คำขวัญประจำอำเภอบึงกาฬ
สองนางศาลศักดิ์สิทธ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล
ทริปท่องเที่ยวในจังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ล่าสุดของประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ริมฝั่งน้ำโขงห่างจากตัวเมืองหนองคายไปทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 212 ระยะทาง 136 กม. มีอำเภอในปกครองรวม 8 อำเภอ ประกอบด้วย อ,บึงกาฬ, อ.ปากคาค, อ.บุ่งคล้า, อ.บึงโขงหลวง, อ.เซกา, อ.พรเจริญ, อ.ศรีวิไล และ อ.โซ่พิสัย ประชากรเกือบ 4 แสนคน
ในด้านการเกษตร จ.บึงกาฬ เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 5 แสนไร่ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญมากที่สุดของภาคอีสาน ทำให้มีรายได้ต่อคนต่อปีสูง ด้านการค้าระหว่างประเทศนั้น ภายในตัวเมืองบึงกาฬ มีด่านสากลไทย-ลาว (บึงกาฬ-ปากซัน) ที่เปิดให้ประชาชนขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศที่สำคัญมีเส้นทางที่เป็นยุทธศาสตร์ด้านการค้าไปจนถึงประเทศเวียดนามกลางและจีนในระยะทางที่ใกล้ได้อย่างสะดวก รวดเร็วอีกด้วยหลายท่านอาจไม่เคยรู้จักบึงกาฬ ผมจึงอยากแนะนำว่าให้ดูแผนที่ประเทศไทย โดยเริ่มต้นที่ จ.หนองคาย ซึ่งตั้งอยู่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและติดกับแม่น้ำโขง เมื่อดูแผนที่แล้วอยากให้นึกถึงตัวอูฐซึ่งจะเห็นว่า ตรงที่ตั้งของ จ.หนองคาย จะเห็นเป็นรูปนูนโค้งเหมือนหลังอูฐตอนหน้าที่สูงแล้ว ให้มองเรื่อยไปตามเส้นขอบแนวชายแดนตามแผนที่ทางขวงจะเห็นเป็นรูปนูนโค้งอีกครั้งแต่เป็นนูนโค้งที่ต่ำเหมือนหลังอูฐตอนท้ายนั่นคือ ที่ตั้งของ จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นจังหวัดใหม่ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย บนความคาดหวังของประชาชนมานานถึง 18 ปี
ขณะเดียวกัน จ.บึงกาฬ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ และเป็นที่ตั้งของสำนักงานแขวง หากท่านไม่เคยไปหรือไม่เคยเห็นให้นึกถึงเพลงลาวที่ชื่อว่า “กุหลาบปากซัน” ที่วงคนด่านเกวียนนำมาร้อง ในเนื้อเพลงได้บรรยายถึงความสวยงามด้านวัฒนธรรมและสาวงามของปากซันไว้อย่างสมบูรณ์ ซึ่ง จ.บึงกาฬ มีความสวยพอๆ กัน เนื่องจากเป็นเมืองที่อากาศดี ติดแอร์ทั้งเมืองตลอดทั้งปี ในฤดูแล้งอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่ต่างไปจากแถบยุโรป นอกจากนี้ยังมีธรรมชาติที่สวยงามน้ำตก ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์
ประวัติความเป็นมาอำเภอบึงกาฬ
อำเภอบึงกาฬ เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี พ.ศ.2459 ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่นั้นมา
ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น”อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ ตามลำดับ
ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ ตั้งอยู่ที่บ้านบึงกาฬ หมู่ที่ 1 ตำบลบึงกาฬ ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 136 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 673.262 ตารางกิโลเมตร โดย แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 121 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี ตำบลหอคำ ตำบลหนองเลิง ตำบลหนองเข็ง ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลนาสวรรค์ ตำบลคำนาดี ตำบลโคกก่อง ตำบลชัยพร และตำบลโป่งเปือย
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยสุขาภิบาล 1 แห่ง คือ สุขาภิบาลบึงกาฬ มีองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) ครบทุกตำบล ยกเว้นตำบลโป่งเปือยที่ยังเป็นสภาตำบล รอการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในอนาคต
เป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตก ที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง
จังหวัดบึงกาฬ ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬที่นี้ดีมาก เพราะได้ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน หน้าหนาวก็อากาศดีน่าท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง สังเกตุได้จากที่พักบึงกาฬ จะเต็มอยู่ตลอดเวลาในช่วงเทศกาลสำคัญๆ
ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ, เทศกาลสงกรานต์
อัธยาศัยของคนจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาหารการกินนั้นจะอยู่ในพวกประเภทของปลา เพราะอยู่ติดแม่น้ำโขงทำให้สามารถหาปลาได้อย่างง่ายดาย
สถานที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ
10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ 77 บึงกาฬ
ภาพริมฝั่งโขง บึงกาฬ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบึงกาฬอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของการปกครองจังหวัดหนองคาย
(ห่างจากจังหวัด 136 กิโลเมตร) มีพื้นที่ 833.85 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดแม่น้ำโขง(ตรงข้ามเมืองปากซัน สปป.ลาว)
ทิศใต้ ติดอำเภอโซ่พิสัย, ศรีวิไล และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันออก ติดอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันตก ติดอำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย
สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม (ร้อน) มี 3 ฤดู
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถานีตำรวจภูธรบึงกาฬ และ http://www.vcharkarn.com
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
|
||||||
|
สถานที่สำคัญในจังหวัดบึงกาฬ
|
เจ้าแม่สองนาง Song nang (บึงกาฬ) |
หลวงพ่อใหญ่ Luang por yai (บึงกาฬ) |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว Phuvua Nationpark (บึงกาฬ) |
หนองกุดทิง Nong kud ting (บึงกาฬ) |
หาดทรายบึงกาฬ Beach bungkan (บึงกาฬ) |
วัดอาฮง Wat arhong (บึงกาฬ) |
วัดสว่างอารมณ์ (วัดถ้ำศรีธน) Wat Sawang Arom (บึงกาฬ) |
น้ำตกธารทิพย์ Tran Tip Waterfall (บึงกาฬ) |
น้ำตกชะแนน Chanan Waterfall (บึงกาฬ) |
น้ำตกเจ็ดสี Jedsri Waterfall (บึงกาฬ) |
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ/map of BUNGKAN
|
|||
ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องที่พัก : ข้อมูลโรงแรม ที่พักของ จังหวัดบึงกาฬ |
|||||||||||||
|