วัดราชนัดดา
วัดราชนัดดา
วัดสำคัญที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น มีวัดเฉลิมพระเกียรติ
ซึ่งอยู่ฟากฝั่งธนบุรี ในเขตจังหวัดนนทบุรี
ส่วนอีก ๒ วัดคือ วัดเทพธิดาราม และวัดราชนัดดา
วัดเทพธิดารามกับวัดราชนัดดานั้นอยู่ติดกัน พอลงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เลี้ยวซ้ายก็จะถึงวัดราชนัดดา
วัดราชนัดดานี้รัชกาลที่ ๓ สร้างพระราชทานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ
"พระนางโสมนัสวัฒนาวดี"
ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นหม่อมเจ้า ด้วยมีพระเมตตาเพราะเห็นว่ากำพร้าบิดาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
พระนางโสมนัสวัฒนาวดีเป็นธิดาของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณกับหม่อมงิ้ว พอประสูติได้ปีเดียว
พระบิดาก็สิ้นพระชนม์ พอถึงคราวที่พระเจ้าหลานเธอจะเกศากันต์ (โกนจุก) จึงสร้างวัดนี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติ
พระนางโสมนัสวัฒนาวดี ทรงเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ แต่มีอายุสั้นนักจึงสิ้นพระชนม์เมื่อมีอายุเพียง ๑๙ พรรษา เป็นความอาลัยรักแก่พระราชสวามี
รัชกาลที่ ๔ จึงทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลขึ้นใหม่ คือสร้างวัด "โสมนัสวิหาร"
และก่อนที่รัชกาลที่ ๓ จะสวรรคตนั้น ได้เคยมีพระราชแระแสกับเสนาบดีผู้ใหม่ไว้ว่า
"ทุกวันนี้คิดสละห่อวงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัดสร้างไว้ใหญ่ สร้างไว้โตหลายวัด
ที่ยังค้างอยยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไป จะไม่มีผู้ช่วยบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือ
จับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ ๔ หมื่นชั่ง ขอสักหมื่นเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขา
ขอเงินรายนี้ให้ช่วยทะนุบำรุงวัดที่ชำรุด และวัดที่ยังค้างอยู่นั้นเสียให้แล้วด้วย"
ด้วยพระราชกระแสนี้ทำให้ รัชกาลที่ ๔ ไม่ทำนุบำรุงวัดราชนัดดา แต่กลับไปโปรดสร้างวัดโสมนัสวิหารแทน
ซึ่งเป็นการสร้างเพื่อองค์เดียวกัน คือ พระเจ้เาหลานเธอของรัชกาลที่ ๓ และเป็นพระมเหสีของรัชกาลที่
๔
การสร้างวัดราชนัดดาราม นับว่าเป็นงานใหญ่ ได้โปรด ฯ ให้เจ้าพระยายมราช (บุญนาค)
กำกับการสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ
โปรด ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ กำกับการสร้างโลหะปราสาท
โปรด ฯ ให้พระยามหาโยธา กำกับการสร้างเสนาสนะ กำแพง เขื่อน การตัดถนน
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถแสดงพุทธประวัติตอนเสด็จจากวัดดาวดึงส์ พร้อมรูปดาวฤกษ์
๒๔ กลุ่ม มีชื่อกลุ่มดาว กับชื่อดาวจารึกด้วย สถาปัตยกรรมสุดยอดของวัดนี้
ต่างกับที่อื่น ๆ ทั่วไทย หรือจะทั่วโลกด้วยซ้ำไปคือ การสร้างโลหะปราสาท
การสร้างโลหะปราสาทนี้ สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
คงจะตั้งพระทัยที่จะสร้างขึ้นแทนพระเจดีย์ ให้ดูแปลกแตกต่างออกไป จากพระเจดีย์ที่สร้างกันตามวัดต่าง
ๆ อาจจะเหมือนกับที่โปรดให้สร้างเรือสำเภาที่วัดยานนาวา แล้วมีพระเจดีย์บนเรือสำเภาแทนเสากระโดงเรือก็เป็นได้
โลหะประาสาทสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๓๘๙ ตอนปลายรัชกาลแล้ว การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาล
คงสร้างได้เพียงขึ้นโครงเอาไว้ เครื่องบนก็ยังไม่ได้สร้าง มาสร้างกันต่อในรัชกาลที่
๕ และ ๖ เสร็จสิ้นงดงามเช่นที่เห็นทุกวันนี้เป็นการเสร็จการสร้างอย่างสมบูรณ์
ก็มาสำเร็จในรัชกาลที่ ๙ นี่แหละ
โลหะปราสาท เป็นโบราณสถานที่มีเพียง ๓ แห่ง ในโลกนี้เท่านั้น คือที่อินเดีย
๑ แห่ง และที่ลังกาอีก ๑ แห่ง แต่ที่อินเดียและลังกาพังหมดแล้ว ทรงโปรด ฯ
ให้ช่างออกแบบ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๙ คือปีที่เริ่มการก่อสร้าง รายละเอียดมีในคำบรรยายในหนังสือมหาวงศ์
มีฐานกว้าง ๒๓ วา ตัวอาคารมี ๗ ชั้น ลดหลั้นกัน ชั้น ๗ ส่วนบนสุดเป็นยอดปราสาทจตุรมุข
จำนวนยอดปราสาทโดยรวม ๓๗ ยอด สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ศิลาแลงที่นำมาสร้างโลหะปราสาท ที่นำมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ นั้นเป็นศิลาแลงที่นำมาจากนครสวรรค์
ยอดปราสาทรวม ๓๗ ยอดนี้
จำนวนนับมีความหมายตามธรรมะทั้ง ๗ หมวด โดยแต่ละหมวดจะจำแนกหัวข้อธรรมะรวมกันได้
๓๗ ประกอบด้วยสติปัฐฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรค
๘ (หายไป ๑ หมวด หาไม่พบ) หมายถึง โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ
รูปแบบของโลหะปราสาทเป็นแบบที่งดงามตามแบบอย่างของศิลปะไทย แปลนปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม
มียอดปราสาทเรียงรายกันขึ้นไป ๓ ชั้น โดยแบ่งเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องหน้าต่างมียอดปราสาทครอบทับ
ทำให้ปราสาทเล็ก ๆ เรียงรายลดย่อเป้นช่อชั้นขึ้นไปจนถึงชั้นยอดสูงสุด ในลักษณะย่อลดชั้นจากฐานขึ้นไปจนนถึงยอด
มีบันไดขึ้นโลหะปราสาทตรงกลาง บันไดใช้เสาไม้แก่นขนาดใหญ่เป็นแกนแล้วทำบันไดวนเป็นก้นหอยเวียนรอบเสาโอบตัวขึ้นบันไดควบกับตัวเสา
และผนังด้านข้างซึ่งเป็นรูปกลมเวียนขึ้นไปสู่ฐาน ประทักษิณชั้นแรกและชั้นบน
ตรงกลางเป็นตัวมณฑป คติการสร้างบันไดเวียนเช่นนี้เป็นการสร้างศิลปกรรมยุโรป
ไม่มีโอกาสเข้าไปชมภายในได้เลย ไม่ทราบว่าข้างในงดงามอย่างไร แต่ก็ยังดีเมื่อคราวฉลอง
๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทย ที่บดบังโลหะปราสาทออกเสีย
และปฏิสังขรณ์กันอย่างต่อเนื่อง จัดสร้างบุษบกและผอบสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ทำงานร่วมกันหลายฝ่าย กรมศิลปากรดำเนินการด้านศิลปกรรม ธนาคารไทยพาณิชย์กับอเมริกันเอ็กเพรส
(ไทย) สนับสนุนการเงิน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ ประทานพระบรมสารีริกธาตุ ให้ทูลเกล้า
ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ โลหะปราสาท
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเสด็จไปประกอบพระราชพิธีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ณ โลหะปราสาท เป็นพระราชพิธีแรกที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติที่ครองแผ่นดินมา
๕๐ ปี เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๘
ได้กล่าวมาแล้วว่าโลหะปราสาทนั้นได้มีการสร้างมาก่อนแล้ว ๒ ครั้งในโลก ก่อนที่จะมีการสร้างที่วัดราชนัดดาราม
โลหะปราสาทหลังแรกสร้างโดยนางวิสาขา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย
โดยการประมูลราคาเครื่องประดับของตนที่ชื่อ "มหาลดาประสาธน์" ได้เงินมา ๙
โกฎิ ๑ แสน แล้วนำเงินมาสร้างที่อยู่ให้พระสงฆ์ มีลยักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น
มี ๑,๐๐๐ ห้อง ยอดปราสาททำด้วยโลหะมีชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท" หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า
โลหะปราสาท ปราสาทหลังนี้ปรักหักพังจยไม่มีเหลือร่องรอยแล้ว
โลหะปราสาทหลังที่ ๒ พระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราชปุระ ลังกา ทรงสร้างเมื่อประมาณ
พ.ศ.๓๘๒ ตามคำทำนายในแผ่นดินสุพรรณบัฎ ของพระมหินทรเถระที่ทรงได้พบ โปรดให้สร้างตามแบบทิพยวิมานที่ได้ทอดพระเนตร
มีด้านกว้างและด้านสูงแต่ละด้าน ๑๐๐ ศอก มี ๙ ชั้น ๑,๐๐๐ ห้อง หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง
ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง พระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่แตละชั้นตามความรู้คือ
ผู้มีสนณศักดิ์สูงอยู่ชั้นบน จากนั้นก็ลดลงมาตามลำดับ ต่อมาโลหะปราสาทหลังนี้ถูกเพลิงไหม้หมดทั้งหลัง
พระเจ้าสัทธาติสสะ จึงโปรด ฯ ใให้สร้างใหม่ให้สูงเพียง ๗ ชั้น ปราสาทหลังนี้ภายหลังถูกโจรทำลาย
ปัจจุบันยังคงเหลือซากปราสาท ซึ่งประกอบด้วยเสาหิน ประมาณ ๑,๖๐๐ ต้น
เมื่อเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) เสนาบดีกรมพระนครบาล ที่ได้โปปรดเกล้า ฯ ให้เป็นผู้กำกับการสร้างโบสถ์
วิหาร ศาลาการเปรียญ ได้ทำพื้นพระอุโบสถและก่อฐานชุกชีเรียบร้อยแล้ว รัชกาลที่
๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ชักลากพระพุทธรูปจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานในพระอุโบสถ
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๙ พระพุทธรูปองค์นี้ปางมารวิชัย มีพระนามว่า
"พระเสฏฐตตมุนี"
หน้าตักกว้าง ๗ ศอก หล่อด้วยทองแดงที่ขุดมาได้จากตำบลจันทึก จังหวัดนครราชสีมา
จึงมีน้ำหนักมาก ต้องอัญเชิญขึ้นบนตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก) ผูกเชือกสายชักเป็นสี่เส้น
ป่าวร้องให้ราษฎรมาช่วยกันชักพระเป็นอันมาก เจ้าพระยายมราชเป็นผู้บัญชาการชักลากด้วยตนเองจึงขึ้นไปอยู่บนตะเฆ่ที่องค์พระกับนายตำรวจและทนายอีกสองคน
ชักพระไปทางถนนเสาชิงช้า หรือถนนบำรุงเมือง พอจะเลี้ยวออกถนนใไญ่ไปวัดราชนัดดาต้องหยุดคัดตะเฆ๋เพื่อเลี้ยวออกให้พ้นคูน้ำ
เจ้าพระยายมราชจึงลงจากตะเฆ่มาบัญชาการ พอพระออกมาถึงถนนใหญ่แล้ว แต่ตัวเจ้าพระยายมราชยังดูผูกเชือกอยู่
พวกราษฎรเห็นองค์พระออกตรงถนนและได้ยินเสียงม้าล่อตีกระหน่ำ ก็สำคัญว่าให้ลาก
จึงลากขึ้นพร้อมกันตะเฆ่ก็เคลื่อนมาโดยเร็ว เจ้าพระยายมราชท่านอายุ ๗๐ เศษแล้ว
ไม่ว่องไว จะกระโดดกลับขึ้นตะเฆ๋ก็ไม่ทัน เมื่อได้ยินเสียงโห่ก็จะหลบออกมาข้างถนน
พอดีตะเฆ่มาถึงตัวก็สะดุดล้มลง ตะเฆ่ทับต้นขาขาดถึงตะโพกข้างหน้า สิ้นชีวิตในที่นั้น
จึงได้เรียกกันต่อมาว่า "บุนนาคตะเฆ่ทับ" ชื่อนี้ติดอยู่ในพงศาวดารและไม่ใช้ทับแต่ท่านเจ้าพระยาเท่านั้น
ยังทับทนายทั้งาสองคนด้วย คนหนึ่งตาย ณ ที่ถูกทับ พร้อมท่านเจ้าพระ อีกคนหามกลับบ้านตายในเวลาหนึ่งเดือนต่อมา
