ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > พระธาตุช่อแฮ
 
พระธาตุช่อแฮ-พระธาตุจอมแจ้ง
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |


พระธาตุช่อแฮ - พระธาตุจอมแจ้ง

            พระธาตุช่อแฮ ซึ่งอยู่ที่อำเภอเมือง ฯ จังหวัดแพร่ นั้นชื่อเสียงโด่งดัง รู้จักกันไปทั่ว แต่องค์พระธาตุจอมแจ้งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน และเกิดก่อนพระธาตุช่อแฮ คนมักจะไม่รู้จักผมเลยรวมเอามาเล่าให้ฟังเสียทีเดียว
            จังหวัดแพร่อยู่ภาคเหนือ ต่อจากแพร่คือจังหวัดน่าน ถ้าต่ออีกทีก็หลุดเข้าประเทศลาวไปเลย ซึ่งแผ่นดินที่เชื่อมต่อกับลาวนั้น เมื่อข้ามโขงไปแล้วก็จะไปตรงกับเมืองหลวงพระบาง การเดินทางไปจังหวัดแพร่ไปได้หลายเส้นทาง คราวนี้ผมไปตามเส้นทางนี้คือ จากกรุงเทพ ฯ ไปยังนครสวรรค์แล้วตัดออกไปอีก ๑๒๙ กิโลเมตร  ก็จะถึงจังหวัดพิษณุโลก เส้นทางนี้กำลังขยายเป็นถนนสี่เลนคงจะอีก ๒ - ๔ ปีกว่าจะเสร็จ ที่พิษณุโลกแวะกินอาหารกลางวันเป็นประเภทบุฟเฟ่ต์ที่โรงแรมไพลิน อาหารดีราคาไม่แพง ต่อจากนั้นก็เดินทางต่อไปยังจังหวัดสุโขทัยที่อยู่ห่างออกไปอีก ๖๐ กิโลเมตร ไปพักที่โรงแรมไพลิน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสุโขทัยเมืองเก่า ไม่มีโอกาสแวะชิมก๋วยเตี่ยวสุโขทัย "ตาปุ้ย" ซึ่งร้านตาปุ้ยนี้หากไปจากตัวเมืองสุโขทัย มุ่งหน้าไปทางสุโขทัยเมืองเก่าที่อยู่ห่างออกไปเพียง ๑๒ กิโลเมตร พอผ่านปั๊ม ปตท. ทางขวามือก็จะเห็นร้านก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย อยู่เยื้องกันทางฝั่งซ้ายมือ ขายก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยอร่อยนัก ขายตั้งแต่สาย ๆ ไปจนบ่ายก็หมดแล้ว และหากคนแยะจะสั่งขนมจีนแกงต่าง ๆ มาชิมเสียก่อนก็ได้ ขนมไทย ๆ ก็มีให้ชิม
            ที่สุโขทัยเมืองเก่า  เที่ยวชมเมืองเก่าด้วยวิธีการขึ้นรถที่ทำรูปร่างหน้าตาเหมือนรถรางสมัยก่อนของกรุงเทพ ฯ หรือที่ลพบุรี (จังหวัดเดียวที่มีรถราง ๑ สาย ไม่น่าเลิกเสีย) แต่ใช้เครื่องยนต์ เก็บค่าโดยสารคนละ ๒๐ บาท มีสาวนักเรียนเป็นคนขับ มีสาวไกด์คอยอธิบาย ใช้เวลาในเมืองเก่าประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จบรายการพามาที่เดิมหรือลงเสียที่หน้าราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง
            พักที่โรงแรมไพลิน ๑ คืน พอรุ่งขึ้นเช้าก็ไปศาลแม่ย่า ที่อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ศาลนี้ต้องไปให้ได้เพราะเชิญพระวิญญาณของแม่นางเสือง พระมารดาของพ่อขุนรามคำแหงและเชิญพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหง ให้สิงสถิตอยู่ ณ ศาลนี้สร้างศาลไว้งดงาม
            จากสุโขทัย ขึ้นเหนือต่อไปทางอำเภอสวรรค์โลก อำเภอศรีสัชนาลัย แต่ไม่มีโอกาสแวะเข้าไปยัง ศรีสัชนาลัยเมืองเก่า คงแวะที่ตลาดศรีสัชนาลัย เพื่อชมพิพิธภัณฑ์ผ้าทองและแวะซื้อผ้ากัน
