ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดพระศรีมหาธาตุ
 
วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร

                เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นดำรงยศ และบรรดาศักดิ์ เป็นพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติเงินเพื่อสร้างวัด เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประสงค์จะให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ คือ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ สถานที่ที่จะสร้างนั้นควรอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ โดยท่านมีเหตุผลว่าชาติกับศาสนานั้นเป็นของคู่กัน จะแยกจากกันมิได้ และหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้นสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรสร้างวัดขึ้นใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ได้จารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปราบกบฎเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และประสงค์จะให้ชื่อว่า "วัดประชาธิปไตย"
            ในขณะที่กำลังดำเนินการพิจารณาอยู่นั้น เกิดศุภนิมิตรอันประเสริฐโดยที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ส่งคณะฑูตพิเศษ อันมี พลเรือตรี ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรี) ซึ่งขณะนั้นดำรงยศและบรรดาศักดิ์เป็นนาวาเอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอินเดีย (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ อินเดียยังไม่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ) คณะฑูตได้ติดต่อขอดังนี้
                ๑.  พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                ๒.  ขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ๕ กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาแต่เดิม ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับ ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ พุทธคยาประเทศอินเดีย
                ๓.  ขอดินจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่งคือ จากที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
            รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเห็นว่า ประชาชนที่เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนานั้นมีมาก แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศ แต่มีประเทศเดียวเท่านั้นในโลกนี้ (พ.ศ. ๒๔๘๔) ที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาทางราชการเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นประเทศเอกราช มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศและทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก "ประเทศนั้นคือ" ประเทศไทย ดังนั้นรัฐบาลอินเดียจึงพิจารณามอบให้  คือ -
                ๑.  พระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบค้นพบ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
                ๒.  มอบกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ให้ตามที่รัฐบาลไทยเสนอขอ ๕ กิ่ง
                ๓.  และมอบดินจากสังเวชนียสถานให้ตามความประสงค์
            รัฐบาลไทยจึงตกลงที่จะอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ วัดที่สร้างใหม่นี้ และเห็นว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระบรมสารีริกธาตุเป็นมหาสิริมงคลแก่วัดที่จะสร้างใหม่ ซึ่งได้รับมาในโอกาสเดียวกันกับที่จะสร้างวัดพอดี จึงตกลงตั้งนามวัดว่า
"วัดพระศรีมหาธาตุ"
            การสร้างวัดจึงได้เริ่มต้นขึ้น และรัฐบาลพิจารณาเห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การสร้างวัดนี้ควรเป็นงานของชาติ ประชาชนควรได้มีส่วนร่วมด้วย รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริจาคทรัพย์ จึงมีประชาชนจำนวนมากมหาศาล ที่บริจาคที่ดิน บริจาคเงิน บริจาคทรัพย์สมบัติต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยที่วัดนี้จะเป็นการสร้างวัดอย่างเป็นทางการวัดแรก ในระบอบประชาธิปไตยและยังประสงค์จะให้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์อีกด้วย ดังนั้นเพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนา และรักษาศิลปของไทย รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ร่วมมือกันสร้าง ในขั้นต้นได้มอบให้ พลโท จรูญ  รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ขณะนั้นดำรงยศและบรรดาศักดิ์เป็น พันเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ และอีกท่านหนึ่งคือ หลวงวิจิตรวาทการ (พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง พระพรหมพิจิตรเป็นผู้ออกแบบ นายช่างกรมศิลปากรและกรมรถไฟ เป็นนายช่างก่อสร้าง และเชิญผู้มีเกียรติที่มีความรู้ทางเทคนิค เฉพาะทางอีกหลายท่านมาร่วมด้วยจนสำเร็จ กระทำพิธีเปิดและถวายเป็นเสนาสนะแห่งภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕
            ที่ดินของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๒๒๖ ไร่ ๒ งาน ๒๖ ตารางวา ด้านหน้าติดถนน พหลโยธิน แบ่งออกเป็นที่ตั้งวัด ๘๓ ไร่เศษ และที่ธรณีสงฆ์เหลือจากที่ตั้งวัดอีก ๑๔๓ ไร่เศษ
            วัดพระศรีมหาธาตุได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นที่สำนักสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๘๔ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๘๔
            พระอุโบสถเป็นแบบพระที่นั่งจตุรมุข ต่อจากมุขด้านเหนือและใต้เป็นวิหารคตล้อมตัวอุโบสถอยู่อีกชั้นหนึ่ง ด้านหลังเป็นศาลาการเปรียญ
            ตรงหน้าพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งพระมหาเจดีย์ สูง ๓๘ เมตร มีนามว่าพระเจดีย์ศรีมหาธาตุ ได้มีพระราชพิธียกฉัตรยอดเจดีย์ เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๔๘๔ พระมหาเจดีย์นี้เป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นเจดีย์ใหญ่ ชั้นในเป็นเจดีย์องค์เล็กอยู่ตรงกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ในระหว่างผนังด้านในของเจดีย์องค์ใหญ่กับองค์เล็กมีเนื้อที่กว้าง ๒ เมตรครึ่ง เป็นทางเดินได้รอบ มีประตูเข้าออก ๔ ด้าน สำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการ
            การบรรจุ ทรงพระกรุณาโปรดให้อาราธนาสมเด็จพระอริยวงศาญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ เวลา ๑๐ นาฬิกา
            ผนังด้านในของพระเจดีย์องค์ใหญ่ได้ทำเป็นช่องไว้ ๑๑๒ ช่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๘๔ ให้ใช้สำหรับบรรจุอัฐิผู้ที่รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นสมควร กล่าวคือผู้ที่ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติ เช่นเดียวกับของฝรั่งเศส
            ตรงหน้าพระเจดีย์ออกไปทั้ง ๒ ข้าง ด้านตะวันออกทำเป็นเกาะรูปกลมมีน้ำล้อมรอบ สำหรับเป็นที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์
            กิ่งพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทางรัฐบาลอินเดียมอบให้มา ๕ กิ่ง จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานประกอบพิธีปลูกไว้ ณ เกาะกลมนั้น ตรงที่สุดของคูทั้งสอง ๒ ข้าง ทางทิศตะวันออก เกาะละต้น เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๔ ส่วนอีก ๓ กิ่งนั้น จะอัญเชิญไปปลูกในภาคต่าง ๆ คือ
            ภาค ๔ ปลูก ณ วัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๘๖
            ภาค ๕ ปลูก ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ ๗ กรกฎาคม ๒๔๘๖
