อุทยานแห่งชาติภูแลนคา |
|
|
อุทยาน แห่งชาติภูแลนคา มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่
ตำบลบ้านหัน ตำบลสระโพนทอง ตำบลโนนกอก ตำบลซับสีทอง
ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกุดชุมแสง
ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก่งค้อ
ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ ตำบลภูแลนคา
อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์
ประกอบไปด้วยแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด
มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ป่าหินงามจันทร์แดง
ซุ้มประตูหินธรรมชาติ ผากล้วยไม้ น้ำตกตาดหินดาด
น้ำตกตาดโตน ถ้ำพระ ผาเก้ง ผาแพ เป็นต้น
และการเดินทางเข้าไปเที่ยวชมก็สะดวก มีเนื้อที่ประมาณ
200.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 125,312.50 ไร่
ความเป็นมา :
สภาพพื้นที่ป่าที่กำหนดเป็นเขตป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 10 และ 7 มีนาคม 2535
ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูแลนคาด้านทิศเหนือ
และป่าสงวนแห่งชาติภูแลนคาด้านทิศใต้ของท้องที่อำเภอเมือง
อำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอเกษตรสมบูรณ์
จังหวัดชัยภูมิ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 2262/2539 ลงวันที่
13 ธันวาคม 2539 ได้ให้นายสุรชัย นายจำเริญ
เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตาดโตน ให้ไปดำเนินการสำรวจ
เบื้องต้นป่าสงวนดังกล่าว เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยได้เข้าไปประสานงานกับทางจังหวัด ชัยภูมิ
และจากการสำรวจเจ้าหน้าที่ได้ประสานงานกับหน่วยงาน
ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรต่าง ๆ ประชาชน
และรวมถึงหน่วยงานป่าไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
และป่าไม้เขตนครราชสีมาที่เกี่ยวข้อง
อุทยานแห่งชาติตาดโตน โดยหัวหน้าชุดสำรวจและศึกษา
ได้ส่งข้อมูลการรายงานการสำรวจดังกล่าว
ให้สำนักงานป่าไม้จังหวัดชัยภูมิทราบและพิจารณา
ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติตาดโตน ที่ กษ 0712.320/89 ลง
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539
ซึ่งสำนักงานป่าไม้จังหวัดชัยภูมิได้พิจารณาแล้ว
มีความเห็นพ้องกับเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติตาดโตน
และได้นำเรื่องราวเสนอคณะอนุกรรมการป้องกันการ
ลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ ประจำจังหวัดชัยภูมิ
เพื่อพิจารณาต่อไป ตามหนังสือสำนักงานป่าไม้จังหวัดชัยภูมิ
ที่ ชย. 0009.2/720 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2539
ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2539 ลงวันที่ 23 กันยายน 2539
ของคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้
พิจารณาเห็นชอบในการกำหนดประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วน
ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือ
และป่าสงวนแห่งชาติป่าภูแลนคาด้านทิศใต้
ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 92,500 ไร่
เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ตามหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ. 0712/พิเศษ ลงวันที่
20 ธันวาคม 2539
ได้มีมติเห็นชอบและให้การสนับสนุนที่กรมป่าไม้จะประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ดังกล่าว เป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร็ว
และมีมติแนวความคิดเห็นตรงกัน
โดยให้ชื่อหน่วยงานใหม่นี้ว่า อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
ด้วยเหตุผลที่ว่าแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
ของอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ในเทือกเขาภูแลนคา
และเป็นที่รู้จักกันดีของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งนายสถิตย์
สวินทร อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติให้ใช้ชื่อ
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2540
ต่อมาปี 2550
ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือ
และป่าภูแลนคาด้านทิศใต้ ในท้องที่ตำบลบ้านหัน
ตำบลสระโพนทอง ตำบลโนนกอก ตำบลซับสีทอง ตำบลบ้านเดื่อ
อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกุดชุมแสง ตำบลคูเมือง
