ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > ถ้ำปลา-ถ้ำลอด
 
ถ้ำปลา - ถ้ำลอด
ถ้ำปลา - ถ้ำลอด

            ถ้ำปลา อยู่ในเขต อ.เมือง แม่ฮ่องสอน ในวนอุทยานถ้ำปลา ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ กรมป่าไม้ (ยังไม่ได้ตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ)  มีนโยบายให้ทำการสำรวจพื้นที่วนอุทยานถ้ำปลา และวนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ (ไปทางเดียวกับไปปางตอง)  ว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นอุทยานแห่งชาติหรือไม่ ผลการสำรวจมีพื้นที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จำนวนมากถึง ๔๘๘ ตารางกิโลเมตร หรือเนื้อที่ ๓๐๕,๐๐๐ ไร่  ครอบคลุมพื้นที่  อ.ปางมะผ้า และ อ.เมือง แม่ฮ่องสอน และมีชายอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า
            อุทยานแห่งนี้ มีนามว่า "อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - น้ำตกผาเสื่อ"  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง (เทือกเขาถนนธงชัย) เป็นแนวติดต่อระหว่างไทย - พม่า จุดสูงสุดคือ เขาดอยลาน สูงประมาณ ๑.๙๑๘ เมตร เขาสูงล้อมรอบเช่นนี้ ทำให้แม่ฮ่องสอนมีอากาศเย็นตลอดปี และหนาวมากในฤดูหนาว ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จึงจะเข้าฤดูร้อน ที่ร้อนมากในเวลากลางวัน

                ถ้ำปลา  เป็นถ้ำใต้เชิงเขา มีน้ำไหลออกมาสู่ลำธารตลอดปี สามารถมองเห็นปลาฝูงใหญ่ ที่มีสำดำอมเทา อมฟ้า อยู่กันเป็นจำนวนมาก เรียกว่า ปลามุง หรือปลาพลวงหิน นอกจากนี้ยังมีทิวทัศน์  สภาพป่า  หน้าผา  เขาหินปูน เป็นธรรมชาติที่งดงามอย่างยิ่ง
                น้ำตกผาเสื่อ  เกิดจากลำน้ำแม่สะงา เป็นน้ำตกสูงประมาณ ๑๕ เมตร กว้างประมาณ ๓๐ เมตร ในช่วงฤดูฝนน้ำจะไหลเต็มหน้ากว้าง ทำให้มองดูรูปร่างคล้ายปูผืนเสื่อ จึงเรียกว่า น้ำตกผาเสื่อ ในฤดูแล้งจะมีน้ำน้อย แต่ก็จะเห็นหินที่สวยงาม
                นอกจากนี้ ยังมีน้ำตกแม่สะงากลาง และ เขื่อนพลังน้ำแม่สะงา อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา - น้ำตกผาเสื่อ ติดต่อ ๐๕๓ ๖๙๒ ๐๕๕
                การเดินทาง  หากไปจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ก็ระวังอย่างง กับหลัก กม. เพราะยิ่งห่างตัวเมืองไปเท่าไร หมายเลขที่หลัก กม. จะยิ่งน้อยลง เพราะเริ่มนับหนึ่งกันตั้งแต่ ปากทางเจ้ามาสู่ถนน ๑๐๙๕ คือ จากแม่มาลัย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่  ออกจากแม่ฮ่องสอน ไปตามถนนสู่ อ.ปางมะผ้า จนถึงหลัก กม.๑๙๑ - ๑๙๒  (กม.๑๙๘ - ๑๙๙ ไปบ้านรักไทย )  ก็จะพบป้ายอุทยาน ฯ เลี้ยวซ้ายเข้าไปสัก ๑๐๐ เมตร ก็จะถึงบริเวณทางเข้าอุทยาน  เมื่อเข้าไปแล้วก็จะเดินผ่านไปตามทางที่ร่มรื่น และข้ามสะพานแขวนเหล็ก เพื่อข้ามลำธาร ผมไปครั้งก่อนเมื่อ ๔ - ๕ ปีที่แล้ว ความงดงามที่เกิดจากการตกแต่งธรรมชาติแบบนี้ ยังไม่เกิด แต่วันนี้ ๒๕๕๑ บรรยากาศร่มรื่น หญ้าตัดเรียบ สีเขียวขจี ไม้ใหญ่ร่มรื่น ลำธารน้ำใส ไหลเหมือนน้ำตกน้อย ๆ สะพานไม้เดิมยังเหลือไว้ให้ชมนิดหน่อย ส่วนทางเดินนั้น เป็นทางเดินคอนกรีตหมดแล้ว เลียบลำธารน้ำ และสนามหญ้ามีกังหันน้ำ ที่หมุนด้วยพลังน้ำเอาไปตำข้าว ทำกระแสไฟได้
                เมื่อข้ามสะพานแขวนแล้ว เดินไปประมาณ ๔๐๐ เมตร ก็ข้ามสะพานขึ้นไปยังปากถ้ำ ทางขวามือที่เนินหินมีศาลพ่อฤาษี เฝ้าปากถ้ำอยู่ และปากถ้ำที่ปลาออกมาชุกชุมกันนับร้อยตัวนั้น กว้างประมาณ ๒ เมตร ลึก ๑.๕๐ เมตร เท่านั้นเอง อย่าลืมซื้ออาหารปลาถุงละ ๑๐ บาท มาโยนให้ปลาด้วย ปลาที่ลำธารก็มี แต่ไม่ไปไหน จะพยายามว่ายทวนน้ำมายังปากถ้ำ ปลาเหล่านี้ตัวโตมาก และไม่มีใครกล้าจับกิน ถือว่าเป็นปลาเจ้าพ่อ หรือของพ่อฤาษี เป็นปลาพลวง หรือปลามุง หรือปาคัง เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ บางตัวยาวเกือบเมตร และเชื่อกันว่า ตาบอดหรือไม่มีตา เพราะอาศัยอยู่ในถ้ำมืด ที่ไม่ทราบว่าลึกเท่าไร น้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดเวลา ชมปลา ให้อาหาร ชมลำธารสวย
                กลับออกจากถ้ำปลา มายังถนนสายหลักคือ ถนนสาย ๑๐๙๕ แล้วเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปทาง อ.ปางมะผ้า ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ๖๔ กม. คราวนี้จะไปยังถ้ำลอด ซึ่งตั้งอยู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เส้นทางไปถ้ำจากถนน ๑๐๙๕ ก่อนถึงตัว อ.ปางมะผ้า จะมีทางแยกซ้ายมีป้ายเล็ก ๆ บอกว่าไปถ้ำน้ำลอด แต่มีเส้นทางเข้าอีกทางคือ เลยตัว อ.ปางมะผ้า ผ่านร้านอาหารที่เคยชิม อาหารดี อยู่ริมถนน วิ่งเลยไปจนถึง กม.๑๔๐.