ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
 
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
 

อุทยาน แห่งชาติภูจอง-นายอย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา พื้นที่ป่าอยู่ในส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรักประกอบด้วยภูเขาภูเล็กภูน้อย มากมาย เช่น ภูจองนายอย ภูจองน้ำซับ ภูจอง ภูจันทร์แดง ภูพลาญสูง ภูพลาญยาว เป็นต้น มีสภาพป่าสมบูรณ์ สภาพธรรมชาติที่สวยงาม และมีสัตว์ป่าชุกชุม มีเนื้อที่ประมาณ 428,750 ไร่ หรือ 686 ตารางกิโลเมตร

ความเป็นมา: สืบเนื่องจาก ร.ต.ท.ณรงค์ เทวคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 ถึงกรมป่าไม้ เสนอโครงการพัฒนาป่าภูจอง-นายอยให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามความต้องการของราษฎรอำเภอนาจะหลวย และอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันรักษาป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งที่ 116/2526 ลงวันที่ 19 มกราคม 2526 ให้นายอนุศักดิ์ ศรีทองแดง เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 ไปทำการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว

ผลการสำรวจ ปรากฏว่าสภาพพื้นที่ป่าสมบูรณ์ สัตว์ป่าหลายชนิดชุกชุม และมีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง ตามรายงานการสำรวจ ที่ กส 0713(ภจ)/พิเศษ ลงวันที่ 12 เมษายน 2526 เพื่อเป็นการสนองตอบความต้องการของราษฎรที่จะอนุรักษ์ป่าภูจอง-นายอยไว้ ต่อมานายเคน ประคำทอง ราษฎรอำเภออุดมเดช จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 มิถุนายน 2526 ถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้เร่งรัดสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมเห็นว่า พื้นที่ป่าภูจอง-นายอยมีสภาพทิวทัศน์และธรรมชาติที่สวยงามเหมาะที่จะจัดตั้ง เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือวนอุทยานภูจอง ที่ กห 0713(ภจ)/77 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2527

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 3/2527 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2527 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูจอง-นายอยในท้องที่ตำบลห้วยข่า อำเภอบุณฑริก ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย และตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 103 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 53 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

 

ส่วน ใหญ่บริเวณป่าภูจอง-นายอยจะเป็นเทือกเขาแหล่งต้นน้ำของลำน้ำลำห้วยที่สำคัญ ของจังหวัดอุบลราชธานี สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ ส่วนมากดินจะเป็นดินลูกรังปะปนหินปูนตามบริเวณที่ราบบนเนินเขา และประกอบด้วยลานหินลักษณะต่างๆ ตลอดจนหน้าผา เช่น ผาผึ้ง

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย จัดเป็น 3 ฤดู ฤดูฝน เริ่มราวเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ฤดูหนาว เริ่มราวเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งอากาศโดยทั่วไปไม่ร้อนจัดเย็นสบายตลอดทั้งปี โดยช่วงฤดูหนาวมีอากาศที่เย็นมากอีกครั้งหนึ่ง

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

ประกอบ ด้วยพรรณไม้ชนิดป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งขึ้นอยู่เป็นส่วนๆ มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่นประมาณร้อยละ 75 โดยเฉลี่ยประกอบด้วยไม้พื้นล่างขึ้นหนาแน่น ได้แก่ จำปาป่า และพรรณไม้ดอกต่างๆ แซมเป็นไม้พื้นล่างให้กับไม้ยืนต้นจำพวกตะเคียนทอง ประดู่ ยาง กระบาก ปู่จ้าว พะยูง มะค่า แกแล เป็นต้น ขึ้นแยกอยู่ตามสภาพป่า


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
ต.นาจะหลวย อ. นาจะหลวย จ. อุบลราชธานี  34280
โทรศัพท์ : 0 4541 1515-6 (VoIP)   โทรสาร : 0 4541 1516
ผู้บริหาร : สมชาย สกุลวรรณรักษ์   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

จากกรุงเทพฯ ได้ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ สายเก่า-สายใหม่ เมื่อถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว เดินทางโดยรถยนต์ประจำทาง จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอนาจะหลวย ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ถ้าหากจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว แนะนำให้ใช้เส้นทาง อุบลราชธานี-อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย ระยะทางรวม 140 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอนาจะหลวยประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงบ้านแก้งเรืองซึ่งมีทางแยกเข้าอุทยานแห่งชาติ

