กฎจราจรที่ควรรู้
คู่มือสอบใบขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์ คลิก!
กฎหมายจราจรที่ใช้เป็นหลักในประเทศไทยก็คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 เหตุผลหลักง่ายๆ ที่ต้องมีกฎหมายจราจรมาใช้บังคับก็เพื่อให้เกิดความสะดวก(รถไม่ติดขัด) และปลอดภัย(ไม่เกิดอุบัติเหตุ) นั่นเอง
1.เขตปลอดภัย หมายความว่า
พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป เช่น บริเวณที่ทาสีขาวกลางถนน หรือที่เรียกว่าเกาะสมมุติ เป็นต้น
2.ที่คับขัน หมายความว่า
ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้า ว่าอาจเกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย
3.เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีแดง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด (เส้นที่ขีดขวางถนน) เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร แล้วให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
4.เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีเหลือง จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและขับผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
5.สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง
ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้
6.สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง
ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้
7.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “หยุด” หมายความว่า รถทุกชนิดต้องหยุดให้รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้วเคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
8.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ให้ทาง” หมายความว่า รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
9.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ให้ชิดซ้าย” หมายความว่า ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเครื่องหมาย
10.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “วงเวียน” หมายความว่า ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียน และรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณ วงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่แล่นอยู่ในรอบวงเวียนผ่านไปก่อน ห้ามขับรถหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในเขตทางรอบบริเวณวงเวียน
11.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ห้ามกลับรถ” หมายความว่า ห้ามมิให้กลับรถไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย
12.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ห้ามแลี้ยวซ้าย” หมายความว่า ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย
13.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ห้ามจอดรถ” หมายความว่า ห้ามจอดรถทุกชนิดในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย
14.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ทางลื่น” หมายความว่า ทางข้างหน้าลื่นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังการลื่นไถล อย่าใช้ห้ามล้อโดยแรงและทันที การหยุดรถ การเบารถ หรือเลี้ยวรถ ในทางลื่นต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
15.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “สัญญาณไฟจราจร” หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ ให้ผู้ขับขี่รถเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที
16.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ทางโค้งซ้าย” หมายความว่า ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอมสมควร และเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง
17.เครื่องหมาย หมายความว่า
เครื่องหมาย “ทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง” หมายความว่า ให้ขับรถให้ช้าลงให้มากและสังเกตดูรถไฟทั้งขวาและทางซ้าย ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอคอยจนกว่ารถไฟนั้นผ่านพ้นไป และปลอดภัยแล้วจึงเคลื่อนรถต่อไปได้ ห้ามมิให้ขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะที่อาจจะเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด
18.รถลักษณะใดที่ห้ามนำมาใช้ในทาง
1. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น รถที่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุด รถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถกำหนด
3. รถที่มีเสียงอื้อึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราม หรือรถที่ใช้ในราชการตำรวจ
5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้า ห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคนขับด้วย)
7. รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปี
8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง
19.ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย
20ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
1. ใบอนุญาตขับรถ
2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
21.ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
1. ให้ผู้ขับขี่รถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถ หรือเส้นหรือแนวที่แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่สวนทางขับผ่านมาก่อน
22การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้ และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนทางมา หากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสวนทางรถขับผ่านมาก่อน
ข้อหาหรือฐานความผิดตามกฎหมายที่ควรทราบ
1. ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538)และการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิด นั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (กรมตำรวจ) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 ก.ค. 40 และเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2540 ตามลำดับ
ข้อหาหรือฐานความผิด
1 นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสีย สุขภาพอนามัย มาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
2 นำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
3 นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่นควัน ละอองเคมี เกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท
4 นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท
5 ขับรถในทางไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างในเวลาที่มีแสง สว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ 150 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 200 บาท
6 ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 300 บาท
7 ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดิน รถไม่ติดธงสีแดง ไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายใน ระยะ 150 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
8 ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิด หรือ วัตถุอันตรายไม่จัดให้มีป้าย แสดงถึงวัตถุ ที่บรรทุก จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ปรับ 300 บาท
