ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
 
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
 

อุทยาน แห่งชาติภูสระดอกบัว มีเนื้อที่อยู่บนแนวเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ประมาณ 144,375 ไร่ หรือ 231 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตประมาณปี พ.ศ. 2508 - 2525 พื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ เคยเป็นที่แทรกซึมของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) นับได้ว่าเป็นขุมกำลังที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ จึงไม่มีราษฎรบุกรุกเข้าทำกินในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2525 เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายลง ผกค. เข้ามอบตัวต่อทางราชการ ทางการจึงจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรบริเวณบ้านน้อมเกล้า ตำบลบุงค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และที่บ้านภูผาหอม ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

จากนั้นปัญหาต่างๆ ด้านป่าไม้ก็ตามมาไม่ว่าจะเป็นการจับจอง บุกรุก แผ้วถางป่าการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ด้วยเกรงว่าปัญหาเหล่านี้จะลุกลามออกไป ในช่วงปี พ.ศ. 2525 ป่าไม้อำเภอดอนตาล ได้เสนอเรื่องต่อจังหวัดมุกดาหาร และป่าไม้อำเภอเลิงนกทา ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูลำกลาง ภูสระดอกบัว และภูผาแต้ม เพื่อเสนอเรื่องต่อทางจังหวัดยโสธร ให้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว จากเหตุผลความเหมาะสมนานับประการ ก่อประโยชน์ทั้งความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้ไว้เป็นสมบัติของ ชาติ และอนุชนรุ่นหลังได้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ทั้งยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนโดยทั่วไป

กองอุทยานแห่งชาติ จึงทำการสำรวจอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2531 และเริ่มดำเนินการจัดตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ซึ่งได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้มีพระราชกฤษฏีกากำหนดที่ดินป่าดง บังอี่ แปลงที่สาม และป่าดงบังอี่ แปลงที่สี่ ในท้องที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร ตำบลนาอุดม ตำบลนิคมคำสร้อย ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย และตำบลเหล่าหมี ตำบลป่าไร่ ตำบลบ้านบาก อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ป่าดงบังอี่ในท้องที่ตำบลกุดแห่ ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ป่าดงบังอี่ฝั่งซ้ายห้วยทมในท้องที่ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี และป่าดงหัวกอง และป่าดงบังอี่ ในท้องที่ตำบลเสนางคนิคม ตำบลโพนทอง ตำบลหนองไฮ อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอุบลราชธานี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 75 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ

 

สภาพ ภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ชาวท้องถิ่นเรียกว่า “ดาน” กระจายอยู่ตามยอดเขาต่างๆ มียอดภูกระซะ เป็นยอดสูงสุดประมาณ 481 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดอื่นมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 350-450 เมตร พื้นที่เหล่านี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำหลายสาย เช่น ห้วยทม ห้วยกะบก ห้วยก้านเหลือง ห้วยลำกลาง ห้วยขี้เหล็ก ห้วยหินขัว ห้วยตูบ และห้วยไห เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ อากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาลคือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง กระจายอยู่ตามเทือกเขาต่างๆ มีไม้มีค่าอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น มะค่าโมง มะค่าแต้ ประดู่ ชิงชัน พยุง แดง ตะเคียนทอง ยาง กระบาก เป็นต้น บริเวณพื้นที่ป่าเหล่านี้มีสัตว์ป่าอยู่หลายชนิดโดยเฉพาะที่เทือกเขาภูสระ ดอกบัวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำ สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เก้ง หมูป่า หมาไน สุนัขจิ้งจอก อีเห็น ลิง เม่น กระจง บ่าง ค้างคาว ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ป่า เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
บ้านหนองเม็ก ต.ป่าไร่ อ. ดอนตาล จ. มุกดาหาร  49120
โทรศัพท์ : 0 4267 6472 (VoIP), 0 4261 9077
ผู้บริหาร : โยธิน ครองยุทธ   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
 
รถยนต์

จากกรุงเทพฯ - ผ่านอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ไปยังอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2277 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24 - 25 เลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว ซึ่งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จะตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำหินข้อ บ้านหนองเม็ก ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 60 กิโลเมตร

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูสระ 101 (ริมธารา) 3 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูสระ 101-102 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูสระ 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 100 800  ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ภูสระ 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 100 800  ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ภูสระ 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 100 800  ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูสระ 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 


อุทยาน แห่งชาติภูสระดอกบัว มีเนื้อที่อยู่บนแนวเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีสภาพธรรมชาติที่หลากหลาย ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม ความวิจิตรพิศดารของหินผา มีความเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ตลอดจนร่องรอยของการต่อสู้อันเกิดจากการขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ได้แก่