สิ่งสำคัญภายในวัดราชนัดดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
มีดังนี้
พระอุโบสถ
ตั้งอยู่กลางระหว่างพระวิหารและศาลาการเปรียญ คือด้านยาวขนานกับกำแพงแก้ว
เป็นอาคารทรงโรง หลังคามุงกระเบื้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจก
ภายในประดิษฐานพระเสฏฐตตมมุนี ที่หล่อด้วยทองแดงจากตำบลจันทึก นครราชสีมา
พระวิหาร
ตั้งสสกัดอยู่ทางด้านใต้ของพระอุโบสถ เป็นอาคารทรงโรง หลังคามุงกระเบื้อง
มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดประดับกระจก เขียนลายฉลุปิดทองที่เพดาน ภายในพระวิหารทำเป็นห้องเวชยันตพิมานไว้กลาง
สองข้างมีฉัตรเบ็ญจา ๕ ชั้น มีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระพุทธรูปองค์นี้เดิมเมื่อสร้างไม่ได้ลงรักปิดทอง
ต่อเมื่อได้ลงรักปิดทองแล้วจึงถวายพระนามว่า "พระพุทธชุติธรรมนราสพ"
ศาลาการเปรียญ
ตั้งสกัดอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง ซึ่งได้หล่อขึ้นเท่าองค์พระประจำชันษา
เมื่อได้เล่าวัดราชนัดดาไปแล้วก็เลยเล่าต่ออีกวัดหนึ่งซึ่งอยู่ติดกันคือ วัดเทพธิดาราม
เป็นวัดสร้างให้ลูกสาว วัดราชนัดดานั้นสร้างให้หลายสาว วัดเทพธิดารามสร้างก่อนวัดราชนัดดา
คือ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่ พระองค์เจ้าหญิงวิลาศ
ซึ่งต่อมาคือ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นามของวัดก็อาศัยความหมายเดิมของพระนาม
"อัปสรสุดาเทพ" นั่นเอง สร้างวัดแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒ การสร้างโปรด ฯ ให้กรมหมื่นภูมินทร์ภักดี
อำนวยการสร้างพระประธานในพระอุโบสถ สร้างด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์จึงเรียกว่า
"หลวงพ่อขาว"
อัญเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เฉลิมพระนามว่า
"พระพุทธเทวาวิลาศ"
น่าสังเกตว่าพระประธานในพระวิหารนั้น ด้านหน้ารอบพระประธาน มีรูปพระภิกษุณี
(อริยสาวิกา) เป็นจำนวนมาก กุฎิพระในเขตสังฆาวาส มี ๒ ลักษณะ สำหรับพระเล่าเรียนฝ่ายคันถธุระ
กับกุฎิพระในฝ่ายวิปัสสนาธุระ และที่วสัดเทพธิดานี้มีกุฎิพระสุนทรภู่อยู่ด้วย
และในย่านนี้ยังมีวัดสำคัญ ๆ ติดต่อกันอีกหลายวัด "รวมทั้งแระตูผี" ซึ่งอยู่ตรงปากซอยสำราญราษฎร์
ซึ่งเหลือแต่ชื่อ เป็นประตูสำหรับขนศพที่เป็นอหิวาตกโรคตายจากในกรุงออกไปเผายังวัดสระเกศ
และมาทางเสาชิงช้า มาทางถนนอัษฎางค์และถนนตะนาวยังมีวัดที่สร้างรุ่นรัชกาลที่
๓ อีก ๒ วัด คือ .-
วัดบูรณะศิริมาตยาราม
เจ้าพระยาสุธรรม ต้นตระกูลบูรณศิริ เป็นผู้สร้างวัด
ถนนตะนาว มีวัดมหรรณพาราม
กรมหมื่นอุดมรัตนราษี พระนามเดิมพระองค์เจ้าอรรนพ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓
ทรงสร้าง มีพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ส่วนพระประธานในพระวิหาร
ที่เรียกว่าหลวงพ่อร่วง เป็นพระพุทธรูปสุโขทัย
หากมาตามถนนราชดำเนินกลาง ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาแล้วก็จะมาถึงเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ซึ่งเชิงสะพานทางขวามือคือลานพระบรมรูป รัชกาลที่ ๓ และด้านหลังคือวัดราชนัดดาและโลหะปราสาท
ที่สูงเด่นงดงามไม่มีอาคารมาบดบังเหมือนเมื่อก่อนแล้ว สะพานผ่านฟ้าลีลาศนี้มีประวัติที่น่าสนใจ
เดิมเป็นสะพานไม้เพื่อข้ามคลอง "รอบกรุง" ตามาญโญ ( ) นายช่างสถาปนิก
