อุทยานแห่งชาติภูผายล |
|
|
แห่ง ชาติภูผายล หรือเดิมเรียกว่าอุทยานแห่งชาติห้วยหวด
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอโคกศรีสุพรรณ
อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
และอำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็น 1 ใน 5
ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5
ธันวาคม 2530 สภาพทั่วๆ
ไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาหินทราย เป็นป่าต้นน้ำลำธาร
มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา
เนินหิน อ่างเก็บน้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ
517,850 ไร่ หรือ 828.56 ตารางกิโลเมตร
ด้วยกรมป่าไม้ได้รับหนังสือกรมชลประทาน ที่ กษ 0301/ส.524
ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2527 แจ้งว่า
เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหวด
ตำบลเต่างอย กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่
27 พฤศจิกายน 2527 ได้พระราชทานพระราชดำริตอนหนึ่งว่า
ควรอนุรักษ์สภาพธรรมชาติ
และป่าไม้บริเวณใกล้กับหัวงานเขื่อนเก็บกักน้ำของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหวด
ตลอดจนบริเวณข้างเคียงของอ่างเก็บน้ำ
พร้อมกับควรปรับปรุงเสริมแต่งบริเวณให้มีความสวยงามและเหมาะสมเพื่อพัฒนาให้
เป็นอุทยานแห่งชาติหรือส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
โดยให้กรมชลประทานและส่วนราชการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไปด้วย
กรมชลประทานจึงขอความร่วมมือกรมป่าไม้ให้รีบดำเนินการโครงการอนุรักษ์สภาพ
ธรรมชาติและป่าไม้ในบริเวณดังกล่าว
แล้วจัดเป็นอุทยานแห่งชาติหรือแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนองพระราชดำริต่อไป
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/140
ลงวันที่ 14 มกราคม 2528
ให้อุทยานแห่งชาติภูพานตรวจสอบพื้นที่บริเวณดังกล่าว
ปรากฏว่ามีสภาพป่าธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม
ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติภูพาน ที่ กษ 0713(ภพ)/144
ลงวันที่ 27 มีนาคม 2528
นำส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ดังกล่าวของนายมานพ
กำจรเจิด นักวิชาการป่าไม้ 4
และหนังสืออุทยานแห่งชาติภูพาน ที่ กษ 0713(ภพ)/532
ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2528 นำส่งรายละเอียดต่างๆ
บริเวณดังกล่าวของนายวุฒิการ อำพลศักดิ์ ภูมิสถาปนิก
และกองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/405
ลงวันที่ 28 มกราคม 2529
ให้อุทยานแห่งชาติภูพานทำการสำรวจสภาพป่าอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูพานได้มีหนังสือ ที่ กษ
0713(ภพ)/พิเศษ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2529
รายงานผลการสำรวจเพื่อจัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
ของนายประมุข ทิชากร นักวิชาการป่าไม้ 5
ให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการเสนอจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
|
|
กอง อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18
มีนาคม 2529
เห็นชอบในหลักการให้จัดพื้นที่บริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยหวดเป็นอุทยาน
แห่งชาติ
และเป็นโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม
2530
โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก
ในท้องที่ตำบลตองโขน ตำบลเหล่าโพนค้อ กิ่งอำเภอศรีสุพรรณ
อำเภอเมืองสกลนคร ตำบลกกปลาซิว อำเภอเมืองสกลนคร
และตำบลจันทร์เพ็ญ ตำบลเต่างอย กิ่งอำเภอเต่างอย
อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ป่าดงภูพาน
ในท้องที่ตำบลหนองบ่อ ตำบลคำพี้ ตำบลก้านเหลือง
ตำบลบ้านแก้ง ตำบลนาแก ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
และตำบลกกตูม ตำบลฟังแดง ตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง
จังหวัดมุกดาหาร และป่าดงภูศรีฐาน ในท้องที่ตำบลคำชะอี
จังหวัดมุกดาหาร ตำบลบ้านเหล้า ตำบลบ้านค้อ ตำบลโพนงาม
อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่
28 กรกฎาคม 2531 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติห้วยหวด
นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 57 ของประเทศ
