หน้าแรก จัดอันดับ 10 อันดับ ประเทศที่จนที่สุดในเอเชีย

10 อันดับ ประเทศที่จนที่สุดในเอเชีย

0

คุณคิดว่าประเทศไหนที่จนที่สุด ??? ทายถูกหรือไม่ถูกมาชมคำตอบกันเลย…


10 ติมอเรสเต

ติ มอเรสเต หรือติมอร์ตะวันออก ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสมาชิกอาเซียนด้วย ติมอร์มีพื้นที่ทั้งหมด 15,400 ตาราง กม. มีประชากรทั้งหมด 1,134,000 คน มีเมืองหลวงชื่อ Dili และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดด้วย ติมอร์ได้รับเอกราชจากอินโดนีเซียเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม ปี 2002. ติมอร์มีรายได้จากการปลูกและส่งออกกาแฟ ร่วมลงทุนในการค้นหาแหล่งปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ


9 คีกิสถาน

คี กิสถาน ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง ไม่มีทางออกทะเล มีพื้นที่ทั้งหมด 199,900 ตาราง กม. แยกออกมาจากสหภาพโซเวียตรัสเซียเมื่อปี 1991 มีพลเมือง 5,482,000 คน ใช้ภาษา Kyrgyz และรัสเซียน เป็นภาษาราชการ มีเมืองหลวงชื่อ Bishkek รายได้หลักมาจากภาคการเกษตร ทำขนสัตว์ และแร่เหล็ก.


8 ลาว

ลาว เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 236,800 ตร.กม. มีประชากร 6,320,000 คน เมืองหลวงชื่อเวียงจันทร์ (Vientiane) ภาษาราชการคือ ภาษาลาว เศรษฐกิจของลาวขึ้นอยู่กับการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย เวียตนาม และจีนตอนใต้ ปากเซเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านคือไทย ครึ่งหนึ่งของ GDP ลาวมาจากภาคการเกษตร ลาวได้พัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ ประมาณ 18,000 กิโลวัตต์ และ 800 กิโลวัตต์ได้ขายให้ประเทศไทย การท่องเที่ยวในลาวเจริญเติบโตเร็วมาก โดยที่ลาวมีนักท่องเที่ยวแค่ 14,400 คนในปี 1990 และเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 ล้านคน ในปี 2005 และคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของลาวจะเพิ่มเป็น 250 – 300 ล้านเหรียญภายในปี 2020 นี้.


7 เกาหลีเหนือ

เกาหลี เหนือ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี ในเอเชียตะวันออก ทิศเหนือติดกับ จีน และรัสเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 120,540 ตร.กม. มีประชากร 24,051,218 คน มีเมืองหลวงชื่อ Pyongyang ใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาราชการ ระบบเศรษฐกิจของเกาหลี เป็นแบบคอมมิวนิสส์ที่เข้มข้นเช่นเดียวกับคิวบา โดยมีรัฐเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมด รัฐเป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน โดยที่ประชาชนมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 47 USD. รายได้ของรัฐ 43% มาจากอุตสาหกรรม 33.6 % มาจากภาคบริการ… เกาหลีเหนือผลิตเหล็กมากเป็นอันดับ 18 ของโลก และมีถ่านหินสำรองเป็นอันดับที่ 22 ของโลกด้วย.


6 กัมพูชา

กัมพูชา เป็นสมาชิกอาเซียน ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตร.กม. ประชากรทั้งสิ้น 14,805,000 คน มีเมืองหลวงชื่อ Phnom Phen ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ กัมพูชามีเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เป็นอัตราที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ เศรษฐกิจของเขมรขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร เช่นปลูกข้าว ทำการประมง รองลงมาคือภาคการท่องเที่ยว โดยที่เมื่อปี 2007 (ม.ค. – ธ.ค.) มีนักท่องเที่ยวเข้ามา 2.2 ล้านคนเพิ่มขึ้น 18.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับเมื่อปี 2006


5 ทาจิคิสถาน

ทา จิคิสถาน ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง ติดกับอัฟกานิสถานโดยแยกตัวออกมาจากรัสเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 143,100 ตร.กม. ประชากร 7,349,145 คน เมืองหลวงชื่อ Dushanbe ใช้ภาษา Tajik เป็นภาษาราชการ จากการสำรวจเมื่อปี 2009 พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังมีระดับความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล โดย GDP ของประเทศขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร เช่นการทำไร่ฝ้าย พืชผัก ผลไม้ และข้าว ทากิคิสถานมีแร่ทองคำ และเงินเป็นจำนวนมาก


4 บังคลาเทศ

บัง คลาเทศ ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 147,570 ตร.กม. ประชากร 162,211,000 คน เมืองหลวงชื่อ Dhaka ใช้ภาษา Bengali เป็นภาษาราชการ การส่งออกกระสอบเป็นรายได้หลักอันดับหนึ่งของประเทศในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันได้ลดลงไปมาก โดยมีผลิตภัณฑ์จาก Polypropylene เข้ามาแทนที่ ประชากร 2 ใน 3 ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่นการปลูกข้าว ชา และ mustard. รายได้ของประเทศมากกว่า 75 % มาจากผลิตภัณฑ์พวกสิ่งทอ.


3 เนปาล

เนปาล ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ ติดกับอินเดีย มีพื้นที่ทั้งหมด 147,181 ตร.กม. ประชากร 29,331,000 คน มีเมืองหลวงชื่อ Katmandu ใช้ภาษา Nepali เป็นภาราชการ GDP ของเนปาลมาจาก ภาคการเกษตร 40% การบริการ 41% และอุตสาหกรรมอีก 22% โดยที่ประชากร 76% อยู่ในภาคการเกษตร 18% อยู่ในภาคบริการ และ 6% อยู่ในภาคอุตสาหกรรม การส่องออกพวกเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ และกระสอบเป็นส่วนที่นำรายได้เข้าประเทศ.


2 พม่า

พม่า เป็นสมาชิกสมาคมอาเซียน มีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตร.กม. ประชากร 50,020,000 คน เมืองหลวงชื่อ Naypyidaw ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ พม่าเป็นประเทศนึ่งที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมการเกิดของประชากร แต่ระบบเศรษฐกิจของพม่าขยายตัวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคของ ลุ่มแม่น้ำโขงด้วยกัน พม่ามีปัญหาเรื่องระบบสาธารณูปโภค จึงส่งผลถึงผลผลิตมวลรวมที่ทำไม่ได้ดีเท่าที่ควร แม้พม่าจะมีแหล่งน้ำมันมากมาย แต่พม่าก็ยังประสบกับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ประเทศพม่ายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอัญมณี ไม้สัก และอื่นๆ แต่ด้วยระบบการศึกษาที่ยังไม่ดี เลยทำให้พม่ามีปัญหาเรื่องแรงงานที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวม.


1 อัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน ตั้งอยู่ระหว่าเอเชียกลางและอเชียใต้ อยู่ติดกับอิหร่านและปากีสถาน มีพื้นที่ทั้งหมด 647,500 ตร.กม. ประชากร 29,150,000 คน เมืองหลวงชื่อ Kabul ใช้ภาษา Dari (Persian) & Pashto เป็นภาษาราชการ จัดว่าเป็นประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของโลก และได้รับการพัฒนาน้อยที่สุดด้วย มีประชากรว่างานกว่า 35% และกว่า 36%ก็มีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานของโลก 2 ใน 3 ของประชากรมีชีวิตอยู่ด้วยรายได้ที่น้อยกว่าวันละ 2 ดอลล่าสหรัฐ เนื่องจากอัฟกาฯป็นประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม ประชากรส่วนหนึ่งจึงมีงานทำจากชาวต่างชาติที่อยู่ในสงครามนั้น อัฟกานิสถานมีผลิตผลจากการเกษตรพวก ทับทิม องุ่น ผลอพริคอต และแตงโม รายได้ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศมาจากการลักลอบค้ายาเสพติด เช่นกัญชา และฝิ่น และรายได้หลักอีกส่วนมากจากผู้อพยพชาวอัฟกันกว่า 5 ล้านคนที่ส่งเงินกลับประเทศ.

ร่วมแสดงความคิดเห็น