๒๐๐ ผ่านวัดสบบ่อง ทางขวาของวัดจะมีถนนเข้าไปยังหมู่บ้าน เลี้ยวซ้ายข้างวัด เข้าไปตามถนนแคบ ๆ สายนี้ประมาณ ๘ กม. ก็จะถึงสถานีพัฒนาถ้ำน้ำลอด โดย อบต. ถ้ำลอด เมื่อไปถึงลานจอดรถ ด้านหนึ่งจะมีชาวเขามาปูเสื่อนั่งขอขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชาวเขาอยู่หลายเจ้า อีกด้านหนึ่งคือ ร้านอาหารมีประมาณ ๕ - ๖ ร้าน ขายอาหารตามสั่งและมีไก่ย่างกับส้มตำ เป็นอาหารหลัก ผ่านทางเข้าสู่เส้นทางไปถ้ำลอด ทางซ้ายจะมีศาลา มีเจ้าหน้าที่คอยให้ความสะดวก ทางขวาเป็นอาคารสำนักงาน แต่ไม่มีอะไรไว้แสดงให้ชม ติดอาคารมีลานกว้าง สำหรับกางเต้นท์
                ศาลาเจ้าหน้าที่ทางซ้ายมือ จะมีเจ้าหน้าที่น่าจะจัดจาก อบต. คอยให้ความสะดวก เพราะการไปเข้าชมถ้ำลอดนั้น ไม่สามารถเดินไปชมได้ จะต้องนั่งแพ มีคนลากจูงเข้าไปในถ้ำ ซึ่งถ้ำนี้จะมีสายน้ำ ห้วยน้ำลาง ไหลผ่านตั้งแต่ปากทางเข้าไป จนถึงถ้ำสุดท้ายที่อยู่ภายใน โพรงถ้ำแห่งนี้มีความยาวกว่า ๑,๐๐๐ เมตร กว้างกว่า ๒๐ เมตร สูงประมาณ ๕๐ เมตร สายน้ำได้กัดเซาะโพรงถ้ำมานานกว่าล้านปี ทำให้เกิดเป็นถ้ำใหญ่ ๆ ถึง ๓ ถ้ำ คือ ถ้าเสาหิน ถ้ำตุ๊กตา และถ้าผีแมน ดังนั้น เส้นทางท่องเที่ยวในถ้ำ จึงต้องเข้าไปในถ้ำด้วยแพ และขึ้นจากแพเดินชมถ้ำ
                การจ่ายค่าบริการคงจ่ายที่ศาลา ด้านซ้ายเมื่อเข้าไปในบริเวณพื้นที่สถานีพัฒนา เนื่องจากในถ้ำมืดมาก ต้องเช่าตะเกียงจะมีสาวคอยถือตะเกียงให้เช่าไปกัน ๑ - ๔ คน ต้องใช้ตะเกียง ๑ ดวง มากคนกว่านี้ก็ต้องเพิ่มตะเกียง ไม่เช่นนั้นแสงสว่างไปไม่ไกลพอ ค่าบริการตะเกียงพร้อมสาวตะเกียงนำทาง ดวงละ ๑๕๐ บาท (เมื่อก่อน ๑๐๐ บ. )  ค่าบริการแพ แล้วแต่ระยะทาง ไป - กลับ ชมถ้ำที่ ๑ - ๓ นั่งแพได้ ๑ - ๔ คน ค่าบริการแพ ๆ ละ ๔๐๐ บาท หากเราไปกันสัก ๑๐ คน ต้องไปแพ ๓ ลำ ไม่เช่นนั้น คนแพจะลากจูงแพไปไม่ไหว เวลาเข้าไปตามน้ำ แต่เวลากลับออกมาต้องลากแพทวนน้ำ
               เมื่อเช่าตะเกียง จ่ายค่าแพเรียบร้อยแล้ว สาวตะเกียงจะนำทาง พาเดินไปตามทางคอนกรีตสักระยะหนึ่ง แล้วจะเดินไปตามทางดิน ที่ไม่กว้างนักแต่ก็เดินสะดวก รวมแล้วจนถึงจุดลงแพ ไม่เกิน ๔๐๐ เมตร ก่อนถึงจุดลงแพ แต่ถึงลำธารน้ำแล้ว ทางซ้ายจะเห็นสะพานถาวร แต่พังลงมาเพราะน้ำพัด เป็นสะพานที่ข้ามไปฝั่งวัดได้ ต้องทำสะพานไม้ชั่วคราวไว้ เดินแยกไปทางขวาอีกสัก ๕๐ เมตร จะถึงจุดลงแพ ที่แพจะเข้าคิวกันเป็นระเบียบ ไม่มีการแย่งกัน เป็นแพไม้ไผ่ คนแพจะพาแพตามน้ำเข้าไปยังถ้ำ สาวตะเกียงจะถือตะเกียงนำ