อำเภอหนองบัวแดง ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก่งค้อ
ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ ตำบลภูแลนคา
อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เนื้อที่ประมาณ 200.50
ตารางกิโลเมตร หรือ 125,312.50 ไร่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 37 ก
ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่
108 ของประเทศ |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
ลักษณะ
โดยทั่วไปของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำรวจเป็นเทือกเขาภูแลนคา
ภูเขียว ภูคำน้อย พื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน
และที่ราบสูง ซึ่งจะมีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 200 ถึง
725 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
จะมียอดเขาที่มีความสูง 669 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมียอดภูแลนคา
ซึ่งเป็นยอดที่มีความสูง สูงสุดของพื้นที่
โดยมีความสูงประมาณ 725 เมตร จากระดับน้ำทะเล
พื้นที่ทางด้านทิศใต้จะเป็นพื้นที่ลาด
ซึ่งจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 200 ถึง 500
เมตร และพื้นที่ทางด้านทิศเหนือจะเป็นพื้นที่ลาดชันมาก
มีหน้าผาหุบเขาเป็นส่วนใหญ่ |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
จัด อยู่ในภูมิอากาศฝนเมืองร้อนมี 3 ฤดูคือ
ฤดูร้อนเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
ฤดูฝนเกิดขึ้นช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน
และฤดูหนาวเกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
สภาพ ป่าอุดมสมบูรณ์ป่าที่พบประกอบด้วย ป่าเต็งรัง
ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ ตะแบก พลวง แดง ชิงชัน
ไม้กระยา หว้า พะยอม กะบก ตะเคียน แส้น กล้วยไม้ พะอง
พีพ่าย แก้วหวาย สมุนไพรชนิดต่างๆ และหญ้าชนิดต่างๆ
เป็นต้น
สัตว์ที่พบได้แก่ กระต่ายป่า ลิง หมูป่า กระจ้อน กระรอกบิน
หนูหวาย พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ
ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และแมลงชนิดต่างๆ เป็นต้น |
|
|
|
ด้านประวัติศาสตร์ |
|
จุดยุทธศาสตร์ เป็น
พื้นที่ที่มีการตั้งกองกำลังทหารผสม
ในอดีตเพื่อการขับไล่และต่อสู้กลุ่มก่อการร้าย
โดยทั่วพื้นที่จะมีการตั้งฐานปฏิบัติการและกำหนดจุดพิกัดทางยุทธศาสตร์
|
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
แก่งสาร เป็น
ลานหินสลับกับเกาะแก่งกลางลำน้ำชี
เป็นช่วงที่ตื้นมากในฤดูร้อนและฤดูหนาวที่สามารถเดินข้ามลำน้ำชีได้
และบริเวณนี้ยังเป็นจุดศูนย์รวมของสัตว์น้ำนานาชนิดที่สามารถมองเห็นได้
ชัดเจน |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
เขาขาด เกิด
จากการยุบตัว และยกตัวของเทือกเขาพังเหย กับเทือกเขาแลนคา
เกิดเป็นช่องทางน้ำไหลของลำน้ำชีทำให้พื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี
และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นสถานที่ชมธรรมชาติ |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
จุดชมวิวเทพบูชา เป็น
บริเวณที่ราบเล็กๆ ใกล้เคียงกับที่พักสงฆ์เทพบูชา
จึงมีชื่อว่าจุดชมวิวเทพบูชา อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
700-800 เมตร เป็นจุดมองทิวทัศน์ทางธรรมชาติ |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
จุดชมวิวป่าหินปราสาท มีก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายปราสาท
เป็นลักษณะเด่นในพื้นที่ และเป็นจุดมองทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
|
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
จุดชมวิวลานหินร่องกล้า เป็นลานหินกว้างใหญ่
หินแตกเป็นร่องลึกจำนวนมาก
พร้อมกับเกิดขึ้นเป็นผาหินเด่นชัด สูงจากระดับน้ำทะเล
ประมาณ 700-800 เมตร |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ซุ้มประตูหินธรรมชาติ แตกต่างไปจากป่าหินงามจันทร์แดง
โดยจะมีก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่งที่มีรูปลักษณ์เป็นซุ้มประตูหิน
|
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ถ้ำพระ เกิด
จากการยกตัวของชั้นหินทางธรณีวิทยา
และการกัดเซาะของน้ำกับชั้น หินแร่
ถ้ำพระนี้ชาวบ้านท้องถิ่นได้เข้าไปขุดค้นวัตถุโบราณ เช่น
พระพุทธรูป เศษวัตถุโบราณ และของมีค่าต่าง ๆ
