งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาไทย ลาว (ตีช้างน้ำนอง)

0

งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษา ไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ปี 2554 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีเรือยาวจากจังหวัดมุกดาหาร ประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดใกล้เคียง ร่วมชิงชัย 65 ลำเรือโดยเทศบาลเมืองมุกดาหาร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหารและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ประจำปี 2554 ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2554 โดยจะมีพิธีเปิดงานในวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 07.30 น. ก่อนที่จะเริ่มมีการแข่งขันเรือเร็วใน รุ่นเล็ก รุ่นกลาง และรุ่นใหญ่ วันที่ 11-12 ตุลาคม มีเรือยาวจากจังหวัดมุกดาหาร สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและจังหวัดใกล้เคียง มาร่วมชิงชัยรวม 65 ลำเรือ โดยเฉพาะในรุ่นใหญ่ประเภททั่วไป ไม่เกิน 60 ฝีพาย จะเป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สำหรับพิธีเปิดในวันที่ 10 ตุลาคม จะมีการแข่งเรือประเพณีประเภทสวยงาม ประกวดขบวนแห่ และมีผู้แทนจากแขวงสะหวันนะเขต ตลอดจนประชาชนชาวลาว เดินทางมาร่วมงาน ก่อนที่ในวันที่ 13 ตุลาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร จะเป็นผู้แทนนำชาวมุกดาหารและประชาชนชาวไทย เดินทางไปร่วมงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาลาว-ไทย ที่แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษา จังหวัดมุกดาหาร เดิมมีชื่อเรียกว่า “บุญส่วงเฮือ” เมื่อสมัยอดีตกาลครั้งยังเป็นเมืองมุกดาหาร ในปีหนึ่งๆ เจ้าเมืองกินรี จัดให้มีพิธีดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาปีละ 2 ครั้ง คือในวันตรุษสงกรานต์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และในวันสาร์ท ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11ผู้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ ทุกหัวเมืองน้อยใหญ่ จะต้องมาร่วมประกอบพิธีดังกล่าว จะขาดเสียมิได้เพราะถือมีความผิดร้ายแรง  ในการเดินทางมา ร่วมพิธีนั้น ส่วนใหญ่จะเดินทางด้วยเรือซึ่งเป็นยานพาหนะที่สำคัญในยุคสมัยนั้น เนื่องจากมีความสะดวก โดยเฉพาะในวันขึ้น 15เดือน 11 ค่ำ ซึ่งตรงกับช่วงวันออกพรรษา เมื่อประชาชนทุกหมู่บ้านมารวมกันจำนวนมากจึงได้เกิดแนวคิด ในการจัดเรือที่เป็นพาหนะในการเดินทางมาประชันแข่งขันพายเรือกันเพื่อความ สนุกสนาน สมานสามัคคีระหว่างหัวเมืองน้อยใหญ่   ก่อน เริ่มพิธีการแข่งขันทางน้ำเรือทุกลำจะต้องเข้าขบวนเรือ และไปรวมกัน ณ ท่าน้ำจุดใดจุดหนึ่ง จากนั้นจะร่วมกันพายเรือล่องลงมาตามลำน้ำโขง ระหว่างการพายเรือก็จะโห่ร้องเอาฤกษ์เอาชัย  เคาะเกราะ ตีกลอง เป็นจังหวะ ขณะพายจะวิดน้ำขึ้นบนฟ้า  ฝอย น้ำจากไม้พายจะกระเซ็นขึ้นบนอากาศ ตามโบราณเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า คล้ายกับโขลงช้างกำลังเล่นน้ำ จนทำให้บริเวณน้ำแห่งนั้นเป็นคลื่นใหญ่ ซัดเข้ากระทบฝั่ง น้ำล้นตลิ่งและเกิดเสียงดัง คนโบราณจึงเปรียบลักษณะดังกล่าวว่าเป็น พิธี “ตีช้างน้ำนอง”

พิธี “ตีช้างน้ำนอง” กำเนิดขึ้นในงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาที่จังหวัดมุกดาหาร ตั้งแต่ปี 2531  เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย  นายสัมฤทธิ์  โภคสวัสดิ์  นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร จึงมีแนวคิดในการเชิญชวนประชาชนชาวคุ้มต่าง ๆ  ตลอดจนเพื่อนบ้านจากแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษา และสืบสานพิธี ?ตีช้างน้ำนอง? ให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของการแข่งเรือออกพรรษา จังหวัดมุกดาหาร นักท่องเที่ยวที่ต้องการชมความยิ่งใหญ่ในพิธี ” ตีช้างน้ำนอง” สามารถชมได้ในวันแรกของการแข่งขันเรือประเภทความเร็ว คือวันที่ 13 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 น. ที่บริเวณลำน้ำโขง ตลาดอินโดจีน จังหวัดมุกดาหาร

เชิญแสดงความคิดเห็น