            ภาค ๘ ปลูก ณ วัดพระมหาธาตุ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๖
            วัดพระศรีมหาธาตุในปัจจุบัน เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรวิหาร เริ่มสร้างเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๓ ที่ริมถนนพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๘ แขวงอนุสาวรีย์ ( เดิมชื่อตำบลกูบแดง ) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เปิดเป็นเสนาสนะแห่งพระภิกษุสงฆ์ เป็นรัฐพิธี เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาญาณ สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นประธาน เมื่อเวลา ๑๐.๐๐ โดยมีกำหนดการคือเวลา ๐๙.๐๐ เชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถ
            เวลา ๑๗.๐๐ พระภิกษุสงฆ์ ๒๔ รูป จากวัดบรมนิวาส ไปอยู่วัดพระศรีมหาธาตุ
            หลวงวิจิตรวาทการกล่าวอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชทรงเปิด
            สมเด็จพระสังฆราชทรงเปิด ทรงไขกุญแจ เปิดพระอุโบสถ แล้วทรงนำพระภิกษุสงฆ์เข้าสู่อาสนะ
            จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี  ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ ถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธสิหิงค์ แล้วอ่านประกาศถวายที่ดิน เสนาสนะแก่สงฆ์วัดพระศรีมหาธาตุ
            เมื่อเสร็จพิธีเปิดแล้ว พระภิกษุสงฆ์ ทำพิธีถอนพัทธสีมา
            เช้าวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๕ กระทำพิธีผูกพัทธสีมา มีสมเด็จพระวันรัตวัดมหาธาตุเป็นประธานการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ ก็สำเร็จสมบูรณ์เป็นที่เชิดชูพระบวรพุทธศาสนา ควบคู่ไปกับเกียรติศักดิ์ของประเทศชาติสืบไป
            จบรายการเที่ยววัดของผมในวันนี้ และต้องขอขอบคุณท่าน นาวาอากาศโท (ไม่ประสงค์ออกนาม) ที่ช่วยค้นคว้าหาประวัติของวัดมาให้ ผมอยากทราบมานานแล้วพึ่งได้มีโอกาสทราบก็ตอนจะเขียนวันนี้แหละ และน่ายกย่องอีกอย่างที่เวลานี้ มีข้าราชการไปทำร้านอาหารกันหลายแห่ง ผมทราบหรือบางทีก็จุดใต้ตำตอโดยบังเอิญไปพบเข้าว่าเป็นร้านของข้าราชการ พอชิมแล้วอร่อยผมขอเชียร์ ขอยกย่องบุคคลเหล่านี้ที่ทำมาหากินด้วยความสุจริต "เราไม่ต้องอายใคร" ผมเองก็ทำมาหากินด้วยความสุจริตเหมือนกัน เพราะ "ยศสูง" แต่บำนาญต่ำ ภาษีสังคมสูง รายได้น้อย และข้าราชการบำนาญนั้น ไม่มีเงินเดือนขึ้นเหมือนข้าราชการประจำ ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี "ยศจอมพล" ดูเหมือนบำนาญของท่านเดือนละหมื่นกว่าบาทเท่านั้นเอง ของผมซึ่งรับราชการจริง ๆ เพียง ๔๑ ปี แต่นอนในสนามในพื้นที่อันตรายมากกว่านอนบ้าน อายุราชการของผมรวมทวีคูณแล้วมากเกือบ ๗๐ ปี ไม่รู้จะเอาไปทำไม เพราะอายุราชการแค่ ๕๐ ปี ก็ได้เงินเดือนเต็มแล้ว แต่เต็มวันเกษียณ พอของแพงขึ้น เขาปรับเงินเดือนข้าราชการประจำ แต่เขาปรับให้ข้าราชการบำนาญเพียงนิดเดียว ไม่ได้นึกว่าข้าราชการบำนาญนั้นถ้าทำงานมาด้วยความสุจริตแล้ว แทบจะไม่มีอะไรเหลือ นาวาอากาศโท ท่านนี้กับ พันโท อีกท่านหนึ่ง คนหนึ่งขายข้าวต้มบะเต็งและข้าวต้มกับ อีกคนขายก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ผมไปชิมแล้วอร่อยทั้ง ๒ ร้าน อร่อยมากด้วย แถมมีลูกหลานขายกาแฟ ขนมปังสังขยาใกล้ ๆ กัน ส่วนพ่อตาแม่ยายเป็นร้านเบเกอรี่ที่เปิดขายมานานแล้ว ทั้งคู่คือทหารบกกับทหารอากาศ อาศัยชานหน้าร้าน พ.ต. และ ม.ย. ขายอาหารและก๋วยเตี๋ยวในตอนกลางคืน เว้นวันเสาร์- อาทิตย์ไม่ขาย ขายแต่ตอนเย็นเรื่อยไป ใครจะไปชิมผมจะบอกร้านไว้ให้ หากมาจากทางสะพานควายเลยวัดไผ่ตันมาแล้วข้ามสะพาน เลี้ยวซ้ายเข้าตลาด อตก.ทันที ร้านสนั่นเบเกอรี่อยู่หัวมุมซ้ายมือ ร้านข้าวต้มบะเต็งและก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ก็อยู่ตรงชานของร้านที่ตรงหัวมุมนั่นแหละ อย่าลืมว่าเสาร์ - อาทิตย์ไม่ขาย เช้าไปทำงานตามปกติ เป็นนักบินด้วย ผมขอยกย่องและสรรเสริญท่านเหล่านี้
