วัดพระพุทธบาทสี่รอย รอยพระพุทธบาทเก่าแก่ที่สุดของไทย

0

4-buddha (16)4-buddha (15)

รอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่ วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  ที่วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึงสี่รอย เรียงจากรอยใหญ่ไปหารอยเล็ก ขององค์สมเด็จพระโลกนาถ สัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์

วัดพระพุทธบาทสี่รอย  มีประวัติศาสตร์ยาวนานน่าศึกษา  ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา สามารถเดินทางเข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันได้ สร้างความเคารพศรัทธาให้แก่ผู้พบเห็นได้ทั้งชาวไทยและต่างชาติอย่างมาก ปัจจุบันมีการบูรณะและสร้างสิ่งก่อสร้างที่สวยงามมากๆ ในบริเวณวัด เช่นพระวิหารหลังใหญ่ใกล้ๆ กับจุดที่ชมพระพุทธบาทสี่รอย ภายในวิหารวิจิตรตระการตาด้วยการแกะสลัก และฝีมือช่างทำลวดลายของวิหาร ทั้งเพดาน และผนังโดยรอบ

4-buddha (23) 4-buddha (24) 4-buddha (26) 4-buddha (27)

4-buddha (28) 4-buddha (29)

4-buddha (25)

ลักษณะถนนที่ใช้ในการเดินทางเป็นถนนลาดยาง สลับคอนกรีต ถนนแคบพอสวนกันได้ มีบางช่วงถนนลาดชันและคดโค้งมากควรบีบแตรบางตามป้ายบอกข้างทาง  และตลอดทางที่เดินทางผ่านจะได้ชมธรรมชาติของอำเภอแม่ริมไปในตัว เช่นขับผ่านทุ่งนาสวยๆ ของชาวบ้าน ผ่านป่าใหญ่ที่เขียวชอุ่มตลอดปี ทำให้เป็นการเดินทางที่รู้สึกอิ่มเอมใจครับ

4-buddha (17) 4-buddha (18) 4-buddha (20) 4-buddha (13)

 

เรื่องเล่าตำนานพระพุทธบาท 4 รอย

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาปัจจุบันนี้ได้เสด็จจารึกประกาศธรรม และโปรดเวไนยสัตว์มายังปัจจัยตะประเทศ (ประเทศไทยในปัจจุบัน)จนกระทั่งมาถึงเทือกเขาทางตอนเหนือของประเทศ ชื่อเขา เวภารบรรพต

ซึ่งขณะนั้นได้เสด็จพร้อมกับพุทธสาวก 500 องค์ และได้แวะฉันจังหันอยู่บนเขา เวภารบรรพตแห่งนี้ เมื่อพระพุทธองค์ฉันจังหันเสร็จ ขณะประทับอยู่ที่นั้น ก็ได้ทราบด้วยญาณสมาบัติว่าบนเทือกเขาแห่งนี้ ได้มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ามาประทับอยู่บนก้อนหินก้อนใหญ่คือ พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ภัทรกัลป์นี้ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูรอยพระพุทธบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ , พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ , พระพุทธเจ้ากัสสปะ

อันมีในที่นี้พุทธสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นประธานเมื่อเห็นเช่นนี้จึงทูลถามว่า พระพุทธองค์ทรงเล็งดูด้วยเหตุใด

พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า ดู ก่อนท่านทั้งหลายสถานที่แห่งนี้แม้นว่าพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในอดีตกาล ก็มาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ทุกๆ พระองค์ และ แม้นว่าพระศรีอริยเมตไตร ก็จักเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี่ และจักประทับรอยพระบาท 4 รอยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว ( คือประทับลบรอยทั้ง 4 ให้เหลือรอยเดียว )

เมื่อพุทธองค์ตรัสแก่สาวกทั้งหลาย เสร็จแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ จึงมีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ จึงเกิดเป็นพระพุทธบาท 4 รอย

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราประทับรอยพระบาทซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นแล้วก็ทรงอธิษฐานว่า

ในเมื่อ (เรา) ตถาคตนิพพานไปแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักนำเอาพระธาตุของตถาคต มาบรรจุไว้ที่รอยพระพุทธบาทที่นี่ ในเมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว 2000 ปี พระพุทธบาท 4 รอยนี้ก็จักปรากฏแก่ปวงชนและเทวดาทั้งหลาย ก็จักได้มาไหว้และบูชา

เมื่อทรงอธิษฐานและทำนายไว้ดังนี้แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปเชตุวันอารามอัน มีในเมืองสาวัตถีนั้นแล เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วเทวดาทั้งหลายก็นำเอาพระธาตุของพระพุทธองค์มา บรรจุไว้ที่พระพุทธบาท 4 รอยเมื่อพระพุทธองค์นิพพานล่วงมาแล้วประมาณ 2000 วัสสา

เทวดาทั้งหลายต้องการอยากให้พระพุทธบาท 4 รอย ปรากฏแก่คนทั้งหลายตามที่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไว้ ก็จึงเนรมิตเป็นรุ้งตัวใหญ่ (เหยี่ยว) ก็บินลงจากภูเขาเวภารบรรพต อันเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธบาทสี่รอยในปัจจุบันนี้เพื่อบินลงไปเอาลูกไก่ของ ชาวบ้าน ( คนป่า ) ที่อยู่ตีนเขาเวภารบรรพต แล้วก็บินกลับขึ้นไปสู่ยอดเขา มันก็โกรธมากจึงตามขึ้นไปคิดว่าจะยิงเสียให้ตาย มันก็คิดตามไปค้นหาดู แต่ก็ไม่เห็นรุ้งตัวนั้น แต่เห็นรอยพระพุทธบาท 4 รอยอันอยู่พื้นต้นไม้และเถาวัลย์

พรานป่าผู้นั้นก็ทำการสักการะบูชาเสร็จแล้วก็ลงจากภูเขา พอมาถึงหมู่บ้านก้เล่าบอกแก่ชาวบ้านทั้งหลายฟัง ข้อความอันนั้นก็ปรากฏสืบๆ กันไปแรกแต่นั้น คนทั้งหลายที่ทราบก็พากันไปสักการะบูชามาก แต่นั้นมาจึงได้ชื่อว่าพระบาทรังรุ้ง (รังเหยี่ยว)

ในสมัยนั้นมีพระยาคนหนึ่งชื่อว่า พระยาเม็งราย เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ ได้ทราบข่าวจึงมีพระราชศรัทธาอยากเสด็จขึ้นไปกราบบูชาพระพุทธบาท 4 รอย ก็นำเอาราชเทวีและเสนาพร้อมกับบริวารทั้งหลาย เมื่อพระยาเม็งรายกราบนมัสการเสร็จแล้ว ก็นำเอาบริวารของตนกลับสู่งเมืองเชียงใหม่ ก็ตั้งอยู่เสวยราชสมบัติตราบเมี้ยนอายุขัย แล้วลูกหลายที่สืบราชสมบัติก็เจริญรอยตามและได้ขึ้นมากราบพระพุทธบาท 4 รอย ทุกๆ พระองค์

หลังจากนั้นมาพระบาทรังรุ้งหรือรังเหยี่ยวนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พระพุทธบาทสี่รอย เพราะมีรอยพระพุทธบาทประทับซ้อนกันถึง4 รอย มาในสมัยยุคหลังคนทั้งหลายจึงเรียกขานกันว่าพระพุทธบาทสี่รอย คือมี

 

รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ ที่ล่วงมาแล้วในภัทรกัลป์นี้ คือ

1 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ รอยแรก เป็นรอยใหญ่สุดยาว 12 ศอก

2 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ เป็นรอยที่ 2 ยาว 9 ศอก

3 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นรอยที่ 3 ยาว 9 ศอก

4 รอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคตะมะ (ศาสนาปัจจุบันนี้) เป็นรอยที่ 4 รอยเล็กสุดยาว 4 ศอก

4-buddha (14)

4-buddha (19) 4-buddha (21)

 

เมื่อมาถึงสมัยพระยาธรรมช้างเผือก ผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยบริวาร 500 คน ก็ขึ้นไปกราบสักการะบูชาพระพุทธบาท 4 รอย และได้สร้างพระวิหารครอบพระพุทธบาทสี่รอยไว้ชั่วคราวโดยแต่เดิมถ้าใครจะดู รอยพระพุทธบาทบนยอดหินก้อนใหญ่ ต้องใช้บันไดพาดขึ้นไป หรือปืนขึ้นไปดูซึ่งก็คงจะขึ้นได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น

ดังนั้นพระยาธรรมช้างเผือกจึงตรัสสร้างแท่นยืนคล้ายๆ นั่งร้านรอบๆ ก้อนหินที่มีพระพุทธบาท สี่ รอย เพื่อที่ผู้หญิงจะได้เห็นรอยพระพุทธบาทด้วย และได้สร้างหลังคาชั่วคราวมุงไว้ ต่อมาในสมัยพระชายาเจ้าดารารัศมีก็ได้ขึ้นไปกราบนมันสการพระพุทธบาท 4 รอย และได้มีพระราชศรัทธาก่อสร้างวิหาร เป็นการกราบบูชารอยพระพุทธบาทไว้ 1 หลัง หลักเล็ก ปัจจุบันได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วทั้งหลัง จะเหลือไว้แค่ผนังวิหาร พื้นวิหารและแท่นพระซื่งยังเป็นของเดิมอยู่

พอมาสมัยเมื่อปี พ.ศ. 2472 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยก็ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย และได้รื้อพระวิหารที่เจ้าพระยาธรรมช้างเผือกสร้างไว้ชั่วคราว และได้สร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ใหม่และได้ลาบปูนครอบรอยพระพุทธบาท ไว้ เพื่อรักษาให้อยู่ค้ำชูพุทธศาสนาไปตลอดกาลนาน

 

ที่ตั้ง

พระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

 

การเดินทาง

เส้นทางที่ 1 เข้าทาง องค์การบริหารส่วนตำบลริมเหนือ ปากทางเข้าห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริมเพียง 2 กิโลเมตร

ทางเข้าที่ 2 สามารถเข้าได้ทางสามแยกปากทางสะลวงห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร ถ้าไม่ชำนาญเส้นทางก็สามารถสอบถามชาวบ้านในพื้นที่ได้ เส้นทางในการเดินทางเป็นภูเขาลาดชัน บางแห่งมีโค้ง และสูงในระดับ 45 องศา หากใครไม่มั่นใจในฝีมือการขับรถ ขอแนะนำว่าอย่าขับขึ้นไปคับ เพราะอันตรายพอสมควร
4-buddha (1) 4-buddha (2) 4-buddha (3) 4-buddha (7)

เชิญแสดงความคิดเห็น