จึงเป็นตำนานถ้ำพระเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ถ้ำพระยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์อีกด้วย |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ทุ่งดอกกระเจียวบริเวณป่าหินงามทุ่งโขลงช้าง เป็น
พื้นที่ที่มีต้นกระเจียว ขึ้นเป็นจำนวนมากในป่าเต็งรัง
และกระจัดกระจายทั่วพื้นที่ป่าหินงามทุ่งโขลงช้าง
ซึ่งจะมีก้อนหินใหญ่คล้ายช้าง |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
น้ำตกช่องพันลำ เกิด
จากลำห้วยช่องพันลำไหลผ่านโขดหิน ซอกหิน ลานหิน และผืนป่า
โดยไหลลดหลั่นเป็นชั้นๆ ตามลำดับจนถึงพื้นที่ราบลุ่ม
ซึ่งจะมีชั้นที่สวยงามแตกต่างกันอยู่หลายชั้น
แต่ละชั้นจะอยู่ห่างกันตามสภาพภูมิประเทศ |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกตาดโตนน้อย เป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นจากลำห้วยน้อยใหญ่ไหลมารวมกันซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูเกษตร
และเป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกตาดหินดาด เกิดจากลำห้วยหินดาดที่มีป่าดิบแล้งเป็นต้นน้ำลำธาร
|
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกพานทอง เป็น
น้ำตกที่เกิดจากร่องห้วยน้อยใหญ่ไหลมารวมกันแล้วไหลลดหลั่นเป็นชั้นๆ
ตามสภาพภูมิประเทศ
แล้วไหลผ่านลานหินขนาดใหญ่เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร
บริเวณลานหินจะเป็นสีทองปนแดงทำให้มีความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
บ่อน้ำสระแก้ว เกิด
ขึ้นเองตามธรรมชาติเรียงกันสามบ่อ
โดยมีต้นบัวเกิดขึ้นเองในบ่อ และมีตำนานเล่าสืบต่อกันว่า
มีรูปรอยพระพุทธบาทปรากฏในบ่อน้ำสระบัว
ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และพุทธสถาน
|
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ป่าหินงามจันทร์แดง ป่า
หินงามจันทร์แดง มีหินรูปร่างลักษณะแปลกวิจิตรพิศดารต่างๆ
จำนวนมาก โดยจะมีต้นจันทร์แดงเกิดขึ้นบนโขดหินก้อนใหญ่
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เป็นจำนวนมาก |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ผากล้วยไม้ เป็นหน้าผาสูงและลดหลั่นตามลำดับโดยทอดยาวติดต่อกัน
บริเวณหน้าผาหินมีพันธุ์กล้วยไม้หายากหลายชนิด
เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดหน้าผา |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ผาเก้ง เป็นหน้าผาสูงเด่น
หน้าผาที่ก้อนหินใหญ่ยื่นออกไป และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์
|
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ผาแพ เป็น
ผาหินขนาดใหญ่เกิดขึ้นจากการยกตัว
และการไหลเลื่อนของชั้นหิน ทางด้านธรณีวิทยา
ชั้นหินและแร่ที่ปรากฏมีลักษณะเด่น
เป็นเนื้อสีแปลกและแตกต่างกันตลอด |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ภูคี เป็น
ยอดภูที่สูงที่สุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สูงประมาณ
1,038 เมตร จากระดับน้ำทะเล อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่ง สามารถมองเห็นภูหยวก
ภูตะเภา เทือกเขาภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์
และอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
มอหินขาว เป็น
กลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม
โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่
และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว
และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา
ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร
นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์
หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า
ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป 500
เมตร แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป
และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่
3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก
โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก
และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ชมทิวทัศน์
|
|
ลำน้ำชี เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านเทือกเขา
เป็นลักษณะเด่นของลำน้ำกับเทือกเขา |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|