อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง |
|
|
อุทยาน แห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก
และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ ซึ่งได้รวมจุดเด่นรอบๆ
วนอุทยานน้ำตกห้วยยางผนวกเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
น้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด
เป็นอุทยานแห่งชาติที่พร้อมด้วยป่าเขา น้ำตก ชายหาด รวมมี
เนื้อที่ประมาณ 100,625 ไร่ หรือ 161 ตารางกิโลเมตร
ในปี 2530
กรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีตามหนังสือ
ที่ กษ 0714(พบ)/825 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530 แจ้งว่า
ได้รับหนังสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ ปจ 0009/940
ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ส่ง
รายงานการตรวจดูแลป่าสงวนแห่งชาติของสำนักงานป่าไม้อำเภอทับสะแก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก
มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน
สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีจึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่
ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจข้อมูลรายละเอียดแล้ว ปรากฏว่า
พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ)
และน้ำตกห้วยหินดาดเหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานเพื่อรักษาสภาพป่าไม้และต้น
น้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้ ซึ่ง นายธำมรงค์ ประกอบบุญ
ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกลงวันที่ 28
พฤษภาคม 2530
เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารนี้ไว้
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1673
ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ให้ นายสินธุ์ มะลิวัลย์
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง
ทำการสำรวจเบื้องต้นบริเวณน้ำตกทั้ง 2 แห่ง
ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ที่ กษ
0713(หย)/161 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530
เห็นควรผนวกป่าและน้ำตกทั้ง 2 แห่ง
เข้ากับวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ ยืนนานต่อไป
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ0713/2613
ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 ให้
วนอุทยานน้ำตกห้วยยางสำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
ตามคำแนะนำของ นายกษม รัตนไชย ผู้ช่วยป่าไม้เขตเพชรบุรี
ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานที่ กษ 0713(หย)/148 ลงวันที่
29 พฤศจิกายน 2531 เห็นควรผนวกป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง
(หาดวนกร)
เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน
จากการไปตรวจราชการในท้องที่สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีของ
นายยุกติ สาริกะภูติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม
2531 - 2 มกราคม 2532
ได้สั่งการให้รวมพื้นที่บริเวณหาดวนกรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ
และในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532
ได้พิจารณาให้ผนวกพื้นที่ป่าห้วยยางและสวนป่าห้วยยาง
(พื้นที่ติดต่อกับหาดวนกร) เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน
น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก
ท้องที่ตำบลธงไชย อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง
ท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่
ทั้งหมดประมาณ 124,300 ไร่ หรือ 198.88 ตารางกิโลเมตร
(ทั้งนี้รวมที่เป็นพื้นน้ำด้วย 15.36 ตารางกิโลเมตร)
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.
2504
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งมีบริเวณน้ำตกขาอ่อน
น้ำตกห้วยหินดาษ
และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางมีพื้นที่เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด
ส่วนบริเวณป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร)
มีพื้นที่ไม่ติดต่อกัน
เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและควบคุม
จึงให้แยกเป็น 2 อุทยานแห่งชาติ
คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร
เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 100,625 ไร่
โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าทับสะแก
ในท้องที่ตำบลห้วยยาง ตำบลเขาล้าน ตำบลแสงอรุณ
ตำบลนาหูกวาง ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก และตำบลชัยเกษม
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8
ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
อุทยาน
แห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน
มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี
ส่วนใหญ่จะเป็นเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 -
1,200 เมตร โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด
เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศ
สหภาพพม่า ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก
คลองจะกระ คลองไข่เน่า คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา
และคลองหินจวง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย
และหินเป็นหินแกรนิตและหินลูกรัง
ส่วนด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ราบและชายทะเลอ่าวไทย
|
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
พื้นที่
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย
และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล
ลักษณะในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก
สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
1. ฤดูฝน
เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย
และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ
ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
พัดปกคลุมประเทศไทย
ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า 1,100 มิลลิเมตร
2. ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย
ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว
โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม
แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่ด้านซ้ายฝั่งตะวันออกของภาคใต้
อุณหภูมิจึงลดลงเพียงเล็กน้อย
อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 20 อาศาเซลเซียส
3. ฤดูร้อน
เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู
ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น
อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 อาศาเซลเซียส
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 อาศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
พรรณไม้
ประเภทของป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วย
ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้จำพวก
ตะเคียน เสลา ตะแบก ยาง ยูง ยมหอม ยมป่า ขนาน ไข่เน่า ไทร
พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ
สัตว์ป่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งเป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขา
สูงติดต่อกัน มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป ได้แก่
ช้างป่า หมีควาย หมีหมา เลียงผา เสือดำ ค่าง ชะนี ลิงกัง
หมูป่า เม่น เก้ง กระรอก ค้างคาว และนกนานาชนิด ได้แก่
ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกาฮัง นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกปรอด ฯลฯ
นอกจากนี้บนยอดเขาหลวงยังมีปูเจ้าฟ้า ( Phricotelphrsa
sirinthorn )
|
|
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
น้ำตกขาอ่อน
น้ำตก ขาอ่อนหรือเรียกอีกชื่อหนึงว่าน้ำตกทับมอญ
เป็นน้ำตกที่มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร
ประกอบด้วยชั้นน้ำตกรวม 9 ชั้น จะเป็นธารน้ำตกสูงประมาณ 2
- 5 เมตร สลับกับแนวโขดหิน ชั้นที่ 5
เป็นชั้นที่มีผาน้ำตกมีความสูงประมาณ 15 เมตร
อยู่ในเขตอำเภอบางสะพาน
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเมตร
สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทางหนองหอย -
บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง - บ้านหนองบอน
อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.2
(น้ำตกขาอ่อน) 2 กิโลเมตร
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
เดินป่าระยะไกล
ดูนก
ดูผีเสื้อ
|
|
น้ำตกเขาล้าน
อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 40 กิโลเมตร
จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4
จะพบทางเข้าน้ำตกอยู่ตรงอำเภอทับสะแก จากทางเข้าไปประมาณ
14 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.1