            จากศรีสัชนาลัย เดินทางต่อไปจนกระทั่งถึงสามแยก หากเลี้ยวซ้ายจะไปลำปาง หากตรงต่อไปก็จะไปผ่านเด่นชัย และเมื่อผ่านสามแยกที่บอกว่า เลี้ยวซ้ายไปลำปางได้หน่อยเดียว หากมีเวลาอย่าข้ามไปเป็นอันขาด เพราะวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีอยู่ทางขวามือ เป็นวัดที่แม้จะสร้างขึ้นใหม่ไม่ถึง ๒๐ ปีกระมัง แต่สร้างได้สวยงามเหลือเกิน โดยเฉพาะองค์พระธาตุนั้นเล่าว่าจำลองตามแบบรูปพระธาตุเจดีย์ชเวดากองของพม่ามาเลยทีเดียว ตอนเช้าแสงแดดจับองค์พระธาตุเป็นสีทองจะงดงามมาก ในอุโบสถก็สวย มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีพิพิธภัณฑ์สร้างแบบล้านนาด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ท่านเจ้าอาวาสเป็นพระหนุ่มแต่มีความรู้สูง จึงสามารถสร้างวัดนี้ขึ้นมาได้และเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกมาตราบเท่าทุกวันนี้ และท่านยังมีฝีมือในการปั้นพระพุทธรูปได้เองอีกด้วย
            ผ่านวัดพระธาตุไปแล้วก็จะถึงสามแยกที่หากเลี้ยวขวาไป จังหวัดอุตรดิตถ์มาพิษณุโลกได้ เป็นเส้นตรงที่จะมายังแพร่ แต่ที่ผมมานั้นอ้อมมาเพราะจะไปสุโขทัยกันก่อน หากจะตรงมายังแพร่เลยก็สามารถมาจากพิษณุโลก มาผ่านอุตรดิตถ์มายังแพร่ได้โดยจะผ่านเด่นชัยก่อน
            อาหารชวนชิมของผมวันนี้คือมื้อเที่ยงที่เด่นชัยนี่แหละ จึงขอพาชิมอาหารก่อนที่จะเลยไปนมัสการองค์พระธาตุจอมแจ้ง และพระธาตุช่อแฮ
            สวนอาหารไซทอง อยู่ห่างจากสามแยกเด่นชัยไปทางตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ ๕๐๐ เมตร อยู่ทางขวามือสวนอาหาร หัตถกรรมเกวียนเก่า และมีหนังสือตัวโต ๆ บอกไว้ว่าไส้กรอกย่างเตาดิน ให้เลี้ยวขวาเข้าไปได้เลย ที่จอดรถกว้างขวาง ศาลาอาหารยิ่งกว้างขวางมากเป็นศาลาไม้สักเก่าทั้งหลัง หลังคาเป็นกระเบื้องไม้ มีเกวียนเก่า เรือเก่า เครื่องไม้เก่า ๆ อยู่มากมาย เป็นร้านอาหารแบบบริการด้วยตนเอง ไปดูเมนูที่อยู่ใกล้ ๆ เตาย่างไส้กรอกแล้วสั่งอาหารที่โต๊ะใกล้ ๆ กัน ถือใบสั่งไปรออีกโต๊ะหนึ่งใกล้ ๆ กัน พอถึงคิวของเราตามเลขหมายในใบสั่งเขาก็ให้เราจ่ายเงิน ยกไปหาที่นั่งกินเอาเอง มีโต๊ะมากมายหลายสิบโต๊ะนั่งสบาย เย็นสบายไม่ต้องใช้พัดลม มีก๊อกน้ำล้างมือพร้อม  แต่ตอนสั่งอาหารกะให้ดี สั่งให้พร้อมทั้งอาหารและน้ำ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินมาสั่งใหม่ มาต่อคิวกันใหม่
            ไส้อั่ว หรือไส้กรอกปิ้งเตาดิน รายการนี้ต้องสั่ง เขาจะหั่นเฉียงใส่จานมาให้ ขอบจานจะวางมาเขือเทศและผักกาดหอม ถือเป็นจานทีเด็ดของเขา "ไส้อั่ว" ผมยกย่องอยู่ ๓ เจ้าคือ เจ้าไซทองนี้,เจ้าที่อยู่ติดกับโรงรับจำนำอำเภอเมืองพะเยา และเรือนคำอิน ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ซอยตรงข้ามวัดเจ็ดยอด ยกให้อยู่ ๓ เจ้า เจ้าอื่น ๆ ต้องขออภัยที่ยังไม่ได้ไปชิม หรือที่ชิมแล้วก็ยังไม่ถูกใจเท่า ๓ เจ้านี้
