งชาติ อยู่ห่างจากอำเภอละงู ประมาณ 7 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของอ่าวนุ่น ในที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วย ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก และศาลาอเนกประสงค์เพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีสะพานเลียบเชิงเขาเพื่อไปชมธรรมชาติ และเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 400 เมตร เพื่อชมสภาพธรรมชาติและข้ามไปชมความงามของฝั่งตรงข้ามในบริเวณหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.1 (เขาโต๊ะหงาย)
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ประกอบด้วย ทางเดินป่า จำนวน 2 เส้นได้แก่ ทางเดินป่าอ่าวลำพู-จุดชมวิวแหลมหว้าหิน ระยะทาง 400 เมตร และทางเดินป่าอ่าวลำพูอ่าวมะพร้าว ระยะทาง 600 เมตร ทางเดินศึกษาธรรมชาติ จำนวน 2 เส้น ได้แก่ เส้นทางจุดชมวิวผากล้วยไม้ อยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติจุดชมวิวแหลมหินคน ระยะทาง 570 เมตรและเส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดชมวิวเขาโต้ะหงาย อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เขาโต๊ะหงาย ระยะทาง 200 เมตร เส้นทางดำน้ำตื้น จำนวน 3 เส้น ได้แก่ เส้นทางดำน้ำบุโหลนไม้ไผ่ อยู่ที่เกาะบุโหลนไม้ไผ่ ระยะทาง 22 กิโลเมตร เส้นทางดำน้ำหินขาว อยู่ที่เกาะลูกหิน ระยะทาง 26 กิโลเมตร และเส้นทางดำน้ำเกาะเภตรา ที่เกาะเภตรา ระยะทาง 29 กิโลเมตร
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณอาวนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บนเกาะลิดี ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.2
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บนเกาะลิดี ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.2
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สถานที่กางเต็นท์ที่อุทยานแห่งชาติจัดไว้ให้บริการมีดังนี้ 1. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณอ่าวนุ่น 2. เกาะบุโหลนไม้ไผ่ 3. เกาะเขาใหญ่
ที่จอดรถ มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณอ่าวนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ อุทยานแห่งชาติมีท่าเรือไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณอ่าวนุ่น ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ท่าเรือ/ท่าเทียบเรือ อุทยานแห่งชาติมีท่าเรือไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณเกาะลิดี ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภต.2
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์ บริการนักท่องเที่ยว สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้ มีการจัดนิทรรศการ พร้อมอุปกรณ์โสต อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา