ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > สู่อีสาน
 
สู่อีสาน (๑)
| หน้าต่อไป |

สู่อีสาน (๑)

            มีท่านผู้อ่านเขียนจดหมายมาถึงว่าคอลัมน์นี้ชื่อ กินเที่ยว ทั่วไทย ทำไมไม่เขียนไปเที่ยวภาคอีสานบ้าง "อีสานไม่มีที่เที่ยว ไม่มีอาหารอร่อยหรืออย่างไร" บางท่านบอกมาว่าอิจฉาที่ผมได้ "เที่ยวฟรี กินฟรี"  ไปทั่วบ้านทั่วเมือง ผมเลยต้องขอตอบข้อสงสัย ของท่านผู้อ่านไว้ในคอลัมน์นี้ เพราะเชื่อว่าอาจจะมีท่านผู้อื่นอีกที่เข้าใจผิดเช่นเดียวกัน ตอนที่ต่อมานั้น ผมส่งต้นฉบับ วัดมกุฎคีรีวัน ไปแล้ว วัดมกุฎคีรีวัน อยู่ใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ภาคอีสาน และผมก็มีแผนที่จะไปเที่ยวกิน ที่อำเภอวังน้ำเขียว นครราชสีมา ซึ่งได้ชื่อว่า มีอากาศบริสุทธิ์ติดอันดับเจ็ดของโลก แต่มีผู้แนะนำว่า อยากทราบว่าของดี วังน้ำเขียวเป็นอย่างไร ต้องไปในฤดูร้อน ยิ่งร้อน ยิ่งได้พบกับของดีวังน้ำเขียวคือ อากาศที่หนาวเย็น และบริสุทธิ์อย่างยิ่ง จึงตั้งใจเอาไว้ว่า จะต้องไปในเดือนเมษายน และจองบ้านพักเตรียมไว้แล้ว ขอชี้แจงข้อสงสัยที่ว่า ผมไปเที่ยวฟรี กินฟรีเสียก่อน ผมเขียนหนังสือในแนวเที่ยวไป กินไป มาเป็นเวลานานถึง ๓๑ ปี โดยไม่ได้ขาดเลยแม้แต่สัปดาห์เดียว แต่พึ่งมาเขียนในบางกอก ตามหนังสือเชิญของ คุณ วีรณัฐ โรจนประภา เมื่อ ๖ ปีที่แล้วนี้เอง เขียนตั้งแต่ค่าน้ำมันราคาลิตรละ ๑๘ บาท จนเวลานี้ลิตรละ ๓๐ บาท ก็ไม่ได้เรียกร้องแต่ประการใด ค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์ ก็ไม่ได้ไปรีดไถรบกวนจากโรงแรม หรือร้านอาหาร แม้แต่เมื่อ ๔ - ๕ ปีที่แล้ว "น้ำมัน ปตท." จ้างผมทำหนังสือ "อร่อยทั่วไทย ไปกับ ปตท." โดยทำเป็น ๖ เล่ม ภาคเหนือ ใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพ ฯ รวม ๖ เล่ม แต่ละภาคพิมพ์ออกจำหน่ายในราคาเพียงเล่มละ ๑๑๐ บาท จำหน่ายตามปั๊มน้ำมัน ปตท. และพิมพ์จำนวนแสน จำหน่ายหมด แต่ผมก็ไม่ได้รบกวนน้ำมันจาก ปตท. ในการเดินทางทั่วประเทศ ซึ่งใช้เวลาทำหนังสือ ๖ เล่มนี้เป็นเวลาประมาณ ๑ ปีเศษ แทนที่จะขอเติมน้ำมันฟรี  ก็ไม่ได้ขอ รับแต่ค่าเรื่องมาเท่านั้น ซึ่งก็มากพอค่าใช้จ่าย ส่วนการเขียนในปัจจุบันผมจะต้องใช้จ่ายคือ ค่าน้ำมันรถ  ค่าที่พัก ค่าอาหารแต่ละวัน อย่างน้อยวันละ ๒ มื้อ บางทีมากกว่า ๒ มื้อ เพราะเข้าร้านอาหารไม่แน่ว่า ถูกร้านที่อร่อย เมื่อไม่อร่อยก็นำมาเขียนไม่ได้ ต้องเปลี่ยนร้านใหม่ อาหารเหลือก็ทิ้งไป ค่าของซื้อกลับมาบ้าน ค่าทิป "ค่าทำบุญ" ค่าอัดรูป ลง ๔ ภาพ ต้องถ่ายมาหลายสิบภาพ ยังไม่นับค่าเอกสารนำเที่ยวต่างๆ
            ผมขอยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายไปวังน้ำเขียวคราวนี้ไป ๓ คืน ๔ วัน ค่าที่พักคืนแรก รวมค่าอาหารมื้อค่ำ และอาหารเช้าที่รสเลิศ วันละ ๔,๓๐๐ บาท ค่าน้ำมันรถ ประมาณ ๓,๐๐๐ บาท ค่าที่พักในเมืองโคราชอีก ๒ คืน ๆ ละ ๑,๘๐๐ บาท ค่าอาหารอีก ๕ มื้อ ประมาณ ๑,๕๐๐  บาทเศษ รวมเป็นเงินประมาณ ๑๒,๔๐๐ บาท ได้วัตถุดิบมาเขียนเรื่องเล่าให้ท่านทราบไม่เกิน ๕ ตอน รายรับไม่พอกับรายจ่าย แต่ผมเขียนหนังสือแนวนี้ ผมไม่ได้หวังเลี้ยงชีพด้วยค่าเขียน เพราะผมเป็นมนุษย์เงินเดือน เขียนด้วยความภูมิใจ อาชีพหลักที่ทำมา ๔๑ ปีนั้นคือ ทหารและทหารแท้ด้วย ทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เขียนแล้วจะกำไรหรือขาดทุน ไม่ได้นึกถึง และเมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ยิ่งดีใจมากขึ้น เพราะมีงานทำ ไม่ใช่อยู่บ้านเลี้ยงหลานตามที่ชอบพูดกัน เตรียมแผนออกเดินทาง บันทึก (มีเลขา ฯ ตลอดกาล บันทึกให้) หากต้องไปหลายวันก็ใช้เวลากลางคืน ที่โรงแรมเขียนหนังสือเลย  (เขียนลงคอม โน๊ทบุค)  กลับมาค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติม แล้วจึงเขียนเรื่อง บก. ให้เขียนได้ ๔ หน้า เขียนสั้นยากกว่าเขียนยาวครับ ส่งต้นฉบับทุกเดือน เดือนไหนลงท้ายด้วยคม ก็ส่ง ๔ เรื่อง หากเดือนไหนลงท้ายด้วยยน ก็ส่ง ๕ เรื่อง รวมปีละ ๕๒ เรื่อง จึงขอยืนยันว่าไม่ได้เที่ยวฟรี กินฟรี ร้านอาหารส่วนใหญ่จะไม่รู้จักตัวผม  และไม่ทราบว่าทำไมต้องถ่ายภาพ
            ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ทำไมไม่เขียนภาคอีสาน ขอชี้แจงว่า เขียนครับแต่เขียนน้อยไปหน่อย เชื่อไหมครับ ว่าค่าใช้จ่ายไปภาคอีสานจะแพงกว่าภาคอื่น (เว้นไป ภูเก็ต ไป สงขลา)  เพราะค่าโรงแรมแพง เช่น ในเมืองโคราช โรงแรมมีตั้งแต่ราคา ๓๕๐ บาท ไปจนถึงใกล้หมื่น ผมก็เลือกพักให้พอสมกับความที่เป็นนายพล แม้จะเกษียณแล้ว ความเป็นนายพลก็ยังเป็นอยู่และยังเป็น นายทหารพิเศษ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย เฉลี่ยค่าโรงแรมประมาณคืนละ ๑,๐๐๐ บาท "แหล่งท่องเที่ยว ในภาคอีสานมักไม่อยู่ใกล้กัน" เช่น ในนครราชสีมา ไปประสาทหินพิมาย ต้องไปกลับกันวันหนึ่ง แต่ได้พ่วงปราสาทหินพนมวันไปด้วย ไปวังน้ำเขียว อีกวัน เที่ยวในเมืองอีกวัน ไปเสิงสางก็ต้องอีกวัน วันกลับอาจจะได้ลำตะคอง ปราสาทหินที่สูงเนิน สวนองุ่น ย่านสีคิ้ว ปากช่อง รวมแล้วใช้เวลา ๔ - ๕ วัน จึงจะทั่ว ผมรับราชการอยู่ต่างจังหวัดนานถึง ๓๐ ปี แต่ไม่เคยรับราชการในภาคอีสานเลย นอกจากจะไปราชการตามแนวชายแดน ทำงานยุทธศาสตร์พัฒนา หรือยุทธศาสตร์พระราชทาน เมื่อตอนยศพลโท พลเอก ทำอยู่อีก ๕ ปี