แห่นางกระดาน นางดาน นครศรีธรรมราช

0

เทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดาน(นางกระดาน)เมืองนคร(นครศรีธรรมราช) สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์  มหามงคลแห่งชีวิต  พุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์เรียกหาอดีตด้วยมนต์ขลังกับชุมนุมเทพ ตื่นเต้น เร้าใจ กับพิธีแห่นางดาน อลังการตำนานเมืองนคร  หนึ่งเดียวในสยามทริปนี้ ดูเอเซีย.คอม ได้รับการสนับสนุนจาก  งานพัฒนาและส่งเสริมการตลาดภาคใต้  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ (ททท.) พาเที่ยวเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดาน(นางกระดาน)เมืองนคร(นครศรีธรรมราช) ที่มีวันเดียวของปีเท่านั้น  1 ปีมีหนเดียว  และ หนึ่งเดียวในเมืองไทยและในโลก  ที่หาดูไม่ได้ที่ไหนอีกแล้ว ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น  จังหวัดนครศรีธรรมราช  หากใครที่อยากจะได้ชมแบบสดๆกันก็ต้องไปช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น  เพราะเค้าจะมีเฉพาะวันที่ 11-15 ของทุกปี แต่การแห่นางดาน (นางกระดาน ) เมืองนคร(นครศรีธรรมราช)นั้นจะมีวันที่ 14 หรือ 15 ของทุกปี  ปีนี้เป็นวันที่ 15 ดูเอเซีย.คอมจึงได้เก็บภาพความประทับใจมาฝากกันที่หน้าเว็บ  เพราะได้ความดูแลเป็นอย่างดีจากพี่พี่ ททท. ที่ให้เราได้ไปเก็บภาพที่น่าประทับใจในครั้งนี้ และในปีนี้ นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครศรีธรรมราช เป็นผู้เปิดพิธีภายในงาน  และพี่พี่จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สำนักงานภาคใต้ เขต 2 นครศรีธรรมราช มาให้ร่วมงานอีกด้วย 

แห่นางดาน(นางกระดาน) เมืองนคร(นครศรีธรรมราช) เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานแสนนาน  เลยอยากให้เพื่อนๆดูเอเซีย.คอม ได้ร่วมกันสืบสานประเพณีแห่นางดาน(นางกระดาน)เมืองนครนี้ต่อไปด้วยกัน  หากใครพลาดปีนี้ปีหน้าหรือปีอื่นๆก็อย่าได้พลาดเชียว  ถึงแม้จะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ใครหลายๆคนต่างกลับบ้านกัน  หากได้แวะเวียนไปที่เมืองนครแห่งนี้หรือจังหวัดไกล้เคียงที่สามารถเดินทางไปนครศรีธรรมราชง่ายๆก็อย่าพลาดเชียวแหละ  เพราะเห็นแล้วขนลุกเชียว  เพราะถนนทั้งสายนั้นเค้าจะปิดไฟมือไปหมด  ที่เราถามๆชาวบ้านมาป้าเค้าบอกว่า “เป็นการส่องแสงสว่างจากการที่เราจุดเทียนไงลูก”  ได้ยินคำพูดนี้แล้วทำให้เราหลงใหลในเมืองไทยนัก   เพราะเดินทางมาก็มากมายแต่ก็ไม่มีที่ไหนที่ส ู้สยามเมืองยิ้มได้เลย  ไม่ว่าเหนือจรดใต้เราก็ยังได้มิตรภาพดีดีจากชาวไทยของเรา  มืดทั้งสายจากศาลหลักเมืองสู่ภายในการการทำพิธีหอพระอิศวร ประมาณ 2 กิโลเมตรเห็นพอได้  มีชาวบ้านมากมายมายืนรอคอยตามถนนเพื่อที่จะได้ชม พิธีแห่นางดาน(นางการะดาน) ออกมาจากศาลหลักเมืองมุ่งหน้าสู่ลานทำพิธี  ด้านหวามือเป็นลานโล่นที่ได้มีการจัดงานเทศกาลของกินขึ้น  เพราะก่อนงานจะเริ่ม  ทีมงานดูเอเซียได้ไปหาอะไรรองท้องไปก่อนแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นบ้าน ของภาคใต้เองนั้นมีให้เลือกมากมายและที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นหนังลุงของภาคใต้เค้า   เอาเป็นว่าหากใครที่อยากสัมผัสบรรยากาศแบบนี้เองก็ไปได้ที่นี่ที่เดียวเท่านั้นจังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายในงานนั้นมีการโล้ชิงช้า  และการแสดงมากมาย  คนท้องถิ่นเองออกมาเที่ยวชม ประวัตินั้นดูเอเซียได้รวบรวมมาไว้ให้ได้อ่านกันแล้ว ขอให้เพื่อนๆดูเอเซีย.คอมเที่ยวให้สนุกนะคะ  ทีมงานเราได้เก็บ รูป และวีดีโอมาได้ให้ชมกันด้วย  ไม่ไปก็ไม่รู้  เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก  เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้จริง  เมืองไทยใครใครก็รักใช่ไหมคะพวกเรา 

ประวัติเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดาน(นางกระดาน)เมืองนคร(นครศรีธรรมราช)

ประเพณีแห่นางกระดาน (หรือแห่นางดาน) เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวายหรือประเพณีโล้ชิงช้า ที่พราหมณ์ในนครศรีธรรมราชสมัยโบราณที่นับถือพระอิศวรเป็นเจ้าปฏิบัติกันมาในช่วงเดือนยี่ (หรือเดือนบุษยมาส) ของทุกปี เพิ่งจะเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2503 แก่นแท้หรือหัวใจของประเพณีแห่นางกระดาน ก็คือการอัญเชิญเทพชั้นรองสามองค์มารอรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมมนุษยโลกในช่วงวันขึ้น 7 ค่ำ ถึงวันแรมค่ำเดือนยี่ (รวมเวลาเสด็จมาเยี่ยม 10 ราตรี) เทพชั้นรองสามองค์ที่พราหมณ์ในนครศรีธรรมราชอัญเชิญมารับเสด็จนี้ คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระธรณี และพระคงคา เทพดังกล่าวนี้จารึกหรือแกะสลักลงบนแผ่นไม้ขนาดกว้างหนึ่งศอก สูงสี่ศอก ชาวนครเรียกไม้แกะสลักดังกล่าวนี้ว่า “นางกระดาน” เมื่อถึงวันพิธีการพราหมณ์ก็อัญเชิญนางกระดานทั้งสามนี้มายังเสาชิงช้าในหอพระอิศวร เพื่อรอรับพระอิศวรที่จะเสด็จเยี่ยมโลกมาที่เสาชิงช้าดังกล่าว

ขบวนแห่นางดานหรือนางกระดานนี้ยาวจะมาก ส่วนหัวขบวนมีโพธิ์เงินโพธิ์ทองและดวงประทีปถือความหมายของนางกระดาน : นามว่าพระคงคา  พระคงคา เทพองค์นี้เป็นธิดาองค์แรกของพระหิมวัตกับนางเมนา พระสวามีของพระคงคาคือพระอิศวร พระคงคาเป็นเทพผู้อำนวยความชุ่มฉ่ำสมบูรณ์ให้แก่สรรพสิ่ง แต่เดิมอยู่บนสวรรค์ เพิ่งจะลงมาสู่โลกมนุษย์ในครั้งที่ท้าวภคีรถสำเร็จการพิธีอัญเชิญให้ลงมาชำระอัฐิโอรสท้าวสัคระที่ถูกท้าวกบิลบันดาลด้วยฤทธิ์เป็นเพลิงไหม้ตาย จึงจำเป็นต้องใช้น้ำจากพระคงคาบนสวรรค์มาชำระอัฐิ จึงจะหมดบาปไปบังเกิดในสวรรค์ได้อีก