            ร้านอาหารที่ผมจะพาไปชิมวันนี้  "ชื่อร้านปลาเผาภูเก็ต" ผมเคยชิมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว พอไปวัดพระศรีมหาธาตุเลยแวะไปชิมอีกเพราะ อยู่ใกล้ ๆ กัน จากวัดพระศรีมหาธาตุผ่านอนุสาวรีย์หลักสี่ (ตอนนี้กำลังสร้างอุโมงค์) เลยไปทางสะพานใหม่ดอนเมือง หาง่ายสังเกตซอยพหลโยธินไว้ พอถึงซอย "๖๙" ให้ชะลอความเร็วรถได้แล้ว จากนั้นพอถึงซอย "๖๙/๑" ก็เลี้ยวเข้าซอยไปเลย ตรงต่อไปสัก ๕๐ เมตร จะมีไม้กั้นทางเข้าหมู่บ้าน บอกยามว่าจะไปร้านอาหาร "ปลาเผาภูเก็ต" ยามจะเปิดให้เข้าไป พอผ่านไม้กั้นเข้าไปก็เลี้ยวขวาจอดรถได้ ที่จอดรถกว้างขวาง "ไม่เสียค่าจอด" ร้านอยู่ตรงหัวมุมทางขวามือนั่นแหละ ท่านที่ไปรถเมล์หรือแท็กซี่ยิ่งสะดวก ขากลับรอแท็กซี่ที่ปากซอย หรือที่หน้าตู้ยามเลยก็ได้
            ร้านปลาเผาภูเก็ตนี้ดั้งเดิมไม่ได้เปิดอยู่ที่นี่ แต่ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้สัก ๒ ปีแล้ว เจ้าของชาวภูเก็ตอยู่ที่ป่าตอง จัดร้านเก๋มาก กว้างขวางสะดวกสบาย ห้องสุขาสะอาดเป็นสากลสมกับเป็นภัตตาคาร การบริการดีเอาอกเอาใจลูกค้าดี ราคาปานกลาง วันนี้ไปกันหลายคนเลยได้ชิมหลายอย่าง
            ภูเก็ตที่ ต.สปำ มีร้านขายหมี่สปำ ผมชิมเขามานานแล้ว และเขียนถึงหลายครั้งคงนานร่วม ๒๐ ปี จนเดี๋ยวนี้ร้านเขาย้ายมาอยู่เยื้องกับที่ตั้งเดิมขยายใหญ่โต เวลาไปภูเก็ตก็แวะไปกินหมี่ผัด เรียกว่าหมี่สปำและโกต้าว (หอยนางรมทอดสไตล์ภูเก็ตโดยเฉพาะ) ตอนนี้หากไม่ได้ไปภูเก็ตก็หาหมี่ผัดสไตล์หมี่สปำกินที่กรุงเทพฯ ได้แล้ว เส้นหมี่นั้นบินมาจากภูเก็ต และรสชาดอร่อยถูกปากชาวกรุงทีเดียว คือที่ร้านภูเก็ตปลาเผาสั่ง "บะหมี่ภูเก็ต" มีจานใหญ่ จานเล็ก ๓ - ๔ คนต้องจานใหญ่ ๘๐ บาท
จานเล็ก ๔๐ บาท ผัดยกมาร้อน ๆ กินกับผักกาดหอม หอมแดง เติมน้ำส้มสักนิด แต่หากไปกินที่ภูเก็ตแท้ ๆ เขาให้พริกขี้หนูเขียวแดงเลยทีเดียว
            ยำสายไหม จะกินเรียกน้ำย่อย หรือเป็นกับแกล้มก็ดีทั้งนั้น รสอมเปรี้ยว อมหวาน เรียกน้ำย่อยดีนัก คอนักซดเบียร์ เหล้า ยิ่งชอบ ใช้สับปะรดกับปลาหมึกสดเอามาทอดกรอบ กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ๓ รส
            น้ำพริกกุ้งเสียบ หากกินที่ภูเก็ตต้องขึ้นไปกินบนเขารัง กินกรุงเทพ ฯ ก็ที่ภูเก็ตปลาเผานี่แหละ รสเดียวกัน ใส่ถ้วยตั้งมาบนโตกน้อยน่ารัก มีผักจัดมาสวย ทั้งถั่วฝักยาว แตงกวา ผักกาดขาวสด มะเขือ ขมิ้นขาว ถั่วพู ข้าวโพดอ่อน รายการนี้กินกับข้าวสวย ข้าวหมดจานไม่รู้ตัว
            ห่อหมกเผา มีแห่งเดียวในกรุงเทพ ฯ ตักเข้าปากคำเดียวก็บอกได้เลยว่าคุ้มค่าที่มาชิม จานละ ๘๐ บาท มี ๒ ห่อ
            ปลาเผาต้มตำรับภูเก็ต ราคาตามน้ำหนักของปลาและชนิดของปลา ปลาช่อนเผา ปลาสำลีเผา ปละกะพง เลือกเอาจะให้เขาเผาอะไร น้ำจิ้มปลาเผามี ๒ แบบ แบบหวานและแบบน้ำพริก ใช้เปรี้ยวด้วยมะขาม และหอมกลิ่นด้วยมะนาว หอมซอยโรยหน้า
            นอกจากนี้ยังมี ผัดสะตอขี้เมา ผัดผักเหมียงใส่น้ำมันหอยและกุ้งเสียบ และที่อย่าลืมอีกอย่างหนึ่งคือ "ต้มกะทิผัดเหมียง" หากินยากจะเข้ากันตอนกินข้าวกับห่อหมกเผา
            ปิดท้ายด้วยทับทิมกรอบรสหวานชื่นใจ
..........................
ไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระศรีมหาธาตุ
                                                                                ไปชิมอาหารที่ร้าน ปลาเผาภูเก็ต
                                                                                 ยำสายไหมห่อหมกเผากับบะหมี่ภูเก็ตอย่าลืมสั่ง

.........................


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

วัดพระศรีมหาธาตุ: ข้อมูลวัดพระศรีมหาธาตุ ท่องเที่ยววัดพระศรีมหาธาตุ ข้อมูลเที่ยววัดพระศรีมหาธาตุ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์