                ถ้ำที่ ๑ คือ ถ้ำเสาหิน  นั่งแพเข้าปากถ้ำไปประมาณ ๓๐๐ เมตร แล้วเดินตามทางขึ้น จะพบหินงอก หินย้อยตามรายทาง พบม่านหินย้อย หินกากเพชร ผลึกแร่แคลไซด์ และเสาหินที่ตั้งอยู่กลางถ้ำ เกิดจากหินงอกขึ้นไป บรรจบกับหินย้อยที่ลงมาจากเพดาน ถ้ำมีความสูงประมาณ ๒๑ เมตร เหมือนเป็นเสาค้ำเพดาน ชมจบแล้วเดินกลับมาทางเดิม
                ถ้ำที่ ๒  คือ ถ้ำตุ๊กตา  นั่งแพต่อไปอีกประมาณ ๘๐ เมตร งามด้วยหินงอก หินย้อย ที่ธรรมชาติปั้นแต่ง ให้ดูเหมือนเป็นรูปตุ๊กตา และยังมีเป็นรูป จระเข้ กบ น้ำตก ฯ เป็นต้น และมีภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มี ๓ ภาพ ภาพคน สัตว์ และพืช
                ถ้ำที่ ๓  ถ้ำผีแมน  ระยะทางห่างจากถ้ำตุ๊กตาประมาณ ๔๕๐ เมตร เคยพบภาชนะดินเผา กระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือหินต่าง ๆ ที่สำคัญคือ โลงผีแมน เป็นโลงศพไม้สักที่ฝังคนโบราณ การชมโลงผีแมน ต้องเดินขึ้นไปไม่สูงนัก คนวัยผมพอได้หอบ ถ้ำที่มีโลงศพแบบนี้ ในปางมะผ้ามีมากถึง ๗๔ ถ้ำ แต่ชมสะดวกถ้ำนี้ถ้ำเดียว และเมื่อชมถ้ำผีแมนแล้ว ก็จบการชมถ้ำ แต่ที่ปากถ้ำออกสู่แสงสว่างนี้ หากยามเย็นนกนางแอ่นจะเหินลม กลับถ้ำนับจำนวนพัน จำนวนหมื่น พร้อมกันนั้น ค้างคาวก็จะออกจากถ้ำนับจำนวนหมื่นเช่นกัน ส่วนในตอนเช้าก็กลับกัน นกนางแอ่นออกไปหากิน ค้างคาวกลับถ้ำ
            ชิมอาหาร หากมีเวลาพอ ให้ย้อนกลับมาออกถนนสาย ๑๐๙๕ แล้วเลี้ยวขวามาทางปางมะผ้า ผมขอแนะนำร้านอาหาร ส้มตำ ยำปลากรอบ ต้มข่าไก่ น้ำพริกอ่อง อีกร้านไปคราวนี้ไม่ได้แวะชิม เพราะกว่าจะกลับมาจากถ้ำก็เกือบบ่ายสองโมงแล้ว เลยแวะกินอาหารที่ร้านริมลานจอดรถ ซึ่งเคยชิมกันมาแล้ว หันหน้าเข้าแถวร้าน อยู่ทางขวามือร้านห้องที่สอง ร้านจะอยู่ติด ๆ กัน ขายคล้ายกัน ร้านนี้มีอาหารตามสั่ง และอาหารจานเดียว เร็วและสะดวกคือ สั่งเหมือน ๆ กัน ผมสั่งทีเดียว ๑๐ จานคือ ข้าวผัดกะเพรา ไข่ดาว สั่งส้มตำไย ไก่ย่างมาอีก ๒ ตัว มาทันใจ ข้าวผัดกะเพรานั้น สั่งกันทุกทีไป มาทีไรก็สั่งอย่างนี้ ผัดอร่อยใช้ได้ ตามด้วยส้มตำ แถมด้วยเกาเหลาลูกชิ้น สั่งมาเป็นกองกลาง อร่อยเช่นกัน
