คำขวัญ ประจำจังหวัดเชียงราย
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
• เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ๘๒๙ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๑๑,๖๗๘ ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำหลายสาย แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๖ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอป่าแดด อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ลาว กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และกิ่งอำเภอดอยหลวง
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับสหภาพพม่า
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพะเยา
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่
ทริปท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย
- ขาหมูยูนานดอยแม่สลองของดั่งเดิมที่ต้องชิม
- ชมพระอาทิตย์ตก ดอยช้าง
- ชมวิวสองประเทศ บนพระธาตุดอยเวา แม่สาย
- โรตีภูชี้ฟ้า
- ไร่แสงอรุณ
- โคมลอย ของฝากจากเชียงราย
- กว่าจะมาเป็น อาราบิก้าหอมกรุ่น
- ชิมชาที่ไร่ 101 ใหญ่ที่สุดในดอยแม่สลอง
- โรงแรมบ้านล้านนา มนต์เสน่ห์แห่งเชียงราย
- Chiangrai walk street @ กาดเจียงฮายรำลึก(ถนนคนเดินวันเสาร์)
- มีร้อยเดียวก็ค้างคืนได้ ที่ดอยช้าง
- อากาศดีๆ ที่ไร่บุญรอด เชียงราย
- เที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ
- บ่อน้ำพุร้อนผาเสร็ฐ ดอยฮาง เชียงราย
- “ฉุยฟง” สวนชาสวยๆ ที่ ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง
- โรงแรมเชียงของ ทีค การ์เด้น (Chiangkhong Teak Garden Hotel)
- พระธาตุดอยเวาแม่สาย
- วังมัจฉาวัดพระธาตุแม่เจดีย์ เชียงราย
- ดอยงามรีสอร์ท บ้านพักบนดอยที่ไม่เหมือนใคร
- เที่ยววัดร่องขุ่น ชมสุดยอดศิลปะ
ร้าน กาแฟ ชีวิตธรรมดา ในบรรยากาศบ้านสวนยุโรป | เดินขึ้นภูชี้ฟ้าชมพระอาทิตย์ขึ้น | ชิมชา ชมดอยแม่สลอง | สวนแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง เชียงราย | สักการะพระธาตุดอยตุง พระธาตุประจำปีกุน | ตลาดแม่สาย เที่ยวเชียงราย |
การเดินทาง
• รถยนต์ สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑ จากอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านตากฟ้า-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๓ ไปอำเภองาวแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านพะเยาไปจังหวัดเชียงราย ระยะทาง ๗๘๕ กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่สรวย-เวียงป่าเป้า-แม่กระจาน-ดอยสะเก็ด ทิวทัศน์สองข้างทางเป็นป่าเขาสวยงาม เมื่อเดินทางมาถึงเชียงใหม่แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑ ผ่านลำพูน ลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข ๑ เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้
• รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๖๗๐ และบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร ๒ ไปเชียงรายทุกวัน ได้แก่ สมบัติทัวร์ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๔๙๕-๙, ๐ ๕๓๗๑ ๔๙๗๑, ๐ ๕๓๗๑ ๕๘๘๔ สยามเฟิร์ททัวร์ โทร. ๐ ๒๙๕๔ ๓๖๐๑-๗, ๐ ๕๓๗๑ ๙๐๖๔, ๐ ๕๓๗๑ ๔๓๘๖ โชครุ่งทวีทัวร์ ๐ ๒๙๓๖ ๔๒๗๕-๖, ๐ ๕๓๗๑ ๔๐๔๕ บริษัท ขนส่งเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๓๖๙, ๐ ๕๓๗๕ ๔๐๙๗ สอบถามรายละเอียดที่สถานีขนส่งสายเหนือ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ www.transport.co.th สถานีขนส่งจังหวัดเชียงราย ๐ ๕๓๗๑ ๑๒๒๔
• รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพ มีรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพ โทร. ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ สำรองตั๋วล่วงหน้า ๓ วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน www.railway.co.th
• เครื่องบิน มีเที่ยวบินตรงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงรายทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่
– แอร์ เอเชีย (www.airasia.com) โทร. ๐ ๒๕๑๕ ๙๙๙๙, ๐ ๕๓๗๙ ๘๒๗๕-๖
– โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ (www.onetwo-go.com) โทร. ๑๑๒๖, ๐ ๒๒๖๗ ๒๙๙๙, ๐ ๕๓๗๙ ๓๕๕๕
– การบินไทย (www.thaiairways.com) โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐, ๐ ๕๓๗๑ ๑๑๗๙, ๐ ๕๓๗๙ ๘๒๐๒-๓ ท่าอากาศยานเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๙ ๘๐๐๐, ๐ ๕๓๗๙ ๘๑๗๐
– เอส จี เอ ( www.SGA.co.th) บิน เชียงใหม่-เชียงราย โทร 053 280 444
• การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงรายไปอำเภออื่นๆ ภายในจังหวัดและจังหวัดต่าง ๆ
จากสถานีขนส่งเชียงรายมีรถโดยสารไปยังอำเภออื่นๆ ในจังหวัดเชียงรายทุกวัน เช่นเดียวกับการเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ มีรถโดยสารไปเชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง แม่สอด พิษณุโลก พัทยา นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี และขอนแก่น ติดต่อสถานีขนส่งเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๒๒๔
อำเภอต่างๆในจังหวัดเชียงราย เมืองเชียงราย เวียงชัย เชียงของ เทิง พาน ป่าแดด แม่จัน เชียงแสน แม่สาย แม่สรวย เวียงป่าเป้า พญาเม็งรายเวียงแก่น ขุนตาล แม่ฟ้าหลวง แม่ลาว เวียงเชียงรุ้ง ดอยหลวง
• ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเวียงชัย ๑๒ กิโลเมตร
อำเภอแม่ลาว ๑๕ กิโลเมตร
อำเภอแม่จัน ๒๐ กิโลเมตร
อำเภอพาน ๔๖ กิโลเมตร
อำเภอพญาเม็งราย ๔๘ กิโลเมตร
อำเภอป่าแดด ๕๒ กิโลเมตร
อำเภอแม่สรวย ๕๓ กิโลเมตร
อำเภอขุนตาล ๖๐ กิโลเมตร
อำเภอเชียงแสน ๖๐ กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย ๖๓ กิโลเมตร
อำเภอเทิง ๖๔ กิโลเมตร
อำเภอแม่ฟ้าหลวง ๖๕ กิโลเมตร
อำเภอเวียงป่าเป้า ๙๑ กิโลเมตร
อำเภอเวียงแก่น ๑๒๗ กิโลเมตร
อำเภอเชียงของ ๑๔๑ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ๒๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอดอยหลวง ๕๗ กิโลเมตร
ข้อมูลรายละเอียดในเอกสารนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ใช้บริการบริษัทนำเที่ยวที่มีใบอนุญาต ท่านจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคเหนือ เขต ๒ ๔๔๘/๑๖ ถนนสิงหไคล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐
โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๗๔๓๓, ๐ ๕๓๗๔ ๔๖๗๔-๕ โทรสาร ๐ ๕๓๗๑ ๗๔๓๔
E-mail: tatchrai@tat.or.th พื้นที่ความรับผิดชอบ: เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๘๗๐
ศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว โทร. ๐ ๕๓๗๔ ๐๕๘๔ โทรสาร.๐ ๕๓๗๔ ๐๕๙๘
สำนักงานจังหวัด โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๖๓๒
ที่ว่าการอำเภอ โทร. ๐ ๕๓๗๕ ๒๑๗๗, ๐ ๕๓๗๑ ๑๒๘๘
ศาลากลางจังหวัด โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๑๒๓
โรงพยาบาลเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๓๐๐
สถานีตำรวจภูธร โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๔๔๔
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. ๐ ๕๓๗๔ ๐๒๔๙, ๑๑๕๕
สนามบินนานาชาติ โทร. ๐ ๕๓๗๙ ๘๐๐๐
ตำรวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓
กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. ๑๑๘๒
สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ โทร. ๑๑๓๓
สมาคมท่องเที่ยวเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๕๖๙๐
ประวัติเชียงราย |
• จากพงศาวดารเหนือเป็นหนังสือคัมภีร์ใบลาน ตำนานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน บางแห่งเรียกว่า ตำนานโยนกนครราชธานี กล่าวถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยว่าน่าจะอยู่ในประเทศจีนมาก่อนคือเมืองหนองแส จากนั้นก็ย้านถิ่นฐานลงมาที่เมืองสิบสองปันนาและย้ามมาตั้งเมืองใหม่ที่ ริมแม่น้ำสาย ตั้งราชวงศ์ขึ้นปกครองเรียกว่า ละวะจักราช พอในปีพุทธศตวรรษที่ 5 มีพวกไทยถอยร่นจากจีนตอนใต้มาสมทบมากขึ้นก็ได้แผ่ขยายตัวเมืองกว้างขวาง • ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 11 ขอมมีอำนาจถึงอาณาจักรโครตบูรณ์ จึงยกเข้ามาตีแคว้นยวนเซียง ขับไล่ชาวไทย แล้วตั้งเมืองขึ้นที่เชียงแสน เรียกว่า สุวรรณโคมคำ บริเวณที่เคยเป็นเมืองเชียงลาว ใกล้ฝั่งน้ำโขง และได้สร้างเมือง อุมงคเสลา ที่เมืองฝาง ต้นลำน้ำกก อาณาเขตสุวรรณโคมคำของขอมครั้งนั้น ทิศเหนือจดถึงเมืองหนองแส ทิศใต้จนฝายนาค (ลีผี) ตะวันออกถึงแม่น้ำแตก (แม่น้ำแท้) ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำตูแต่ขอมปกครองไทยอย่างป่าเถื่อนและทารุณจนไทยเราอพยพจากเมืองสุวรรณโคมคำกระจัดกระจายไปอีก ขอมจึงย้ายไปตั้งเมืองอุมงคเสลา (เมืองฝางในปัจจุบัน) ทิ้งให้เมืองสุวรรณโคมคำร้างไว้ เจ้าสิงหนวัติกุมาร โอรสพระเจ้าเทวกาล กษัตริย์เมืองหนองแส เป็นชั้นหลานปู่ของขุนบรม ได้อพยพคนไทยประมาณแสนครัวจากหนองแส (ตาลิฟู) ลงมาสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น แล้วขนานนามว่า เมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร ภายหลังเรียกสั้น ๆ ว่า นาเคนทร์นคร, นาคบุรี, โยนกนาคนคร และโยนกนครหลวง เป็นต้น (คือเมืองเชียงแสนในปัจจุบัน) พระเจ้าสิงหนวัติครองราชย์สมบัติในโยนกนครหลวงได้ 52 ปี สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1367 มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาอีกหลายองค์ • จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบางยุคบางสมัยในดินแดนเหล่านี้ บางครั้งก็มีความคลาดเคลื่อนกันไปทั้งทางด้านสถานที่หรือด้านของเวลา จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนว่าหลักฐานใดถูกต้อง สำหรับอาณาจักรโบราณและเมืองต่าง ๆ อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ที่ปรากฏในตำนานหรือพงศาวดารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น พอจะแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้ 1.ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน 2.ยุคหิรัญนครเงินยาง 3.ยุคเชียงราย (มังราย) 4.