เรียนรู้ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

0

ดูเอเซียดอทคอม พาเดินเที่ยวในกรุงเทพมหานคร เดินบนถนนชิลล์ๆ ที่ชื่อว่า ถนนราชดำเนิน ถนนเส้นสำคัญของเมืองไทย ที่แม้ว่าหลายคนจะไม่เคยไป แต่ต้องได้ยินชื่อ “ถนนราชดำเนิน” ด้วยเป็นเส้นทางแห่งการเดินทางไปยังพระราชวังต่างๆ สถานที่สำคัญมากๆ ภายในเกาะรัตนโกสินทร์อันเป็นสถานที่อันเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์มากมาย

วันนี้เราพาเพื่อนๆ มาเยือนพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่อาคารอนุรักษ์กรมโยธาธิการเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มาชมความเป็นมาของประวัติศาตร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกันค่ะ

ประวัติความเป็นมา

ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาเป็นหน่วยงานให้บริการทางวิชาการสนับสนุนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิรวบรวมและจัดหาเอกสารจดหมายเหตุ จากแหล่งข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนดำเนินโครงการศึกษาวิจัยชั้นต้น โดยมีศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาเป็นสถานที่เพื่อการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเผยแพร่และให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับพระปกเกล้าศึกษาและพัฒนาการด้านการเมืองการปกครองไทยแก่นักศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าทุกหลักสูตร โดยเฉพาะเมื่อมาเยือนพิพิธภัณฑ์ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปเดิมศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ของอาคารอนุรักษ์ แต่ต่อมาได้มีการปรับปรุงอาคารสถานที่ในปี พ.ศ.2550 ศูนย์ข้อมูลฯจึงย้ายมาอยู่บริเวณชั้น 1 ของอาคารรำไพพรรณีเป็นต้นมา

ประวัติของอาคาร

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ สถาบันพระปกเกล้าได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯ มาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ นอกจากนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารอนุรักษ์ ๓ ชั้น ซึ่งเป็นที่ทำการของกรม จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงตกแต่งอาคารแล้วเสร็จในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาบันฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงอาคาร ๏ฟฝ ชั้น ภายในพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปรับปรุงตกแต่งอาคารใกล้แล้วเสร็จ คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์ฯ ได้หารือเรื่องชื่ออาคารและพิธีเปิดอาคารเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ดังนั้น สถาบันฯจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระนามาภิไธย “รำไพพรรณี” เป็นชื่ออาคารพิพิธภัณฑ์ เพื่อคู่กับอาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่ออาคารที่ปรับปรุงใหม่ว่า “อาคารรำไพพรรณี” ตามที่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต

ในการนี้ สถาบันพระปกเกล้าได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารรำไพพรรณีและนิทรรศการถาวรที่จัดแสดงภายในอาคารในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ภายในพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีนิทรรศการถาวรภายใน โดย แบ่งเป็น

ห้องจัดแสดงชั้น ๑ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติพระราชกรณียกิจ และพระราชจริยวัตรของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ โดยแบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็นพระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์ อภิเษกสมรสการเสด็จพระราชดำเนินประพาสทั้งใน และต่างประเทศการเสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ ประเทศอังกฤษและพระราชกรณียกิจในช่วง ๓๕ ปีสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพโดยจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ วัตถุสิ่งของที่มีความเกี่ยวเนื่อง นำเสนอผ่านแบบจำลองและสื่อผสม (Multimedia)

ห้องจัดแสดงชั้น ๒ จัดแสดงพระราชประวัติก่อนการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เสด็จเข้ารับการศึกษา ณ ประเทศในทวีปยุโรป ทรงพระผนวช ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตร พระราชนิยมด้านต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา และภาพยนตร์ รวมทั้งพระราชประวัติหลังสละราชสมบัติจนกระทั่งเสด็จสวรรคตและการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ประเทศอังกฤษเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๔

ห้องจัดแสดงชั้น ๓ จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉลองพระองค์ พระมาลา และฉลองพระบาทในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชกรณียกิจสำคัญด้านต่างๆ อาทิ การแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยที่สมบูรณ์ การประกวดแต่งหนังสืออสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาเป็นครั้งแรก พระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในคราวฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี นอกจากนี้ยังจัดแสดงแบบจำลองสะพานพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ รวมถึงสิ่งของที่ระลึกต่างๆ ที่จัดทำขึ้นในพิธีดังกล่าว

ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ พิพิธภัณฑ์ฯ ได้จัดแสดง ภาพบุคคล เหตุการณ์ และเอกสารสำคัญ รวมไปถึงการจัดแสดงรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ห้องศาลาเฉลิมกรุง เป็นห้องจัดฉายวีดิทัศน์ และภาพยนตร์ โดยจำลองบรรยากาศการชม ภาพยนตร์ในศาลาเฉลิมกรุงโรงภาพยนตร์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสสมโภชพระนครอายุครบ ๑๕๐ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และพระราชทานชื่อโรงภาพยนตร์ ห้องศาลาเฉลิมกรุงจำลองให้บริการจัดฉายภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ในรัชกาลที่ ๗ และภาพยนตร์เก่าร่วมรัชสมัย ซึ่งทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และหาชมได้ยาก โดยปกติจัดฉายวันละ ๒ รอบ เวลา ๑๐.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ น.

เรียกว่าเพลิดเพลินกับบรรยากาศย้อนยุคภายในพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เรียนรู้ ชื่นชมพระราชกรณียกิจ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ กับนิทรรศการที่ถูกออกแบบให้สวยงามในสไตล์ย้อนยุค ให้เราได้ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน ที่สำคัญ เดินทางไปมาก็สะดวก .. ไม่ว่าจะนั่งรถราง นั่งเรือ ก็ชิลล์ไม่เบา.. อีกทั้ง ถนนเส้นนี้ เดินเล่นได้ตลอดทั้งสาย จะเดินไปตรงไหน ก็แวะได้ตลอดทาง

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวัน (เว้นวันจันทร์ วันปีใหม่ และวันสงกรานต์) ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ ๑๏ฟฝ.๐๐ น.

การเดินทางรถประจำทางสาย ๒, ๑๕, ๔๔, ๔๗, ๕๙, ๏ฟฝ๐, ๑๏ฟฝ๙

รถประจำทางปรับอากาศสาย ๏ฟฝ๐, ๗๙, ๑๘๓, ๕๑๑

เรือโดยสารคลองแสนแสบ ขึ้นที่ท่าเรือผ่านฟ้า

เชิญแสดงความคิดเห็น