กระดานที่ 2 ของขบวนแห่นางดาน ความหมายของนางกระดาน : นามว่าพระอาทิตย์พระจันทร์ 
พระอาทิตย์ หรือ พระสุริยา เป็นผู้สร้างกลางวัน เป็นผู้ให้แสงสว่างและความร้อน แก่โลกมนุษย์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ด้วยการชักรถม้าเคลื่อนไปในจักรวาลไม่มีวันหยุด ให้พลังงานแก่สรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง ก่อให้เกิดวัฎจักรแห่งดินฟ้าอากาศเป็นฤดุกาล ถือเป็นเทพที่มีคุณูปการต่อการอยู่รอดของสรรพสัตว์พระจันทร์ หรือ “รัชนีกร” เป็นเทพผู้สร้างกลางคืน เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และงดงามอ่อนละมุน ถือเป็นเทพผู้อำนวยให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้พักผ่อนและผสมพันธุ์สืบมาถึงปัจจุบัน

ความหมายของนางกระดาน : นามว่าพระธรณี พระธรณี เทพองค์นี้ มีหน้าที่รองรับน้ำหนักของสรรพสิ่งและพยุงสิ่งทั้งหลายสิ่งที่พระอิศวรสร้างไว้ในจักรวาลให้ดำรงอยู่เป็นเสมือนพ่อแม่ของเทพทั้งหลาย รองรับทุกอย่างโดยไม่รังเกียจ เป็นเทพผู้สะสมคุณงามความดีทั้งปวง เมื่อครั้งที่พระพรหมสร้างโลกและขอให้พระอิศวรไปรักษาโลก พระอิศวรทรงห่วงใยว่าโลกไม่แข็งแรงจึงมีการทดสอบโดยหยั่งพระบาทลงมาซึ่งหากหยั่งทั้งสองพระบาท เกรงว่าโลกจะแตก จึงหยั่งพระบาทมาเพียงข้างเดียว และในการนี้มีพระธรณีได้เข้ามาทำหน้าที่รองรับพระบาทของพระอิศวรเอาไว้ จากพุทธประวัติได้กล่าวถึงเกียรติคุณพระธรณีอยู่ตอนหนึ่งว่า เมื่อวันเพ็ญเดือนหกก่อนพุทธกาล พระยาวัตดีมารมาขัดขวางมิให้พระสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีการโต้เถียงทวงสิทธิ์โพธิบัลลังก์กัน พญามารจึงให้รี้พลย่ำยีพระสิทธัตถะ หวังให้พระสิทธัตถะลุกหนีหรือม้วยมรณ์ เหตุการณ์นี้พระธรณีได้สดับอยู่ เห็นจริงว่าพระสิทธัตถะมีเจตนากระทำเพื่อมวลมนุษย์โดยแท้ จึงปรากฏกายขึ้นข้างบัลลังก์ใต้ร่มโพธิ์ที่พระสิทธัตถะประทับแล้วก็ปิดน้ำในโมฬีแห่งตน กระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศาแห่งพระธรณี นองท่วมประดุจห้วงมหาสมุทร ในที่สุดเสนามารก็ตาย พระสิทธัตถะจึงสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่แบบเก่าของไทย ซึ่งตรงกับเวลาที่ดวงอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ กำหนดตามสุริยคติ ตกวันที่ 13-14-15  เมษายน ของทุกปีเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่มีคุณค่าต่อสังคม ครอบครัว ศาสนาและวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การสานต่อเพื่อคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดีงาม
 
