ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติตาพระยา
 
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
 

อุทยาน แห่งชาติตาพระยาเป็นส่วนหนึ่งในเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกยาวไปทางทิศตะวันตก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 5 ลิบดาเหนือถึง 14 องศา 22 ลิบดาเหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิบดาตะวันออก ถึง 103 องศา 14 ลิบดาตะวันออก หรือบริเวณของด้านทิศใต้ของที่ราบสูงโคราช มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 371,250 ไร่ หรือ 594 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมเนื้อที่ 2 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว และบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 380 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา

ความเป็นมา : เนื่องด้วยกรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากกองทัพภาคที่ 1 ขอให้พิจารณาประกาศจัดตั้งป่าบริเวณเทือกเขาบรรทัด รอยต่อ 3 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วจึงให้นายอภิศักดิ์ จัตตุพรพงษ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในขณะนั้น ไปดำเนินการสำรวจ และจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตาพระยา ป่าดงใหญ่ ป่าบ้านกรวด แปลงที่ห้า และป่าใกล้เคียง ในท้องที่จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1640/2534 ลงวันที่ 2 กันยายน 2534

เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต (ปี 2515 - 2531) เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ ไทยอย่างรุนแรง เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากจนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 ใช้การเมืองนำการทหารจนกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยอม เข้ามอบตัว แปรสภาพฐานะเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในที่สุดความสงบสุขในพื้นที่แห่งนี้จึง กลับมาเยือนอีกครั้ง

อุทยานแห่งชาติตาพระยาได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าบ้านกรวด แปลงที่ห้า และป่าดงใหญ่ ในท้องที่ตำบลบึงเจริญ ตำบลจันทบเพชร ตำบลสายตะกู ตำบลหนองไม้งาม ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด ตำบลโนนดินแดง ตำบลลำนางรอง กิ่งอำเภอโนนดินแดง อำเภอละหานทราย ตำบลสำโรงใหม่ ตำบลหนองแวง ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และป่าตาพระยา ในท้องที่ตำบลทัพราช ตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 65 ก ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 82

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติตาพระยา เป็นเทือกเขาสูงจากเทือกเขาบรรทัดตลอดแนวจนไปถึงเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแนวเขตติดต่อระหว่างไทยกับสาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่หลักเขตประเทศที่ 24 ถึง หลักเขตที่ 28 วางตั้งในแนวทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 206-579 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาพรานนุช ความสูง 579 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันเฉลี่ยทั้งพื้นที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ บริเวณที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช ซึ่งมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 100-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประกอบด้วยเขาเขาวง เขาสะแกกรอง เขาบรรทัด เขาเนินหิน เขาพนมแม่ไก่ เป็นต้นน้ำลำธารของลำสะโดน ห้วยซับกระโดน ลำนางรอง ลำจันหัน ห้วยตรุมะเมียง ห้วยแห้ง ห้วยละหอกพลวง ห้วยดินทราย ห้วยนาเหนือ ห้วยพลู และห้วยเมฆา

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ ภูมิอากาศโดยทั่วไปของภูมิภาคนี้ อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดพามาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนวัดได้ระหว่าง 100 มิลลิเมตร ถึง 140 มิลลิเมตร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาพนมดงรักจะปะทะกับลมมรสุม และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านที่รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูกาลมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูงสุดประมาณ 39.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 14.3 องศาเซลเซียส

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

ในภูมิภาคแถบนี้ยังมีสภาพป่าที่สมบูรณ์กระจายอยู่ในพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง

ป่าเบญจพรรณ ป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ระดับความสูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปรากฏอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือ ในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง แดง ตะแบกใหญ่

ป่าดิบแล้ง ป่าชนิดนี้อยู่พื้นที่ค่อนข้างราบ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งชาติในท้องที่ จังหวัดบุรีรัมย์ และบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี มักจะอยู่ในระดับความสูงประมาณ 100-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะค่าโมง ยางนา พยอม ตะเคียนทอง

