ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
 
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
 

อนุสรณสถานบนลานดอกไม้

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ หรือ 307 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลาง เทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่ารกทึบ

ต่อมากองบัญชาการทหารบก ได้เปลี่ยนแผนยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายที่ 66/2523 และคำสั่งที่ 65/2525 กองทัพภาคที่ 3 และทหารหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 3 (พตท. 33) ซึ่งนำโดย พันเอกไพโรจน์ จันทร์อุไร ผู้อำนวยการ พตท.33 ได้นำนโยบายใหม่นี้เข้าปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย บรรดาชาวบ้านและมวลชนของ ผกค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขา เผ่าม้ง (แม้ว) ได้กลับใจไม่ให้ความร่วมมือกับ ผกค. และเข้ามอบตัวกับทางราชการส่วนแกนนำได้ละทิ้งฐานที่มั่นไป จากนั้น พตท. 33 จึงได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แห่งนี้โดยการตัดถนนผ่านใจกลางภูหินร่องกล้า ต่อมา พตท. 33 ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ สร 4001(301)/324 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526 ให้กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พิจารณาร่วมและประสานกับกรมป่าไม้เพื่อพิจารณา จัดตั้งบริเวณภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เป็นผลให้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 /2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็น สมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูหินร่องกล้าให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด บริเวณป่าภูหินร่องกล้าท้องที่ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็น อุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 96 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศ  

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

สภาพ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

ภู หินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่ เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4oC มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25oC

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ

ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ

ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่

นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสัน งดงาม

ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น


 
   
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตู้ ปณ. 3 อ. นครไทย จ. พิษณุโลก  65120
โทรศัพท์ : 0 5523 3527   โทรสาร : 0 5523 3527
ผู้บริหาร : พุฒิพงศ์ จูสนิท   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

อุทยาน แห่งชาติภุหินร่องกล้า ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 500 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 6 ชั่วโมง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 120 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ระยะทาง 130 กิโลเมตร ถึงตัวเมืองพิษณุโลก จากตัวเมืองพิษณุโลก เส้นทางที่สะดวกที่สุด คือใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2013 ไปทางอำเภอนครไทย ก่อนถึงตัวอำเภอนครไทย มีทางแยกขวามือตามทางหลวงหมายเลข 2331 มุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า สภาพเส้นทางสูงชัน และคดเคี้ยวเป็นบางช่วง

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ร่องกล้า 101 (ร่องกล้า) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. ร่องกล้า 102 (ปีกไม้) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 3. ร่องกล้า 103 (ไผ่ลาย) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 4. ร่องกล้า 104 (ทิวเขา) 2 2 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 5. ร่องกล้า 105 (ขอบฟ้า) 2 2 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 6. ร่องกล้า 108/1 (เชิงดอย) 1 1 3 800  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 7. ร่องกล้า 108/2 (เชิงดอย) 1 1 3 800  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 8. ร่องกล้า 108/3 (เชิงดอย) 1 1 3 800  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 9. ร่องกล้า 108/4 (เชิงดอย) 1 1 3 800  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 10. ร่องกล้า 109 (หมันแดง) 3 2 7 2,100  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 11. ร่องกล้า 110 (กล้าสู้) 3 3 8 2,400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 12. ร่องกล้า 201/1 (มณฑิรา) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 13. ร่องกล้า 201/2 (มณฑิรา) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 14. ร่องกล้า 202/1 (มณฑาดอย) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 15. ร่องกล้า 202/2 (มณฑาดอย) 2 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 16. ร่องกล้า 204/1 (ตาเหินไหว) 1 1 2 1,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 17. ร่องกล้า 204/2 (ตาเหินไหว) 1 1 2 1,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 18. ร่องกล้า 205/1 (ช้างงาเดียว) 1 1 2 1,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 19. ร่องกล้า 205/2 (ช้างงาเดียว) 1 1 2 1,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 20. ร่องกล้า 206/1 (ลิ้นมังกร) 1 1 2 1,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 21. ร่องกล้า 206/2 (ลิ้นมังกร) 1 1 2 1,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 3 22. ร่องกล้า 931/1 (ค่ายพักแรม 1) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 23. ร่องกล้า 931/2 (ค่ายพักแรม 1) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 24. ร่องกล้า 931/3 (ค่ายพักแรม 1) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 25. ร่องกล้า 931/4 (ค่ายพักแรม 1) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 26. ร่องกล้า 931/5 (ค่ายพักแรม 1) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 27. ร่องกล้า 932/1 (ค่ายพักแรม 2) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 28. ร่องกล้า 932/2 (ค่ายพักแรม 2) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 29. ร่องกล้า 932/3 (ค่ายพักแรม 2) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 30. ร่องกล้า 932/4 (ค่ายพักแรม 2) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 31. ร่องกล้า 932/5 (ค่ายพักแรม 2) 1 0 3 300  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 32. ร่องกล้า 933 (ค่ายพักแรม 3) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 33. ร่องกล้า 934 (ค่ายพักแรม 4) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 34. ร่องกล้า 935 (ค่ายพักแรม 5) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 35. ร่องกล้า 936 (ค่ายพักแรม 6) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ผ้าห่ม (ผ้านวม), ห้องน้ำ-สุขารวม
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ร่องกล้า 101-103 บ้านพักเดี่ยว โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 1 ร่องกล้า 104-107 บ้านพักเดี่ยว โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 1 ร่องกล้า 108/1-4 บ้านพักเรือนแถว โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 1 ร่องกล้า 109-111 บ้านพักเดี่ยว โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 2 ร่องกล้า 201-203 บ้านพักแฝด โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 2 ร่องกล้า 204-206 บ้านพักแฝด โซนศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
โซนที่ 3 ร่องกล้า 931/1-5 ค่ายเยาวชน โซนค่ายพักแรม
โซนที่ 3 ร่องกล้า 932/1-5 ค่ายเยาวชน โซนค่ายพักแรม
โซนที่ 3 ร่องกล้า 933-936 ค่ายเยาวชน โซนค่ายพักแรม

