ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > พระดีอีสาน
 
ไหว้พระดีภาคอีสาน(๑)
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ไหว้พระดีภาคอีสาน(๑)

           ภาคอีสานของประเทศไทยหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีรวมทั้งสิ้น ๑๙ จังหวัดและหากจะแบ่งต่อไปอีกก็จะแบ่งได้ ๓ ภาค คือ
           อีสานเหนือ ได้แก่ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธ์ รวม ๖ จังหวัด
           อีสานกลาง ได้แก่ นครพนม ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนครรวม ๘ จังหวัด
           อีสานใต้  ได้แก่นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี รวม ๕ จังหวัด
           เวลานี้ ผมเดินทาง "ตะลุย" ภาคอีสานรวดเดียว ๑๙ จัวหวัด ใช้เวลาหลายวันเพื่อทบทวนข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่และหาเพิ่มเติม ซึ่งขอเล่าเรื่องส่วนตัวเสริมไว้สักเล็กน้อย หวังว่าท่านผู้อ่านคงอภัยและให้การสนับสนุนคือทางบริษัทน้ำมัน ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้มาเชิญผมไปเขียนสารคดีท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยโดยตั้งชื่อว่า อร่อยทั่วไทย กับปตท. ทำนองนี้ เล่มแรกก็ภาคเหนือวางแผงก่อนสงกรานต์ในต้นเดือนเมษายน ๒๕๔๖ซึ่งคงวางเรียบร้อยไปแล้ว  เล่ม ๒ ตอนจะเข้าพรรษาภาคอีสาน และต่อไปก็จะเป็นภาคใต้ภาคกลาง ภาคตะวันออกและกรุงเทพ ฯ ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย เรียกว่าเป็นงานที่หนักมากสำหรับคนอายุปูนใกล้ร้อยอย่างผมต้องเดินทางทางรถยนต์กับผู้ที่เป็นเลขาตลอดกาลของผม (ภริยาผมเอง) และไปกัน ๒ คน ผมทำหน้าที่ทุกอย่างหมดตั้งแต่วางแผนเดินทางหาเอกสาร (เลขา ฯ ช่วยด้วย) ขับรถ ตระเวนหาร้านอาหาร ซึ่งข้อนี้ผมไม่ทราบว่าจะอธิบายได้อย่างไร นายแพทย์ท่านหนึ่งเป็นแฟนหนังสือของผมมานานเต็มที ท่านถามว่า "พี่" รู้ได้อย่างไรว่าร้านนี้อาหารอร่อยผมก็เลยย้อนถามไปบ้างว่า "หมอ" มองออกได้อย่างไรว่าคนนี้ป่วย ซึ่งเป็นเช่นนี้จริงๆ ผมจึงอธิบายไม่ถูก แค่ขับรถผ่านผมมองออกว่าอาหารร้านนี้น่าจะเป็นอย่างไรนาน ๆ ก็จะผิดหวังสักทีหนึ่ง  ดังนั้นการทำหนังสือให้ ปตท.จะยากตรงที่บางวันผมต้องชิมทีเดียวตั้ง๕ - ๖ ร้าน คือมื้อเช้า กลางวัน เย็น กลางคืน และหากไปเจอเอาร้านไม่อร่อยเข้าสักมื้อก็ต้องหากันใหม่และกินแบบที่เรียกว่า กินทิ้งกินขว้าง คือ "ชิม" ไม่ใช่กิน พอรู้รสก็ต้องอิ่ม เก็บท้องไว้รับอาหารมื้อต่อไป ได้ไปติดต่อกัน ๓ ครั้ง ครั้งแรก ๕ วัน ครั้งที่๒ ใช้เวลา ๑๕ วัน ครั้งที่ ๓ อีก ๗ วัน หากหาข้อมูลมาเขียนในศักดิ์สิทธิ์ผมไม่จำเป็นต้องไปชิมทุกมื้อ ชิมมื้อใด เมืองใด ที่เราผ่านไปก็ได้แล้วกลับมาบ้านก็นำมาเขียนเล่าให้ฟัง แต่การเขียนรวมเล่มของ ปตท. ต้องเขียนกันทั้งคืนนั้นและจังหวัดนั้นต้องจบภายใน๒ - ๓ วัน เพราะไม่มีเวลาที่จะย้อนมาทบทวนอีกแล้ว เอากลับมาเขียนต่อที่บ้านก็ไม่ได้ต้องเขียนแล้วส่งต้นฉบับกันทางไปรษณีย์มาให้อดีตเสมียนที่พิมพ์หนังสือให้ผมมากว่า๒๕ ปี พิมพ์เตรียมไว้ และการเดินทางมาทำงานครั้งนี้ผมจึงถือโอกาสรวบรวมวัดสำคัญเพื่อพาไหว้พระทุกภาคสำหรับภาคอีสานนั้นหากจะไหว้กันให้ครบทุกวัดท่านจะต้องไหว้ถึง "๑๐๘"วัด ผมอาจจะนำมาเล่าให้ฟังไม่หมด ภาคอื่นก็เช่นกัน เวลานี้ผมเดินทางไปหาข้อมูลของภาคใต้ภาคเหนือมาเกือบหมดแล้ว กำลังตะลุยภาคอีสาน ไม่ได้นอนบ้านมานานแล้ว นอนตามโรงแรมและเขียนหนังสือตามโรงแรมที่ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเขียนแต่ท่านก็จะได้บรรยากาศ และข้อมูลในการท่องเที่ยวในรูปแบบของ "เที่ยวไปกินไป"พร้อมกับผม
           อีสานได้เริ่มต้นที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ผมกลับจะเขียนถึงจังหวัดนี้หลังสุดเพราะผมเอานครราชสีมาประตูสู่อีสานเป็นจังหวัดสุดท้ายที่ผมจะหาข้อมูลแต่จะเดินทางผ่านหลายครั้ง และการไปลุยภาคอีสานในเวลานี้นั้น เนื่องจากถนนสะดวกมากเหลือเกินอีสานน่าจะเป็นภาคที่มีถนนราดยางมากที่สุด ดีที่สุดก็เป็นได้ เว้นถนนสี่เลนกำลังเริ่มขยายยังไม่พร้อมเหมือนภาคเหนือที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากกว่าแต่ถนนเข้าสู่หมู่บ้านนั้นภาคอีสานสมบูรณ์กว่าทุกภาค รวมทั้งการเดินทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งสำคัญๆ ต่าง ๆ เช่น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ทำถนนราดยางอย่างดีไปจนถึงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ระยะทางถึง ๓ กิโลเมตร แต่พอถึงบ่อน้ำแล้วมีแต่ป้ายบอกว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แต่ประวัติความเป็นมาหรือศัดิ์สิทธิ์อย่างไร ไม่มีใครบอกว่าน่าจะเป็นจังหวัดอำเภอ และการท่องเที่ยวต้องทำป้ายบอกไว้ หรือที่วัดมหาชัยในอำเภอเมืองมหาสารคามมีพิพิธภัณฑ์เชิดหน้าชูตาของเมืองมหาสารคาม เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของภาคอีสานแต่ไปถึงปรากฎว่าเข้าชมไม่ได้ บอกว่าต้องทำหนังสือขอมาและติดต่อล่วงหน้าจึงจะเปิดให้ชมมีของดีแล้วเก็บเอาไว้ทำไม ไม่ให้ความรู้แก่ประชาชนและอยากให้โรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ในจังหวัดที่มีของดีเหล่านี้รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงพาเยาวชนมาชมเอาอย่างต่างประเทศ (ฝรั่ง) ที่เขาจะพาเด็กชมพิพิธภัณฑ์กันเป็นหมู่เหล่า คนของเขาจึงฉลาด
           ดังนั้นการลุยอีสานของผมจึงขอผ่านนครราชสีมาไปก่อน และขอเริ่มต้นที่บุรีรัมย์ผมจะเขียนเมืองใดก็ไปไหว้พระเมืองนั้น ผมจะเริ่มต้นด้วยประวัติของเมืองนั้นการเดินทางไป และจะบอกโรงแรมที่พักให้ด้วย จะได้สะดวกต่อท่านที่ติดตามไปไหว้พระภาควอีสานกับผมแม้ว่าที่จะไปไหว้ทีเดียว ๑๙ จังหวัดไม่ได้ อาจจะติดตามไป แต่ไหว้และเที่ยวทีละภาคของอีสานเช่นเริ่มจากอีสานตอนล่างก่อน เป็นต้น
