ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดโพธาราม
 
วัดโพธารามมหาวิหาร

วัดโพธารามมหาวิหาร


            คนไทยทุกคนจะมี "ปีเกิด" ที่นับเรียงกันไปเริ่มตั้งแต่เกิดปีชวด ไปจนถึงปีกุนเป็นที่สิบสอง และหากนับถือศาสนาพุทธ ก็จะมีพระธาตุประจำวันเกิด ซึ่งกล่าวกันว่า หากใครมีพระธาตุประจำปีเกิดเป็นพระธาตุอะไร หากในชีวิตหนึ่ง ได้มีโอกาสไปนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดของตนสักครั้งหนึ่ง ชีวิตก็จะรุ่งเรือง คลายทุกข์ ประสบสุขได้ ซึ่งพระธาตุประจำปีเกิดทั้ง ๑๒ ปี คือ
            คนเกิดปีชวด พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
            คนเกิดปีฉลู พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
            คนเกิดปีขาล พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่
            คนเกิดปีเถาะ พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
            คนเกิดปีมะโรง พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
            คนเกิดปีมะเส็ง พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่
            คนเกิดปีมะเมีย พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระบรมธาตุตาก จังหวัดตาก
            คนเกิดปีมะแม พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
            คนเกิดปีวอก พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
            คนเกิดปีระกา พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
            คนเกิดปีจอ พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุเกตุแก้วมณี จังหวัดเชียงใหม่
            คนเกิดปีกุน พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย
            ได้เรียงลำดับให้ทราบแล้วว่า ใครเกิดปีอะไร พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุอะไร อยู่ที่จังหวัดไหน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดของพระธาตุนั้น และเส้นทางที่จะไปไหว้องค์พระธาตุ ผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของนักเดินทาง เพราะหากไม่ทราบเส้นทางจะเสียเวลาต่อการค้นหาเป้าหมาย ที่เรากำลังจะเดินทางไป หรือในการเดินทางไปต่างจังหวัด เดินทางเข้าเมืองได้ แต่จะผ่านเมืองนั้นไปออกเส้นทางที่จะไปอีกเมืองหนึ่ง หากไม่เคยผ่านมาก่อน ย่อมจะเสียเวลาในการค้นหากทางออกจากเมือง ในปัจจุบันยังดีที่ว่าเกือบทุกจังหวัด จะมีทางเลี่ยงเมือง หากเราไม่มีธุระในเมืองที่เป็นเส้นทางผ่าน ก็เข้าถนนเลี่ยงเมืองผ่านเมืองนั้นไปเลย ผมเดินทางรอบเมืองไทย ทุกจังหวัดคงจะหลายรอบแล้ว แต่เส้นทางในตัวเมืองต่าง ๆ เดี๋ยวนี้เจริญเร็วเหลือเกิน ไม่ได้ผ่านไป ๒ - ๓ ปี แทบจะจำเส้นทางไม่ได้ การบอกเส้นทางของผมจึงพยายามใช้สถานีรถไฟบ้าง หอนาฬิกาบ้างเป็นจุดอ้าง เพราะจะง่ายต่อการค้นหา วันนี้จะพาไปไหว้พระธาตุของคนเกิดปีมะเส็งคือ พระธาตุวัดโพธารามมหาวิหาร แล้วจะพาไปชิมอาหารอร่อย ซึ่งร้านนี้จะมีทั้งอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่ และอาหารตามสั่งทั่วไป เยี่ยมทั้งรสและราคาย่อมเยาคือ ร้านซึ่งอยู่ในซอยตรงข้ามกับวัด ฯ