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

อุทยาน แห่งชาติภูหินร่องกล้า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีรูปแบบการท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนในธรรมชาติที่มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้ง ปี โดยสามารถเดินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางสู่โลกที่สาม ซึ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางด้านการสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยกับทหารฝ่ายรัฐบาล เช่น สำนักอำนาจรัฐ ผาชูธง ลานหินปุ่ม เป็นต้น เส้นทางมีลักษณะเดินเป็นวงรอบ มีดอกไม้ป่าสวยงามผลิดอกบานในฤดูฝน และชมความงามของดอกกุหลาบขาว ซึ่งจะบานพร้อมกันในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเมษายน บริเวณลานหินปุ่ม และลานหินแตก นอกนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจด้านธรณีวิทยา เนื่องจากมีลักษณะที่สวยงามแปลกตาของลานหิน สำหรับการเดินเท้าไปชมน้ำตกหมันแดง ก็เป็นอีกประสพการณ์หนึ่งในการผจญภัยในป่าเขตร้อน โดยใช้เวลา 1 วันเต็ม นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

 
ด้านประวัติศาสตร์

กังหันน้ำ  อยู่ ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า ออกแบบและสร้างขึ้นโดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่หนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กังหันน้ำนี้ใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครกกระเดื่องตำข้าวซึ่ง เปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวน้ำตก  

โรงพยาบาล  อยู่ ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

โรงเรียนการเมืองการทหาร  อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็กๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

สำนักอำนาจรัฐ  อยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้ กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ชมพรรณไม้  

หมู่บ้านมวลชน  เป็น ที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมทางที่ตัดมาจากอำเภอหล่มสักลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้ หลังเล็กๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้บ้านแต่ละหลังจะมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

จุดชมวิวภูหมันขาว  ตั้ง อยู่ริมทางหลวง หมายเลข 2331 ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามเส้นทางสู่อำเภอหล่มเก่า ประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ระดับความสูง 1,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในฤดูฝนจึงปกคลุมด้วยเมฆหมอก และมีลมแรงจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จุดชมวิวธารพายุ รอบบริเวณเป็นป่าดิบเขาผืนเล็กๆที่ยังหลงเหลืออยู่

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

น้ำตกผาลาดและน้ำตกตาดฟ้า  ตั้ง อยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาด ใหญ่ที่สวยงาม

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร  เป็น น้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกศรีพัชรินทร์  ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง

 

กิจกรรม : ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้  

น้ำตกหมันแดง  เป็น น้ำตกขนาดใหญ่ มี 32 ชั้น และจากการสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฝรั่งเศสและนักธรณีวิทยาจากประเทศ ไทย พบว่าบริเวณแผ่นหินลานน้ำตกหมันแดง มีรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อ มากกว่า 20 รอย ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังน้ำตกในขณะนี้ ทำได้โดยการเดินเท้าเท่านั้น

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   เดินป่าระยะไกล  

ผาชูธง  อยู่ ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 600 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมทิวทัศน์อื่นๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ชมทิวทัศน์  

ลานหินแตก  อยู่ ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิน และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

ลานหินปุ่ม  อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบายเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โซนที่ 1


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โซนที่ 2 บ้านพักโซนนี้ เป็นบ้านพักรุ่นใหม่


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ค่ายเยาวชน    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมค่ายเยาวชนไว้ให้บริการในบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โซนที่ 3 สำหรับบริการเยาวชน และบุคคลทั่วไป


ที่จอดรถ    มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    มี ร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการ ที่บริเวณเขตบริการ 2 ร้าน เปิดบริการตั้งแต่ 06.30 - 20.00 น. สามารถรองรับได้ไม่ต่ำกว่า 200 คน


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


เวทีกลางแจ้ง    มีเวทีกลางแจ้ง สำหรับจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน


ร้านสวัสดิการ    มีร้านสวัสดิการให้บริการ


 
 
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตู้ ปณ. 3  อ. นครไทย  จ. พิษณุโลก   65120
โทรศัพท์ 0 5523 3527   โทรสาร 0 5523 3527   อีเมล rongkla-00@thaimail.com
 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์