อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผา สีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า กว้านสมอ โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2519 อธิบดีกรมป่าไม้ เดินทางมาราชการที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายสุจินต์ เพชรดี ปลัดจังหวัดเลย ได้ให้ความเห็นว่า ควรส่งเสริมป่าภูเรือให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด จากนั้นจังหวัดเลยจึงให้ทางอำเภอภูเรือสำรวจพื้นที่ป่าภูเรือ ซึ่งอำเภอภูเรือได้รายงานถึงจังหวัดเลยว่า พื้นที่ป่าภูเรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามสำคัญหลายแห่ง เช่น ป่าไม้ น้ำตก ทิวทัศน์ เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นของป่าภูเรือ ท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ปรากฏว่า ป่าแห่งนี้อยู่ในเขตป่าหมายเลข 23 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาไว้ให้เป็นป่าถาวรของชาติ พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า ภูเรือ เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวย งาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2521 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลอาฮี ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ และตำบลลาดค่าง ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2522 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 16 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยาน แห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเถียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
ด้วย อุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า แม่คะนิ้ง ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น
พรรณไม้และสัตว์ป่า
ภู เรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ป่าภูเรือยังมีสัตว์ป่าที่ชุกชุมพอสมควร ที่พบบ่อย เช่น หมี เก้ง กวางป่า หมูป่า หมาไน ลิง พญากระรอกดำ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ป่า และชุกชุมไปด้วยกระต่ายป่า เต่าเดือย เต่าปูลูและนกชนิดต่างๆ ที่สวยงามอีกมากมาย โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะอพยพมาจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก
อุทยาน แห่งชาติภูเรือ อยู่ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 48 กิโลเมตร โดยเดินทางไปโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 ถึงอำเภอภูเรือ จะมีป้ายอุทยานแห่งชาติอยู่ปากทางเข้าซึ่งอยู่ข้างที่ว่าการอำเภอภูเรือ (มาจากจังหวัดเลย ป้ายจะอยู่ทางด้านขวามือ มาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ป้ายจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) จากปากทางเข้าเดินทางต่อไปอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถนนภายในอุทยานแห่งชาติเป็นถนนลาดยาง เป็นถนนบนภูเขา บางช่วงมีความลาดชัน นักท่องท่องเที่ยวควรขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ใช้เกียร์ต่ำ มิฉะนั้นจะทำให้เบรคไหม้ได้
การ เดินทางโดยเครื่องบิน 1)เส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรฯ และนั่งรถประจำทางสายอุดรฯ-เมืองเลย 2)เส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น นั่งรถประจำทางสายขอนแก่น-เมืองเลย เมื่อมาถึงจังหวัดเลยสามารถนั่งรถประจำทางประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเรือ 3)กรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์
เดิน ทางจากกรุงเทพฯ มี 2 เส้นทาง คือ 1.รถสายกรุงเทพฯ-ภูเรือ 2.รถสายกรุงเทพฯ-เมืองเลย และนั่งรถประจำทาง ดังนี้ 1)สายเมืองเลย-ภูเรือ 2)นครพนม-เชียงราย 3)อุดรฯ-พิษณุโลก 4)อุดรฯ-เชียงใหม่
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุทยาน แห่งชาติภูเรือ มีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือ สภาพภูมิประเทศ ทะเลหมอก และอุณหภูมิที่ต่ำมาก จนเกิดปรากฏการณ์ แม่คะนิ้ง (น้ำค้างแข็ง) นอกจากนี้ทางอุทยานแห่งชาติได้ดำเนินการปรับปรุงเส้นทางให้แหล่งท่องเที่ยว ต่างๆ เข้าถึงกันได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น ลาดหินแตก หินค้างหม้อ หินวัวนอน หินพระศิวะ สวนหินเต่า ศาลารับเสด็จ ลาดเหมือนแอ ลานสาวเอ้ ทุ่งหินเหล็กไฟ น้ำตกแก่งสุข และสระสวรรค์ ตามตำนานรักภูทุ่ง (ภูเรือ) และภูครั่ง เป็นต้น
ซับหนองหิน ซับ หนองหินเป็นแหล่งน้ำซับที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำไหลลงสู่ร่องน้ำบริเวณหลังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 1(ที่ทำการ) ในช่วงที่มีน้ำปริมาณมากสามารถลงเล่นน้ำได้ และมีนกนานาชนิดอาศัยหากินอยู่โดยรอบบริเวณ
น้ำตกห้วยเตย เป็น น้ำตกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นลำน้ำสองสายมาบรรจบกัน แล้วไหลลงสู่แอ่งน้ำเดียวกัน แต่จะมีความสวยงามในเฉพาะหน้าฝนเท่านั้นเพราะมีปริมาณน้ำมาก อยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน)
น้ำตกห้วยไผ่ เป็น น้ำตกขนาดกลาง สูงประมาณ 30 เมตร ตั้งอยู่บริเวณลำห้วยไผ่ ในฤดูฝนปริมาณน้ำจะมาก จะมีสายน้ำที่ใสสะอาดพุ่งแรงลงมาจากบริเวณเป็นลำน้ำสายเดียวลงสู่แอ่งน้ำ ด้านล่าง ซึ่งแอ่งนี้สามารถที่จะลงเล่นน้ำได้ แต่ถ้าเป็นฤดูแล้งปริมาณน้ำจะน้อยแต่จะเห็นสายน้ำไหลลงสู่แอ่งน้ำข้างล่าง เช่นกันและมีลักษณะของความสวยงามที่แตกต่างกัน น้ำตกห้วยไผ่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2,000 เมตร เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการใช้ทำน้ำประปาในอำเภอภูเรือ
