ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
 
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
 


สัมผัสอากาศหนาวเย็น
จุดกางเต็นท์สูงสุดในอีสาน
ที่...อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)


อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาแห้ว ตำบลแสงภา ตำบเหลล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 73,225 ไร่ หรือ 117.16 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพขุนเขาที่สูงสลับซับซ้อนกันในพื้นที่ อำเภอนาแห้ว ประกอบกับเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีที่ราบน้อย จุดที่สูงที่สุดประมาณ 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น

ป่าผืนนี้เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ตามกฎกระทรวงที่ 1041 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 101 ตอนที่ 69 วันที่ 30 พฤษภาคม 2527 เป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย บ้านนาท่อน-บ้านบุ่ง (ลย.8) ตอนที่ 7 และ 8 ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้ตัดฟันไม้ออกแล้ว แต่ราษฎรตำบลแสงภา ได้รวมตัวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2530-มกราคม 2531 คัดค้านมิให้ทำไม้ออกทางราชการได้พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเห็นชอบตาม ราษฎรจึงระงับการทำไม้ไว้ก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการทำไม้ตามสัมปทานเสียทั้งหมด จึงเป็นการยุติการทำไม้ออกตามสัมปทานโดยสิ้นเชิง

การจัดตั้งป่าผืนนี้ให้เป็นป่าอนุรักษ์ในรูปอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากกองอำนวยการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง อำเภอนาแห้ว ฝ่ายทหาร เริ่มแรกต้องการให้เป็นปอดของสมาชิกราษฎรอาสาป้องกันชายแดน แต่เมื่อตระหนักถึงประโยชน์ในการพักผ่อน ในลักษณะป่าเขาลำเนาไพรแล้ว เห็นว่าน่าจะอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรโดยทั่วกันอีกด้วย จึงตัดสินใจหาลู่ทางกำหนดให้ป่านาแห้วเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับเนื่องในโอกาสครบ 3 รอบ หรือ 36 พระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วยเป็นอย่างยิ่ง และตอบสนองความต้องการอนุรักษ์ป่าผืนนี้อย่างจริงจัง

การสำรวจเบื้องต้นบนส่วนหนึ่งของพื้นที่จึงเริ่มขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภู เปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 52ก หน้า 54-56 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 79 ของประเทศ

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาตินาแห้ว เป็นอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย

ลักษณะภูมิประเทศ

 

ภูมิประเทศ ของอุทยานแห่งชาติเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตามแนวชายแดนไทย-ลาว สันเขามีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีความลาดเท ตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์ จนถึงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้านตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ จะมีความลาดชันมาก พื้นที่ราบเชิงเขาเกือบจะไม่มี ด้านตะวันออกจะมีความลาดชันน้อย ลาดเทลงไปทางด้านตะวันออกมีที่ราบเชิงเขาอยู่บ้าง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 - 1,408 เมตร มีภูสันทรายเป็นยอดเขาสูงสุด เป็นแหล่งน้ำน้ำลำธารของแม่น้ำเหือง และ แม่น้ำแพร่

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ อากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

อุทยานแห่งชาติปกคลุมไปด้วยผืนป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจง หมูป่า หมี เสือโคร่ง หมาไน อีเห็น บ่าง กระรอก ในป่านี้มีสัตว์ชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ตัวหอน” มีลักษณะคล้ายเม่นอยู่เป็นกลุ่มหากินกลางคืนอาศัยตามหลืบหิน โพรงหิน ไม่ขุดรูอยู่ด้วยตนเองเหมือนเม่น
2. นก ประกอบด้วย นกเหยี่ยว นกกระจิบ นกโพระดก นกกาเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า พญาลอไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา นกกก นกแซงแซว เป็นต้น และมีนกชนิดหนึ่งเรียกว่า “นกกองกอด” ลักษณะเด่น คือ ที่ขามีเดือยมากกว่า 1 เดือย หางคล้ายนกยูง
3. สัตว์เลื้อยคลาน มี เต่าปูลู กิ้งก่า กะท่าง แย้ จิ้งเหลน ตะกวด แลน และงูชนิดต่างๆ ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ ประเภทงูมักพบในป่าเบญจพรรณ
4. ปลา พบในลำน้ำเหืองและแม้แต่ลำห้วยเล็กๆ ก็มีปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในลำห้วย มีพวกปลาประเภทที่มีเกล็ด เช่น ตะเพียน ปลากะสูบ ปลาช่อน ปลาช่อนงูเห่า ปลาซิวและปลาขนาดเล็กอื่นๆ ปลาไม่มีเกล็ด คือ ปลาไหล ปลาหลด ไม่มีปลาขนาดใหญ่