ชาวอิตาเลี่ยน ได้บันทึกไว้ว่า "สะพานเก่าพังหมดแล้ว ต้องเร่งซ่อมให้ทันรับเสด็จกลับจากยุโรป"
(มีในหนังสือชาวอิตาเลี่ยนในราชสำนักไทย มีภาพสะพานกำลังตกแต่ง)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากทวีปยุโรปถึงท่าราชวรดิษ
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๐ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ เศษ มีรายละเอียดในหนังสือจดหมายเหตุประกอบเรื่องไกลบ้าน
ได้กล่าวถึงเมื่อรถพระที่นั่ง "ถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ หยุดประทับรถพระที่นั่งบนสะพาน
มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งให้เจ้าพนักงานกระทรวงโยธาธิการเปิดสะพานนั้น"
ถนนราชดำเนินนอก เริ่มจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศไปสสู่สะพานมัฆวานรังสรรค์และพระราชวังดุสิต
ความยาวของถนนจากสะพานยผ่านฟ้าถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ยาว ๙๒๕ เมตร จาะฃกสะพานมัฆวาน
ฯ ถึงถนนศรีอยุธยา ยาว ๕๕๐ เมตร
ร้านอาหารที่ผมจะพาไปชิมในวันนี้อยู่ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงขอเล่าประวัติของอนุสาววรีย์แห่งนี้ไว้สักเล็กน้อย
ไม่งั้นกินไปมองไป ไม่รู้ว่าเป็นมาอย่างไร
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
แบบของอนุสาวรีย์พยายามออกแบบให้มีความหมายกับประชาธิปไตย เช่น ฝังปืนใหญ่ไว้รอบอนุสาวรีย์
๗๕ กระบอก หมายถึงเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ปีกของอนุสาวรีย์ที่พุ่งขึ้นไป
สูง ๒๔ เมตร คือวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระขรรค์ประดับบนตัวป้อม
๖ เล่ม คือหลัก ๖ ประการ ของคณะราษฎร์
ร้านอาหารเก่าแก่ของถนนราชดำเนิน น่าจะเก่าแก่ที่สุดและยืนยงมานาน หากมาจากสะพานผ่านพิภพลีลาหรือจากสนามหลวงมุ่งหน้ามาทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พอถึงอนุสาวรีย์ผ่านโรงเรียนสตรีวิทยา ผ่านถนนประชาธิปไตย ตรงหัวมุมถนน ร้านนี้อยู่กลางเมือง
เมื่อเข้ามาในร้านแล้วจะมองเห็นอนุสาววรีย์อยูาตรงหน้า
กระทงทอง เอามากินเล่นเสียก่อน ร้านนี้ผัดไส้เก่งนัก ไส้เป็นไก่สับ
ผัดมากับมันฝรั่ง
กุ้งชุปแป้งทอด สั่งมาเอาใจรุ่นเด็ก จิ้มน้ำบ๊วยเจี่ย มีมะเขือเทศ แตกงกวา
ผักสลัดวางเคียง
เป็ดอบทรงเครื่อง เป็ดสับมาเป็นชิ้นโต ๆ อบ มีน้ำซ๊อส หน้าแฮม ข้าวโพดอ่อน
ไข่นกกระทา เนื้อปู เห็ดหอม ถั่วลิสง มีน้ำจิ้ม จิ๊กโฉ่
กุ้งนางสามรส กุ้งนางทอด สีแดงสดสวย น่ากิน ราดด้วยน้ำซ๊อส ๓ รส สีแดง
มีฝักทองสลักเป็นดอกไม้วางประดับ เนื้อกุ้งแน่นเหนียว อร่อยไม่ต้องบรรยาย
ปลาช่อนยำตะไคร้ ใช้ปลาช่อนตัวโต ราดด้วยน้ำยำตะไคร้ หอมแดง ผักชี ต้นหอม
จานนี้เปรี้ยวนำ สาว ๆ ชอบ
ปลากะพงนึ่งซีอิ้ว ใช้ปลาตัวโตใส่มาในกะทะร้อน น้ำเดือด ควันโขมง กลิ่นหอมฉุย
ขนาดโต๊ะ ที่อยู่ข้างหลังต้องบอกบริกรว่าขอสั่งอย่างโต๊ะข้างหน้าจานหนึ่ง
ซดน้ำ ชื่นใจเนื้อปลาขาวนุ่ม
ห่อหทกเนื้อปู ใส่เนื้อปูมาก จานนี้อร่อยเกินบรรยาย
กินปูยังไม่จุใจ สั่งข้าวผัดปูมาอีกจาน ต้นหอมสด เขียวชอุ่มเข้ากันดีนักแล
ของหวาน โอนี แป๊ะก๊วย ข้าวเหนียวนึ่งกับเผือก หวานหอม ใส่แป๊ะก๊วย
..............................................................
|