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูจอง 101 (แดงอุบล) 1 1 3 600  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. ภูจอง 102 (หยาดน้ำค้าง) 1 1 3 600  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 3. ภูจอง 103 (มณีเทวา) 2 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูจอง 101-103 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 1 ภูจอง 911 ค่ายเยาวชน โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูจอง 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 50 500  ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ภูจอง 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 50 500  ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ภูจอง 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 50 500  ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูจอง 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

แก่งกะเลา  เป็น แก่งหินกลางลำธารห้วยหลวงที่มีธารน้ำไหลแผ่กว้างไปตามลานหิน บรรยากาศร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดและหมู่ผีเสื้อที่บินว่อนทั่วบริเวณ เหมาะแก่การศึกษาธรรมชาติและลงเล่นน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2.5 กม. รถยนต์เข้าถึงได้

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

แก่งศิลาทิพย์  เป็น แก่งขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 2 . 9 กิโลเมตร เกิดจากลำธารห้วยหลวงไหลผ่านลานหินทราย ผ่านแหล่งหินหักลงเป็นขั้น จนเกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็ก บริเวณลานหินกลางลำธารเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า “กุมภลักษณ์” คือหินถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเกิดเป็นหลุมกลมมากมายขนาดเล็กใหญ่ตื้นลึกแตก ต่างกันไปตามความแรงของสายน้ำดูสวยงามแปลกตายิ่งนัก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

แก่งสนสามพันปี  เป็น แก่งหินกลางป่าที่งดงามด้วยสายน้ำ เป็นจุดชมพืชพันธุ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และเป็นจุดเริ่มต้นการ “ล่องแพ” ในฤดูที่มีน้ำ เป็นการล่องแพ หรือพายเรือแคนนูไปตามลำห้วยหลวงที่ใสเย็น สงบเงียบ ขึ้นไปทางต้นน้ำ ระยะทางประมาณ 800 เมตร ใช้เวลาไปกลับประมาณ 2 ชั่วโมง แก่งสามพันปีแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร เข้าถึงได้ด้วยรถยนต์ หรือด้วยการเดินป่าไปตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งตลอดเส้นทางจะผ่านผืนป่าที่ร่มครื้น บริเวณริมฝั่งทางจะพบต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ส่วนใหญ่จะพบได้เฉพาะในพื้นที่ที่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ เท่านั้นได้แก่ต้น “สนสามพันปี” ด้วย

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ล่องแพ/ล่องเรือ   ชมทิวทัศน์  

จุดชมทิวทัศน์ผาผึ้ง  บริเวณ ผาผึ้งอยู่ถัดจากพลาญยาวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สามารถชมทิวทัศน์สวยงามตามแนวชายแดนกัมพูชาประชาธิปไตย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยที่ชะง่อนผามีถ้ำขนาดย่อย ๆ หินสวยงามและรังผึ้งขนาดใหญ่ให้ชม

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

น้ำตกเกิ้งแม่ฟอง  อยู่ กลางป่าลึกอันอุดมสมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำโดมน้อย โดยสายน้ำไหล ผ่านลานหินแล้วตกลงจากหน้าผาที่มีความสูงประมาณ 10 เมตร ในช่วงฤดูฝนจะมีพืชจำพวกมอสเฟิร์นขึ้นเขียวครึ้มทั่วทั้งบริเวณโขดหิน ภายใต้เพิงผาน้ำตกจะมีทางเดินลอดใต้ม่านน้ำข้ามไปยังโขดหินฝั่งตรงข้ามซึ่ง มีทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตา นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยผีเสื้อนานาชนิด น้ำตกเกิ้งแม่ฟองอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 10 กิโลเมตร เข้าถึงได้ด้วยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ และการเดินเท้า

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกประโอนละออ  น้ำตก ประโอนละออ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึงว่า น้ำตกจุ๋มจิ๋ม เป็นน้ำตกที่อยู่ต่อจากน้ำตกห้วยหลวง ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงประมาณ 100 เมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงาม มีแอ่งน้ำที่เหมาะสำหรับลงเล่นและนวดตัวด้วยสายน้ำ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกห้วยหลวง  น้ำตก ห้วยหลวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าน้ำตกบักเตว เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มีผาน้ำกระโจนตกจากแอ่งสู่เวิ้งเบื้องล่างสูงราว 40 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นกลางจะสวยที่สุด มีทางขึ้นลงธรรมชาติ เพื่อชมและเล่นน้ำบริเวณอ่างน้ำด้านล่างได้สะดวก ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