(น้ำตกเขาล้าน) จากนั้นเดินเลียบลำธารต่อไปอีกประมาณ 1
กิโลเมตร จะถึงน้ำตกเขาล้านซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น
ระหว่างทางมีธารน้ำตกเล็กๆ ที่สามารถลงเล่นน้ำได้
หรือหากเลือกเดินต่อไปจนถึงสันเขาก็จะมองเห็นน้ำตกเขาล้านไหลตกลงมาจากผา
สูงกว่า 50 เมตร เหนือหน้าผาที่เห็นคือ
บริเวณน้ำตกชั้นบนสุด สายน้ำไหลจากลานหินกว้างสูงประมาณ 10
เมตร ก่อนจะไหลลงหน้าผา
แอ่งน้ำตกชั้นบนสุดสามารถลงเล่นน้ำได้
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
ดูนก
ดูผีเสื้อ
|
|
น้ำตกบัวสวรรค์
มี ชั้นน้ำตกที่สวยงามอยู่ 6 ชั้น
ท่ามกลางสภาพธรรมชาติโดยรอบที่เขียวชอุ่มดูสวยงามแปลกตา
อันเป็นเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 20
กิโลเมตร
สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมแล้วเลี้ยวเข้าเส้นทางบ้านสองกะลอนประมาณ
10 กิโลเมตร ถึงบริเวณทางขึ้นน้ำตก
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
เดินป่าระยะไกล
ดูนก
ดูผีเสื้อ
|
|
น้ำตกห้วยยาง
มี ทั้งหมด 7 ชั้น น้ำตกชั้นล่างๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
ธารน้ำไหลมาตามโขดหินสูงตั้งแต่ 2 - 5 เมตร
บริเวณน้ำตกชั้นที่ 5 จะมองเห็นสายน้ำตกจากผาสูงประมาณ 15
เมตร งดงามมาก แต่ต้องปีนและไต่โขดหินขึ้นไป
ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลากควรเดินด้วยความระมัดระวัง
บริเวณน้ำตกชั้นที่ 4
ยังมีทางแยกขึ้นสู่จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมาก
สามารถมองเห็นทัศนียภาพไปได้ไกลถึงชายทะเล
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
ดูนก
ดูผีเสื้อ
|
|
น้ำตกห้วยหินดาษ
มี ขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร
ประกอบด้วยชั้นน้ำตก 10 ชั้น ในแต่ละชั้นอยู่ใกล้ๆ กัน
เพราะเป็นน้ำตกที่อยู่ในซอกเขาที่ค่อนข้างสูงชันสายน้ำตกจึงแรง
ชั้นน้ำตกมีความสูงประมาณ 2 - 5 เมตร
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ 50
กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมเส้นทางบ้านอ่างทอง -
บ้านหนองมะค่า อีกประมาณ 11 กิโลเมตร
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
ดูนก
ดูผีเสื้อ
|
|
ผาชมทะเล
เป็น
จุดชมวิวทิวทัศน์บริเวณหน้าผาที่อยู่ด้านทิศตะวันออก
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 300 เมตร
มีลักษณะเป็นหน้าผาหินแกรนิต มีต้นจันผา ตะแบก มะกอกป่า
พืชกลุ่มเฟินกระแตไต่ไม้ ข้าหลวงหลังลาย เป็นต้น
สามารถชมความงามของทิวทัศน์ ทะเลอ่าวไทย
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร เกาะจาน เขาล้อมหมวก สวนมะพร้าว
หากขึ้นไปในช่วงเวลาเช้าตรู จะเห็นพระอาทิตย์ขี้นสวยงาม
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
ดูนก
|
|
ยอดเขาหลวง
ยอด สูงเทียมเมฆที่ระดับ 1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล
นอกจากจะเป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางแล้ว
ยังเป็นต้นน้ำของน้ำตกห้วยยางด้วย
บนยอดเขาปกคลุมด้วยป่าดิบเขา อากาศหนาวเย็น
ต้นไม้ส่วนใหญ่มีมอสขึ้นปกคลุมลำต้น
พื้นที่บางส่วนเป็นทุ่งหญ้าซึ่งจะมีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝน
จากบริเวณทุ่งกระเจียวจะมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็นแนวพรมแดน
ประเทศไทยกับพม่า
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีเส้นทางเดินขึ้นประมาณ 7
กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง
ผ่านป่าดงดิบร่มครึ้มและลำห้วย
โดยจะต้องไต่เขาสูงชันขึ้นเรื่อยๆ
ช่วงเวลาที่เหมาะ สมในการเดินพิชิตยอดเขาหลวง คือ
ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
สำหรับผู้ที่สนใจเดินป่าระยะไกล ชอบการผจญภัย
ขอติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
เดินป่าระยะไกล
ดูนก
ดูผีเสื้อ
|
|
สิ่งอำนวยความสะดวก |
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขารวม
มีห้องน้ำและห้องสุขารวมไว้บริการนักท่องเที่ยวก่อนและหลังจากการเที่ยวชมน้ำตกห้วยยาง
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขารวม
มีห้องสุขารวมไว้บริการ
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย
มีห้องสุขาชายไว้บริการ
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง
มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ
|
|
ที่พักแรม/บ้านพัก
บ้าน พักรับรอง ขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สิ่งอำนวยความสะดวก มีเครื่องนอน, พัดลม,