วันที่ 13 เมษายน  ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า “วันเจ้าเมืองเก่า” เป็นวันส่งเจ้าเมืองเก่า ชาวนครศรีธรรมราชจึงทำความสะอาดบ้านเรือน หลังจากนั้นจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง หนึ่งในสามองค์ของประเทศไทย นำมาประดิษฐานที่สนามหน้าเมือง  ให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล
วันที่ 14 เมษายน   ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า “วันว่าง” เชื่อกันว่าเจ้าเมืองยังสถิตย์อยู่บนสวรรค์ ในวันนี้ไม่มีเจ้าเมืองประจำเมืองคุ้มครองรักษา ประชาชนจะร่วมกันทำบุญแล้วนำอาหารและเครื่องบูชา ไปเคารพผู้อาวุโสและพระสงฆ์ ถือโอกาสนี้ขอพรรดน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล วันนี้จะมีการละเล่นพื้นบ้านเพื่อความรื่นเริงและสนุกสนาน
วันที่ 15 เมษายน  วันเถลิงศก เรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” เชื่อกันว่าเจ้าเมืองที่ได้รับมอบหมายให้คุ้มครองเมืองต่างๆ ลงมาประจำเมือง  ชาวเมืองจึงเตรียมการต้อนรับ ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ แล้วนำอาหารไปถวายพระที่วัด นอกจากนั้นยังเป็นโอกาสที่ได้ไปรดน้ำขอพรจากอาวุโสที่ตกค้าง  หากว่าปีใดมีเดือนแปด ๒ ครั้ง ให้ถือว่าวันว่างมี ๒ วัน ดังนั้น วันที่ ๑๓ เมษายน จึงเป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันส่งเจ้าเมืองเก่า และวันที่ ๑๔ และ ๑๕ เมษายน เป็นวันว่าง และวันที่ ๑๖ เมษายน เป็นวันเถลิงศกหรือวันรับเจ้าเมืองใหม่

ประเพณีสงกรานต์  แม้ว่าจะจัดทั่วไปในประเทศไทย แต่สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น จะเห็นได้ว่ามีรูปแบบแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ เพราะจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทั้งทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต  โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ  คู่บ้านคู่เมืองมีพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญเมือง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในสามองค์ของประเทศไทย ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช   สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ในวันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีปฎิบัติที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ  ส่วนทางด้านศาสนาพราหมณ์นั้นมีหออิศวร / หอพระนารายณ์ โบราณสถานเขาคา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวิมานของพระอิศวร ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีสีสันมากยิ่งขึ้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ผนวกเอางานแห่นางดานซึ่งเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทยมาร่วมอยู่ในงานเทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้ความรู้ในเรื่องประเพณีที่เก่าแก่ของศาสนาพราหมณ ์ที่เข้ามาเจริญรุ่งเรืองในนครศรีธรรมราช อีกทั้งสร้างความตระหนักว่านครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่

ประเพณีแห่นางดาน  เป็นประเพณีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวายหรือประเพณีโล้ชิงช้า ถือเป็นการอัญเชิญเทพชั้นรอง 3 องค์ มารอรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ในช่วงเดือนยี่ของทุกปี เชื่อกันว่าเป็นการประสาทพรให้มีความสุขสบาย คุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะเป็นเมืองเกษตรกร ย่อมต้องการให้พระองค์บันดาลความอุดมสมบูรณ์แกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เทพที่อัญเชิญรับเสด็จประกอบด้วยพระอาทิตย์พระจันทร์/ พระแม่คงคา  / พระแม่ธรณี เทพดังกล่าวนี้จารึกหรือแกะสลักลงบนแผ่นไม้ ชาวนครศรีธรรมราช เรียกไม้แกะสลักดังกล่าวนี้ว่า “นางกระดาน” หรือนางดาน เมื่อถึงวันพิธีก็อัญเชิญนางกระดานทั้ง 3 นี้มายังเสาชิงช้าในหออิศวร เพื่อรอรับพระอิศวรที่จะเสด็จเยี่ยมโลกมายังเสาชิงช้าดังกล่าว

 
สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์  มหามงคลแห่งชีวิต  พุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์เรียกหาอดีตด้วยมนต์ขลังกับชุมนุมเทพ ตื่นเต้น เร้าใจ กับพิธีแห่นางดาน อลังการตำนานเมืองนคร  หนึ่งเดียวในสยาม ขอขอบคุณ ณัฐพงค์ สุกกรี หัวหน้างานพัฒนาเเละส่งเสริมการตลาดภาคใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

เชิญแสดงความคิดเห็น