            วัดโพธารามมหาวิหาร ปัจจุบันชื่อ วัดเจ็ดยอด เป็นวัดสำคัญที่กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ได้สร้างขึ้นไว้ เคยเป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๐ หรือ ๕๒๙ ปี มาแล้ว (นับถึง พ.ศ.๒๕๔๙)
            เส้นทางไปวัดเจ็ดยอด หากเราเดินทางมาเชียงใหม่ ทางรถยนต์ ผ่านจังหวัดลำพูน เรื่อยมาตามถนนไฮเวย์ จนข้ามแม่น้ำปิง ตรงต่อมาผ่านสี่แยกช้างเผือก เกือบสุดทาง (สุดทางสี่แยกรินคำ) วัดโพธรารามมหาวิหาร หรือ วัดเจ็ดยอด จะอยู่ริมถนนทางขวามือ
            ผู้สถาปนาวัดเจ็ดยอดคือ พญาติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ ๙ ของราชวงศ์มังราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้สร้างวัดเจ็ดยอด เมื่อ พ.ศ.๑๙๙๘ เมื่อสร้างแล้วได้ให้ข้าราชบริพารไปตอนกิ่งโพธิ์ จากวัดป่าแดงหลวง ซึ่งเป็นต้นโพธิ์ที่นำหน่อมาจากศรีลังกา (แยกมาจากต้นเดิม ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย) มาปลูกเอาไว้ในวัดเจ็ดยอด เมื่อปลูกต้นโพธิ์แล้ว จึงโปรดถวายนามวัดว่า "วัดโพธารามมหาวิหาร" และเมื่อเป็นวัดที่กษัตริย์สร้างจึงเป็นพระอารามหลวง
            ราชวงศ์มังราย ครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๘๓๙ (พญามังรายมหาราช ต้นราชวงศ์) จนถึง พ.ศ.๒๑๒๑ ในสมัยพระนางวิสุทธเทวี เชียงใหม่ก็เสียเมืองแก่พม่าของพระเจ้าบุเรงนอง นับกษัตริย์ราชวงศ์มังรายครองเชียงใหม่อยู่ ๑๘ พระองค์ รวมเวลา ๒๘๒ ปี อยู่ใต้การปกครองของพม่านานกว่า ๒๐๐ ปี จนกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยอีกครั้ง ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งมีพระเจ้ากาวิละ เป็นเจ้าผู้ครองนครพระองค์แรก เนื่องจากวัดเจ็ดยอดนั้น เมื่อสร้างอยู่ในเขตนอกเมืองเชียงใหม่ เมื่อพม่าเข้าครองมากอบโกยไม่ได้มาทำนุบำรุงบ้านเมือง วัดเจ็ดยอดจึงกลายเป็นวัดร้างไป พร้อม ๆ กับเอกราชของนครเชียงใหม่ เมื่อพระเจ้ากาวิละกลับมาครองนครเชียงใหม่แล้ว จึงมีการการฟื้นฟูวัดเจ็ดยอดขึ้นใหม่ แต่ไม่ทราบปีที่แน่นอน
            พญาติโลกราช ได้สร้างเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมขึ้นในอารามแห่งนี้ โดยจำลองแบบมาจากพุทธคยา แต่แปลกพิเศษกว่าแห่งอื่นคือ ชั้นล่างเป็นห้องโถง หลังคาเป็นยอดเจดีย์เจ็ดยอด และล้อมรอบไปด้วย สัตตมหาเจดีย์สถาน ๗ แห่ง (ปัจจุบันส่วนใหญ่พังทลายไปบ้างแล้ว ยังไม่มีการบูรณะ หากจะชมที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์คือ สัตตมหาเจดีย์สถาน ที่วัดพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย) แต่พระเจดีย์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ สัตตมหาสถาน ๗ แห่ง มีดังนี้