ป่าเต็งรัง ป่าชนิดนี้อยู่ในพื้นดินทิศใต้และดินทิศเหนือบางส่วน อยู่กระจายกันในจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เต็ง รัง และเหียง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบเห็นได้แก่ เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือไฟ เสือปลา วัวแดง กระทิง หมาไน แมวป่า หมูหริ่ง บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอก กระรอกบิน กระแต เป็นต้น

นก ที่พบเห็นได้แก่ นกพญาไท นกขุนแผน นกแก้ว นกเขาเขียว นกกางเขนดง นกหัวขวาน นกเหยี่ยว นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกดุเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกขุนทอง เป็นต้น

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่พบเห็นได้แก่ งูชนิดต่าง ๆ ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมลงป่อง กิ้งกือ

ปลา ที่พบเห็นได้แก่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลากระทิง ปลาหมอ ปลาบู่ ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาซิว


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
ตู้ ปณ.9 ปท.โนนดินแดง อ. โนนดินแดง จ. บุรีรัมย์  31260
โทรศัพท์ : 0 3755 6667 (VoIP), 0 4561 9214   โทรสาร : 0 3724 6056
ผู้บริหาร : บุญเชิด เจริญสุข   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน
 
รถยนต์

ใช้ ทางหลวงหมายเลข 348 เส้นตาพระยา - โนนดินแดง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 22 ก่อนขึ้นเขาช่องตะโก จะพบที่ทำการอุทยานแห่งชาติตาพระยาอยู่ริมถนนเส้นนี้

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ห้องประชุม
 
 

ด้านประวัติศาสตร์

ช่องโอบก  เป็น พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีสภาพป่าดิบแล้งที่อุดมสมบูรณ์มากมีลำธารไหลตลอดปี สันนิษฐานว่ามีน้ำตกและมีสัตว์ป่าชุกชุม แต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยว เนื่องจากอาจจะได้รับอันตรายจากวัตถุระเบิด เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างคนไทยและคนกัมพูชา

เมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา กัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมและได้ใช้ช่องโอบกเป็นช่อง ทางลำเลียงกำลังพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ข้ามมาก่อการร้ายในประเทศได้มีการสู้รบอย่างต่อเนื่อง ตลอดมา โดยยึดเอาช่องโอบกเป็นเนิน 472 และเนิน 538 เป็นฐานที่มั่นในการสู้รบ เมื่อ พ.ศ. 2528 กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 โดย ฉก.ร. 23 ได้เข้าผลักดัน และยึดเนิน 472 ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2530 กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 โดย ฉก.ร.8 ได้เข้าผลักดัน และยึดเนิน 538 ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2531 กองกำลังสุรนารี โดย ฉก.ร.3 ได้เข้าผลักดันและยึดฐานปฏิบัติการปากช่องโอบกแห่งนี้ไว้ได้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2531 ปัจจุบันมีหน่วยทหารพรานคอยดูแลพื้นที่ ทางเข้าอยู่ตรงนิคมบ้านกรวด เข้าไปประมาณ 11 กิโลเมตร จะถึงจุดชมทิวทัศน์

กิจกรรม : ยังไม่เปิดท่องเที่ยว  

ปราสาทเขาโล้น  เป็น ปราสาทเก่าแก่สมัยขอมโบราณตั้งอยู่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งประชาชนให้ความสนใจไปเยี่ยมชมจำนวนมาก การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทาง ร.พ.ช.