พลาญกงเกวียน  ลาน หินกว้าง ที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงตามธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าและพันธุ์ไม้ชื้นสลับกันเป็นหย่อมๆ ซึ่งประวัติความเป็นมาว่า ในอดีตนักเดินทางได้ใช้ประโยชน์จากเพิงหินเหล่านี้ สำหรับกำบังแดดและฝน เปรียบเพิงหินเสมือน “กงเกวียน” จึงเป็นที่มาของชื่อ “พลาญกงเกวียน” โดยพลาญ หมายถึง บริเวณที่เป็นลานกว้าง และกงเกวียนซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่าพวงเกวียน หมายถึงประทุ่นหรือกระทุนของเกวียน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

พลาญป่าชาด  อยู่ ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ มีลักษณะเป็นลานหินสลับด้วยทุ่งดอกไม้นานาชนิด ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เช่น มณีเทวา ดุสิตา สรัสจันทร เป็นต้น บางส่วนเป็นผืนป่าเต็งรังขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยต้นยางเหียงหรือต้นชาด ในช่วงต้นฤดูฝนดอกกระเจียวจะผลิดอกเบ่งบานเต็มท้องทุ่ง ที่มาของชื่อ “พลาญป่าชาด” บริเวณกลางป่าจะมีลำธารซึ่งสร้างความชุ่มชื้น และเป็นจุดกำเนิดของน้ำตก “พลาญป่าชาด” นับเป็นเส้นทางเดินป่าที่เต็มไปด้วยพันธุ์ดอกไม้และพืชพันธุ์หลากหลายชนิด

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

ภูหินด่าง  เป็น ภูเขาหินทรายที่ประกอบไปด้วยป่าลานหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลก ตาแตกต่างจากที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหินเป็นระแหง แอ่งหินเว้า และร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลาก สีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแทบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อ“ภูหินด่าง” ภูหินด่างแห่งนี้ เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 51 กิโลเมตร โดยการเดินทางเข้าภูหินด่างต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง

การเดินทางสู่ภูหินด่างใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2248 จากอำเภอนาจะหลวยถึงบ้านห้วยข่า เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2254 ถึงบ้านหนองเม็ก มีทางลูกรังแยกไปทางซ้าย เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภจ. 5 (พลาญมดง่าม) ต้องขึ้นเขาชันอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงภูหินด่าง

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   เดินป่าระยะไกล  

ด้านศึกษาธรรมชาติ

เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ  1. เส้นทางเดินป่าน้ำตกห้วยหลวง มีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่บริเวณน้ำตกห้วยหลวง การเดินจะเริ่มจากบริเวณลานจอดรถยนต์ ผ่านป่าดิบแล้งริมห้วยหลวง ซึ่งเป็นสายธารของน้ำตกห้วยหลวง สิ้นสุดที่บริเวณหลังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

2. เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติสามพันปี มีระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดินป่าที่ผ่านสภาพป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และพันธุ์ไม้ดอกหลากชนิด เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เริ่มจากผลาญป่าชาดไปสิ้นสุดที่น้ำตกห้วยหลวง

3. เส้นทางการเดินป่าศึกษาธรรมชาติแก่งศิลาทิพย์ ระยะทาง 2.9 กิโลเมตร ผ่านป่าหลากหลายชนิด ทั้งป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และทุ่งดอกหญ้านามพระราชทานต่างๆ เริ่มจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ไปสิ้นสุดที่แก่งศิลาทิพย์

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพัก 4 หลัง ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ค่ายเยาวชน    มีค่ายเยาวชนให้บริการ


ที่จอดรถ    มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    มีร้านอาหารให้บริการ


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบริเวณน้ำตกห้วยหลวง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


ร้านสวัสดิการ    มีร้านสวัสดิการอุทยานแห่งชาติ จำหน่ายของใช้ที่จำเป็น และของที่ระลึก


โทรศัพท์สาธารณะ    มีโทรศัพท์สาธารณะให้บริการ


 
 
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
ต.นาจะหลวย  อ. นาจะหลวย  จ. อุบลราชธานี   34280
โทรศัพท์ 0 4541 1515-6 (VoIP)   โทรสาร 0 4541 1516   อีเมล reserve@dnp.go.th

  
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์