9 ขับรถไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจาก รถอันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
10 ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏ ในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
11 ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
12 ไม่หยุดรถหลังเส้น ให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
13 ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ แสดงให้ปรากฏด้วยมือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
14 ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด หรือหยุดรถห่างจากพนักงาน เจ้าหน้าที่น้อยกว่าสามเมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
15 ทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ –
16 ไม่ขับรถที่มีความเร็วช้าให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายในทาง เดินรถที่มีสวนกันได้ ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท ปรับ 200 บาท
17 ไม่ขับรถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ที่มีความเร็วช้าในช่องเดินรถซ้ายสุด ในทางเดินรถที่แบ่ง ช่องเดินรถไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ปรับตั้งแต่ 400-1,000บาท –
18 เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ ปรับตั้งแต่ 400-1,000บาท ปรับ 400 บาท
19 ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
20 ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ –
21 ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ 400 –1,000 บาท ปรับ 400 บาท
22 ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็น สำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ) ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท
23 ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควร ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท
24 ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นขณะขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง ซึ่งไม่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาทปรับ 400 บาท
25 ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท
26 ขับรถออกจากที่จอดเมื่อมีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าโดยไม่ให้ สัญญาณมือหรือแขน หรือสัญญาณไฟ ปรับไม่เกิน 1,000 บาทปรับ 400 บาท 27 กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจร ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท ปรับ 200 บาท 28 กลับรถในระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพาน ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ปรับ 400 บาท
29 กลับรถที่ทางร่วมทางแยก(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้) ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท
30 หยุดรถหรือจอดรถในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
31 ไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
32 จอดรถไม่ขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างเกินกว่า 25 ซม. ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
33 หยุดรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลสมควร ปรับไม่เกิน 500 บาทปรับ 200 บาท
34 หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถโดยไม่มีเหตุผลสมควร ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
35 จอดรถบนทางเท้าปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
36 จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
37 จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือภายในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
38 จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอดปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
39 จอดรถภายในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
40 จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
42 ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับ รถ มิให้เคลื่อนย้าย จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือ ปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ –
43 จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางโดยไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างเพียงพอ ที่จะเห็นรถที่จอดนั้นได้ชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร ปรับตั้งแต่ 200 – 500บาท ปรับ 200 บาท
44 ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท ปรับ 400 บาท
45 ไม่ยอมให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน เมื่อขับรถถึงทางร่วมทาง แยกทีหลัง ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
46 ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดช่วยเหลือแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ เคียง ทันที. จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ –
47 ขับรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร (เว้นแต่ กรณีจะเกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร) ปรับไม่เกิน 1,000 บาปรับ 300 บาท
48 ไม่เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทางเมื่อทางนั้น มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 200 บาท ปรับ 100 บาท
49 เดินข้ามทางนอกทางข้าม เมื่อมีทางข้ามอยู่ภายในระยะ100 เมตร ปรับไม่เกิน 200 บาท ปรับ 100 บาท
50 ขี่ จูงไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
51 วาง ตั้ง ยื่น หรือ แขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
52 ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยมปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
53 โดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยมปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
54 ยินยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับคนขับเกิน 2 คนปรับไม่เกิน 500 บาทปรับ 200 บาท
55 เป็นผู้ขับรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกคนโดยสารรถโรงเรียน รถแท็กซี่ ยินยอมให้ผู้โดยสารขึ้นหรือลง รถยนต์ในขณะที่รถหยุดเพื่อรอสัญญาณไฟ หรือหยุดเพราะติดการจราจร ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท
56 ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง50 เมตร ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
57 กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางอันเป็นการกีดขวางของการจราจรปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
58 ฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับหรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งหรือ ประกาศ ห้าม หยุดหรือ จอด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท
คู่มือสอบใบขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์
ขอขอบคุณ
สมปอง คงนิ่ม ผู้จัดทำหนังสือคู่มือสอบใบขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์