            ไก่ย่าง สีน่ากินตั้งแต่มองเห็นยังไม่ทันชิม สีเกรียม นุ่ม เวลาเคี้ยวเพลินหมดคำไม่รู้ตัว ให้ถือเกณฑ์ ๒ คนต่อไก่ครึ่งตัว สั่งมากกว่านี้เดี๋ยวไก่เต็มท้องไม่ได้ชิมอย่างอื่นกัน
            ลาบหมู ลาบหมูสุก ลาบที่นี่ไม่เผ็ดด้วย และลาบเมืองแพร่นั้นจะใส่เมล็ดมะแกว่นทำให้หอมดับกลิ่นคาว
            แกงแค ใส่ชามมาร้อนโฉ่เลยทีเดียว กินอาหารร้านนี้จะได้รับความทรมานอยู่ตอนหนึ่ง คือตอนไปรออาหาร ตอนที่จะจ่ายเงิน อาหารของคนอื่นเขาจะทยอยมาตามลำดับ ทั้งกลิ่นหอมและสีที่ชวนมอง จำทำให้ลูกกระเดือกของเราวิ่งรอกได้
            ยังมีอาหารอีกแยะที่น่าสั่ง ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่มา เช่นมี พริกหนุ่ม แคบหมู ห่อหมกใบตอง แหนมห่อใบตองปิ้ง และต้องไม่ลืมสั่งข้าวนึ่ง หรือข้าวเหนียวมาด้วยคนละกะติ๊บนั่นแหละกำลังดี
            อิ่มแล้วจึงออกเดินทางต่อไปยังตัวเมืองแพร่ ก่อนถึงตัวเมืองจะผ่านบ้านไม้สักใหญ่โต เฉพาะเสาไม้สักต้นใหญ่ ๆ คงจะมีถึงร้อยต้น ชื่อว่าบ้านเพื่อนฝูงอยู่ตรงกิโลเมตร ๑๒๐ อีกแห่งชื่อบ้านประทับใจ มีเสา ๑๒๐ ต้น เลยเมืองไป ๑๐ กิโลเมตร
            เข้าเมืองแพร่แล้วก็วิ่งตรงต่อไปทางจะไปยังจังหวัดน่าน โดยไปตามถนนอ้อมเมือง เมื่อผ่านตัวเมืองไปแล้วมี ๔ แยก หากเลี้ยวซ้ายก็กลับเข้าเมือง หากเลี้ยวขวาจะมาทางอำเภอร้องกวาง ไปทางจะไปอำเภอร้องกวาง ๙ กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าองค์พระธาตุ
            พระธาตุจอมแจ้ง  เมื่อถึงเชิงดอยพระธาตุช่อแฮ จะมีถนนแยกขวา ให้เลี้ยวขวาไปอีก ๒ กิโลเมตร เพื่อไปพระธาตุจอมแจ้งก่อน แล้วจึงกลับมานมัสการพระธาตุช่อแฮ

            วัดพระธาตุจอมแจ้ง  มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า พระธาตุจอมแจ้งหรือจวนแจ้งนี้ พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดสัตว์ถึงที่ดอย ซึ่งเป็นดอยที่ไม่สูง และทอดพระเนตรเห็นทุกทิศสว่างไสวสมควรเป็นที่ตั้ง แห่งพระพุทธศาสนาต่อไป และขณะนั้นเป็นเวลาใกล้รุ่งแล้ว พระพุทธองค์ทอดพระเนตร เพื่อหาแหล่งน้ำมาสรงพระพักตร์แต่ไม่มี จึงทรงอธิษฐานให้ได้น้ำแล้วใช้พระหัตถ์ขวาเจาะบ่อลงไปบนภูเขาลูกนี้ ด้วยอานุภาพของพระพุทธองค์ น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์จึงเกิดขึ้นในบ่อนั้น และยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ เรียกว่าบ่อน้ำทิพย์ อยู่ในบริเวณวัดพระธาตุจอมแจ้งนี้เอง เมื่อมีพระพุทธดำรัสว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่รื่นรมย์ยินดีสมควร เป็นที่ตั้งแห่งพุทธศาสนาสืบต่อไป พระอานนท์เถระจึงทูลขอพระเกศาธาตุ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานด้วยการลูบพระเศียร ได้พระเกศาธาตุมา ๒ เส้น