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
ต.แสงภา อ. นาแห้ว จ. เลย  42170
โทรศัพท์ : 0 4280 7616 (VoIP)
ผู้บริหาร : เทวฤทธิ์ โกยโภไคสวรรค์   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
 
รถยนต์

  1. จากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดเลย และเดินทางจากจังหวัดเลยโดยใช้เส้นทางหมายเลข 203 ระยะทาง 68 กิโลเมตร ถึงทางแยกบ้านโคกงามเลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2031 ระยะทาง 12 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้าย เลี้ยวขวาตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่ออีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมืองแพร่ เลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง หมายเลข1268 ผ่านตำบลแสงภา และเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)

     
  2. จากกรุงเทพฯ สู่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางจากอำเภอหล่มสัก ใช้เส้นทางหมาเลข 203 จนถึงบ้านโป่งชีเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข2014ถึงอำเภอด่านซ้ายเลี้ยวซ้าย ตามเส้นทางหมายเลข 2113 ไปอีก 32 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแห้ว จากอำเภอนาแห้วเดินทางต่ออีก 4 กิโลเมตร ถึงบ้านเหมืองแพร่ เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางหมายเลข 1268 ผ่านตำบลแสงภาและเลี้ยวขวาตามทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)

     
  3. จากจังหวัดพิษณุโลก-อำเภอชาติตระการ-บ้านบ่อภาค ถึงกิโลเมตรที่ 50 เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 1268 ผ่านบ้านร่มเกล้า ผ่านตำบลเหล่ากอหก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 0 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย(นาแห้ว)

 

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูสวนทราย 101 (นาแห้ว) 3 2 15 3,000  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ, น้ำดื่ม, ผ้าห่ม (ผ้านวม)
โซนที่ 1 2. ภูสวนทราย 102 (กกไผ่งาม) 3 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าห่ม (ผ้านวม)
โซนที่ 2 3. ภูสวนทราย 201 (ภูหัวห้อม) 3 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าห่ม (ผ้านวม)
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูสวนทราย 101-102 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 2 ภูสวนทราย 201 บ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายที่ ภท.1 (ภูหัวห้อม) ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กม.

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 


 

"เย็นสบายหกน้ำตก หลากชนิดนก ค้อป่าใหญ่
สูงเสียดฟ้า ตีนสวนทราย ตระการตา ภูไทย - ลาว"

 

 

 
ด้านประวัติศาสตร์

เนิน 1255  เป็น จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม อยู่ห่างจากเนิน 1408 ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรักษา นักรบกล้าอีสาน ศูนย์รวมใจของทหารไทยในการสู้รบครั้งยุทธภูมิร่มเกล้า (สร้างโดย พลโทอิสระพงศ์ หนุนภักดี มทภ2/ผอ.ปค.ภาค2 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2532) บริเวณโดยรอบมีหลุมหลบภัย บังเกอร์ ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์เชิญชวนให้สัมผัส

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

เนิน 1408  เป็น จุดสูงสุดบนภูตีนสวนทราย มีความสูง 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เมื่อมองลงไปทางทิศตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นทิวทัศน์ของป่าเต็งรัง บ้านบ่อเหมืองน้อย บ้านแสงภา อำเภอนาแห้ว และทะเลภูเขากว้างไกล จุดนี้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดภูที่สวยมาก ในยามเช้าของฤดูหนาว จะเห็นทะเลหมอกที่งดงาม บริเวณนี้มีที่ราบสันเขาเหมาะที่จะกางเต็นท์พักผ่อน เป็นลาน กางเต็นท์ที่สูงที่สุดในภาคอีสาน เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ฐานที่มั่นของทหารไทยในการสู้รบครั้งยุทธภูมิ ร่มเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยปรากฎร่องรอยของหลุมหลบภัย บังเกอร์ ให้ระลึกถึงกลิ่นอายสงครามในอดีต

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

1. น้ำตกคิ้ง  อยู่ ในลำน้ำแพร่ มีลักษณะเป็นแก่งหิน 2 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี เหมาะสำหรับการพักผ่อนและเล่นน้ำ สูงประมาณ 5 เมตร กว้างประมาณ 25 เมตร อยู่ริมทางหลางหมายเลข 1268 (ต.แสงภา – ต. เหล่ากอหก) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 8 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกคิ้ง ทางราชการได้ก่อสร้างเรือนประทับถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราช กุมารี ซึ่งเสด็จมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

2. น้ำตกช้างตก  อยู่ ในลำน้ำแพร่ ลักษณะเป็นโขดหินสี่เหลี่ยมวางซ้อนกัน เป็นน้ำตก 2 ชั้น สูง 25 เมตร กว้าง 25 เมตร อยู่ใกล้น้ำตกคิ้ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7.5 กิโลเมตร มีเรื่องเล่าว่าเดิมเคยมีช้างป่าเดินผ่านน้ำตกสายนี้ แล้วพลัดตกลงไปเสียชีวิต จึงกลายเป็นชื่อเรียกน้ำตกช้างตก

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

3. น้ำตกวังตาด  อยู่ ในลำน้ำแพร่ มีแผ่นหินกว้างรองรับการไหลกระทบของสายน้ำ เป็นน้ำตก 2 ชั้น สูง 20เมตร กว้าง 25 เมตร เป็นน้ำตกที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ร่มรื่น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

4. น้ำตกตาดเหือง  หรือ น้ำตกมิตรภาพไทย – ลาว อยู่ในลำน้ำเหือง เป็นแม่น้ำแบ่งเขตพรมแดนระหว่างประเทศไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีลักษณะลดหลั่นกัน 3 ชั้น สูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 25 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี สภาพป่าบริเวณรอบๆ มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เหมาะสำหรับการพักผ่อน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 14 กิโลเมตร กำหนดเวลาให้เข้าไปเที่ยวชมระหว่าง 08.00 – 17.00 น. ทุกวัน

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

5. น้ำตกผาค้อ  อยู่ ในลำน้ำเหือง มีโขดหินขนาบสองข้างน้ำตก เป็นน้ำตก 1 ชั้น สูง 2 เมตร กว้าง 20 เมตร อยู่ใกล้น้ำตกตาดเหือง พื้นที่รอบน้ำตกมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 16 กิโลเมตร การเข้าไปเที่ยวชมให้ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินำทาง

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

6. น้ำตกตาดภา  อยู่ ในลำน้ำภา เป็นน้ำตกสูง 2 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร กว้าง 10 เมตร อยู่ในเขตป่าลึก สภาพป่าและน้ำตกมีความเป็นธรรมชาติมาก เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบธรรมชาติอย่างแท้จริง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 16กิโลเมตร การเข้าไปเที่ยวชมให้ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาตินำทาง

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

ก่องเบิก  เป็น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม และมีความสำคัญเกี่ยวข้องทางความเชื่อของชาวบ้านในตำบลแสงภา ว่าเป็นสถานที่จุดแรกที่ต้องบอกกล่าวเจ้าป่าเจ้าเขาในการขึ้นไปสักการะบูชา หินสี่ก้อน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

ต้นค้อ  เป็น พืชในตระกูลปาล์ม ลำต้นเดี่ยวมีความสูง 30 – 50 เมตร ใบมีลักษณะกลมคล้ายพัด ดอกสีขาวเป็นช่อ ผลลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่ เป็นพืชที่พบในป่าซึ่งมีความชื้นสูง เช่น ป่าดิบชื้นทางตอนเหนือของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายสามารถหาชมความงามของทิวเขาค้อป่าใหญ่ ได้บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ตระการตาภูไทย - ลาว  ภูไทย - ลาว ความยิ่งใหญ่ตระการตาของภูเขาสีเขียวมรกต ชมได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายที่ 1 (ภูหัวห้อม) เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวเขาอันงดงามของประเทศไทยและสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อย่างชัดเจนเหมือนเอื้อมมือไปสัมผัสได้

ที่จุดชมวิวนี้สามารถกางเต็นท์พักแรมและชมทะเลหมอกได้อย่างสวยงาม การพักแรม นักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหารจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติได้ โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ จะนำอาหารไปส่งให้

 

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   ดูดาว  

นอกจากนั้นบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ นักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นพรรณไม้ต่าง ๆ ที่หายากได้ ได้หลายชนิด เ  กระโถนพระฤๅษี
เป็นพืชเบียนที่ไม่สังเคราะห์แสงอาศัยเกาะกินน้ำเลี้ยงจากพืชชนิดอื่น ดอกกระโถนพระฤๅษีจัดเป็นพืชหายากชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีจำนวนน้อยมากในธรรมชาติ และจำเป็นต้องอาศัยพืชเพียงไม่กี่ชนิดในการเจริญเติบโต สาเหตุที่ทำให้กระโถนพระฤๅษีใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่า ไฟป่า รวมถึงการตัดฟันพืชอาศัย
กล้วยไม้ป่าชนิดต่าง ๆ
ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย
- ในป่าดงดิบ พบบ่อย เช่น สิงโตสยาม ออกดอกช่วง เดือน ตุลาคม - มกราคม
- ในป่าดงดิบ พบไม่บ่อย เช่น สิงโตก้านหลอด ออกดอกช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม
- ในป่าผลัดใบ พบบ่อย เช่น เอื้องเงิน ออกดอกช่วง เดือน มีนาคม - พฤษภาคม
 

กิจกรรม : ชมพรรณไม้  

เส้นทางดูนก  นกในอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย มีมากกว่า 200 ชนิด 36 วงศ์ มีทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ นกที่เด่นในอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย คือ นกปากนกแก้วหางสั้น (Short-tailed Parrotbill) นกมุ่นรกคอแดง (Rufous-throated Fulvetta) เป็นนกประจำถิ่น หายากไม่พบบ่อย หรือพบเฉพาะในบางพื้นที่ นักท่องเที่ยวสามารถดูนกได้ตลอดปี ช่วงที่พบนกมากที่สุด คือ ฤดูหนาว (ตุลาคม – กุมภาพันธ์) ของทุกปี

อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายมีเจ้าหน้าที่นำทาง แนะนำ ทำกิจกรรมดูนก โดยจัดทำเส้นทางดูนกไว้ 4 เส้นทาง ดังนี้

1. เส้นทางฐาน ตชด. เก่า จุดเริ่มต้น ทางเข้าบ้านพักนักท่องเที่ยว – ฐาน ตชด. เก่า บรรจบถนนลาดยางสายแยกทางหลวงชนบท หมายเลข 1268 อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายได้จัดทำบังไพรไว้บริการ เส้นทางมีต้นไทรอยู่หลายต้น ซึ่งลูกไทรจะสุกประมาณเดือน ตุลาคม – มกราคม ของทุกปี ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร เวลาในการดูนกอย่างน้อย 2 ชั่วโมง นกที่พบ เช่น นกปากนกแก้วหางสั้น นกมุ่นรกคอแดง นกกะลิงเขียดสีเทา ไก่ฟ้าหลังขาว นกจับแมลงสีฟ้า เหยี่ยวรุ้ง เป็นต้น

2. เส้นทางถนนลาดยาง ถนนลาดยางสายแยกทางหลวงชนบท หมายเลข 1268 หลักกิโลเมตรที่ 3 – 6 เป็นเส้นทางดูนกที่สภาพป่าสองข้างทางเปิดโล่ง มองเห็นกว้างไกล ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาดูนกประมาณ 4 ชั่วโมง นกที่พบ เช่น นกปากนกแก้วหางสั้น นกพญาไฟใหญ่ นกแซงแซว นกพญาปากกว้างอกสีเงิน นกขุนแผนหัวแดง เป็นต้น

3. เส้นทางเนินสำนึกบาป เส้นทางเส้นนี้จะแยกจากเส้นทางที่ 2 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 4 – 5 สภาพป่าเป็นป่าไผ่และป่าดิบเขา มีต้นไทรหลายต้น ฤดูฝนจะมีทาก ควรเตรียมยาทาป้องกันและถุงกันทาก ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาดูนกอย่างน้อยประมาณ 4 ชั่วโมง นกที่พบ เช่น นกปากนกแก้วหูเทา นกปากนกแก้วหางสั้น นกมุ่นรกคอแดง นกกระติ๊ดเขียว ไก่ฟ้าหลังขาว นกเปล้าท้องขาว นกขุนทอง นกเอื้องถ้ำ นกกางเขนน้ำหลังเทา เป็นต้น

4. เส้นทางหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายที่ 1 (ภูหัวห้อม) เส้นทางนี้อยู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายที่ 1 (ภูหัวห้อม) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 15 กิโลเมตร สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ระยะทางดูนกประมาณ 2 กิโลเมตร นกที่พบ เช่น นกอัญชันป่าขาเทา นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง นกโพระดกธรรมดา นกแซงแซวสวรรค์ นกกินแมลงหัวสีทอง เหยี่ยวหัวแดง เหยี่ยวภูเขา เป็นต้น

 

กิจกรรม : ดูนก  

ด้านวัฒนธรรมและประเพณี

หินสี่ก้อน  เป็น หินทรายขนาดใหญ่ มี 4 ก้อน วางอยู่ในบริเวณเดียวกันในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส เหมือนกับพิพัทธสีมาตามมุมโบสถ์ 4 ด้าน ที่ปรากฎตามวัดวาอาราม เป็นที่น่าอัศจรรย์ บริเวณนี้ชาวบ้านตำบลแสงภา ได้อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าป่าเจ้าเขาที่เคารพนับถือมาสิงสถิต โดยกำหนดขึ้นไปทำพิธีทำบุญทุกๆ 3 ปี

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

ด้านศึกษาธรรมชาติ

ตาดเลียงผา  มี ลักษณะเป็นโขดหินขนาดใหญ่มีความสูง 11 เมตร ในฤดูฝนมีสายน้ำที่ไหลลดหลั่นกันมาจากโขดหินที่เกิดขึ้นจากน้ำซับตาม ธรรมชาติ สถานที่นี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของเลียงผาซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนที่ใกล้สูญ พันธุ์

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

ตาดเสือ  ตำนาน แห่งเจ้าป่า ณ บริเวณแห่งนี้เคยเป็นที่อาศัยของเสือ มีลักษณะเป็นหน้าผากว้างสูง มีชะง่อนหินยื่นออกมา ในฤดูฝนมีสายน้ำไหลรินผ่านหน้าผา

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

ถ้ำเกีย  มี ลักษณะเป็นถ้ำหินทรายที่เกิดจากการพังทะลายของดินทำให้เกิดเป็นถ้ำเล็กๆ และเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวมงกุฎ หลายชนิด เช่น ค้างคาวมงกุฎเทาแดง ค้างคาวมงกุฎจมูกยาวเล็ก ค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

แย้งตากแดด  “แย้ง” เป็นภาษาถิ่น หมายถึง หน้าผาสูง หรือลาดชัน “ตากแดด” หมายถึง บริเวณที่ถูกแสงแดดสาดส่องถึง รวมความแย้งตากแดด หมายถึงบริเวณหน้าผาสูง มีความลาดชัน แสงพระอาทิตย์สาดส่องถึงตลอดวัน บริเวณนี้อดีต เลียงผาชอบมานอนผึ่งแดดยามเช้า ปัจจุบันเป็นจุดแวะพักผ่อนขณะเดินทางบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติสู่ภูตีนสวนทราย สามารถชมวิวทิวทัศน์ภูเขาใหญ่น้อยได้อย่างชัดเจน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

สวนระทึก  เป็น บริเวณหุบเขาที่เป็นต้นกำเนิดลำน้ำภา คนที่อยู่ด้านล่างหุบเขา เมื่อส่งเสียงตะโกนขึ้นมาข้างบน คนที่อยู่ข้างบนจะฟังเสียงได้ดังกังวาล ชัดเจน เป็นที่ระทึกใจ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า สวนระทึก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

หินก่วยหล่อ  เป็น หินทรายขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางป่า ลักษณะคล้ายเห็ดดอกตูม ตั้งอยู่โดดเดี่ยว รอบ ๆ ก้อนหินมีร่องหินคล้ายกับร่องน้ำเหมือนมีคนไปทำไว้ ข้อเท็จจริง เป็นร่องน้ำเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขารวม    ห้อง น้ำ – ห้องสุขาสะอาด ถูกหลักอนามัย ได้รับการรับรองจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลในการประกวดสุดยอดส้วมแห่งปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทแหล่งท่องเที่ยว ระดับอำเภอนาแห้ว, ระดับจังหวัดเลย และระดับเขต (ครอบคลุม 7 จังหวัด คือ เลย ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม)


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำพร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น 1 ห้องโถงรับแขก พักได้ 15 คน


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น 1 ห้องรับแขก และมีระเบียงหลังห้อง พักได้ 6 คน


ที่พักแรม/บ้านพัก    มี 3 ห้องนอน, 2 ห้องน้ำ พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น, 1 ห้องรับแขก, มีระเบียงหลังห้อง, พักได้ 6 คน


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติ่ม คลิกที่นี่


ค่ายเยาวชน    เป็นสถานที่ใช้จัดกิจกรรมค่ายฯต่างๆ


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    ร้านอาหารตามสั่ง


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    ให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย


 
 
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
ต.แสงภา  อ. นาแห้ว  จ. เลย   42170
โทรศัพท์ 0 4280 7616 (VoIP)   อีเมล pssnp_loei@dnp.go.th

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์