ยุคพันธุมติรัตนอาณาเขต • ยุคอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน เรื่องราวของอาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน (ช้างแส่งก็เรียก) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโยนกนครราชธานีศรีช้างแสน หรือเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินครนั้น เป็นเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนก ได้กล่าวถึงมหากษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อว่า เทวกาละ ครองราชย์สมบัติเป็นใหญ่แก่ไทยทั้งหลายในเมืองนครไทยเทศ อันมีเมืองราชคหะ (ราชคฤห์) เป็นนครหลวงมหากษัตริย์พระองค์นั้นมีราชโอรส 30 พระองค์ ราชธิดา 30 พระองค์ รวมทั้งหมด 60 พระองค์ ราชโอรสองค์แรกมีพระนามว่า พิมพิสารราชกุมาร องค์ที่สองมีพระนามว่า สิงหนวัติกุมาร • ยุคหิรัญนครเงินยาง ในยุคนี้ได้กล่าวถึงลวจังกราชหรือลวจักกราช ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้ ซึ่งในหลักฐานบางฉบับเรียกว่า ราชวงศ์ลาว เนื่องจากพระนามของกษัตริย์ใน ราชวงศ์นี้ล้วนขึ้นต้นด้วยคำว่า “ลาว” มีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงลาว (เชียงเรือน) สันนิษฐานว่าอยู่ใกล้บริเวณดอยตุงและแม่น้ำสาย ต่อมาได้ขยายจากเมืองเชียงลาวมาสู่เมืองเงินยางหรือเงินยัง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง สันนิษฐานว่าเมืองเงินยางนี้อยู่ใกล้กับเมืองเชียงแสน หรืออาจเป็นบริเวณเดียวกันก็เป็นได้ เมืองเงินยางมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “หิรัญนคร” อันเป็นที่มาและเรียกชื่อเมืองนี้ว่า หิรัญนครเงินยาง ลวจังกราช (ลาวจง) มีราชบุตร 3 พระองค์ คือ ลาวครอบ ลาวช้าง และลาวเก๊าแก้วมาเมือง ลวจังกราชได้ส่งราชบุตรออกไปสร้างบ้านแปงเมือง คือ ให้ลาวครอบราชบุตรองค์โตไปครองเมืองเชียงของ ลาวช้างราชบุตรองค์ที่สองไปครองเมืองยอง ส่วนลาวเก๊าแก้วมาเมือง ราชบุตรองค์เล็กนี้ให้ครอง เมืองเชียงลาวสืบเนื่องมา ด้วยเหตุนี้ภายหลังจึงทำให้ราชวงศ์ลาว (ลวจังกราช) เป็นต้นของราชวงศ์เมืองต่าง ๆ เช่น พะเยา เชียงของ เชียงคำ จนถึงสมัยพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงรายแล้ว พบว่าเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้มีเชื้อสายมาจากวงศ์ลวจังกราชด้วยกัน จึงมีพระราโชบายรวบรวมให้เป็น ปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน • อาณาจักรหิรัญนครเงินยาง (เชียงลาว หรือเชียงเรือง หรือหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ก็เรียก) นั้น เคยมีความรุ่งเรืองมาก่อน มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ได้มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันในราชวงศ์ลวจังกราชมาหลายพระองค์ มาจนถึงสมัยพญามังราย จึงได้มีการสร้างเมืองใหญ่ขึ้นที่เชียงราย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เริ่มมีความชัดเจนขึ้น นับแต่การสร้างเมืองเชียงรายเป็นต้นมา |
กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง
|
||||
หมู่บ้านชาวเขา Chaokhao Village (จังหวัดเชียงราย) |
ดอยตุง Wat Phra That Doi Thong (จังหวัดเชียงราย) |
สวนแม่ฟ้าหลวง Mae Fa Luang Garden (จังหวัดเชียงราย) |
อ่างเก็บน้ำป่ากล้วย Pa Kluai Reservoir (จังหวัดเชียงราย) |
จุดชมวิว Viewpoint (จังหวัดเชียงราย) |
ดูเอเซียแนะนำ
|
||||