โทรทัศน์ติดสัญญานจานดาวเทียม PSI, กระติกน้ำร้อน,
เครื่องทำน้ำอุ่น, กาแฟ, น้ำดื่ม
และโต๊ะสำหรับรับประทานอาหาร
|
|
ที่พักแรม/บ้านพัก
บ้านพักรับรอง ขนาด 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ
สิ่งอำนวยความสะดวก มีเครื่องนอน, พัดลม,
กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำอุ่น
|
|
ที่พักแรม/บ้านพัก
บ้าน พักรับรอง ขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
สิ่งอำนวยความสะดวก มีเครื่องนอน, พัดลม,
โทรทัศน์ติดสัญญานจานดาวเทียม PSI, ตู้เย็น,
กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำอุ่น, กาแฟ, น้ำดื่ม
และโต๊ะสำหรับรับประทานอาหาร
|
|
ลานกางเต็นท์
อุทยาน
แห่งชาติน้ำตกห้วยยางจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติ
น้ำตกห้วยยางโดยตรง
|
|
ค่ายเยาวชน
มี ลักษณะเป็นลานกิจกรรม
มีที่นั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม พื้นที่ว่างเป็นลานประมาณ
20 ตารางเมตร
เป็นสถานที่ที่สามารถประกอบกิจกรรมค่ายนันทนาการและสื่อความหมายให้แก่
เยาวชนและนักท่องเที่ยว
|
|
ที่จอดรถ
มีลานจอดรถยนต์ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
|
|
ที่จอดรถ
มีโรงจอดรถจักรยานยนต์ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
|
|
บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
|
|
ร้านขายของที่ระลึก
มีร้านจำหน่ายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมในอุทยานแห่งชาติ
|
|
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 40
กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4
จะพบทางเข้าน้ำตกอยู่ตรงอำเภอทับสะแก
จากทางเข้าไปประมาณ 14 กิโลเมตร
ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.1 (น้ำตกเขาล้าน)
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ
เพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย
|
|
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีสำนักงาน
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อประสานงานและบริการข้อมูลไว้บริการ
|
|
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ห่าง จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60
กิโลเมตรอยู่ในเขตอำเภอบางสะพาน
สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทางหนองหอย -
บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง - บ้านหนองบอน
จนถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หย.2
(น้ำตกขาอ่อน)นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ
เพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่ประจำหน่ว
|
|
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ
นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน
ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
|
|
อื่นๆ
มีป้ายสื่อความหมาย
ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวไว้บริการ
|
|
อื่นๆ
มีอุปกรณ์กู้ชีพ เช่น ห่วงยาง แปล เสื้อชูชีพ
เป็นต้น ไว้บริการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
|
|
อื่นๆ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายไว้บริการนักท่องเที่ยว
|
|
เต็นท์
มีเต็นท์ขนาดต่างๆ ให้บริการนักท่องเที่ยว
|
|
ห้องอาบน้ำ
มีห้องอาบน้ำแยกชายและหญิงไว้บริการ
|
|
จุดชมทิวทัศน์
จุด ชมวิวทิวทัศน์บริเวณยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล
1,250 เมตร
จากบริเวณนี้จะมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็นแนวพรมแดนประเทศไทยกับ
พม่า
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีเส้นทางเดินขึ้นประมาณ 7
กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเดินพิชิตยอดเขาหลวง คือ
ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
สำหรับผู้ที่สนใจเดินป่าระยะไกล ชอบการผจญภัย
ขอติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง
|
|
จุดชมทิวทัศน์
จุด ชมวิวทิวทัศน์บริเวณผาชมทะเล
นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยได้
ในเช้าตรู่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นได้จากบริเวณนี้
|
|
โทรศัพท์สาธารณะ
มีโทรศัพท์สาธารณะแบบหยอดเหรียญ ไว้บริการ
|
|
สถานที่จัดแคมป์ไฟ
มีสถานที่จัดแคมป์ไฟไว้บริการ
|
|
ห้องประชุม
มีห้องประชุมซึ่งสามารถรองรับได้ 70 คน
เหมาะสำหรับเป็นที่ประชุม ฟังบรรยาย ชมวิดีทัศน์ต่าง ๆ
รวมทั้งจัดกิจกรรมกลุ่มย่อย
|
|