อุทยานแห่งชาติน้ำพอง |
|
|
อุทยาน แห่งชาติน้ำพอง
เป็นชื่อเรียกตามต้นกำเนิดลำน้ำพองที่ไหลมารวมกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล
รัตน์ (เดิมชื่ออ่างเก็บน้ำน้ำพอง)
เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของจังหวัดขอนแก่น
แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า น้ำพอง-ภูเม็ง
เพราะมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเทือกเขาภูเม็ง
อุทยานแห่งชาติน้ำพองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่นติดกับเขื่อน
อุบลรัตน์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโสกแต้
ป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ป่าภูผาดำ
ป่าภูผาแดง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ อำเภอบ้านฝาง
อำเภอหนองเรือ อำเภอมัญจาคีรี และ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย
จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของ อำเภอบ้านแท่น
อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 197
ตารางกิโลเมตร หรือ 123,125 ไร่
จังหวัดขอนแก่น ได้มีหนังสือลงวันที่ 30 มีนาคม 2538
ขอให้กรมป่าไม้พิจารณากำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม
ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ
17 มีนาคม 2535 เป็นป่าต้นน้ำลำธาร
มีทิวทัศน์และจุดเด่นที่สวยงาม
โดยจังหวัดขอนแก่นได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำการสำรวจปรับปรุงแนวเขตให้เป็นที่
ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ทุกฝ่ายแล้ว
ไม่มีปัญหาเรื่องแนวเขตและที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าดังกล่าว
กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าดังกล่าวปรากฏว่า
พื้นที่ป่ายังมีความสมบูรณ์
หากพิจารณาตามความหมายของอุทยานแห่งชาติแล้วยังไม่เข้าหลักเกณฑ์
แต่สมควรอนุรักษ์ไว้สำหรับประชาชนจังหวัดขอนแก่น
โดยเห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ใกล้เคียงเพิ่มเติม
ได้แก่ ป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ และป่าภูผาแดง จังหวัดชัยภูมิ
และป่าโสกแต้ รวมพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
เนื่องจากยังมีสภาพป่าสมบูรณ์
มีจุดเด่นและจุดชมทิวทัศน์ที่น่าสนใจ
อุทยานแห่งชาติน้ำพองได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าโสกแต้ในท้องที่ตำบล
เขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลทุ่งโป่ง ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์
ตำบลนาหว้า ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ตำบลโคกงาม
ตำบลป่าหวายนั่ง ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง และตำบลบ้านผือ
อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ป่าภูเม็ง และป่าโคกหลวง
ในท้องที่ตำบลบ้านเม็ง ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ ตำบลคำแคน
ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง
จังหวัดขอนแก่น และตำบลสระพัง ตำบลบ้านเต่า ตำบลหนองคู
อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ และป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ
ป่าภูผาแดง และป่าโคกหลวง แปลงที่สาม ในท้องที่ตำบลนางาม
อำเภอมัญจาคีรี ตำบลบ้านโคก ตำบลซับสมบูรณ์
กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
และตำบลหนองสังข์ ตำบลบ้านแก้ง ตำบลช่องสามหมอ
อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 117 ตอนที่ 105ก ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2543
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
สภาพ พื้นที่โดยทั่วไป
มีลักษณะสัณฐานเป็นเทือกเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางคล้ายกับเทือก
เขาทั่วๆ ไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเทือกเขาเหล่านี้ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้
ขนานกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารส่วนหนึ่งของลำน้ำที่สำคัญหลายสาย
เช่น ลำน้ำพอง ลำน้ำเชิญ ลำน้ำชี เป็นต้น
แบ่งพื้นที่ได้เป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่อยู่ในเทือกเขาภูพานคำ
ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้อยู่ในเทือกเขาภูเม็ง
พื้นที่ด้านทิศตะวันตกมีสภาพลาดชันสลับกับหน้าผาในบางช่วงจรดที่ราบอ่างเก็บ
น้ำด้านล่าง