           บุรีรัมย์เคยเป็นที่อยู่ของคนโบราณตั้งแต่ยุคก่อนขอมเรืองอำนาจ เดิมทีบุรีรัมย์อยู่ที่เมืองนางรอง(ปัจจุบันคืออำเภอนางรอง) ชื่อว่า "เมืองแป๊ะ"พึ่งมาเปลี่ยนเป็น บุรีรัมย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘
           ในตอนที่กลับมาตั้งเมืองใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งไปราชการทัพตามพระบัญชาของพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อเสร็จการทัพที่ประเทศลาวแล้ว กลับมาถึงบุรีรัมย์เห็นมีราษฎรรวมกลุ่มกันตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นอันมากจึงได้ให้ตั้งเป็นเมือง  บุรีรัมย์จึงมีราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่วงเวียนก่อนเข้าตัวเมืองที่สง่างาม
           การเดินทาง.-
           ไปบุรีรัมย์ไปได้หลายทาง.-
           ทางอากาศ ต้องไปลงเครื่องบินที่นครราชสีมาและต่อรถยนต์ไปอีกทีหนึ่ง
           ทางรถไฟ มีรถไฟเดินผ่านสถานีรถไฟบุรีรัมย์วันละหลายขบวน
           ทางรถยนต์ประจำทาง มีรถออกจากสถานีขนส่งตลาดหมอชิต
           ทางรถยนต์ (ส่วนตัว) มีหลายเส้นทาง.-
           เส้นทางที่ ๑ กรุงเทพ ฯ นครราชสีมา อำเภอลำปลายมาศ บุรีรัมย์
           เส้นทางที่ ๒ จะเรียกว่าเป็นเส้นทางใหม่ก็ได้ แต่ใช้เส้นทางนี้ได้หลายปีมาแล้วคือจากกรุงเทพฯ สระบุรี ไปตามถนนมิตรภาพ สีคิ้ว แล้วเลี้ยวขวา (ความจริงเลี้ยวซ้ายลอดใต้ถนนไป)เข้าถนนสาย ๒๔ ไปผ่าน อำเภอโชคชัย นางรอง (หรือจะไปผ่าน อำเภอประโคนชัย) แล้วเลี้ยวซ้ายไปบุรีรัมย์อีกประมาณ๕๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่นิยมไปกันมากที่สุด
           เส้นทางที่ ๓ เส้นทางของนักเดินทางอุตริอย่างผม ที่เสาะหาเส้นทางแปลกใหม่ แม้จะไกลก็ยอมเพื่อหาความรู้ความแปลกใหม่หรือทดสอบการขับรถของผมเอง ซึ่งผมมีเวลาเหลือสำหรับขับรถน้อยเต็มทีแล้วเพราะสังขารของคนใกล้ร้อยนั้นไม่อำนวยให้ขับรถทางไกล หรือยิ่งในกรุงเทพ ฯหรือในเวลากลางคืนยิ่งแย่ ทุกวันนี้ขับทางไกลหากเกิดง่วงนอนจะต้องจอดนอนทันทีหากสมาธิเราดีใช้เวลาไม่เกิน ๑๐ - ๑๕ นาที ก็จะหลับอิ่มแล้ว ง่วงอีกทำอย่างไรก็ตอบว่านอนอีก เพราะขับทางไกลต้องขับเร็ว เร็วให้สม่ำเสมอ จอดพักน้อยที่สุดกินอาหารต้องไม่โอ้เอ้ จึงจะทำเวลาได้ดังที่วางแผนไว้
           ไปบุรีรัมย์ครั้งสุดท้ายตอนตะลุยอีสาน ผมก็เลือกไปเส้นทางที่จะเผื่อแผ่ไปถึงตอนที่ผมจะเขียนข้อมูลการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกคือจังหวัดสระแก้วไว้ด้วย ผมเดินทางไปดังนี้.-