ไม่ชำนาญพื้นที่เหมือนภาคอื่น เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ที่ไปเที่ยวได้เลย ไม่ต้องหารายละเอียดมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ร้านอาหารอีสานก็เช่นกัน ต้องเที่ยวหาบางมื้อกินเสีย ๒ - ๓ ร้าน เพราะเข้าร้านแล้วไม่อร่อย ต้องย้ายร้าน เวลานี้ก็รวบรวมแหล่งเที่ยวแหล่งกินภาคอีสานไว้พอสมควรแล้ว และคงจะตระเวนหารายละเอียด ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอขอบคุณท่านที่ทักท้วงมา ผมก็ขอชี้แจงมาเท่านี้ครับ
        ผมออกเดินทางไป อำเภอวังน้ำเขียว ซึ่งมีเส้นทางไปได้ ๓ เส้นทาง อ้อมหน่อยก็ไปทางสระบุรี นครราชสีมา สีคิ้ว ปักธงชัย วังน้ำเขียว อีกสายก็ไปทางแปดริ้ว ไปผ่านพนมสารคาม ศาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงสี่แยกกบินทร์บุรี แล้วตรงไปอีก ๖๐ กม. ส่วนผมเดินทางวันนี้ ผมไปตามเส้นทางที่ผ่านนครนายก คือ
            ออกจากลาดพร้าว ไปตามถนนเลียบริมคลองรังสิตสาย ๓๐๕ ผ่านทางแยกเข้าองค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พอตั้งแต่คลอง ๙ ริมถนน ก็จะหนาแน่นด้วยไม่ดอก ไม้ประดับ พอถึงคลองสิบห้า กม.๓๗.๕ หากจะชมจะซื้อต้นไม้ในราคาแสนถูก ก็เลี้ยวซ้ายเข้าไป ตลอดทางกว่า ๘ กม. สองข้างทางคือ ไม้ดอก ไม้ประดับ ทั้งสิ้น เส้นทางนี้จะกลับไปออกถนน ๓๐๕ ที่โค้งองค์รักษ์ กม.๔๗  แล้วเลียบริมคลองต่อไปผ่านทางแยกซ้ายไป โรงเรียนเตรียมทหาร และ รร.นายร้อย จปร. เป็นแหล่งท่องเที่ยวจนถึงสี่แยกสามสาว (ตรงไปจะไปเมืองโบราณดงละคร เลี้ยวขวาไป อ.บ้านสร้าง) เลี้ยวซ้ายเข้าเมืองนครนายก ตรงไปจนถึงสามแยก (ตรงต่อไป  ไปน้ำตกสาลิกา และน้ำตกนางรอง ไปเขื่อนขุนด่านปราการชล) ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนสาย ๓๓ สายหินกอง - อรัญประเทศ  วิ่งไปตามถนนสายนี้ จนถึงสามแยกหนองชะอม กม.๑๕๑ ก็จะพบแผงขายพันธุ์ไม้ผล ผลไม้ ของกินมากมาย จะซื้อพันธุ์ขนุนไพศาลทักษิณ พอหาซื้อได้ย่านนี้ หรือขนุนแปดเดือนทวาย ปลูกแปดเดือนออกลูก ก็หาซื้อได้ ตรงต่อไปตามถนน ๓๓ ถึงสี่แยกเนินหอม หรือแยกนเรศวร มุมขวาบนคือ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หากเลี้ยวขวาเข้าเมืองปราจีนบุรี ถ้าเลี้ยวซ้ายไปสวนไผ่ ไปเขาใหญ่ ไปน้ำตกเหวสุวัต ทลุข้ามเขาใหญ่ไปออก อ.