 
ด้านประวัติศาสตร์

ภูผาแต้ม  
ประกอบ ด้วยรูปรอยฝ่ามือ และภาพเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า เป็นยุคเดียวกับภาพเขียนสีของอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเทิบ) และอุทยานแห่งชาติภูผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ภาพเขียนสีและรอยฝ่ามือนี้มีอยู่ที่เพิงผาของภูผาแต้ม ซึ่งมีลักษณะคล้ายถ้ำ เพราะหินไหลลื่นลงมา ภาพเหล่านี้จึงอยู่สูงจากพื้นถ้ำ ประมาณ 7-12 เมตร และถ้ำนี้ยาวประมาณ 60 เมตร

นอกจากนี้ยังมีถ้ำยางถึง 400 เมตร เป็นถ้ำธารลอดอยู่บนหลังผาแต้ม ถ้ำเต่าพันปี ยาว 400 เมตร ถ้ำค้อ ยาว 200 เมตร ถ้ำไทรย้อย ยาว 100 เมตร

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ผามะเกลือ  
เป็น จุดชมวิวและที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่ใกล้บริเวณภูผาแต้ม มีลักษณะเป็นลานหินใต้เพิงผา ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้เหมาะสำหรับนั่งเล่นและพักผ่อนลานหินบนภูวัด แหล่งท่องเที่ยวของชาวท้องถิ่น โดยรอบภูผาแต้ม ในช่วงฤดูแล้ง วันสงกรานต์และวันสำคัญทางศาสนา สถานที่แห่งนี้เป็นที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา มีชาวบ้านมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

ภูผาแตก  
ภูผา แตกหรือชื่อทางยุทธการสงครามว่า “เนิน 420” เป็นแหล่งที่มีการต่อสู้ในอดีตกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่นี่เป็นจุดชมวิวที่มีองค์ประกอบทางธรรมชาติสวยงามมาก ทางด้านทิศเหนือสามารถมองเห็นทิวเขาของอุทยานแห่งชาติมุกดาหารในระยะไกล

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

ภูผาหอม  
เป็น จุดชมวิวที่สวยงามมากของเทือกเขาภูผาแต้ม จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ในระยะไกลไปทางทิศตะวันตก มีความสูงประมาณ 386 เมตร จากระดับน้ำทะเล เบื้องหน้าจะมองเห็นยอดเขาภูหมู ภูแผงม้า ภูไม้ซาง ภูของ ภูอัครชาด ในยามเย็นที่จุดนี้มีผู้นิยมมาชมพระอาทิตย์ตก เพื่อเก็บภาพอันน่าประทับใจ และพักค้างแรมกันมาก

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

ภูสระดอกบัว  
เป็น ภูเขาที่มีความสูงประมาณ 423 เมตร บนรอยต่อเขต 3 จังหวัด ที่ยอดภูสระดอกบัว มีแอ่งหินขนาดกว้างประมาณ 2-3 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร อยู่ 5-6 แอ่ง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ขนาดเล็กขึ้นอยู่เต็มสระ เมื่อออกดอกจะดูสวยงามมาก ชาวบ้านเล่ากันว่ามีบัวขึ้นอยู่อย่างนี้มานานแล้วและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า “ภูสระดอกบัว” และบริเวณเดียวกันมีถ้ำขนาดใหญ่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของ ผกค. สามารถจุคนได้ถึง 100 คน

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   เดินป่าระยะไกล   ดูนก  

ภูหมู  เป็น จุดชมทิวทัศน์ที่นักท่องเที่ยงนิยมขึ้นไป เพราะมีอากาศเย็นสบายตลอดปี ในสมัยสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันเคยใช้เป็นที่ตั้งสถานีสื่อสาร

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ลานหินและป่าเต็งรังแคระ  
พบ ทั่วไปและมีอยู่มาก เป็นลานหินยาวและใหญ่ บางแห่งมีขนาด 20 - 40 ไร่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับป่าหญ้าเพ็ก มองดูสวยงามมากพบอยู่หลายแห่ง เช่น หลังภูวัด หลังภูผาหอม หลังภูสระดอกบัว ภูกกบก ภูหัวนาค เป็นต้น

 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 หลัง


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


 
 
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
บ้านหนองเม็ก ต.ป่าไร่  อ. ดอนตาล  จ. มุกดาหาร   49120
โทรศัพท์ 0 4267 6472 (VoIP), 0 4261 9077   อีเมล reserve@dnp.go.th

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์