           จากบ้านพักที่ลาดพร้าว ไปทางมีนบุรีเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุวินทวงค์ไปออกแปดริ้วผ่านเมืองแล้วไปข้ามแม้น้ำบางปะกง ไปออกถนนที่จะไปยังพนมสารคามไปตามเส้นนี้จนใกล้จะถึงกบินทร์บุรีจะมองเห็นป้ายข้างทางป้ายโตเห็นได้ชัดเจนชี้ให้เลี้ยวขวาไป "สระแก้ว"เลี้ยวขวาไปตามถนนสายใหม่เอี่ยมนี้ ถนนจะราดยางอย่างดี กว้าง รถวิ่งน้อยมาก(ผมเคยไปตั้งแต่เขาเริ่มทำถนนใหม่ ๆ) ถนนจะไปสุดทางที่วัฒนานครแต่เวลานี้ยังทำไปไม่ถึงจึงไปได้แค่สี่แยกที่เลี้ยวซ้ายจะไปยังจังหวัดสระแก้วให้เลี้ยวซ้ายไปอีก ๖ กิโลเมตร แล้วจะบรรจบกับถนนสายจากหินกอง อรัญประเทศวิ่งไปตามถนนสายนี้จนถึงอำเภอวัฒนานคร ก็เลี้ยวซ้ายไปตามถนนที่บอกว่าไป อำเภอตาพญาแต่พอไปแล้วจะถึงทางแยกขวาเข้าอำเภอตาพญา เราก็ไม่เลี้ยวเข้าไปคงเลี้ยวตามป้ายที่บอกว่าไปอำเภอละหานทรายหรือป้ายใหญ่ที่มีมากที่สุดคือ ป้ายที่ยกไว้บอกว่าไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งปราสาทเมืองต่ำ และวนอุทยานเขากระโดงป้ายแบบนี้จะมีมากที่สุด แต่ไม่บอกระยะทาง และทำป้ายแปลกเพราะพอถึงอำเภอนางรองป้ายก็จะหายไปเลยไม่รู้ว่าถึงอำเภอนางรองแล้วจะเลี้ยวไปทางไหน หรือเลี้ยวก่อนได้ไหมแต่พอเลี้ยวได้ เพราะชำนาญเส้นทางเหล่านี้มาตั้งแต่ยังรับราชการแล้วมาทำงานยุทธศาสตร์พัฒนาแนวชายแดนจึงจำได้แม่นยำทุกเส้นทางระยะทางจะใกล้เคียงกันคือประมาณ ๓๙๐ กิโลเมตร เส้นทางที่ผมมานี้จะใกล้ที่สุด แต่จะเสียเวลามากที่สุด และหากไม่สังเกตให้ดี เตรียมการมาไม่ดี เช่น ไม่อ่านแผนที่มาก่อนอาจจะหลงเข้าตาพญาหรือหลุดไปยังปราสาทตาล็อกก็อกธมไปเลยก็เป็นไปได้
           เมื่อถึงอำเภอนางรองแล้วก็แวะชิมขาหมูนางรองเสียก่อน เพราะนางรองนั้นเวลานี้ตั้งศาลจังหวัดแล้วสิ่งบอกเหตุว่าไม่นานจนเกินรอ ก็คงจะแยกตัวอำเภอนางรอง ออกมาตั้งเป็นจังหวัดนางรองเหมือนเมืองนางรองในอดีตก็เป็นได้ ร้านขาหมูนารองอยู่เยื้องธนาคารออมสิน ส่วนร้านขาหมูที่ติดกับธนาคารออมสินชื่อร้านลักษณาเชลล์ชวนชิม ร้านที่ผมชิมมากว่า ๒๕ ปี ชื่อร้านขาหมูนางรองและมีชื่อเดิมว่า "จิ้งนำ" กินกันมาตั้งแต่ผมยังมียศพันเอก จนเป็นพลเอก ปลดเกษียณอายุราชการแล้ว เขาก็ยังไม่รู้จักผมและผมเองไปชิมทีไรก็สั่งอาหารเป็นอยู่๓ อย่าง เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง เวลานี้ร้านลักษณาแยกไปเปิดสาขาเลยโรงพยาบาลออกไปอีกร้านหนึ่งส่วนหน้าโรงพยาบาลแขวนป้ายไว้ว่า เป็นย่างพิมาย แต่ไปกินแล้วไม่มีกลายเป็นเป็นพะโล้แต่ก็อร่อยดี ร้านจิ้งนำเดี๋ยวนี้ (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑) มีใครต่อใครไปชิม ที.วี.