อุทยานแห่งชาติศรีน่าน |
|
|
อุทยาน
แห่งชาติศรีน่านมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น
อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน
จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์
สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร
ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน
ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของประชาชนในจังหวัดน่าน
มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายอย่าง
และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติ
ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามได้แก่ เสาดินและคอกเสือ ปากนาย
แก่งหลวง จุดชมทิวทัศน์ดอยผาชู้
ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน
จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ มีเนื้อที่ประมาณ
640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตร
ในปี 2535 ได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 475/2532 ลงวันที่ 23
มีนาคม 2532 ให้นายสมบัติ เวียงคำ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่
ป่าสาลีก ป่าน้ำสา และป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขะนิง
และป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 435 ตารางกิโลเมตร หรือ
271,875 ไร่ และได้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19
ตุลาคม 2532 ให้สำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม
เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
และได้ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตามชื่อป่าสงวนแห่งชาติ
ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารและประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันว่า
อุทยานแห่งชาติแม่สาคร และใช้อักษรย่อว่า ที่ กษ 0713
(มสค) /..ตามหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0713/674
ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2533
กรมป่าไม้ได้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม
2532 ให้ นายสมบัติ เวียงคำ
ไปสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำสา-ป่าแม่สาครฝั่งซ้าย
ป่าห้วยแม่ขนิงและป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน
ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
เพื่อประกาศกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
ต่อมาอุทยานแห่งชาติแม่สาครได้มีหนังสือ ที่ กษ
0713(มสค)/33 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2534 ว่า
เห็นสมควรได้สำรวจเพิ่มเติมจากพื้นที่เดิมคือ
ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้
ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี
และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่
ท้องที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น
จังหวัดน่าน เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713.2/1568
ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2534
อนุมัติให้ทำการสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าดังกล่าว
พร้อมทั้งมีหนังสือจังหวัดน่าน ที่ นน 0009/5857 ลงวันที่
19 เมษายน 2536
สนับสนุนให้จัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
ต่อมา นายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้
ได้อนุมัติให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0712.03/47 ลงวันที่
12 มกราคม 2537 เรื่อง การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจเพิ่มมีเนื้อที่ประมาณ 934
ตารางกิโลเมตร หรือ 583,750 ไร่
โดยให้กันพื้นที่ที่ราษฎรที่ได้ยึดถือครอบครองเป็นหมู่บ้านใหญ่ออกจากเขต
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
เนื่องจากมีการสำรวจเพิ่มเติมและได้ย้ายที่ทำการอุทยานแห่งชาติใหม่
ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่น
จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0712.3/47 ลงวันที่
12 มกราคม 2537
ต่อมาปี 2550
ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่
ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ และป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี่
ในท้องที่ตำบลขึ่ง ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา
ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย
และตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
124 ตอนที่ 25 ก ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2550
จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 104 ของประเทศ
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
ลักษณะ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ใต้เทือกเขาที่สำคัญคือ
ดอยแปรเมือง ดอยขุนห้วยฮึก ขุนห้วยหญ้าไทร และดอยหลวง
มียอดเขาขุนห้วยฮึก
ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่สูงที่สุด มีความสูง 1,234
เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำน่านทั้งสิ้น
ส่วนใหญ่ไหลจากทิศเหนือไปสู่ทิศใต้
แหล่งน้ำที่พบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีลำห้วยลำธารที่สำคัญคือ แม่น้ำขะนิง แม่น้ำสา
นอกจากลำน้ำสองสายแล้วยังมีลำห้วยเล็กๆ อีกหลายสาย |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
ลักษณะ ภูมิอากาศแบ่งออกเป็นสามฤดู คือ ฤดูร้อน
อากาศจะร้อนพอประมาณ
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน
ฝนจะตกปานกลางถึงหนัก
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว
อากาศจะหนาวจัด เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ลักษณะท้องฟ้ามีเมฆมากในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
และมีเมฆน้อยมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
เนื่อง จากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
ประเภทป่าแบ่งออก เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าไม่ผลัดใบ
ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่พบคือ
กระบาก ตะเคียน ยาง ประดู่ มะค่าโมง ยมหอม ตะแบก ชิงชัน
เหียง พลวงตะเคียนหนู พวกไม้ก่อต่างๆ พลับพลา หมีเหม็น
สนสองใบ สนสามใบ เป็นต้น ป่าผลัดใบ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ
ป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบคือ สัก แดง ประดู่ ชิงชัน
ขะเจ๊าะ สาธร มะค่าโมง ตะแบก ตีนนก โมกหลวง เต็ง รัง เหียง
พลวง ตะคร้อ มะม่วงป่า กว้าว รกฟ้า มะกอก ไผ่ชนิดต่างๆ
เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่คือ กระทิง วัวแดง กวางป่า หมูป่า
หมี เสือโคร่ง เสือดาว ชะนี ลิงลม หมาไน หมาจิ้งจอก กระจง
อีเห็น เสือป่า กระต่ายป่า กระแต กระรอก หมาจิ้งจอก
นกนานาชนิด ที่สำคัญ คือ นกยูงไทย
สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ซึ่งจะพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ |
|
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
แก่งหลวงน้ำน่าน เกิด
จากแนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่านรวมทั้งโขดหินและหน้าผา
ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้อง
ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวหิน
โขดหินที่มีรูปร่างทรงหลากหลายอย่างสวยงาม
จุดเด่นที่น่าสนใจ
แนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่าน
รวมทั้งโขดหินและหน้าผา
ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้อง
ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวหิน
โขดหินที่มีรูปร่างทรงหลากหลายอย่างสวยงามและหาดทรายที่ขาวสะอาดเป็นบริเวณ
กว้าง เหมาะสำหรับการมาท่องเที่ยวพักผ่อนและเล่นน้ำ
แก่งหลวงอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 14 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ล่องแก่ง
ชมทิวทัศน์
ดูนก
|
|
ดอยผาชู้ ดอย
ผาชู้ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
มีลักษณะเป็นโขดหินและหน้าผาขนาดใหญ่
ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่เขียวขจีหลายแสนไร่
สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และสายน้ำของแม่น้ำน่านทอดตัวไหลคดเคี้ยวสู่ทิศใต้
ยาวหลายสิบกิโลเมตร
ยามหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกสีขาวตัดกับความเขียวขจีของป่าและแสงสีทองของดวง
อาทิตย์ขึ้นยามเช้าอย่างสวยงามมาก
และเป็นสถานที่เกิดตำนานรักสามเส้าที่ตัดสินความรักด้วยความตาย
จุดเด่นที่น่าสนใจ
ยอดผาชู้
เป็นสถานที่ตั้งสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
ต้องร้องเพลงชาติ 12 จบ กว่าจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา
มีความยาวของสายธงชาติประมาณ 200 เมตร จากพื้นถึงยอดผาชู้
จุดชมวิว เป็นบริเวณกว้างอยู่ด้านหน้าของผาชู้
สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกในยามเช้า
มองเห็นแม่น้ำน่านที่ไหลทอดตัวผ่านใจกลางอุทยานแห่งชาติ
เป็นระยะทางกว่า 20 กิโลเมตร
สวนหิน
ที่เกิดจากธรรมชาติที่มีการจัดวางตัวอย่างสวยงาม
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
|
|
ดอยเสมอดาว และผาหัวสิงห์ ดอยเสมอดาว
บริเวณจุดชมวิวอีกจุดหนึ่งของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
มีพื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา เหมาะสำหรับการพักผ่อน
ดูดาว ดูพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินในบริเวณเดียวกัน
จุดนี้มีชื่อว่า ดอยเสมอดาว
ผาหัวสิงห์
เป็นหน้าผามีรูปร่างเหมือนสิงโตนอนหมอบหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสามารถมอง
เห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศา
ทิศเหนือมองเห็นตัวอำเภอเวียงสา ทิศใต้
มองเห็นทิวเขาเป็นแนวยาว ทิศตะวันออกมองเห็นผาชู้
แม่น้ำน่าน ทิศตะวันตก มองเห็นตัวอำเภอนาน้อยเกือบทั้งหมด
และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมทิวทัศน์
แค้มป์ปิ้ง
|
|
ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน แม่
