การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียนปี 55 : สร้างรายได้สะพัดในไทยกว่า 2,500 ล้านบาท

0

ในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ต่างหันมาให้ความสำคัญในการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพกันมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคภัยต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเยียวยารักษา และเกิดค่าใช้จ่ายตามมาจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการด้านสุขภาพ คือ โรงพยาบาลเอกชนต่างขยายบริการด้านสุขภาพ จากเดิมที่มุ่งเน้นการบาบัดรักษาโรคภัยต่างๆ ให้ครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกันโรคภัยต่างๆ และการฟื้นฟูสุขภาพหลังการบาบัดรักษา รวมไปถึงบริการเสริมความงามเพื่อเสริมบุคลิกภาพที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระยะหลัง

จากกระแสความใส่ใจด้านสุขภาพที่เติบโตอย่างรวดเร็วดังกล่าว ทำให้หน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยต่างให้การสนับสนุนธุรกิจเอกชนที่ให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (ยังขาดความพร้อมของบริการด้านสุขภาพในประเทศ) และกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่มีค่าบริการด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูงรวมทั้งยังต้องรอคิวการใช้บริการนำน

spa

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) คือ การที่ชาวต่างชาติ (ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่านักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีทั้งผู้ปุวยต่างชาติที่เดินทางเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลในอีกประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศพร้อมใช้บริการด้านสุขภาพ อาทิ ตรวจสุขภาพ ทาฟันศัลยกรรมความงาม เป็นต้น ในโรงพยาบาลของประเทศนั้นๆ) เดินทางเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพในอีกประเทศ

ปัจจุบันหลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งสร้างรายได้จำนวนมากเข้าประเทศในแต่ละปี โดยนอกจากการใช้จ่ายสำหรับบริการด้านการแพทย์ของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในโรงพยาบาลเอกชนของไทยแล้ว ยังมีการใช้จ่ายในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยวที่ติดตามมาทั้งจากนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและผู้ติดตามผู้ปุวยต่างชาติ นอกจากนี้ ยังมีการใช้จ่ายในบริการแพทย์ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรค อาทิ นวดแผนไทย และสปาจากสถานบริการนอกโรงพยาบาล ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปของไทยอีกด้วย

ทั้งนี้ จากข้อมูลในการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (พิจารณาเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลเอกชนในไทย)ซึ่งได้ประมาณการว่า ในปี 2555 ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 1,740,000 ล้านบาท (58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 15 ของมูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่สำคัญ คือ สิงคโปร์ ไทย อินเดีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยสิงคโปร์มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด โดยมีสัดส่วนร้อยละ 33 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 90,000 ล้านบาท รองลงมา คือ ไทย สัดส่วนร้อยละ 26 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท และอินเดียสัดส่วนร้อยละ 19 คิดเป็นมูลค่าประมาณกว่า 50,000 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะพัฒนาบริการด้านสุขภาพเพื่อขยายตลาดในต่างประเทศตามหลังสิงคโปร์ แต่ก็นับว่ามีการเติบโตในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีความได้เปรียบในบริการด้านสุขภาพหลายประการ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน โดยเฉพาะความพร้อมในด้านบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความสามารถเชี่ยวชาญโรคเฉพาะทาง และค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ด้วยบริการที่มีคุณภาพในมาตรฐานระดับเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งยังมีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และบริการรองรับด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ซึ่งเกื้อหนุนต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

จากกระแสความใส่ใจในสุขภาพที่มีมากขึ้นตามลำดับ ทำให้โรงพยาบาลเอกชนของไทย ซึ่งเดิมเน้นบริการด้านการรักษาโรคต่างๆหันมาพัฒนาบริการด้านส่งเสริมสุขภาพรวมทั้งบริการด้านเสริมความงาม เพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบจากความน่าเชื่อถือในการให้คาปรึกษาของแพทย์

ขณะที่บริการด้านแพทย์ทางเลือก ซึ่งเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก มีผู้ประกอบการเข้ามาให้บริการเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และพัฒนาบริการส่งเสริมสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยมีบริการนวดแผนไทย และสปา เป็นกิจกรรมที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ให้ใช้บริการเพื่อสัมผัสบริการนวดแผนไทย และบริการสปาที่เลื่องชื่อด้วยสมุนไพรไทย

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการว่า ในปี 2555 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สร้างรายได้สะพัดสู่โรงพยาบาลเอกชน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการใช้จ่ายในด้านอื่นๆของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และผู้ติดตามผู้ปุวยต่างชาติ ที่สะพัดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว (อาทิ ธุรกิจด้านที่พัก อาหารสินค้าของที่ระลึก เป็นต้น) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท รวมทั้งยังมีการใช้จ่ายในบริการแพทย์ทางเลือก (อาทิ นวดแผนไทย และสปา) จากสถานบริการนอกโรงพยาบาล ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วไปของไทย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดการณ์ว่า ในปี 2555 บริการด้านสุขภาพทั้งบริการด้านการแพทย์ และบริการด้านแพทย์ทางเลือก รวมทั้งบริการที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยวของไทย สร้างรายได้โดยรวมเข้าประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการว่า ในปี 2555 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากตลาดอาเซียนสร้างรายได้สะพัดสู่โรงพยาบาลเอกชนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการใช้จ่ายในด้านอื่นๆของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากอาเซียน และผู้ติดตามผู้ปุวยจากอาเซียน ที่สะพัดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยว (อาทิ ธุรกิจด้านที่พัก อาหาร สินค้าของที่ระลึก เป็นต้น) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,370 ล้านบาท รวมทั้งยังมีการใช้จ่ายในบริการแพทย์ทางเลือก (อาทิ นวดแผนไทย และสปา) จากสถานบริการนอกโรงพยาบาลของนักท่องเที่ยวทั่วไปจากอาเซียน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,530 ล้านบาทศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ในปี 2555 บริการด้านสุขภาพทั้งบริการด้านการแพทย์และบริการด้านแพทย์ทางเลือก รวมทั้งบริการที่เกี่ยวเนื่องด้านการท่องเที่ยวของไทย สร้างรายได้โดยรวมเข้าประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ความท้าทายหลัง AEC..ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เติบโตแบบก้าวกระโดด

– ขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนของไทย โดยเฉพาะตลาดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา รวมถึงตลาดนักท่องเที่ยวอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันมีหลายปัจจัยหนุนให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ อาทิ สภาพสังคมและเศรษฐกิจภายในประเทศ

– ขยายตลาดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากนอกภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในประเทศสูงกว่าประเทศในอาเซียนหลายเท่าตัวรวมทั้งประเทศผู้ผลิตน้ำมันในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการเดินทางไปรักษาในสหรัฐอเมริกา ที่เข้มงวดด้านความปลอดภัยมากขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมตึกเวิลด์ เทรดเมื่อ 11 กันยายน 2001

– จุดเด่นในด้านการให้บริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากลของธุรกิจบริการด้านการแพทย์ของไทย เป็นจุดแข็งที่ช่วยสร้างโอกาสในการเข้าไปลงทุน หรือเข้าไปรับบริการโรงพยาบาลเอกชนในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม)

อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีแนวโน้มจะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงของการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการด้านสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนักลงทุนจากประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนจะขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจบริการด้านการแพทย์ทางเลือก ที่มุ่งเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพ(อาทิ ธุรกิจนวดแผนไทย และธุรกิจสปา) และธุรกิจบริการด้านการแพทย์ ซึ่งมุ่งเน้นทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การบาบัดรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการเสริมความงาม (อาทิโรงพยาบาล และสถานให้บริการด้านการแพทย์) รวมถึงธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น ธุรกิจด้านที่พัก อาทิ โรงแรม และ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ศักยภาพของประเทศอาเซียนที่สำคัญ ซึ่งอยู่ระหว่างการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อขยายส่วนแบ่งในตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของภูมิภาคอาเซียน โดยมองจากคุณภาพการให้บริการด้านการแพทย์ และการมีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

สิงคโปร์ แม้ว่าจะเป็นเพียงเกาะเล็กๆที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่รัฐบาลสิงคโปร์ก็ให้การสนับสนุนทั้งด้านเงินทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นและด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเที่ยวตลอดทั้งปี ขณะที่ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศของสิงคโปร์ โดยมีการประสานงานอย่างเป็นระบบของหน่วยงานภาครัฐในการสนับสนุนภาคเอกชน ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ของสิงคโปร์ ให้เป็นการตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับ High-End เนื่องจากการให้บริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยมีชื่อเสียงที่โดดเด่นในด้านคุณภาพของบริการรักษาพยาบาลในระดับแนวหน้าของโลกเป็นจุดขายที่ชัดเจน สิงคโปร์เน้นเจาะลูกค้าที่เป็นองค์กร และขยายจากตลาดกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลางในระยะแรก ไปยังตลาดขนาดใหญ่ในเอเชีย คือ จีน และอินเดีย รวมทั้งกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศอื่นๆ ในยุโรปทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไทยแล้วพบว่าการมีจิตใจในการให้บริการในระดับที่ต่ำกว่าและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าน่าจะเป็นข้อเสียเปรียบของสิงคโปร์ แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยในด้านคุณภาพการบริการด้านการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และความสะอาด ถูกสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมในสิงคโปร์ รวมทั้งความได้เปรียบด้านภาษาต่างประเทศ ทำให้สิงคโปร์ครองส่วนแบ่งในตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในสัดส่วนที่สูงกว่าไทย คือ ร้อยละ 33 เทียบกับร้อยละ 26 ของไทย

ไทย มีปัจจัยหนุนสำคัญ คือ ความคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปทั้งด้านการท่องเที่ยวและด้านสุขภาพ รวมทั้งการมีจิตใจในการให้บริการที่สามารถสร้างความประทับใจ และดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างกลับมาใช้บริการอีก อย่างไรก็ตาม ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศ และภัยธรรมชาติ ยังคงเป็นข้อจำกัดและอาจจะเป็นอุปสรรคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นปลายทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ นับเป็นอีกหนึ่งความ ท้าทายทั้งก่อนและหลังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เนื่องจากแรงงานฝีมืออาจจะเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

มาเลเซีย จุดเด่นของมาเลเซีย คือ ความเป็นชาติมุสลิมที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่นับถือศาสนาอิสลาม จากบรรดาประเทศสมาชิกในอาเซียน และหลายประเทศทั่วโลกซึ่งอาศัยความได้เปรียบด้านวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ขณะที่ค่าบริการด้านสุขภาพถูกกว่าสิงคโปร์ โดยตลาดในภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญ คือ ตลาดนักท่องเที่ยวอินโดนีเซียที่มีกำลังซื้อสูง ขณะที่ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการด้านการแพทย์ และด้านการมีจิตใจในการให้บริการยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำหากเทียบกับประเทศไทย

ฟิลิปปินส์ แม้จะเริ่มพัฒนาบริการด้านสุขภาพเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศหลังไทยและมาเลเซีย แต่ฟิลิปปินส์ก็มีความได้เปรียบด้านทักษะในการสื่อสารภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ถูกส่งไปฝึกอบรมในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ซึ่งน่าจะหนุนให้ฟิลิปปินส์สามารถพัฒนาบริการด้านสุขภาพขึ้นมาทัดเทียมมาเลเซียได้ในไม่ช้า

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เชิญแสดงความคิดเห็น