ไปออกรายการยกป้ายไว้หลายเจ้าด้วยกันแต่ป้ายของผมไม่มี กินทีไรก็จ่ายสตางค์กันทุกทีไปอาหารที่ผมบอกว่าสั่งเป็นกับเขาอยู่๓ อย่างคือ ยำกุนเชียง เพราะกุนเชียงของบุรีรัมย์นับว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกุนเชียงอร่อยราคากุนเชียงแตกต่างกันมากในแต่ละจังหวัด มีตั้งแต่ ๙๐ บาท ไปจนถึง ๑๘๐ บาทต่อกิโลกรัม  ทั้งนี้อยู่ที่ความแน่นของเนื้อหมู กุนเชียงบุรีรัมย์รสดีมากเนื้อแน่น ยำยิ่งอร่อย และรายการที่ต้องสั่งก็คือขาหมู เมื่อก่อนวนี้สั่งขาหมูไม่ว่าไม่ว่าไปกี่คนเขายกมาให้ทั้งขาสีเหลืองอ่อน น่ากินเหลือประมาณ แต่หากไป ๒ คน ก็อาการหนักหน่อย เพราะขามันโตขนาดเขาบอกว่าเล็กแล้วก็ยังโตอยู่นั่นเอง  ตอนนี้เห็นเขาเปลี่ยนวิธีใหม่เป็นจานใหญ่จานเล็กตามจำนวนคน จึงทำให้ได้ขาหมูนางรองจานเล็กสำหรับ ๒ คน มีผักกาดดองโรยหน้ามาน่ากินนักหากเขาลืมก็อย่าลืมไปขอเขาคือวกระเทียมโทน กับพริกขี้หนูสดจึงบจะอร่อยถึงใจตักขาหมูวางข้างบนข้าวลาดด้วยน้ำพะโล้ ส่งเข้าปากแล้วกัดพริกขี้หนูตาม ตามด้วยกระเทียมโทนและผักกาดดองแล้วซดต้มยำ  อาหารรายการที่ ๓ ที่ผมสั่งประจำคือต้มยำปลา ปลาอะไรก็อร่อยทั้งนั้นไปหลายคนให้เขาใส่หม้อไฟมาให้จะได้ร้อนโฉ่ถูกใจปลามีปลาเนื้ออ่อน ปลากด และปลาบึกผมชอบปลาเนื้ออ่อนมากกว่าเพื่อน เพราะปลาบึกนั้นหาบึกแม่โขงยากแล้ว จะเป็นบึกเลี้ยงกันเสียมากกว่าประมงไทยเพาะบึกสำเร็จ และเลี้ยงกันหลายแห่งแล้ว เช่น ที่กว๊านพะเยา เป็นต้น
           หากไปหลายคน ผมก็สั่งแค่ ๓ อย่าง แบบนี้ แต่เพิ่มปริมาณเอา เช่น ขาหมูจานใหญ่อร่อยล้น
           เล่าเส้นทางเดินทางแบบอุตริของผมแล้วก็เลยเถิดไปเล่าเรื่องกินเสียเลย ก็คงไม่ต้องหาร้านที่ไหนมาเล่ากันอีกไปเที่ยวตรงไหนก็หาอาหารอร่อยที่สุด แถวนั้นกินได้ก็แจ่มแจ๋วต่อการไปเที่ยวแล้ว
           จากนางรองหรือร้านขาหมูนางรองก็เลี้ยวซ้ายมาทางอำเภอประโคนชัยออกมาได้หน่อยจะเห็นป้ายให้เลี้ยวซ้ายไปบุรีรัมย์เรายังไม่ไป คงตรงต่อไปประโคนชัยเพื่อจะไปปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองต่ำแต่พอถึงกิโลเมตร ๘๐ - ๘๑ ก็แยกไปวัดเขาอังคารเสียก่อน(แต่ขอเล่าทีหลัง เพื่อไหว้พระภาคอีสานของบุรีรัมย์ จากวัดเขาอังคารจึงออกมาถนนสาย๒๔ ใหม่ แล้วไปทางประโคนชัยต่อ พอถึงกิโลเมตร ๘๒ - ๘๓ ก็เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย๒๑๑๗ ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร จะไปถึงยังอุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้งและจากอุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้งไปอีก ๘ กิโลเมตร ก็จะไปถึงยังปราสาทหินเมืองต่ำ
           อุทยานประวัจติศาสตร์พนมรุ้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ์ จังหวัดบุรีรัมย์
