อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
|
|
|
อุทยาน แห่งชาติศรีพังงา
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า
จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ในจำนวน 5 แห่ง
ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ
วันที่ 5 ธันวาคม 2530
ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และสวยงามตามธรรมชาติ
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ มีสัตว์ป่าชุกชุม
และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา
อุทยานแห่งชาติศรีพังงา มีเนื้อที่ประมาณ 153,800 ไร่ หรือ
246.08 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา : ในต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529
ราษฎรอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ได้เสนอผ่าน นายบรม
ตันเถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ให้ทางราชการจัดตั้งพื้นที่บริเวณน้ำตกตำหนัง
อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ
เพื่อปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่
2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529
พิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5
รอบ
ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณน้ำตกตำ
หนัง เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
เดือนพฤษภาคม 2529 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ได้มีคำสั่งที่ 877/2529 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2529 ให้
นายธวัช ไชยพัฒน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4
ไปดำเนินการสำรวจและจัดตั้งพื้นที่บริเวณป่าน้ำตกตำหนังเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
จากรายงานการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713 (ศง)/32 ลงวันที่
15 ธันวาคม 2529 บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าสมบูรณ์
มีทิวทัศน์และจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม
กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขานมสาว
ในท้องที่ตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี
และตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 60 ลงวันที่
16 เมษายน 2531 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 56 ของประเทศ
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
|
สภาพ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
เป็นแนวขนานกับฝั่งทะเลอันดามันในแนวเหนือใต้
บริเวณเทือกเขาจะมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
เป็นต้นกำเนิดลำห้วยต่างๆ มากมาย
ทำให้เกิดจุดเด่นทางธรรมชาติประเภทน้ำตก หน้าผา
และสภาพป่าที่สวยงาม มีต้นน้ำลำธารมากมาย เช่น คลองคุรอด
คลองตำหนัง คลองแพรกขวา คลองแพรกซ้าย คลองบางแดง
คลองบางวัน คลองหลักเขต และคลองบางใหญ่ |
|
ลักษณะภูมิอากาศ
|
|
|
อุทยาน แห่งชาติได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปี
มีเพียง 2 ฤดูกาล โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม -
เมษายน และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม
ซึ่งสภาพอากาศจะชื้นและไม่หนาวหรือร้อนจัด
มีอุณหภูมิตั้งแต่ 26-29 องศาเซลเซียส ตลอดปี
|
|
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
|
|
พื้นที่
ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าดิบชื้นเป็นไม้ไม่ผลัดใบสภาพป่าค่อนข้างชื้น
มีพรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ยาง ตะเคียน สะตอป่า กระท้อน
ตาเสือ เสียดช่อ และนาคบุตร เป็นต้น
ส่วนพืชพื้นล่างรกทึบด้วย หวาย เถาวัลย์ ว่าน สมุนไพร ระกำ
มอส และเฟินชนิดต่างๆ รวมทั้งไผ่หลายชนิด
มีสัตว์ป่าชุกชุมเนื่องจากพื้นที่ติดกับป่าเหนือเขื่อนเชี่ยวหลาน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทำให้สัตว์ป่าอพยพหนีน้ำอันเกิดจากการปิดกั้นเขื่อนกักน้ำ
มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สมเสร็จ เลียงผา ช้างป่า
เก้ง กวางป่า หมี เสือ กระจง ชะนี ลิง ค่าง วัวแดง
และนกชนิดต่างๆ อีกมากมาย เช่น นกแก้ว ไก่ป่า นกเงือก
นกโพระดก นกแซงแซว นกปรอด นกหัวขวาน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย เต่า ตะพาบน้ำ
เห่าช้าง ตะกวด งู กิ้งก่า ฯลฯ
ทั้งยังมีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น กบทูด คางคก เขียด
อึ่งอ่าง และปลาที่สวยงามอยู่มากมายตามแอ่งน้ำต่างๆ |
|
|
|
โซน |
ชื่อห้องประชุม |
รองรับ
ได้ (คน) |
ราคา
(บาท) |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
โซนที่ 1 |
1. ศรีพังงา 011 - ห้องประชุม (09.00 - 12.00 น.) |
50 |
500 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
2. ศรีพังงา 011 - ห้องประชุม (18.00 - 21.00 น.) |
50 |
500 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
โซนที่ 1 |
3. ศรีพังงา 011 - ห้องประชุม (13.00 - 16.00 น.) |
50 |
500 |
ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน,
โต๊ะ, เก้าอี้
|
ด้านประวัติศาสตร์ |
|
สะพานพระอร่าม สะพาน
พระอร่าม เป็นร่องรอยสะพานที่ผู้ทำเหมืองแร่
ได้สร้างข้ามผ่านคลองนางย่อน ยาวประมาณ 25 เมตร
เพื่อขนถ่ายแร่จากภูเขา
ตั้งอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ศง.2
(สะพานพระอร่าม) ห่างจากที่ทำการกลางประมาณ 40 กิโลเมตร
|
|
กิจกรรม :
ชมประวัติศาสตร์
|
|
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
|
น้ำตกตำหนัง เป็น
น้ำตกขนาดใหญ่ทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาหิน สูงประมาณ 60 ม.
ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่เบื้องล่าง เหมาะแก่การเล่นน้ำมาก
เป็นน้ำตกที่เดินทางไปเที่ยวได้สะดวกที่สุดของอุทยานแห่งชาติศรีพังงา
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีทางรถยนต์ต่อเข้าไปอีกราว
1.5 กิโลเมตร
จากนั้นเดินเท้าผ่านแอ่งปลาพลวงและผืนป่าร่มรื่นไปอีก 500
เมตร ก็จะถึงน้ำตกตำหนัง ระหว่างทางมีนกหลายชนิดให้ชม เช่น
นกหัวขวานสีน้ำตาล นกปรอดเล็กตาขาว นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
ฯลฯ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
ดูนก
|
|
น้ำตกโตนเด้งและน้ำตกโตนอู น้ำตกโตนเด้ง
และ น้ำตกโตนอู
เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ในเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ผืนป่าศรีพังงา |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกโตนต้นเตย จาก
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีทางเดินไปน้ำตกโตนต้นเตย
ผ่านลำธารที่มีก้อนหินน้อยใหญ่ประมาณ 30 นาที
จะถึงน้ำตกชั้นล่าง เรียกว่า น้ำตกโตนเตยน้อย สูง 10 เมตร
จากนั้นเดินตามลำธารไปจนถึงน้ำตกโตนเตยที่ทิ้งตัวลงจากผาหินสูง
45 เมตร อยู่ท่ามกลางป่าดงดิบ มีเฟิน หวาย
และนกหลายชนิดให้พบเห็น เช่น นกเขียวคราม นกเขียวก้านตอง
นกโพระดกคางแดง ฯลฯ
ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลากไม่สามารถเดินตามลำธารเข้าไปได้
ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทางเพราะอาจหลงทางได้ |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกโตนต้นไทร เกิด
จากลำน้ำซึ่งตกจากโขดหินขนาดใหญ่
บริเวณใกล้น้ำตกจะมีต้นไม้ใหญ่น้อย และโขดหินสวยงาม
สายน้ำไหลตกลงมาตามผาหินสูงประมาณ 20 เมตร
บริเวณน้ำตกมีต้นไทรอยู่หลายต้นจนเป็นที่มาของชื่อน้ำตก
ทางเข้าน้ำตกอยู่เลยด่านตรวจอุทยานแห่งชาติก่อนเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
มาเล็กน้อย เมื่อพบทางแยกให้เลี้ยวซ้าย
ผ่านสวนผลไม้ชาวบ้านไปอีก 2 กิโลเมตร
จากนั้นต้องเดินเลาะลำธารเข้าไปถึงน้ำตก
ควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง
แต่ในช่วงฤดูฝนจะเดินเข้าไปน้ำตกไม่ได้
จากน้ำตกโตนต้นไทรไปอีก 500 เมตร จะถึง ถ้ำค้างคาว
ซึ่งมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมาก |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกโตนหินราและน้ำตกโตนขิงแห้ง น้ำตก
โตนหินรา และน้ำตกโตนขิงแห้ง
เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ในเส้นทางเดินป่าศรีพังงา ไทรทอง
สภาพป่าไม้บริเวณน้ำตกทั้งสอง
เป็นป่าไม้ที่มีความสวยงามและอุดมสมบูรณ์
ห่างจากที่ทำการกลางอุทยานแห่งชาติศรีพังงา ประมาณ 3
กิโลเมตร
ตลอดระยะทางจะต้องเดินเท้าซึ่งเป็นเส้นทางที่ชันและอันตราย
จนถึงน้ำตก จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางเข้าไป
|
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
น้ำตกสวนใหม่ น้ำตก
สวนใหม่ เป็นน้ำตกขนาดกลาง
มีความสวยงามตามธรรมชาติมากเหมาะสำหรับกิจกรรมศึกษาธรรมชาติ
ตั้งอยู่ที่หน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ศง.1 (น้ำตกสวนใหม่)
ห่างจากที่ทำการกลางประมาณ 48 กิโลเมตร |
|
กิจกรรม :
เที่ยวน้ำตก
|
|
วังปลาพลวง วังปลาพลวง
เป็นวังปลาขนาดใหญ่ที่มีปลาพลวงจำนวนมากอาศัยอยู่บริเวณเส้นทางเดินไปน้ำตกตำหนัง |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
|
|
ด้านศึกษาธรรมชาติ |
|
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะ
ทางประมาณ 2 กิโลเมตร
เริ่มจากบริเวณลานจอดรถของน้ำตกตำหนัง
มีทางเดินไต่เขาผ่านป่าดิบชื้นขึ้นไปจนถึงจุดชมทิวทัศน์
มองเห็นบริเวณที่คลองตำหนังไหลผ่านป่าชายเลนลงทะเลระหว่างทางมีต้นไทร
ซึ่งถ้าโชคดีเป็นช่วงลูกไทรสุก
ก็จะมีโอกาสได้พบนกหลากชนิดที่แวะมากินลูกไทร เช่น นกแก๊ก
รวมทั้งนกเงือกหายาก เช่น นกชนหิน นกเงือกดำ
ในบริเวณนี้ยังมีพืชหากยาก เช่น กระโถนพระฤาษี บัวผุด ด้วย
จากนั้นเส้นทางจะผ่าน น้ำตกโตนอู น้ำตกโตนเด้ง
แล้ววกกลับมายังจุดเริ่มต้น |
|
กิจกรรม :
เดินป่าศึกษาธรรมชาติ
ชมพรรณไม้
ดูนก
|
|
สิ่งอำนวยความสะดวก |
|
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย
มีห้องน้ำ
ห้องสุขาชายไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว |
|
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง
มีห้องน้ำ
ห้องสุขาหญิงไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว |
|
ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 4 หลัง
ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ |
|
ลานกางเต็นท์
อุทยาน
แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้
กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง
หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ
อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม
คลิกที่นี่
|
|
ที่จอดรถ
มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวใกล้เคียงน้ำตกตำหนัง
ประมารณ 500 เมตร |
|
บริการอาหาร
มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว เปิดเวลา
08.30 16.30 น. |
|
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มี
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ
นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน
ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.
|
|
ห้องประชุม
มีห้องประชุมให้บริการ |
|