            มีเรื่องเล่ากันต่อ ๆ มาอีกว่า พระมหาธรรมราชาตั้งแต่ยังทรงเป็นอุปราชเมืองสุโขทัย พระราชบิดาได้ให้ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้มาบูรณะพระธาตุจอมแจ้ง ซึ่งมีเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุไว้องค์หนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๐ เศษ ซึ่งแสดงว่าพระธาตุจอมแจ้งได้สร้างไว้ก่อนแล้วจึงมีการบูรณะ และได้มอบให้ขุนลัะก๊อมออกสำรวจภูมิประเทศ เพื่อสร้างพระธาตุอีกแห่ง ขุนลัะก๊อม ขึ้นไปยืนบนภูเขาลูกหนึ่งมองเห็น"โกสียธซัคบรรพต" เป็นทำเลที่ดีจึงสร้างพระธาตุช่อแฮ นำพระเกศาธาตุอีกองค์หนึ่งมาบรรจุไว้ที่พระธาตุช่อแฮ และกลับไปยังดอยที่ยืนมองเห็น "โกสียธชัคบรรพต" สร้างพระธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่งชื่อว่า พระธาตุดอยเล็ง
แต่ประชาชนมักจะนิยมไปนมัสการพระธาตุช่อแฮมากกว่าไปพระธาตุจอมแจ้ง หากให้วิเคราะห์น่าจะวิเคราะห์ได้ว่า พระธาตุช่อแฮอยู่บนดอยสูงเด่นเป็นสง่า และถึงก่อนพระธาตุจอมแจ้ง การเตรียมการเพื่อให้ประชาชนมานมัสการต่างกัน พระธาตุช่อแฮดีกว่า การพัฒนาสถานที่ต่างกัน ทั้ง ๆ ที่พิพิธภัณฑ์ของแพร่ก็อยู่ที่นี่ บ่อน้ำทิพย์ก็อยู่ หากวัดพระธาตุจอมแจ้งได้เตรียมการรับประชาชนให้ดีกว่านี้ รวมทั้งทางจังหวัดและการท่องเที่ยวได้ประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ให้คนรู้จัก ไปนมัสการพระธาตุช่อแฮแล้วให้ไปนมัสการพระธาตุจอมแจ้งด้วย ประชาชนก็จะได้บุญกุศลในการเดินทางมานมัสการพระธาตุสำคัญของเมืองแพร่มากขึ้น
            จังหวัดแพร่ มีองค์พระธาตุและวัดสำคัญอีกหลายแห่ง เช่น
            พระธาตุพระลอ  บ้านเวียงพระลอ อำเภอสอง หรือพระธาตุนิมลัม
            พระธาตุดอนคำ วัดห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอสอง
            พระธาตุวัดพระลวง  อำเภอสูงเม่น
            พระธาตุวัดศรีชุม,วัดหัวช่วง อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ รวมทั้งวัดสำคัญอีกวัดคือ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อยู่กลางเมืองแพร่ ซึ่งวัดนี้สร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือ พระพุทธโกศัย ศิริชัยมหาศากยมุนี มีรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระเจดีย์มิ่งเมืองซึ่งเป็นพระเจดีย์เก่าแก่
            วัดจอมสวรรค์  อยู่ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบศิลปะพม่า (น่าจะเป็นศิลปะของไทยใหญ่เอง) ตัวอารามเป็นไม้ล้วน เป็นทั้งโบสถ์วิหารและกุฎิไปในตัว  ภายในมีศิลปะการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ด้วยฝีมือการฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม โบราณวัตถุในวัดได้แก่ "หลวงพ่อลาน" พระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม่ไผ่สานเป็นองค์ แล้วลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้าง ซึ่งเป็นศิลปะแบบพม่า คัมภีร์งาช้าง จารึกเป็นตัวอักษรพม่า และบุษบกใส่พระพุทธรูปหินอ่อน