           ปราสาทหินเมืองต่ำอยู่ในเขตอำเภอประโคนชัย และการไปจากพนมรุ้งก็จะได้ผ่านปรางค์หินกุฎิฤาษีซึ่งปรางค์หินกุฎิฤาษีนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มาสร้างไว้เพื่อประโยชน์ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นอโรคยาหรืออนามัยหรือสาธารณสุขนั่นเอง สร้างไว้ร่วม ๑๐๐ แห่ง ในเมืองไทยมีสัก๑๗ แห่ง นับว่าทันสมัยมากที่สร้างสุขศาลา เมื่อ ๙๐๐ ปีที่แล้ว
           ผมไม่ได้พาไปเที่ยวปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทหินเมืองต่ำ จึงไม่ขอเล่าถึงรายละเอียดแนะแต่เส้นทางให้ แต่ขอบอกว่าต้องไปให้ได้ ผมไปครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ มีแต่กองหินวางระเกะระกะแต่ไป พ.ศ.๒๕๔๖ คือปราสาทหินพนมรุ้งที่สมบูรณ์เหมือนคืนชีพฟื้นขึ้นมาให้ชมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกมีพร้อม

           ผมจะเล่าถึงการไปเขาพระอังคาร ไปไหว้พระพุทธไสยาสน์และเทวรูปโบราณที่ยากจะมีคนทราบและไปนมัสการกัน
           จากอำเภอนางรอง มาทางประโคนชัย มาถึง กิโลเมตร ๘๐ - ๘๑ จะต้องเลี้ยวขวาเข้าไปอีก๑๔ กิโลเมตร ถนนเดิมราดยางอย่างดี ตอนนี้ถูกรถบรรทุกหินจากโรงโม่หินถล่มเสีพังไปมากแล้ว ไปตามเส้นทางนี้จนผ่านหมู่บ้านและขึ้นสู่ยอดเขา
จำเส้นทางให้ดีไม่งั้นจะงงตอนเที่ยวกลับวัดเขาอังคารอยู่บนยอดเขาอังคาร ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทมานานนับหมื่นปีวัดตั้งอยู่ปากปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว   และเจ้าอาวาสองค์ก่อนที่สร้างไว้จนวัดเจริญท่านก็ลาสิกขาบทไปแล้ว เห็นอุโบสถของวัดนี้แล้วจะตกใจเพราะมองเผิน ๆ ไม่มีใครบอกมาก่อนจะนึกว่ามาพบปราสาทขอมบนยอดเขาสร้างเป็นปราสาทขอมหลังโต สวยมาก แต่เสมาที่ปักอยู่รอบอุโบสถนั้นเป็นเสมาโบราณอายุนับพีนปีมาแล้วในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนัง แต่ "บรรยาย" เป็นภาษาอังกฤษ พาฝรั่งมาดูไม่ต้องอธิบายอะไรอีกอ่านรู้เรื่องหมด

           ด้านหน้าของอุโบสถ มีวิหารเรียกว่า ตำหนักเสด็จปู่วิริยะเมฆ ในตำหนักนี้แหละที่ผมให้มาไหว้ เพราะมีพระพุทธรูปและเสด็จปู่องค์นี้คือเทวรูปเก่าแก่เป็นเทพโบราณอายุนับพันปีมีอิทธิฤทธิ์ และอีกองค์คือพระนอนที่อยู่ด้านหน้าของวัดวัดนี้หากไม่แน่จริงพระอดตาย เพราะห่างจากหมู่บ้านหลายกิโลเมตรอแต่ปรากฎว่าชาวบ้านเอารถมารับพระไปบิณฑบาตรบ้างเอาอาหารมาถวายบ้าง ไม่อด สมบูรณ์ด้วยซ้ำไป มีพระสงฆ์หลายองค์น่าเลื่อมใสศรัทธา
           พระอีกองค์หนึ่งของบุรีรัมย์ที่ควรจะไปนมัสการอยู่บนยอดเขา วัดอยู่เชิงเขาแต่พระพุทธรูปอยู่บนยอดเขาปากปล่องภูเขาไฟขึ้นไปคือ พระสุภัทรบพิตร ในวนอุทยานเขากระโดง

...........................................................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

พระดีอีสาน: ข้อมูลพระดีอีสาน ท่องเที่ยวพระดีอีสาน ข้อมูลเที่ยวพระดีอีสาน


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์