ต่อมาอุทยานแห่งชาติห้วยหวดได้มีหนังสือ ที่ กษ
0712.344/911 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2543
ขออนุมัติเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติห้วยหวด เป็น
อุทยานแห่งชาติภูผายล โดยให้เหตุผลคือ
ชื่ออุทยานแห่งชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากมีคำว่า
ภู นำหน้า และเพื่อให้สอดคล้องกับจุดเด่น คือ ภูผายล
ซึ่งเป็นจุดเด่น
เป็นศิลปะหินและเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของคนโบราณ
ซึ่งนักโบราณคดีคำนวณอายุภาพสลักบนฝาหินว่า
มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี
และเป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์
เหมาะที่จะพัฒนาเป็นจุดชมทิวทัศน์และแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตได้
จึงเห็นสมควรเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติห้วยหวดเป็น
อุทยานแห่งชาติภูผายล และกรมป่าไม้พิจารณาแล้ว
เพื่อให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์สำคัญของอุทยานแห่งชาติและจังหวัดสกลนคร
คือ ภูผายล ซึ่งเป็นศิลปกรรมภาพแกะสลักลายเส้นอายุกว่า
3,000 ปี จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติห้วยหวดเป็นชื่อ
อุทยานแห่งชาติภูผายล ตามประกาศกรมป่าไม้ ณ วันที่ 22
มกราคม พ.ศ. 2544 |
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
สภาพ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาหินทราย
มีความสูง 300-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
บริเวณเทือกเขามีที่ราบหลังเต่ายาวประมาณ 10 กิโลเมตร
รายล้อมด้วยภูเขาสูงชันเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย
ไหลลงสู่แม่น้ำพุง ห้วยบางทราย ห้วยหวด ห้วยเลา
และอ่างเก็บน้ำต่างๆ ถึง 19 แห่ง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำห้วยหวด อ่างเก็บน้ำตาน้อย เป็นต้น
สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายความสามารถอุ้มน้ำได้น้อย |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
สภาพ อากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาลคือ ฤดูฝน
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,484 มิลลิเมตร/ปี ฤดูหนาว
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมประมาณ 16 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
สภาพ ป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง
มีพันธุ์ไม้ได้แก่ ตะเคียน มะค่าโมง ตะแบก เต็ง รัง แดง
เหียง พลวง กะบก ประดู่ พะยูง ไผ่ และหวายชนิดต่างๆ
เป็นต้น ส่วนสัตว์ป่าจะประกอบไปด้วย เก้ง กวางป่า หมูป่า
หมาไน นกชนิดต่างๆ เป็นต้น |
|
|
|
โซน |
ชื่อห้องประชุม |
รองรับ
ได้ (คน) |
ราคา
(บาท) |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
โซนที่ 1 |
1. ภูผายล 011 - ห้องประชุม (09.00 - 12.00 น.) |
30 |
300 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
2. ภูผายล 011 - ห้องประชุม (18.00 - 21.00 น.) |
30 |
300 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
3. ภูผายล 011 - ห้องประชุม (13.00 - 16.00 น.) |
30 |
300 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
ด้านประวัติศาสตร์ |
|
ถ้ำพระด่านแร้ง เดิน
เท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปเพียง 350 เมตร
ลักษณะถ้ำเป็นเพิงผาหินทราย ยาว 60 เมตร สูง 3 เมตร
มีภาพแกะสลักโบราณเป็นภาพเรขาคณิต ภาพมือ ภาพสัตว์ต่างๆ |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำม่วง อยู่
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 5 กิโลเมตร
ทางเข้าสู่ถ้ำม่วงเป็นทางเดินเท้าผ่านป่าเต็งรังสลับกับป่าเบญจพรรณ
ที่ผาหินมีภาพสลักโบราณอายุ 2,000-3,000 ปี |
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ภูผายล อยู่
ห่างจากอำเภอเต่างอยไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2339
(เต่างอย-ศรีวิชา) ประมาณ 5 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบ้านม่วงคำ-นาอ่าง ไปถึงบ้านนาผาง
รวมระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
จากนั้นจะมีบันไดขึ้นภูทั้งหมด 238 ขั้น
บนยอดภูนอกจากจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแล้ว
บนผนังผายังมีรอยแกะสลักโบราณอายุกว่า 3,000 ปี เป็นรูปคน