ปากช่อง ได้เลย จากเนินหอม ตรงต่อไปผ่านทางแยกซ้ายเข้าถนนไปน้ำตกเขาอีโต้ แหล่งสำราญของพวกผมนายทหารหนุ่ม ที่พาสาวนั่งรถจิ๊บ มาเที่ยว เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว  เลยทางแยกเข้าน้ำตกเขาอีโต้ไป ก็จะถึงอำเภอประจันต์คาม มีทางแยกขวาไปยังเมืองโบราณศรีมโหสถ เลยต่อไปอีกตามถนนสาย ๓๓ ก็จะผ่านหนองน้ำใหญ่ทางซ้ายมือ ผ่านทางแยกขวาเข้า ตลาดเทศบาลกบินทร์บุรี และหากวิ่งต่อไปก่อนถึงสี่แยกกบินทร์บุรี จะผ่านร้าน "ก๋วยเตี๊ยว" อยู่ทางขวามือ ห่างจากสี่แยกกบินทร์บุรีประมาณ ๔๐๐ เมตร ปากทางเข้าหมู่บ้านตะวันวิลล่า ร้านนี้ได้คลีน ฟู๊ด กู๊ดเทสท์ ปิดวันอาทิตย์ อาหารจะมาเร็วมาก อร่อยทุกอย่าง "ข้าวขาหมู ไร้เทียมทาน"  สั่งเกาเหลารวมมาอีกชาม ซดสนุกเพราะมีถึง ๙ อย่าง ไม่มีกลิ่นเลย น้ำซุบหอมหวานชวนซด มีขอบกระด้ง ผ้าขี้ริ้ว ตับ ปอด หัวใจ เนื้อเปื่อย ลูกชิ้น ฯ หรือจะสั่งเกาเหลาหมูตุ๋นก็ได้ ตามด้วยหมูสะเต๊ะ และปิดท้ายด้วยขนมปังใส่น้ำหวานสีแดง โรยน้ำแข็งไส ที่ผมตั้งชื่อไว้ว่า ปังแดง อิ่มอร่อย ราคาย่อมเยา
            ยังมีอีกร้านชิมกันมานาน วันนี้ไม่เปิด อยู่ก่อนถึงสี่แยกกบินทร์บุรี ทางขวามือ หากมาตามเส้นทางนี้ถึงสี่แยกกลับรถ ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ ติดกับร้านขายหนังสือพิมพ์ ร้านเล็ก ๆ ห้องเดียว แต่ยิ่งใหญ่ มีโต๊ะอยู่ ๔ - ๕ ตัว ขนาดผู้ว่า ฯ มายังต้องรอ ไม่รับจองโต๊ะ วันอาทิตย์ตกบ่าย พวกได้เสียการพนันจากบ่อนปอยเป็ตกลับมา แม่ปิดร้านเสียดื้อ ๆ บอกว่าคนแน่นไป เหนื่อย เพราะทำเสริฟกันอยู่ ๒ คน พี่น้อง นักร้องสาวลูกทุ่งมาหาโต๊ะนั่งไม่ได้ ต้องนั่งรอบนรถร่วมชั่วโมง อาหารสำคัญคือ ผักกะเฉดชลูดน้ำมัน พึ่งมาพบที่ร้านนี้เพียงแห่งเดียว ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อนเลย ร้านนี้จะทำอาหารช้า ประณีตมาก ราคาพอสมควร หรือแพงสำหรับคนท้องถิ่น เขาจะปลูกผักกะเฉดในน้ำไหล กดให้จมน้ำสัก ๓ วัน ยอดผักกะเฉดจะชะลูดขึ้นมาพ้นน้ำ ไม่มีฟองสีขาวหุ้ม มีแต่ยอดผักสีเขียวอ่อน ตัดเอาแต่ยอดที่ชะลูดพ้นน้ำขึ้นมานี้มาผัด อร่อยเหลือไปกันหลายคน สั่งทีเดียว ๒ - ๓ จาน เลยจะได้ไม่แย่งกัน เพราะอร่อยมาก รสผัด ความกรอบของผัก รับรองว่าหากินที่ไหนไม่ได้ อาหารอื่นๆ เปิดเมนูเอา อร่อยทุกอย่าง บอกเสียก่อนว่าช้า สั่งผัดผักกะเฉด สั่งกุ้งแม่น้ำต้มยำ ซดน้ำวิเศษนัก หรือกุ้งแม่น้ำทอดกระเทียมพริกไทย เนื้อแน่น ส่งกลิ่นหอมฟุ้งมาแต่ไกล เปิดเมนู เลือกสั่งเอาเถอะ รับรองว่าอร่อยทุกอย่าง แต่ต้องใจเย็น ๆ อย่าไปเร่งเข้า จะยิ่งช้าหนักเข้าไปอีก เพราะเตรียมอาหารเอง รับคำสั่งเอง ทำกันเอง ๒ คน และเสริฟเองด้วย และก็คงจะพ่วงล้างชามเองเข้าไปด้วย ของหวานไม่มี ตอนผ่านตลาดหนองชะอม แวะลงซื้อตุนเอาไปด้วยก็ดี

..................................................


| หน้าต่อไป | บน |

สู่อีสาน: ข้อมูลสู่อีสาน ท่องเที่ยวสู่อีสาน ข้อมูลเที่ยวสู่อีสาน


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์