วนอุทยานน้ำตกตาดควัน Namtok Tat Khwan Forest Park (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานน้ำตกแม่โท Mae Tho Waterfall (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว Huai Kaeo Waterfall (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานน้ำตกห้วยแม่สัก Mae Sak Waterfall (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานน้ำตกหัวแม่คำ Namtok Hua Mae Kham Foerst Park (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานโป่งพระบาท Pong Phra Bat Forest Park (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ Phaya Phi Phak Forest Park (จังหวัดเชียงราย) |
อุทยานแห่งชาติขุนแจ Khun Chae National Park (จังหวัดเชียงราย) |
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก Lam Nam Kok National Park (จังหวัดเชียงราย) |
ดอยช้างมูบ Chang Mup Hill (จังหวัดเชียงราย) |
วัดร่องขุ่น (อ.เฉลิมชัย) Wat Rongkhun (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอพาน
|
||||
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง Doi Luang National Park (จังหวัดเชียงราย) |
น้ำตกผาโขงและถ้ำน้ำลอด Pha Khong Cave (จังหวัดเชียงราย) |
ถ้ำผายาว Pha Yao Cave (จังหวัดเชียงราย) |
พระธาตุจอมแว่ Chom Wae Relics (จังหวัดเชียงราย) |
พระธาตุสามดวง Sam Duang Relics (จังหวัดเชียงราย) |
บ่อน้ำร้อนบ้านทรายขาว Ban Saikhao Hot spring (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอเชียงแสน
|
||||
ล่องแก่งแม่กก Mae Kok Rafting (จังหวัดเชียงราย) |
ภูชี้ฟ้า Phu Chi Fa Forest Park (จังหวัดเชียงราย) |
น้ำตกบ้านไร่ Ban Rai Waterfall (จังหวัดเชียงราย) |
วัดพระธาตุเจดีย์หลวง Wat Phra That Chedi Luang (จังหวัดเชียงราย) |
วัดป่าสัก Wat Pa Sak (จังหวัดเชียงราย) |
วัดสังฆาแก้วดอนหัน Wat Sang Kha Kaeo Don Han (จังหวัดเชียงราย) |
พระธาตุดอยปูเข้า Wat Phra That Doi Pu Khao (จังหวัดเชียงราย) |
วัดเจดีย์เจ็ดยอด Wat Chedi Chet Yot (จังหวัดเชียงราย) |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน Chiang Saen National Museum (จังหวัดเชียงราย) |
ทะเลสาบเชียงแสน Chiang Saen Lagoon (จังหวัดเชียงราย) |
บ้านหาดบ้าย Baan Haad Bai (จังหวัดเชียงราย) |
สบรวก(สามเหลี่ยมทองคำ) Samliam Thongkham (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอเมือง
|
||||
รัตนาการ์เด้นส์น้ำแม่กก Mae Kok River (จังหวัดเชียงราย) |
ไร่แม่ฟ้าหลวงวนอุทยานน้ำตกขุนกร Namtok Khun Kon Forest Park (จังหวัดเชียงราย) |
อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช King Meng Rai the Great Monument (จังหวัดเชียงราย) |
วัดพระสิงห์ Wat Phra Singha (จังหวัดเชียงราย) |
วัดพระแก้ว Wat Phra Kaew (จังหวัดเชียงราย) |
สวนสมเด็ขพระศรีนครินทร์ Som Dek Phra Srinagarindra Garden (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอเวียงป่าเป้า
|
|
เวียงกาหลง Wiang Kalong (จังหวัดเชียงราย) |
บ่อน้ำร้อนธรรมชาติ Namtok Tat Khwan Forest Park (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอเวียงแก่น
|
ดอยผาตั้ง Pa Tang Hill (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอแม่จัน
|
|
ดอยแม่สลอง Mae Salong Hill (จังหวัดเชียงราย) |
หมู่บ้านอีก้อดอยแสนใจ Iko Doi Saen Chai Village (จังหวัดเชียงราย) |
อำเภอแม่สาย
|
||||
ถ้ำปลา Pla Cave (จังหวัดเชียงราย) |
ถ้ำเสาหินพญานาค Phayanak Cave (จังหวัดเชียงราย) |
ท่าขี้เหล็ก Tha Khilek (จังหวัดเชียงราย) |
วนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน Khun Nam-Nang Non Park (จังหวัดเชียงราย) |
|
แผนที่จังหวัดเชียงราย/map of CHIANGRAI
|
||