กวาง วัว ควาย ลายเรขาคณิต ฝ่ามือ เป็นต้น |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ชมทิวทัศน์
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
ถ้ำพระเวทย์ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนม |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำเสาวภา ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเต่างอย
จังหวัดสกลนคร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ถ้ำหีบภูผานาง ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเต่างอย
จังหวัดสกลนคร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
น้ำตกแก่งโพธิ์ จาก
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามถนนสายเปรมพัฒนา
แล้วแยกซ้ายที่บ้านสานแว้ ผ่านบ้านนาหินกอง รวมระยะทาง 32
กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 14
เมตร สูง 10 เมตร
บริเวณสายน้ำใต้น้ำตกเป็นแก่งกว้างสามารถกางเต็นท์พักแรมที่ลานขนาดใหญ่ใกล้
น้ำตก แล้วเดินป่าศึกษาธรรมชาติ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
แค้มป์ปิ้ง
|
|
น้ำตกคำน้ำสร้าง เป็น
น้ำตกที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติภูผายล สูงประมาณ 25
เมตร สายน้ำไหลมาจากห้วยคำน้ำสร้าง
เดินเท้าจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปประมาณ 1.8 กิโลเมตร
จะถึงน้ำตก
ในช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างทางจะพบดอกไม้หลายชนิดที่ชอบขึ้นอยู่ตามลานหิน |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
ชมพรรณไม้
|
|
น้ำตกห้วยเลา เป็น
น้ำตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูผายล
น้ำตกไหลมาจากภูเขาผ่านลานหินไหลลงสู่ห้วยเลา
บริเวณบ้านห้วยเลา ตำบลพังแดง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 50 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
ผาพญาเต่างอย จาก
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามถนนสายบ้านห้วยหวด-โคกกลาง
ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
จะถึงผาพญาเต่างอยซึ่งอยู่ริมถนนมีลักษณะเป็นหินทรายรูปร่างคล้ายเต่ากำลัง
จะลงน้ำหันหน้าลงสู่ลำน้ำพุง กว้างประมาณ 5 เมตร
มีความเชื่อกันว่า
บริเวณใดที่มีเต่างอยแสดงว่าเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์
ซึ่งเป็นที่มาของชื่อบ้านเต่างอยด้วย |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
|
|
ภูก่อ อยู่
ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภย. 2 (ห้วยค้อ)
ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นยอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดสกลนคร
มีลักษณะเป็นหน้าผาที่ทอดยาวคล้ายกำแพง
เป็นจุดชมทิวทัศน์ความงามของทะเลหมอกในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม
สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า
และเห็นทิวเขาที่เรียงรายสลับซับซ้อนกันอย่างงดงาม |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
ลานดุสิตา ดุ
สิตาเป็นชื่อดอกไม้ป่าที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานนาม
ให้ มีชื่อพื้นเมือง คือ หญ้าข้าวด่ำน้อย
ลานดุสิตาตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม - ธันวาคม ของทุกปี |
|
กิจกรรม :
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
หน้าผาเนินหิน ประกอบ
ด้วยลานดอกไม้ มีไม้ดอกสีม่วง คือ ดอกดุสิตา
สีเหลืองและสีขาวบริเวณหน้าผาจะพบเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่งคล้ายดอกกล้วยไม้
ซึ่งออกดอกช่วงฤดูหนาว |
|
กิจกรรม :
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
อ่างเก็บน้ำดงน้อย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนม |
|
กิจกรรม :
ชมทิวทัศน์
|
|
อ่างเก็บน้ำห้วยหวด อยู่
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 700 เมตร
รถยนต์เข้าถึงสะดวก
มีจุดชมทิวทัศน์บริเวณสันเขื่อนและหน้าผาใกล้ขอบอ่างหลายแห่ง
รวมทั้งยังมีลานหินที่วางตัวตามธรรมชาติอย่างสวยงาม
เหมาะสำหรับมาเที่ยวพักผ่อน ชมภาพพระอาทิตย์ตกน้ำยามเย็น
และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ล่องแพ/ล่องเรือ
พายเรือแคนู/คยัค
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
|
|