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ปราสาททอง  เป็น โบราณสถานสมัยขอม มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมจำนวนมาก ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีนักท่องเที่ยวมาชมยอดปราสาททองที่มีความงดงามมาก การเดินทางเข้าถึง ใช้เส้นทางหลวงสาย 2121

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ปราสาทบายแบก  เป็น ประสาทหินเก่าแก่สมัยขอมตั้งอยู่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมมากตลอด เดินทางตามถนนทางหลวง แผ่นดินสาย 2121 และมาแยกที่ถนนสายโท 5

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ลานหินตัด  เป็น แหล่งหินทรายที่ปรากฏร่องรอยถูกตัดเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อนำไปสร้างประสาทหิน มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ อยู่เชิงเขาพนมดงรัก มีนักท่องเที่ยวสนใจไปเที่ยวชมมาก ลานหินตัดตั้งอยู่ในท้องที่บ้านทัพไทย ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงสาย 2121 และเดินทางตามถนนตรี 4 อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตย.1 (ทัพไทย) ประมาณ 3 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ศาลมีอักษร  เขียน ลงบนแผ่นดินแปรลายพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 5 ไว้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แวะมาสักการะและชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ตั้งอยู่บริเวณตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   ชมทิวทัศน์  

ศูนย์เขมรอพยพไซท์ทู  เป็น ศูนย์รับประชาชนเขมรตั้งอยู่บริเวณบ้านทัพไทย ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี มีประชาชนสนใจไปท่องเที่ยวภายในศูนย์เขมรอพยพไซท์ทู การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงสาย 3068 แล้วไปแยกที่อำเภอตาพระยา หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อไปตามทางหลวงจังหวัด

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

แหล่งโลหะกรรม  เป็น แหล่งวัฒนธรรมสมัยขอมโบราณ ตั้งอยู่ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนสนใจไปเที่ยวชมวัตถุโบราณกันมาก การเดินทางเข้าถึง ใช้เส้นทางหลวง 2121 และมาแยกถนนสายโท 7

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

อนุสาวรีย์เราสู้  เป็น อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นด้วยความพร้อมใจของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสละชีพเพื่อชาติไทยป้องกันประเทศ นักท่องเที่ยวมักจะมาเยี่ยมชมและสักการะ ตั้งอยู่ตำบลโนนดินแดง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ การเดินทางใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3068

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ลานกระเจียว  เป็น ลานหินที่มีดอกกระเจียวขึ้นสวยงามและมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งท่อง เที่ยวแหล่งหนึ่ง ตั้งอยู่ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงสาย 2121 และแยกไปตามถนนสายตรี

กิจกรรม : ชมพรรณไม้  

อ่างเก็บน้ำเมฆา  เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองไม้งาม อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชาชนสนใจไปพักผ่อน เนื่องจากสภาพป่าดิบแล้งสมบูรณ์ มีนักท่องเที่ยวตลอดปี การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงสาย 3068

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

อ่างเก็บน้ำลำจังหัน  เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์สวยงามมาก สภาพป่าเป็นป่าดงดิบแล้งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนไปพักผ่อนหย่อนใจจำนวนมาก การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงสาย 3068 แล้วไปแยกที่ทางหลวงจังหวัด ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์  

อ่างเก็บน้ำลำนางรอง  เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่ตำบลลำนางรอง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์รอบอ่างสวยงามมาก สภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์มีประชาชนให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนตลอดปี มีชายหาดสำหรับเล่นน้ำเหมาะสำหรับท่องเที่ยวในวันสงกรานต์ การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงสาย 3068

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

อ่างเก็บน้ำลำปะเทีย  เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ประชาชนสนใจไปพักผ่อนเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวง 3068 และเดินทางต่อโดยเส้นทาง ร.พ.ช.

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

อ่างเก็บน้ำห้วยยาง  เป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี มีทิวทัศน์รอบบริเวณอ่างสวยงามมากโดยเฉพาะสภาพป่าดิบแล้งที่ยังอุดมสมบูรณ์ มีประชาชนให้ความสนใจเข้าไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจตลอดทั้งปี การเดินทางเข้าถึงใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 3198

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง


 
 
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
ตู้ ปณ.9 ปท.โนนดินแดง  อ. โนนดินแดง  จ. บุรีรัมย์   31260
โทรศัพท์ 0 3755 6667 (VoIP), 0 4561 9214   โทรสาร 0 3724 6056   อีเมล reserve@dnp.go.th

 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์