            -  โพธิบัลลังก์  สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิ ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ และบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์นี้
            -  อนิมิสเจดีย์ คือ สถานที่พระพุทธองค์ หลังออกจากจากสมาบัติไปประทับยืน เพื่อทรงพิจารณาบารมีธรรม ที่พระองค์ตรัสรู้ทรงยืนลืมพระเนตรเพ่งต้นโพธิ์ ไม่กระพริบพระเนตรอยู่เป็นเวลา ๗ วัน
            -  รัตนจงกรมเจดีย์  เสด็จออกจงกรมเพ่งต้นโพธิ์อยู่ ๗ วัน จึงเสด็จออกจงกรมอีก ๗ วัน
            -  รัตนฆรเจดีย์ ประทับนั่งพิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ในเรือนแก้วที่เทวดานิรมิตอยู่ ๗ วัน
            -  อชปาลนิโครธ ประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นไทร ทรงประทับเป็นสัปดาห์ที่ ๕ อยู่ ๗ วัน
            -  สระมุจจลินท์ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของต้นมหาโพธิ์ ทรงนั่งเสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ วัน
            -  ราชายตนะ อยู่ทางใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ ไปประทับนั่งใต้ต้นราชายตนะพฤกษ์ (ไม้เกตุ) อีก ๗ วัน ทุกเช้าพระอินทร์จะนำผลสมอไปถวาย
            โบราณสถานสำคัญในวัดเจ็ดยอด ที่ยังมีให้ชม ได้แก่ พระเจดีย์เจ็ดยอด ที่งามมาก
            -  พระสถูปอนุสรณ์พญาติโลกราช เมื่อสวรรคตแล้ว ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ที่วัดเจ็ดยอด และสร้างพระสถูปไว้
            พระอุโบสถหลังเล็กๆ เมื่อเข้าไปในวัดจะอยู่ทางขวามือ
            พระวิหาร สร้างขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓
            วิหารพระเจ้า ๗๐๐ ปี สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙
            ความสำคัญของวัดเจ็ดยอด วัดที่ถือว่าเป็นวัดที่แทนพุทธคยา พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะเส็ง ซึ่งคนเกิดปีมะเส็ง คงจะหาโอกาสยากที่จะไปไหว้ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
            เมื่อเที่ยวชมโบราณสถาน นมัสการพระธาตุเจดีย์แล้ว จะไปกินอาหารกลางวันเลยก็ได้ เพราะร้านที่จะพาไปอยู่ตรงข้ามกับวัดเจ็ดยอด หรือไม่เช่นนั้น ก็เลยไปชิมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่ เสียก่อน อยู่เลยวัดเจ็ดยอดไป ถนนสายเดียวกัน การไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดนั้น แม้จะไปไหว้พระธาตุที่ไม่ใช่ปีเกิดของเรา ไปไหว้แล้วก็จะเกิดมงคลแก่ชีวิตของเราเช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องเจาะจงไปไหว้เฉพาะพระธาตุประจำปีเกิดของเรา