น้ำน่าน ซึ่งทอดตัวผ่านกลางพื้นที่อุทยานฯ
ตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดยาวกว่า 60 กิโลเมตร
สามารถล่องเรือ ล่องแพ ชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำน่าน
จะเห็นทิวทัศน์ เกาะแก่ง โขดหิน หาดทราย หน้าผา
สภาพป่าที่เขียวขจีและสัตว์ป่านานาชนิดต่าง ๆ มากมาย
มีจุดเด่นที่น่าสนใจ ผาง่าม เป็นหน้าผาขนาดใหญ่
ตั้งโดดเด่นอยู่กลางป่าเขาที่เขียวขจี ผาขวาง
เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งขวางอยู่กลางแม่น้ำน่าน
สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ สองฝั่งแม่น้ำน่าน
ที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับระบบธรรมชาติวิทยา |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
ชมทิวทัศน์
|
|
ปากนาย เกิด
จากสภาพป่าที่ถูกน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ท่วมถึง
เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดน่าน
มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถนั่งเรือชมธรรมชาติ
มีเรือนแพของชาวประมงไว้บริการนักท่องเที่ยวที่เข้าไปชมและพักค้างแรม
ปากนายตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น
จังหวัดน่าน ห่างจากตัวอำเภอ 27 กิโลเมตร
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 63 กิโลเมตร
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน
มีเส้นทางข้ามไปจังหวัดอุตรดิตถ์ได้จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเพื่อแวะ
ชมและพักค้างคืนเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง |
|
กิจกรรม :
ล่องแพ/ล่องเรือ
พายเรือแคนู/คยัค
ชมทิวทัศน์
|
|
เสาดินนาน้อยและคอกเสือ เสาดินนาน้อย
เกิดจากการกัดเซาะพังทะลายของดินเป็นบริเวณกว้างกว่า 20
ไร่ ลักษณะคล้ายแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ แต่มีความสวยกว่า
และจะมีการพังทลายของดินเปลี่ยนแปลงรูปไปทุก ๆ ปี
ผลกระทบต่อระบบนิเวศ คือ ตะกอนดินจะไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร
ทำให้เกิดการตื้นเขินได้ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เสด็จนำคณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เพื่อทัศนศึกษาลักษณะภูมิประเทศ ธรณีวิทยา
โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณเสาดินนาน้อย
คอกเสือ อยู่ห่างจากเสาดินนาน้อยประมาณ 300 เมตร
มีลักษณะเป็นหลุมลึก ในสมัยก่อนชาวบ้านเล่าว่า
ในบริเวณนี้มีเสืออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และจะมาขโมยเอาวัว
ควาย และหมูของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้กินเป็นอาหาร
ชาวบ้านจึงรวมกำลังไล่ต้อนเสือให้ตกลงไปในบ่อดินดังกล่าว
แล้วใช้ก้อนหินและไม้แหลมขว้างและทิ่มแทงเสือจนตาย
เขาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "คอกเสือ"
เสาดินนาน้อยและคอกเสือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเชียงของ
อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน
มีระยะทางห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 24
กิโลเมตร
การเดินทางจากอำเภอนาน้อยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083
ไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ชมทิวทัศน์
|
|
ด้านศึกษาธรรมชาติ |
|
ดอยจำลึก
|
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ชมทิวทัศน์
|
|
สิ่งอำนวยความสะดวก |
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย
มีห้องสุขาชายให้บริการ |
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง
มีห้องสุขาหญิงให้บริการ |
|
ลานกางเต็นท์
มี
พื้นที่กางเต็นท์ รองรับได้ประมาณ 80 -100 เต็นท์/คืน
หรือ 160-200 คน/คืน พร้อมห้องน้ำ-ห้องสุขาแยกชาย-หญิง
และคนพิการ จำนวน 26 ห้อง ท่านสามารถนำเต็นท์มากางเอง
หรือติดต่อขอใช้บริการเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งมีค่าบริการอยู่หลายอัตราขึ้นอยู่กับชนิด
ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
รายละเอียดเกี่ยวกับที่พักเต็นท์ขอให้ติดต่อสอบถามกับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ
อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม
คลิกที่นี่
|
|
ที่จอดรถ
มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว |
|
บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว |
|
ระบบสาธารณูปโภค
มี
ไฟฟ้าให้แสงสว่างตามถนนทางเดิน สถานที่กางเต็นท์
ค่ายเยาวชน และพื้นที่ในส่วนบริการ มีโทรศัพท์สาธารณะ
และน้ำอุปโภคและบริโภค
เป็นน้ำตามธรรมชาติที่มีใช้ตลอดทั้งปี |
|
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ
มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติรอบผาหัวสิงห์ ระยะทาง 1.2
กิโลเมตร |
|
เต็นท์
มี
เต็นท์และเครื่องนอนเต็นท์ให้บริการนักท่องเที่ยว
สามารถติดต่อจองเต็นท์กับทางอุทยานแห่งชาติได้โดยตรง
เต็นท์ที่ให้บริการมี 2 ขนาด ดังนี้
เต็นท์โดม ขนาด 6 คน จำนวน 8 เต็นท์
เต็นท์โดม ขนาด 3 คน จำนวน 14 เต็นท์ |
|