รู้จักภาคใต้ก่อนไปเที่ยว

ภาคใต้นับเป็น 1 ใน 4 ภูมิภาคหลักของประเทศไทย มีพื้นที่ 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พังงา พัทลุง ตรัง สงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

ในด้านประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานนั้น มีหลักฐานบ่งบอกว่านานกว่า 20,000 ปีทีเดียวที่แผ่นดินเรียวแหลมปลายด้ามขวานทองของไทยถูกเรียกว่าเป็นบ้าน ของคนกลุ่มหนึ่ง โดยคนยุคแรก ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคใต้คือชนชาวถ้ำและชนชาวน้ำ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้จากหินและไม้ เช่น ลูกศรหิน หอก คันธนู ภาชนะดินเผา ฯลฯ ที่นักโบราณคดียุคปัจจุบันได้ขุดในช่วงต้นปี 2552 ก็ถูกขุดค้นพบที่ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ในเวลาต่อมา จากกลุ่มบ้านเพียงไม่กี่หลังก็ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นเป็นชุมชน และมีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ เช่น จีน อินเดีย แล้วมีวิวัฒนาการทางด้านความเป็นอยู่ รวมถึงวิถีวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานจนกลมกลืนเป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ ทั้งภาษา การนับถือศาสนา การแต่งกาย อาหาร ประเพณีต่างๆ โดยการผสมผสานส่วนใหญ่นั้นสัมพันธ์แนบแน่นกับชวา-มลายู รวมทั้งมีวิถีชีวิตของจีนกลมกลืนเข้ามาบ้าง เห็นได้ชัดเจนในแถบอันดามัน คือ ระนอง พังงา และภูเก็ต

kosimilanpanoramaสำหรับทางด้านกายภาพ บนพื้นที่ประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตรของแผ่นดินไทย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายขวานโบราณ หรือที่นักการทหารมองว่าคล้ายหัวช้างนั้น ได้รับการแบ่งออกเป็นภูมิภาคต่างๆ ตามลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เศรษฐกิจ และวิถีทางวัฒนธรรม เพื่อให้สะดวกต่อการปกครองและการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยภาคใต้เปรียบดังด้ามขวาน หรือวงช้างในแผนที่ประเทศไทยนั่นเอง ลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นของภาคใต้ คือ มีรูปร่างเรียวแหลมและถูกขนาบด้วยทะเล โดยฝั่งตะวันออกติดอ่าวไทย ส่วนฝั่งตะวันตกติดทะเลอันดามัน ทุกจังหวัดในภาคใต้มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา

ในส่วนของชายหาดฝั่งอ่าวไทยนั้นเกิดจากการที่เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูง ทำให้เกิดที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ชายหาดสวยงามทางฝั่งอ่าวไทยมีมากมาย เช่น หาดทุ่งวัว หาดอรุโณทัย จังหวัดชุมพร หาดขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช แหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา ฯลฯaopangnga_tapoois

ส่วนพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันเกิดการยุบตัวของเปลือกโลก ชายฝั่งจึงยุบต่ำลง มีที่ราบน้อยชายหาดเว้าแห่วง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูง มีอ่าวและเกาะมากมาย เช่น เกาะภูเก็ต เกาะตะรุเตา เกาะลันตา เกาะลิบง ฯลฯ อีกทั้งยังมีชายป่าชายแลนขึ้นอยู่หนาแน่นตั้งแต่อ่าวพังงาลงไปถึงจังหวัดสตูล

ส่วนพื้นที่ที่สองฝั่งทะเลของภาคใต้มีความแตกต่างเช่นนี้ นับเป็นข้อดีที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสเลือกเดินทางไปเยือนได้ตลอดทั้งปี ยกเว้นการลงเรือไปยังหมู่เกาะต่างๆ ต้องดูดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ โดยช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ก็ควรเลือกไปเที่ยวทะเลฝั่งตะวันออก คืออ่าวไทย ส่วนช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือผัดผ่านประเทศไทย เดือน พฤศจิกายน- มกราคม ก็ควรไปเที่ยวทะเลฝั่งตะวันตก คือด้านอันดามัน แต่สำหรับแหล่งท่องเที่ยวมากมายบนบกและชายฝั่ง สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

สำหรับลักษณะทางกายภาพบนบก ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเทือกเขาสำคัญ คือเทือกเขาภูเก็ต อยู่ในเขตจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา และภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช ทอดยางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านนครศรีธรรมราช ลงมาถึงสตูล ซึ่งเทือกเขาทั้งสองนี้ตั้งอยู่ตรงกลางภาคทอดยางจากเหนือลงใต้ โดยความชันค่อยๆลาดไปสู่ฝั่งทะเลทั้งสองด้าน และอีกเทือกเขาสำคัญของภาคใต้คือเทือกเขาสันกาลาคีรี (อยู่ในเขตจังหวัดสงขลา ยะลา และนราธิวาส) ซึ่งเป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับมาเลเชีย

trang

เทือกเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร ซึ่งทั้งหมดคือแหล่งต้นน้ำสำคัญของภาคใต้ โดยสายน้ำย่อยๆ ได้ไหลลงไปรวมกันเป็นแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำตาปี (จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี) แม่น้ำคีรีรัฐ (สุราษฎร์ธานี) แม่น้ำปากพนัง (จังหวัดนครศรีธรรมราช) แม่น้ำสายบุรี (จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) และแม่น้ำกระบุรี (จังหวัดระนอง)

นอกจากนี้ ความล้ำค่าของภาคใต้ยังอยู่ที่พรรณพืชและสรรพสัตว์มากมาย ทั้งบนบกและใต้ทะเล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่ทรงคุณค่า หลายชีวิตนับเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว เช่น ดอกบัวผุดแห่งเขาสก ฉลามวาฬ กระเบนราหูใต้ทะเลอันดามัน ปลาหมดทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ห้วงน้ำอ่าวไทย ฯลฯ ซึ่งควรดูแลรักษาไว้ให้คงอยู่เป็น Amazing Thailand และ Unseen Thailand สืบต่อไป

ทริปท่องเที่ยวในภาคใต้

รายชื่อข้อมูลจังหวัดในภาคใต้
 อุทยานทั้งหมดในแถบภาคใต้
1.   อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา   กระบี่
2.   อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี   กระบี่
3.   อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา   กระบี่
4.   อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี   กระบี่
5.   อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร   ชุมพร
6.   อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม   ตรัง
7.   อุทยานแห่งชาติเขานัน   นครศรีธรรมราช
8.  อุทยานแห่งชาติเขาหลวง   นครศรีธรรมราช
9.  อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง   นครศรีธรรมราช
10.  อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด   นครศรีธรรมราช
11.  อุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้   นครศรีธรรมราช
12.  อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป   นราธิวาส
13.  อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี   นราธิวาส
14.  อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง   นราธิวาส
15.  อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว   ปัตตานี
16.  อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง   พังงา
17.  อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่   พังงา
18.  อุทยานแห่งชาติศรีพังงา   พังงา
19.  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระ-เกาะพระทอง   พังงา
20.  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน   พังงา
21.  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์   พังงา
22.  อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา   พังงา
23.  อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า   พัทลุง
24.  อุทยานแห่งชาติสิรินาถ   ภูเก็ต
25.  อุทยานแห่งชาติบางลาง   ยะลา
26.  อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว   ระนอง
27.  อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี   ระนอง
28.  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม   ระนอง
29.  อุทยานแห่งชาติแหลมสน   ระนอง
30.  อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง   สงขลา
31.  อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี   สงขลา
32.  อุทยานแห่งชาติตะรุเตา   สตูล
33.  อุทยานแห่งชาติทะเลบัน   สตูล
34.  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา   สตูล
35.  อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง   สุราษฏร์ธานี
36.  อุทยานแห่งชาติเขาสก   สุราษฏร์ธานี
37.  อุทยานแห่งชาติคลองพนม   สุราษฏร์ธานี
38.  อุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น   สุราษฏร์ธานี
39.  อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงัน   สุราษฏร์ธานี
40.  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง   สุราษฏร์ธานี

เชิญแสดงความคิดเห็น