            อาหารพื้นเมืองของเชียงใหม่นั้น มีหลายร้าน เช่น ร้านอยู่ในซอยข้างสถานีตำรวจก็เก่าแก่ ร้านอยู่ตรงประตูท่าแพ น่าจะเก่าแก่กว่าเพื่อน เพราะผมชิมมาตั้งแต่ผมรับราชการเป็นผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ นานเต็มที หรือข้าวซอยย่านที่ลือเลื่องคือ ข้าวซอยย่ายฟ้าฮ่าม ร้านที่ดังเมื่อ ๔๐ ปี ก่อนเลิกกิจการไปแล้ว เวลานี้ก็มีร้านข้าวซอยสองร้าน อยู่ติดกับวัดฟ้าฮ่าม หรือไปโน่นเลย ถนนด้านข้างของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าไปสัก กม.เศษ ๆ ทางซ้ายมือ หรืออีกทีไปเที่ยวเวียงท่ากาน ที่อำเภอสันป่าตอง ก็แวะกินข้าวซอยเจ้าอร่อย ขาไปอยู่ทางขวาติดกับอำเภอ ส่วนอาหารพื้นเมืองหากจะซื้อกลับมากิน หรือซื้อติดมือไปกินระหว่างทาง แหล่งสำคัญคือ ที่ตลาดวโรรส มีขายทั้งวัน ตลาดต้นพยอม ติดตอนเย็นแต่ก็มีขายทั้งวัน ตลาดสมเพ็ชร ติดตอนเย็น ไก่ทอดไม่มีแหล่งไหนจะสู้สมเพ็ชรได้  หรือไก่ทอดจอย อยู่ด้านข้างขวาของสถานีรถไฟเชียงใหม่ ฯ
            ร้านตรงข้ามวัดเจ็ดยอด ออกจากวัดเจ็ดยอด แล้วต้องเลี้ยวซ้ายไปจนถึงสี่แยกที่มีไฟสัญญาณ แล้ววกกลับรถมาเข้าทางคู่ขนาน พอผ่านปั๊มเอสโซ่ มานิดหนึ่ง จะพบซอยหรือถนนเล็กๆ ชื่อ ถนนสิริธร เลี้ยวซ้ายเข้าไปสัก ๕๐ เมตร ทางขวามือเป็นบ้านแบบล้านนา หลังใหญ่โต สวยงามมาก ร้านคือบ้านหลังนี้ ดัดแปลงชั้นล่างเป็นร้านอาหารริมสวนในบ้าน บรรยากาศแจ่มแจ๋ว สบาย ๆ เหมือนนั่งกินในบ้านของเราเอง (ประธานองคมนตรีเคยแวะมาชิมอาหาร) ชั้นล่างติดแอร์เย็นสบาย ชั้นบนได้ดัดแปลงเป็นที่พักแบบโฮมสเตย์ แต่มีไม่กี่ห้อง ที่พักแบบนี้ฝรั่งจะชอบมาก เจ้าของร้านฝ่ายหญิงเป็นคนขยัน ขายอาหารแล้วยังทำกิจการอื่น ๆ แถมยังมีเวลาไปคว้าเอาปริญญามหาบัณฑิตมาได้อีก ผมรู้จักร้านนี้ เพราะเพื่อนผม รงค์ วงษ์สวรรค์ ชวนไปชิม
            ไปครั้งหลัง เพื่อนำมาเขียนวันนี้ได้สั่งอาหารมาดังนี้
            ยำขาหมูเยอรมัน คือ แทนที่จะกินขาหมูแบบเยอรมัน มีผักเคียง มีน้ำยำมาด้วย ออกรสเปรี้ยวนิด ๆ อมหวานหน่อย ๆ หรือ จะขอแจ่วเขามาจิ้มขาหมู ก็คงจะไม่ผิดกติกา อร่อยไปอีกแบบ
            จานนี้ จะต้องสั่ง อย่าโดดข้ามไป คือ กุ้งมะขาม เปรี้ยวด้วยรสของมะขาม จัดใส่จานมาสวย
            ไส้อั่ว (คุณนิจ) มีชื่อเสียงมากถึงขั้นบรรจุลงกล่องส่งออกจำหน่ายแล้ว สั่งพริกฮ้า หรือพริกหนุ่ม หรือพริกอ่อง มาด้วย แต่รายการนี้ต้องกินกับข้าวนึ่ง จึงจะเข้ากัน เป็นอาหารพื้นเมือง ตามด้วยแกงฮังเล หรือเพิ่มแกงโฮ๊ะ แกงหน่อไม้ ลาบเมืองอีกสักจาน ก็ครบเครื่องอาหารพื้นเมือง
            ขอแนะไว้อีกจานคือ ปลาช่อนคำหวาน ทอดปลาเก่งนัก กินอาหาร้านนี้จะได้ทั้งอาหารภาคกลาง และอาหารพื้นเมืองล้านนา และลาบเมืองร้านนี้เป็นสูตรเมืองแพร่ ใส่เม็ดมะแกว่น หอมน่ากิน ปิดท้ายด้วยผลไม้เนื้อสีแดงเข้มคือ แก้วมังกร

| บน |

วัดโพธาราม: ข้อมูลวัดโพธาราม ท่องเที่ยววัดโพธาราม ข้อมูลเที่ยววัดโพธาราม


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์