            วัดสระบ่อแก้ว  ตั้งอยู่ริมถนนน้ำ คูเมือง เป็นวัดศิลปะพม่าที่สวยแปลกตา มีพระพุทธรูปหินอ่อนแบบพม่า
            วัดหลวง  ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือซอย ๑ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแพร่ที่เก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อม ๆ เมืองแพร่ สิ่งสำคัญภายในวัดคือ พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ พระเจดีย์ศิลปะเชียงแสน พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปเก่าแก่อายุร่วม ๕๐๐ ปี คุ้มพระลอซึ่งเป็นการจัดแสดงตัวอย่างบ้านแบบล้านนาโบราณ ซึ่งจะเปิดให้ชมเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ และหอวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
            วัดพระนอน  อยู่ใกล้วัดหลวง เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่ง มีพระนอนองค์ใหญ่ในวิหาร และหน้าบันวิหาร เป็นศิลปะลวดลายการแกะสลักแบบล้านนาไทยที่งดงามมาก

            แพะเมืองผี  อย่าไปกลัวว่าไปแล้วจะไปเจอผีแพะ แพะแปลว่าป่าละเมาะ เมืองผีหมายถึง สถานที่สงบเงียบ การไปแพะเมืองผีนั้น เมื่อกลับจากนมัสการพระธาตุช่อแฮแล้ว กลับมาขึ้นถนนใหญ่ บ่ายหน้ามาทางจังหวัดน่าน หรือทางอำเภอร้องกวาง ประมาณ ๙ กิโลเมตร จะมีป้ายบอกให้แยกขวาไปประมาณ ๓ กิโลเมตร แล้วแยกขวาอีกทีไปอีกสัก ๒ กิโลเมตรเศษ ๆ ก็จะถึงวนอุทยานแพะเมืองผี  ซึ้งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของผิวโลก และการถล่มของดิน ส่วนที่เป็นดินที่แข็งตัวมากจะคงตัวอยู่มองดูคล้ายเสา แต่รูปร่างแปลกมีสัก ๕ ต้น ตั้งโด่สูงขึ้นไป และที่เหมือนดอกเห็ดก็มี และมีอีกแห่งที่สวยงามเหมือนเสาหินคือที่ "ฮ่อมจ๊อม" จังหวัดน่าน
            จากแพะเมืองผี กลับมาขึ้นถนนใหญ่ มุ่งหน้าไปทาง จังหวัดน่าน หรืออำเภอร้องกวาง ได้นิดเดียวจะเข้าเขตบ้านแม่หล่าย ที่หมู่บ้านนี้ผมค้นพบขนมครกอร่อยขายอยู่ในเพิงที่ลึกเข้าไป ตั้งเตาขนมครกเต็มไปหมดคงนานร่วม ๒๐ ปีมาแล้ว และคนเมืองแพร่นิยมออกมาซื้อไปชิมเพราะหวานมัน เดี๋ยวนี้กลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ ร้านขนมครกก็ใหญ่ตามไปด้วย ผมเคยเอามาเขียนชวนชิมไว้เมื่อร่วม ๒๐ ปีที่แล้ว ขนมครกยังอร่อยเหมือนเดิมแต่พัฒนาใส่กล่องเสียสวยเทียว
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

พระธาตุช่อแฮ: ข้อมูลพระธาตุช่อแฮ ท่องเที่ยวพระธาตุช่อแฮ ข้อมูลเที่ยวพระธาตุช่อแฮ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์