ส่วนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขามีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ
600 เมตร |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
ฤดู กาลของอุทยานแห่งชาติน้ำพองแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน
ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม
ปริมาณน้ำฝนจะตกมากช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
พื้นที่ ประมาณร้อยละ80
ของอุทยานแห่งชาติน้ำพองปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรังโดยมีป่าเบญจพรรณ
ป่าทุ่งหญ้า
และป่าไผ่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบางพื้นที่
ลึกเข้าไปบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ
ทั้งในเทือกเขาภูพานคำและเทือกเขาภูเม็งมีสภาพเป็นป่าดิบแล้งที่สมบูรณ์
จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์
บริเวณนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแหล่งสมุนไพรที่สำคัญของอุทยาน
อีกด้วย พันธุ์ไม้มีค่าและพบเห็นได้ทั่วไป เช่น เต็ง รัง
เหียง กระบก มะพอก ตะเคียนหิน พืชพื้นล่างจำพวกปรงป่า
เถาวัลย์ ไม้หนามชนิดต่างๆ
รวมทั้งสมุนไพรนานาพันธุ์อีกมากมาย
สำหรับสัตว์ป่าส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งบริเวณเทือกเขาภู
เม็ง
เพราะเป็นแหล่งหากินที่อุดมสมบูรณ์และถูกรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก
สัตว์ป่าที่พบเห็นเป็นสัตว์ขนาดกลางและขนาดเล็ก อาทิ
หมูป่า เก้ง สุนัขจิ้งจอก เม่น นิ่ม กระต่ายป่า ไก่ป่า งู
และนกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น |
|
|
|
โซน |
ชื่อที่พัก-บริหาร |
ห้องนอน |
ห้องน้ำ |
คน/หลัง |
ราคา/คืน |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
โซนที่ 1 |
1. น้ำพอง 101/1 (น้ำพอง 1) |
2 |
1 |
4 |
600 |
เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น,
เครื่องทำน้ำอุ่น, กระติกน้ำร้อน
|
โซนที่ 1 |
2. น้ำพอง 101/2 (น้ำพอง 1) |
2 |
1 |
4 |
600 |
เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โทรทัศน์, ตู้เย็น,
เครื่องทำน้ำอุ่น, กระติกน้ำร้อน
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
เขาภูเม็ง ตั้ง
อยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการอุทยานฯ มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง
ป่าดิบแล้ง ที่สมบูรณ์
เป็นแหล่งสมุนไพรและป่าต้นน้ำชั้นดีของน้ำพอง
มีสัตว์ป่าอาศัยอย่างชุกชุม
จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและสมุนไพรอย่าง
แท้จริง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
คำโพน เป็น
บ่อหินกลมคล้ายปล่องภูเขาไฟ เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างประมาณ 5
เมตร เกิดจากสภาพธรรมชาติทางธรณี
คำโพนตั้งอยู่ไม่ห่างจากพลาญชาดและหินช้างสีมากนัก |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
จุดชมทิวทัศน์หินช้างสี กลุ่ม
หินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนสันเขาป่าโสกแต้เหนือที่ทำการอุทยานแห่งชาติขึ้นไป
เป็นจุดชมวิวยามเช้าเย็นที่พระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุดของ
น้ำพอง
เหตุที่ชื่อหินช้างสีเพราะครั้งอดีตมีช้างป่ามาใช้ลำตัวสีกับก้อนหินขนาด
ใหญ่และทิ้งร่องรอยของดินติดไว้
ด้านบนของจุดชมวิวหินช้างสีเป็นลานหินกว้างขนาดใหญ่
จุดสูงสุดมีก้อนหินสัณฐานคล้ายหัวกระโหลกตั้งโดดเดี่ยวเป็นเอกเทศ
ด้านบนลานหินนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพได้โดยรอบ
ทั้งทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก
ที่ถูกปูพรมด้วยผืนป่าอันเขียวขจี
หรือตัวเมืองขอนแก่นที่อยู่ไกลลิบๆ ออกไป
ส่วนด้านทิศตะวันตกจะพบกับทัศนียภาพของธรรมชาติอันงดงามและกว้างไกลของอ่าง
เก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์จนสุดสายตาที่เทือกเขาภูเวียงและภูเก้า
ยามเช้าในฤดูหนาวที่สายหมอกล่องลอยไล่เลี่ยพื้นน้ำและราวป่า
คล้ายกับลูกคลื่นในท้องทะเล
ส่งผลให้จุดชมวิวหินช้างสีมีเสน่ห์และน่าหลงไหลสำหรับผู้ที่ได้พบเห็นมาก
ยิ่งขึ้น
บริเวณนี้จึงเหมาะสำหรับการตั้งแค็มป์ค้างแรมของผู้ที่ชื่นชอบและต้องการ
สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้บริเวณหินช้างสียังพบภาพเขียนเลขาคณิตอันเป็นร่องรอยของมนุษย์ยุค
ก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย
จุดชมวิวหินช้างสีตั้งอยู่ไม่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมากนัก
ใช้เวลาเดินเท้าลัดเลาะไปตามสันเขาประมาณ 3 ชั่วโมง