น้ำตกหินสามชั้น เป็น น้ำตกขนาดเล็ก ลักษณะของตัวน้ำตกเป็นชั้นหินลดหลั่นกันไป 3 ชั้น จนถึงตัวแอ่งน้ำด้านล่าง น้ำตกหินสามชั้นสามารถลงเล่นได้ โดยตั้งอยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 300 เมตร ในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมากทำให้เกิดเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง ในช่วงที่มีหมอกปกคลุมจะทำให้สวยงามไปอีกแบบ
ผาซำทอง ผา ซำทอง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผากุหลาบขาว เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นแหล่งน้ำซับ ประกอบกับมีไลเคนที่มีสีเหลืองคล้ายสีทอง ซึ่งเรียกว่า ผาซำทอง เป็นจุดชมทิวทัศน์อีกจุดหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางที่จะไปผาโหล่นน้อยประมาณ 2.5 กิโลเมตร และเป็นแหล่งชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกที่หนึ่ง
ผาโหล่นน้อย เป็น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม สามารถมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่งและทะเลภูเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร จากภาพ : ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาโหล่นน้อย ถ่ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2549
ยอดภูเรือ เป็น จุดที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่สูงประมาณ 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ ต้องเดินขึ้นเขาจากผาโหล่นน้อยมาประมาณ 700 เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้านกระทั่งเห็นแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย ลาว บนยอดเรือยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาวาบรรพต ซึ่งชาวภูเรืออัญเชิญมาจากอยุธยาด้วย จากยอดภูเรือมีเส้นทางเดินป่าผ่านบริเวณที่มีดอกไม้เล็กๆ เช่น กระดุมเงิน ดาวเรืองภู เปราะภู ซึ่งออกดอกสวยงามในช่วงหน้าหนาว ที่ป่าสนบริเวณ ทุ่งกวางตาย มีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม นอกจากนั้นยังมี ลานหินพานขันหมาก เป็นลานหินแตกเป็นรอยตื้นๆ ที่จะพบดอกไม้ที่ชอบขึ้นตามลานหิน เช่น เอื้องม้าวิ่ง อยู่ทั่วไป เส้นทางเดินป่าจะวกกลับไปลานกางเต็นท์ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ลานสาวเอ้ มี ลักษณะเป็นทุ่งหญ้ากว้าง สลับกับป่าเต็งรัง เป็นจุดที่สามารถชมทัศนียภาพได้กว้างไกลของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือได้ อีกด้วย บริเวณนี้ทางอุทยานแห่งชาติภูเรือได้จัดสร้างศาลาพักผ่อนไว้ให้นักท่อง เที่ยวสามารถพักชมวิวเมื่อเวลาเดินมาถึงบริเวณลานสาวเอ้
สวนหินพาลี เป็น ลานหินกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยก้อนหินรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่เรียงราย บางก้อนคล้ายเสาหินสูง บางก้อนคล้ายดอกเห็ด สวนหินพาลีอยู่ใกล้บริเวณลานกางเต็นท์
หินค้างหม้อ ตั้ง อยู่ใกล้กับบริเวณหินวัวนอน หินค้างหม้อมีลักษณะเป็นก้อนหิน 3 ก้อน มาวางเรียงกันและมีหินก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่งวางอยู่ข้างบนมีลักษณะเป็นหม้อ ที่วางไว้บนก้อนหินทั้ง 3 ก้อน เหมือนกับการประกอบอาหารในสมัยโบราณ
หินพานขันหมาก มี ลักษณะเป็นก้อนหินก้อนเดียวที่ตั้งอยู่บริเวณลานหินพานขันหมากรูปร่างลักษณะ เหมือนกับพานขันหมากแต่กำลังพลิกคว่ำอยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 200 เมตร
แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ อุทยาน แห่งชาติยังมีจุดเด่นที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น ลาดหินแตก หินวัวนอน หินพระศิวะ สวนหินเต่า ศาลารับเสด็จ ลาดเหมือนแอ ทุ่งหินเหล็กไฟ น้ำตกแก่งสุข และสระสวรรค์ ตามตำนานรักภูทุ่ง (ภูเรือ) และภูครั่ง เป็นต้น
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายให้บริการ
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงให้บริการ
ที่พักแรม/บ้านพัก อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณภูสน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 500 คน การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 200 คน การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
ที่จอดรถ อุทยาน แห่งชาติได้จัดเตรียมลานจอดรถไว้ให้บริการ 2 แห่ง บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และลานกางเต็นท์ สามารถในการรองรับได้ประมาณ 250 คัน
บริการอาหาร อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ ดังนี้ 1) บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2) บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ลานกางเต็นท์ภูสน)
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และบริเวณสถานที่กางเต็นท์ภูสน
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว บริเวณสถานที่กางเต็นท์ภูสน
เต็นท์ มีเต็นท์ให้บริการ 85 หลัง (ข้อมูล ธันวาคม 2550)
ร้านสวัสดิการ อุทยาน แห่งชาติภูเรือ มีร้านค้าสวัสดิการไว้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (ทางไปบ้านพักนักท่องเที่ยว) จำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น น้ำดื่ม สบู่ ยาสีฟัน อาหารกระป๋อง ถ่านไฟฉาย เทียน เป็นต้น
โทรศัพท์สาธารณะ มีโทรศัพท์สาธารณะระบบ TOT ไว้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 2 ตู้ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว(ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ)