ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติภูเวียง
 
  
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
 

คำ ว่า “ภูเวียง” เป็นท้องที่อำเภอที่เก่าแก่ของจังหวัดขอนแก่นอำเภอหนึ่ง และยังเป็นชื่อเรียกของเทือกเขาซึ่งปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ ป่าภูเวียงให้เป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในท้องที่อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู อำเภอชุมแพ และกิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น มีหลักฐานว่าป่าภูเวียงเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปี ล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ (หลืบเงิน) บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532

เดิมป่าภูเวียงได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 64 พ.ศ. 2508 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2508 และได้เปิดการทำไม้ในพื้นที่ดังกล่าวตามเงื่อนไขของรัฐบาล โดยมีบริษัทขอนแก่นทำไม้เป็นผู้รับสัมปทาน จากการที่พลเอกหาญ สีนานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปตรวจราชการและทำการบินตรวจสภาพป่าทางอากาศ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2530 พบว่า สภาพป่าบางส่วนมีสภาพสมบูรณ์ดี จึงดำริให้สงวนป่าที่สมบูรณ์ไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ และให้จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบและติดตามผลการทำไม้ตามเงื่อนไขสัมปทานใน ส่วนที่ได้ผ่านการทำไม้แล้วและที่กำลังดำเนินการทำไม้อยู่ ผลการตรวจสอบโดยคณะเจ้าหน้าที่จาก กอ.รมน.ภาค 2 และเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2530 ปรากฏว่า การทำไม้ในป่าสัมปทานโครงการภูเวียง (ขก.2) ตอน 7 แปลง 21 โดยบริษัทขอนแก่นป่าไม้ ได้ดำเนินการทำไม้ตามระเบียบ นโยบาย และเงื่อนไขสัมปทาน และได้เหลือไม้ที่สงวนไว้พอประมาณ ตามหนังสือรายงานของจังหวัดขอนแก่นที่ ขก 0009/21641 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2530 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบันทึกสั่งการลงวันที่ 16 มิถุนายน 2530 ให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูเวียง

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ.0713/713 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1162/2530 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2530 ให้นายอุดม ยกฉวี เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจเบื้องต้นป่าภูเวียง และบริเวณป่าใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้รับรายงานตามหนังสือที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 11 กันยายน 2530 ว่า พื้นที่ป่าดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียงมีแหล่งท่องเที่ยวและจุดเด่นทาง ธรรมชาติหลายแห่งและมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เหมาะ สมที่จะดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1064 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1643/2530 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2530 ให้นายอุดมศักดิ์ สุพรรณพงศ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่บริเวณป่าภูเวียงและพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง ในท้องที่อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูเวียงได้มีหนังสือที่ กษ 0713(ภว.)/40 ลงวันที่ 2 เมษายน 2531 รายงานผลการสำรวจ เพื่อกำหนดพื้นที่ในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติให้กองอุทยานแห่งชาติพิจารณา ดำเนินการ

กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติคราวประชุมครั้งที่ 3/2532 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2532 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเวียง ในท้องที่ตำบลกุดธาตุ ตำบลในเมือง ตำบลบ้านโคก ตำบลเขาน้อย ตำบลขนวน ตำบลบ้านเรือ ตำบลเมืองเก่าพัฒนา ตำบลสงเปือย ตำบลนาชุมแสง อำเภอภูเวียง ตำบลวังเพิ่ม ตำบลศรีสุข ตำบลนาจาน อำเภอสีชมพู และตำบลวังหินลาด ตำบลหนองเสาเล้า ตำบลหนองไผ่ และตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ประมาณ 203,125 ไร่ หรือ 325 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 71 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติภูเวียง มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาล้อมเป็นวงอยู่ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่ คล้ายแอ่งกระทะซึ่งเป็นที่ราบและลอนลาด ส่วนพื้นที่โดยรอบแอ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขาซึ่งมีมุมเทเข้าหาใจกลางแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีความลาดชันปานกลางถึงลาดชันสูง เทือกเขาชั้นนอกสุดมียอดเขาสูงสุด 844 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ และเทือกเขาชั้นในมียอดเขาสูงสุด 470 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศเหนือของพื้นที่เทือกเขาชั้นในนี่เองที่เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนระดับต่ำสุดของเชิงเขาอยู่ระดับ 210 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมใน พื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำ พอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

อุทยาน แห่งชาติภูเวียงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จึงแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 36.5 องศาเซลเซียส ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 1,199 มิลลิเมตร ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนธันวาคม 16.6 องศาเซลเซียส

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียงแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ป่าดิบแล้ง ซึ่งมีพื้นที่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ

ป่าดิบแล้ง ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ทางตอนเหนือของเขตอุทยานแห่งชาติ และบริเวณลำธาร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน ชิงชัน พะยูง สมพง กระบก มะค่าโมง เขลง คอแลน ปอแดง สะแกแสง ฯลฯ พืชพื้นล่างและพืชอิงอาศัย ได้แก่ เอื้องหมายนา จันผา ขมิ้นโคก กระเจียวขาว ชายผ้าสีดา เอื้องแปรงสีฟัน เอื้องเขาแกละ นางอั้ว และกล้วยไม้ดง เป็นต้น

ป่าเต็งรัง ขึ้นปกคลุมตามเชิงเขาบริเวณต่ำกว่าป่าดิบแล้ง กระจายตัวอยู่บริเวณภูประตูตีหมา และแนวภูเขาต่อเนื่องรอบในของเทือกเขาภูเวียง และกระจายตัวอยู่เชิงเขารอบนอกเทือกเขาภูเวียง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางกราด เหียง พลวง เต็ง รัง ยอป่า มะเกลือกา สมอ ตีนนก ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ เอื้องหมายนา หญ้าเพ็ก มะลิป่า เปราะ กระเจียว เฟินแผง และเฟินก้านดำ เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ อยู่ระหว่างรอยต่อของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง และปะปนอยุ่ในป่าเต็งรังบ้าง กระจายตัวในพื้นที่บางส่วนบริเวณภูประตูตีหมาและเชิงเขารอบนอกเทือกเขาภู เวียง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ เสลา ตะแบกใหญ่ รัก รกฟ้า ทองหลางป่า แคทราย และตีนนก ฯลฯ

สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในผืนป่าภูเวียงประกอบด้วย หมูป่า สุนัขจิ้งจอก ลิงวอก อีเห็นข้างลาย กระต่ายป่า กระรอกหลากสี กระจ้อน กระรอกบินเล็กแก้มขาว กระแตเหนือ กระรอกบิน ค้างคาวปากย่น หนูท้องขาว หนูจิ๊ด นกเป็ดผีเล็ก เป็ดแดง เหยี่ยวขาว เหยี่ยวนกเขาชิครา ไก่ป่า นกกระทาทุ่ง นกคุ่มอกลาย นกกวัก นกกระแตแต้แว้ด นกเขาเปล้าธรรมดา นกพิราบป่า นกเขาไฟ นกแขกเต้า นกบั้งรอกใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกฮูก นกเค้าแมว นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกธรรมดา นกแอ่นตาล นกนางแอ่นบ้าน นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางปลา นกกินแมลงอกเหลือง นกกระจิบหญ้าอกเทา นกกางเขนบ้าน นกเอี้ยงสาริกา นกกินปลีอกเหลือง จิ้งจกหางแบน ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ จิ้งเหลนหลากหลาย จิ้งเหลนบ้าน งูจงอาง คางคกบ้าน เขียดจะนา กบบัว กบอ่อง กบนา กบหนอง ปาดบ้าน อึ่งอ่างก้นขีด อึ่งอ่างบ้าน อึ่งน้ำเต้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปลาน้ำจืดอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติของอุทยาน แห่งชาติภูเวียง เช่น ปลาช่อน ปลาดุกด้าน ปลาหมอไทย ปลาหลด ปลาไหล ปลาอีด ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาซิวหนวดยาว ปลาบู่ทราย ปลาแขยงใบข้าว และปลากดขาว เป็นต้น

โบราณชีววิทยา
ใน ปี พ.ศ. 2519 นักธรณีวิทยาจากโครงการสำรวจแหล่งยูเรเนียม กรมทรัพยากรธรณีได้พบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกของประเทศไทยที่ภูเวียง จากนั้นจึงได้ทำการศึกษาและสำรวจเพิ่มเติม จนพบแหล่งซากกระดูกไดโนเสาร์ถึง 9 แหล่ง ความสำคัญของซากกระดูกไดโนเสาร์ที่ภูเวียง คือ เป็นสกุลและชนิดใหม่หลายชนิด เช่น ไดโนเสาร์กินพืชภูเวียง (Phuwiangosaurus sirindhornae) ไดโนเสาร์กินเนื้อ (Siamotyrannus isanensis และ Siamosaurus suteethoni) และไดโนเสาร์นกกระจอก เทศ (Ginareemimus) สามารถจำแนกรายละเอียดได้ดังนี้

• ไดโนเสาร์ในหินหมวดพระวิหาร เป็นร่องรอยไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยคิดเป็นอายุประมาณ 160 ล้านปี โดยพบบริเวณลานหินลาดป่าชาด เป็นรอยไดโนเสาร์หลายชนิดจำนวนมากกว่า 60 รอย บนผิวหน้าของชั้นหินทรายเนื้อละเอียดสีขาว เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อเป็นอาหาร เดินด้วย 2 ขาหลัง เคลื่อนไหวได้ว่องไว มีขนาดเล็กตระกูลซีลูโรซอร์ และรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์

• ไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดเสาขัว เป็นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชิ้นแรกที่พบในอุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา ซึ่งมีอายุประมาณ 150 ล้านปี และชิ้นอื่นๆ ที่พบบนยอดภูประตูตีหมา มีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอดคาเมราซอรัส ยุคจูแรสสิก ยาวถึง 15 เมตร คอยาว หางยาว เดินด้วย 4 เท้า กินพืชเป็นอาหาร

ไดโนเสาร์ที่พบในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียงมีหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น พันธุ์ไซแอมโมซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดสกุลใหม่และชนิดใหม่ พันธุ์คาร์โนซอร์ เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดใหญ่ พันธุ์คอมพ์ซอกนาธัส เป็นไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์ขนาดจิ๋ว ตัวเท่าไก่ และพันธุ์ไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดใหม่ เป็นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย มีคอยาว หางยาว เดินด้วย 4 เท้า กินพืชเป็นอาหาร


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
ตู้ ปณ.1 ต.ในเมือง อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น  40150
โทรศัพท์ : 0 4335 8073 (VoIP), 08 5852 1771   โทรสาร : 0 4335 8073 (VoIP)
ผู้บริหาร : มนัส สำราญถิ่น   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน
 
รถยนต์

จาก จังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ ถึงทางแยกไปอำเภอภูเวียง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร จึงแยกตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 ไปประมาณ 38 กิโลเมตร จึงถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียง

จากปากช่องภูเวียงซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภว.1 (ปากช่อง) ตั้งอยู่ริมน้ำพอง บริเวณนี้ยังมีศาลเวียงภูเวียงตั้งอยู่เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป และมีรถรับจ้างสามล้อเครื่องจากอำเภอภูเวียงถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยาน แห่งชาติที่ ภว.1 (ปากช่อง) และเดินทางต่อไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2038 จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูเวียง 101 (จันผา) 3 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, กระติกน้ำร้อน
โซนที่ 3 2. ภูเวียง 931/1 (ค่ายเยาวชน) 1 0 30 3,000  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
โซนที่ 3 3. ภูเวียง 931/2 (ค่ายเยาวชน) 1 0 30 3,000  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูเวียง 101 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 2 ภูเวียง 201 บ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภว.1 (ปากช่อง)
โซนที่ 3 ภูเวียง 931 ค่ายเยาวชน บริเวณน้ำตกตาดฟ้า ระบบไฟฟ้าใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า มีลานกางเต็นท์ ห้องเรียนธรรมชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ภูเวียง 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 60 600  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ภูเวียง 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 60 600  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ภูเวียง 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 60 600  ห้องปรับอากาศ ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 ภูเวียง 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

 

 
ด้านประวัติศาสตร์

ซากไดโนเสาร์  ซากไดโนเสาร์ แหล่งซากไดโนเสาร์ที่สามารเยี่ยมชมได้ มี 4 หลุมขุดค้น ได้แก่

หลุมขุดค้นที่ 1 ภูประตูตีหมา แหล่งพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกของประเทศ ไทย ซากกระดูกที่พบมีขนาดใหญ่ จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชเป็นอาหาร (Sauropod) สกุลและชนิดใหม่ของโลก มีคอยาว หางยาว เดิน 4 ขา ความยาวประมาณ 15 เมตร สูง 3 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phuwiangosaurus sirindhornae บริเวณซากกองกระดูกพบฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์จำนวน กว่า 10 ซึ่ สันนิษฐานว่า ไดโนเสาร์กินพืชนี้ถูกไดโนเสาร์กินเนื้อกินเป็นอาหาร ทำให้กระดูกบางส่วนกระจัดกระจายแล้วถูกทับถมโดยตะกอนซึ่งอาจจะมาจากน้ำหลาก ตามฤดูกาล

หลุมขุดค้นที่ 2 ถ้ำเจีย ขุดพบเมื่อปี 2536 เป็นกระดูกไดโนเสาร์กินพืชเรียงต่อกันจำนวน 6 ชิ้น

หลุมขุดค้นที่ 3 ห้วยประตูตีหมา ขุดค้นพบเมื่อปึ 2536 เป็นกระดูกของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ฝังตัวอยู่ในหินทรายหมวดหินเสาขัว เป็นชนิดพันธุ์เดียวกันกับที่ขุดพบในหลุมที่ 1 และ 2

หลุมขุดค้นที่ 9 หินลาดยาว ขุดค้นพบเมื่อปึ 2536 เป็นกระดูกของไดโนเสาร์กินเนื้อ มีอายุประมาณยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะกระดูกบ่งบอกว่าเป็นบรรพบุรุษของ Tyranosaurus rex หรือ ทีเร็กซ์ มีความยาวประมาณ 6.5 เมตร จัดเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siamotyrannus isanensis หรือ ไทรันสยาม

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

ถ้ำคนนอน  เป็น แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ใกล้น้ำตกทับพญาเสือ บ้านหินร่อง ตำบลในเมืองเก่า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นภาพลายเส้นโค้งหักงอต่อกับลายเส้นกากบาท 2 รูป และเป็นลายเส้นผสมกับลายจุดบนก้อนหินทรายกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 15 เมตร ภาพเขียนอยู่บริเวณหลืบหินด้านทิศใต้เขียนด้วยสีแดงคล้ายน้ำหมาก

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำฝ่ามือแดง  เป็น แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ทางด้านทิศใต้ของเทือกเขาภูเวียง ห่างจากหมู่บ้านหินร่อง ตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง ประมาณ 4 กิโลเมตร พบภาพฝ่ามือแดงบริเวณหลืบหินทราย ลึกประมาณ 7 เมตร สูง 3 เมตร ยาว 50 เมตร ขนาดเท่ามือผู้ใหญ่ 4 ภาพ ขนาดเล็ก 2 ภาพ โดยวิธีเอามือทาบกับผนังหินและพ่นสีแดงเรื่อๆ หน่วยศิลปากรที่ 7 สำรวจพบเมื่อปี พ.ศ. 2507

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ถ้ำหินลาดหัวเมย  เป็น แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อยู่ใกล้เคียงกับถ้ำฝ่ามือแดง ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 300 เมตร พบเมื่อปี 2523 พบภาพที่เขียนด้วยสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง เป็นชนิดลายเส้นคู่ขนานเรียงแถว บางจังหวะต่อกันเป็นรูปเส้นโค้งคู่ขนานแบบหัวลูกศร

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

พระพุทธไสยาสน์  ประดิษฐาน อยู่บนยอดเขาภูเวียง บ้านไชยสอ ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบทวาราวดี ปางไสยาสน์ หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตกและหันพระพักตร์ไปทางด้านทิศใต้ สลักอยู่บนหน้าผายาว 3.75 เมตร ความสูงประมาณ 650 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปัจจุบันพระพุทธรูปยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

ร่องน้ำจั่น  เป็น ร่องหินบนภูเขาภูเวียง มีน้ำไหลตลอดปี อยู่ที่บ้านหนองเส่าเล้า ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ มีรูปปั้นฤาษีขนาดใหญ่ เป็นจิตรกรรมที่งดงามมาแต่โบราณ สามารถเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ อยู่ห่างจากถนนชุมแพ-ขอนแก่น ประมาณ 13 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

รอยพิมพ์เท้าไดโนเสาร์ ที่หินนลาดป่าชาด  หิน ลาดป่าชาด อยู่ด้านทิศเหนือของเทือกเขาภูเวียงใกล้น้ำตกตาดฟ้าเป็นลานหินขนาดใหญ่ มีพื้นที่กว้างประมาณ 250 ตารางเมตร ปกคลุมด้วยหญ้าสูง บนลานหินเป็นรอยพิมพ์เท้าไดโนเสาร์ขนาดต่างๆ และร่องรอยการเคลื่อนไหวของสัตว์ดึกดำบรรพ์อีกหลายชนิด เช่น หนอน ริ้วรอยคลื่น

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ดูนก  อุทยาน แห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งดูนกแห่งหนึ่ง เส้นทางดูนกอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางเดินป่า และบริเวณสองข้างทางถนนภายในอุทยานแห่งชาติ

กิจกรรม : ดูนก  

ทุ่งกูกติ  เป็น ทุ่งกว้างอยู่บนเทือกเขาภูเวียงท้องที่ต่อระหว่างอำเภอชุมแพ และอำเภอภูเวียง มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีทัศนียภาพที่งดงามมองเห็นทิวทัศน์ของชุมแพได้ มีแหล่งน้ำ การเดินทางเข้าที่บ้านโนนสะอาด และเดินขึ้นเขาประมาณ 6 กิโลเมตร

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

ทุ่งใหญ่เสาอาราม  ตั้ง อยู่ในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากน้ำตกตาดฟ้าไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่บนเทือกเขาภูเวียงมีตำนานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัย ของพวกชาวป่าในสมัยก่อน มีร่องรอยวัดวาอาราม บ้าน ในสมัยโบราณ สภาพทิวทัศน์ของทุ่งหญ้าและป่าเบญจพรรณกว้างไกลสุดตางดงาม นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าที่ขึ้นอยู่หลากหลาย และสัตว์ป่าที่มีค่าหายากต่างๆ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

น้ำตกซำจำปา  เป็น น้ำตกธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาวสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของเทือกเขาภูเวียง เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ เข้าทางบ้านขามป้อม ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทึ่ ภว.2 (หัวภูชน) ไปน้ำตกประมาณ 3 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกตาดกลาง  ตั้ง อยู่ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่อยู่ในเส้นทางบ้านโคกสูง ถึงรอยเท้าไดโนเสาร์ที่หินลาดป่าชาด ถึงทุ่งใหญ่เสาอารามห่างจากรอยเท้าไดโนเสาร์ประมาณ 4 กิโลเมตร

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกตาดจำปา  เป็น น้ำตกธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งในช่วงฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาวสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของเทือกเขาภูเวียง เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ เข้าทางบ้านขามป้อม ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทึ่ ภว.2 (หัวภูชน) ไปน้ำตกประมาณ 3 กิโลเมตร

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกตาดฟ้า  ตั้ง อยู่ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากทุ่งใหญ่เสาอารามประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากบ้านโคกสูงประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางอยู่ทางทิศเหนือของเทือกเขาภูเวียง มีเส้นทางเดินเท้าขึ้นเขาระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จากด่านตรวจโคกสูง มีความสูงประมาณ 15 เมตร สภาพป่าเป็นป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้ให้สำหรับผู้ประสงค์จะพักแรม

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   แค้มป์ปิ้ง   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกตาดฮางริน  เป็น น้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับด่านตรวจโคกสูง มีระบบชลประทานแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ลักษณะเป็นรางไม้ มีเสาค้ำยัน ผูกโยงกับต้นไม้ รองรับน้ำจากธารน้ำตกไหลลงสู่คลอง ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลลงสู่พื้นนา ซึ่งบริเวณน้ำตกนี้จะร่มรื่น คงสภาพความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์ของพืชพันธุ์ไม้ป่าดิบแล้ง

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกทับพญาเสือ  เป็น น้ำตกที่ลาดยาวประมาณ 400 เมตร อยู่ทางด้านทิศใต้ของเทือกเขาภูเวียง มีเส้นทางเดินเท้าระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร จากด่านตรวจหินร่อง เป็นน้ำตก 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นน้ำตกขนาดกลาง สูงประมาณ 8 เมตร มีธรรมชาติที่งดงาม ชั้นที่สองเป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีน้ำไหลลาดตามลำห้วย ยาวประมาณ 100 เมตร ธรรมชาติสองข้างทางร่มรื่นสวยงาม โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ และชมดงจันผาในยุคไดโนเสาร์

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกวังสักสิ่ว  เป็น น้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับด่านตรวจโคกสูง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอ่างธารน้ำใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วังน้ำ มีลักษณะสีเขียวมรกต สวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

โปร่งยุบ  อยู่ ตรงข้ามศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 500 เมตร ก่อนขึ้นหลุมขุดค้นกระดูกไดโนเสาร์ หลุมที่ 2 อยู่ด้านขวามือ เป็นปฏิมากรรมธรรมชาติที่สวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำในช่วงฤดูฝน ส่วนที่เป็นพื้นแข็งก็จะยังคงอยู่ ส่วนที่อ่อนนิ่มก็จะถูกชะล้าง หรือยุบตัวลงไปตามสภาวะการสะสมตัวของดินและหินบริเวณนั้น ซึ่งมองดูสวยงาม ลักษณะคล้ายแพะเมืองผีที่ จังหวัดแพร่

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

สุสานหอย  อยู่ บริเวณใกล้เคียงกับหลุมขุดค้นกระดูกไดโนเสาร์ที่ 2 อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 1,500 เมตร ซากหอยที่พบ คือ หอยนางรมสกุลเอ็กโซไจรา (Exogyra) เป็นหอยที่เกิดในน้ำกร่อย จากการศึกษาซากหอยเทียบเคียงกับซากหอยยุคครีเทเชียสตอนต้น (Lower Cretaceous) ของประเทศจีน และซากไดโนเสาร์บริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง บ่งชี้ว่าซากหอยเหล่านี้ อยู่ระหว่างยุคจูแรสซิกตอนปลายครีเทเชียสตอนต้น (Upper Jurassic Lower Cretaceous) หรืออยู่ช่วงอายุ 120-150 ล้านปี

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

หินลาดกกกุ่ม  ลาน หินขนาดใหญ่มีก้อนหินเรียงกันเป็นกลุ่ม บางก้อนมีลักษณะคล้ายรูปสัตว์อยู่กระจัดกระจายเต็มพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ มีดอกกล้วยไม้ป่า ขึ้นอยู่ออกดอกสวยงาม หากยืนที่จุดนี้มองลงไปที่เบื้องล่างจะเห็นทิวทัศน์ของหมู่บ้านและเทือกเขา ภูเวียงสวยงามมาก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

อ่างเก็บน้ำหัวภูชน  ตั้ง อยู่ในท้องที่บ้านขามป้อม ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากรอยเท้าไดโนเสาร์หินลาดป่าชาด ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นลานหินขนาดใหญ่ มีก้อนหินเรียงราย เหมือนปฏิมากรรมทางธรรมชาติที่งดงาม รายรอบไปด้วยป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื่น สามารถไปนั่งชมทิวทัศน์ ถ่ายรูป นั่งพักผ่อน โดยเฉพาะหลังฤดูฝนมีดอกไม้ป่า เช่น ม้าวิ่ง กระดุมเงิน กล้วยไม้ดิน หยาดน้ำค้าง โครงเครง ฯลฯ ขึ้นอยู่ดาษดื่นงดงามมาก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้  

ด้านศึกษาธรรมชาติ

เส้นทางจักรยานเสือภูเขา  เส้น ทางจักรยานเสือภูเขา จากด่านตรวจโคกสูงทางทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติภูเวียง ถึงลานกางเต็นท์ที่ 2 มีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ผ่านหุบเขาน้อยใหญ่ โขดหิน ลำธาร และสามารถแวะชมน้ำตกวังสักสิ่วและน้ำตกตาดฮางริน มีแมกไม้สองข้างทาง ฝูงผีเสื้อที่เกาะตามลำห้วย ต้นไม้ใหญ่ที่สูงตระหง่าน สวนหินที่แลดูสุดตา ได้ทั้งความสนุกสนานและมีบรรยากาศรื่นรมย์

กิจกรรม : ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ  

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ  เส้น ทางศึกษาธรรมชาติ เป็นเส้นทางเดินเท้าที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์ ไม้ ชนิดของป่า สิ่งมีชีวิตในป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ มี 2 เส้นทาง

เส้นทางที่ 1 จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวถึงหลุมขุดค้นที่ 2 ระหว่างเส้นทางจะพบกับสถานีความรู้ต่างๆ เช่น ป่าเบิกนำ นักบุญแห่งป่านักฆ่าเลือดเย็น พรมแดนป่า เป็นต้น ระยะทาง 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินศึกษาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

เส้นทางที่ 2 จากลานกางเต็นที่ 1 ไปยังลานกางเต็นท์ที่ 2 ระหว่างเส้นทางจะพบสถานีความรู้หลายสถานีด้วยกัน จะผ่านหุบเขา ลำธาร ป่าไผ่ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และความหลากหลายทางธรรมชาติ ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินศึกษาประมาณ 2-3 ชั่วโมง

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพัก จำนวน 2 หลัง ไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


บริการอาหาร    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


 
 
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
ตู้ ปณ.1 ต.ในเมือง  อ. ภูเวียง  จ. ขอนแก่น   40150
โทรศัพท์ 0 4335 8073 (VoIP), 08 5852 1771   โทรสาร 0 4335 8073 (VoIP)   อีเมล Phuwiangnp71@hotmail.com

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์