หรือขับรถอ้อมไปขึ้นทางด้านบ้านคำหญ้าแดงอีกด้านหนึ่งก็ได้
ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อด้วยการเดินเท้าอีกประมาณ 10
กว่านาที |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ชมทิวทัศน์
|
|
น้ำตกห้วยเข เป็น
น้ำตกที่เกิดจากลำห้วยยางน้อยและลำห้วยกุดบากไหลมารวมกันเป็นลำห้วยเขบน
เทือกเขาภูเม็ง
เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้จังหวัดขอนแก่นมากที่สุด มีชั้นน้ำตก
5 ชั้น ชั้นที่มีความสูงและสวยงามที่สุดคือ น้ำตกชั้นบนสุด
น้ำตกชั้นที่ 1 เรียกว่า แจ้งวังไฮ
มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำ มีต้นไทรร่มรื่น เหมาะสำหรับเล่นน้ำ
และบริเวณใกล้เคียงยังมีโขดหินเป็นรูปลักษณะต่างๆ
เหมาะสำหรับเดินชมความงามของธรรมชาติ
น้ำตกห้วยเขมีความงดงามและเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวในช่วงฤดูฝน |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
ผาจันได เป็น
ก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนลานหิน
และมีต้นจันไดหรือสลัดไดขึ้นอยู่ใกล้กัน
เป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถชมทิวทัศน์ของผืนป่าเต็งรังได้งดงามของเทือกเขาภู
เม็ง |
|
กิจกรรม :
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
ผาฝ่ามือแดง เป็น
หน้าผาหันหน้าไปทางขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
มีอยู่ด้วยกัน 3 จุด
อยู่บริเวณเชิงเขาภูพานคำติดกับส่วนขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
จุดที่ 1 อยู่บริเวณบ้านดอนกอก
ซึ่งต้องเดินเท้าเข้าไปถึงภูพานคำระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
ลักษณะเป็นภาพเขียนสีบนเพิงหินทรายขนาดยาว 9 เมตร สูง 4
เมตร เป็นภาพเขียนลายเส้นสีแดงลงบนพื้นหินสีเทา
ลักษณะภาพคล้ายเป็นตัวปลาในสายน้ำ และเครื่องมือดักจับปลา
ล่าสัตว์ แต่ภาพไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีภาพลายเส้นคู่ขนาน
ลายเส้นคด ลายรูปสามเหลี่ยม ส่วนภาพมือซ้ายเห็นได้ชัดเจน
ลักษณะการเกิดภาพคล้ายใช้สีพ่นทับฝ่ามือ
ใกล้ๆกันมีรอยฝ่ามือข้างขวาสีแดงคล้ายกับมือจุ่มสีแดงมาประทับ
จุดที่ 2 อยู่ห่างจากจุดที่ 1
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร
มีลักษณะเป็นภาพรอยฝ่ามือด้านขวาแบบพ่น
และภาพเส้นคดผสมลายเส้นคู่ เส้นโค้งขนาน
คล้ายภาพคนแบกกิ่งไม้
จุดที่ 3 อยู่ห่างจากจุดที่ 2
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร
มีลักษณะเป็นภาพประทับฝ่ามือด้านขวาสีแดงจำนวน 8 แห่ง
บนเพิงหินทราย |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ชมทิวทัศน์
|
|
ผาสวรรค์ เป็น
ลานหินขนาดใหญ่ยื่นออกไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก
ถือได้ว่าเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามไม่แพ้หินช้างสี
ตั้งอยู่ห่างจากหินช้างสีไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร
โดยการเดินเท้า
การเดินทางเข้าไปค่อนข้างลำบากจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปพักค้าง
แรมมากกว่าไปเช้าเย็นกลับ |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
เดินป่าระยะไกล
|
|
พลาญชาด หรือ ลานชาด อยู่
ห่างจากหินช้างสีใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 30 นาที
ลักษณะเป็นลานหินกว้างมีพันธุ์ไม้พื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า
ต้นซาด ขึ้นอยู่บนลาน
จากจุดนี้สามารถมองเห็นสภาพผืนป่าทั่วๆ
ไปของน้ำพองได้อย่างชัดเจน
ผู้ที่เดินทางไปยังหินช้างสีจึงน่าจะแวะชมพลาญชาดด้วยเพราะอยู่ในเส้นทางแนว
เดียวกัน |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เป็น
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์กั้นลำน้ำพอง
พื้นที่บริเวณหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีบ้านพัก
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้องสุขาไว้บริการผู้มาเยือน
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกที่จะได้สัมผัสกับทิวทัศน์อันงดงามของอ่างเก็บ
น้ำเขื่อนอุบลรัตน์
ภาพวิถีชีวิตของชาวประมงที่ล่องเรือหาปลาในคุ้งน้ำด้านล่าง
หรือความงดงามยามตะวันลับฟ้าในช่วงเย็นบริเวณนี้จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมา
ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ การแค็มป์ปิ้งแรมคืนตลอดจนกิจกรรมสันทนาการต่างๆ |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
|
|