            จบแล้วเดินทางต่อไป เพื่อไปพักยังอำเภอปาย จุดมุ่งหมายอีกแห่งของการมาแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า - ปาย ห่างกันแค่ ๔๗ กม. แต่ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ ๗ กม. จะเห็นป้ายตามรายทางแนะนำไปรีสอร์ท ในคณะที่มาด้วยกัน บอกว่าขออนุญาตแวะที่รีสอร์ทแห่งนี้ เพราะลูกสาวเป็นผู้วาดภาพลงบนผ้าบาติค (โรงงานอยู่เชียงใหม่)  แล้วทางรีสอร์ทนำมาประดับห้องพักทุกห้อง บอกว่าประดับแม้กระทั่งในห้องน้ำ อยากเห็นว่าสวยแค่ไหน ก็เลยตกลงไปกัน ตามป้ายไป ป้ายจะผ่านหมู่บ้านไทยใหญ่ถึง ๒ หมู่บ้าน สิ้นสุดที่ หมู่ ๑ ต.แม่นาเติง อ.ปาย เห็นแล้วก็ตกใจ เพราะรีสอร์ทแห่งนี้อยู่ติดแม่น้ำปาย กลางทุ่งนา มีพื้นที่มาก เป็นเหมือนหมู่บ้านเพราะมีขนาดประมาณร้อยหลังคาเรือน วางผังสวยมาก ได้ไปที่ห้องรับรองซึ่งติดกับห้องอาหาร เมื่อบอกความประสงค์ให้ทราบ เจ้าของพอทราบว่าผมมาด้วยก็ออกมาพบ บอกว่าเป็นชาวภูเก็ต เคยเห็นหน้าผมทาง ที.วี. สมัยผมรับราชการอยู่ ทภ.๔ และทราบว่า เขียนสารคดีท่องเที่ยว ที่มาอยู่ปาย เพราะเดิมสร้างรีสอร์ทขนาดร้อยหลัง อย่างนี้ที่เขาหลักตะกั่วป่า พอทำพิธีเปิดได้ ๑ วัน "สินามิ" ก็พัดเข้ามากวาดเอารีสอร์ท ร้อยหลังลงทะเลไปหมด รอดชีวิตมาได้เพราะวิ่งขึ้นเขาทัน แต่ก็สติแตก เพราะเห็นความวิบัติเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา จากนั้นไปบวช จึงสงบสติอารมณ์ได้ ออกเที่ยว มาพบพื้นที่ พบธรรมชาติที่ปายเข้า จึงลงทุนสร้างรีสอร์ทใหม่ สร้างให้เข้ากับธรรมชาติ ภาพที่ติดตามผนังในห้องพักนั้น สวยทุกภาพ ท้องยังอิ่มอยู่เลยชิมแต่กาแฟ แต่ทางรีสอร์ทขอให้ชิม อาหารว่างจานเด็ดคือ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าหัวปลา ซึ่งพอชิมแล้วต้องถามวิธีการปรุงได้ความว่า เอาก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ทอดกรอบ หัวปลากะพงหมักด้วย เกลือ พริก ซุปไก่ และแป้งหมี่  ทอดให้เหลืองพองแล้วพักไว้ นำน้ำสต๊อคไก่ โดยมีขิงซอย เห็ดหอมซอย ต้นหอม ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซีอิ้วขาว พริกไทยป่น น้ำมันงา เหล้าจีน และตบท้ายด้วยแบะแซ อร่อยชนิดลืมไม่ลงเลยทีเดียว เสียดายที่ยังไม่มีโอกาสไปพัก และชิมอาหารอื่น ๆ จะนั่งที่ระเบียง มองทุ่งนา มองธรรมชาติที่แสนจะงดงามรอบตัวเช่นนี้ คงมีโอกาสไปพัก และเอามาเล่าให้ทราบ เพราะผมเชื่อว่าเสน่ห์แม่ฮ่องสอน คงดึงดูดให้ผมเดินทางไปอีก

.................................................


| บน |

ถ้ำปลา-ถ้ำลอด: ข้อมูลถ้ำปลา-ถ้ำลอด ท่องเที่ยวถ้ำปลา-ถ้ำลอด ข้อมูลเที่ยวถ้ำปลา-ถ้ำลอด


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์