พระตำหนักเขาค้อ
ตั้งอยู่บนเขาย่า เป็นอาคารคอนกรีตครึ่งวงกลม มีทั้งหมด 15 ห้อง
เป็นพระตำหนักที่มีรูปทรงแปลกกว่า พระตำหนักอื่น ๆ บริเวณโดยรอบของพระตำหนัก
ได้จัดตกแต่งด้วยพันธุ์พืช ไม้ดอกเมืองหนาวหลากชนิด
การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2196 ถึงกิโลเมตรที่ 9 สี่แยกสะเดาะพง
เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2258 จะมีทางแยกซ้ายขึ้นพระตำหนัก
ทางขึ้นค่อนข้างชันมาก
พระตำหนักเขาค้อ เป็นพระตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่บนเขาย่า สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ
1,100 เมตร จัดสร้างโดยบรรดาข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร
และประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน
ภายหลังการต่อสู้ด้วยอาวุธกับ ผกค. สิ้นสุดลงแล้ว จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์
ริเริ่มการก่อสร้าง พระตำหนักเขาค้อ
ขึ้นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชนในพื้นที่ และเป็นที่ทรงงาน
และแปรพระราชฐานมาประทับแรม ในวโรกาสที่พระองค์ และพระบรมวงศานุวงศ์
เสด็จมาตรวจเยี่ยมโครงการตามพระราชดำริ ในพื้นที่เขาค้อ
ภายในพระตำหนักประกอบด้วยอาคารเชื่อต่อกันลักษณะรูปวงแหวน
มีเรือนข้าราชบริพารเป็นส่วนเชื่อมต่อกับพระตำหนัก อาคารมีลักษณะโค้ง 2 ชั้น
ชั้นบนมี 2 ห้องใหญ่ ซึ่งเป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องพระราชทานเลี้ยง
ซึ่งมีห้องครัวอยู่ทางด้านหน้า ,
ห้องเสวย
,
ห้องเข้าเฝ้า
และห้องโถงใหญ่
นอกจากนั้นชั้นล่างยังเป็นห้องบรรทมของสมเด็จย่า
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
บริเวณด้านหน้าพระตำหนัก มีสวนหย่อม และแปลงไม้ดอกมีลักษณะเป็นวงกลม ณ
จุดศูนย์กลางของวงกลมเป็นที่ตั้งของเสาธงมหาราช มีความสูง 60 เมตร
ซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสฉลองครบพระชนมายุครบรอบ 60 พรรษา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ริเริ่มประสานงานการก่อสร้างคือ
พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ ผู้ออกแบบ มล.ตรีทศยุทธ เทวกุล วิศวกร ดร.รชฏ
กาญจนวนิชย์ ผู้ก่อสร้าง (พ.ต. ธีรวัฒน์ สวามิวัสดิ์ ผู้ควบคุม) ช.พัน.4
ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 26 ล้านบาท (ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ)
ระยะเวลาในการก่อสร้าง 7 เดือนเศษเปิดเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2528
การเที่ยวชมพระตำหนักเขาค้อ
เนื่องจากพระตำหนักเขาค้อ
ตั้งอยู่บนเขาย่า ซึ่งเป็นเขาที่สูงที่สุดในบริเวณเขาค้อ
จึงมีทางขึ้นที่ค่อนข้างลาดชัน ต้องใช้รถยนต์ที่มีกำลังดี
จึงสะดวกสำหรับการขึ้นไปเที่ยวชม ซึ่งนอกจากการเที่ยวชมพระตำหนักภายใน
และสวนดอกไม้แล้ว ยังสามารถชมวิวมุมสูงได้จากบริวณจุดชมวิว ด้านข้างพระตำหนัก
ส่วนนักท่องเที่ยวที่รักความท้าทาย
ยังสามารถขึ้นชมยอดเขาย่า ได้จากทางพระตำหนักนี้ได้เช่นกัน
โดยการเดินเท้าขึ้นต่อไปยังยอดเขาย่า ระยะทางประมาณ 770 เมตร
ด้านบนยอดเขาย่าจะมีฐานปฏิบัติการทางทหาร เดิมที่ใช้ในการต่อสู้กับ ผกค.
และสามารถชมวิวได้โดยรอบ สามารถมองลงมายังพระตำหนักเขาค้อ ด้านล่างด้วยเ
ที่จุดชมทิวทัศน์ยอดเขาย่า มีศาลาชมวิว ชื่อศาลาพระเทพ อยู่ยอดเขาย่า
ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,305 เมตร
โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีได้เคยเสด็จขึ้นไป ณ
ศาลาแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ 360 องศา