ถนนทุกสายที่มุ่งหน้ามาสู่เมืองคอน ไม่ว่าจะด้วยภารกิจใดก็ตาม แต่ทุกคนล้วนต้องมาสักการะ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งวางตัวอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง เพราะสถานที่แห่งนี้เปรียบดุจดั่งหัวใจหรือศูนย์กลางของเมืองแห่งนี้วัดพระมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวใต้ มีพระบรมธาตุเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ซึ่งมีคำกล่าวว่า “เกิดมาหนึ่งชาติ ขอได้กราบพระบรมธาตุเมืองนคร”
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง มีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน วัดพระ มหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้น วรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประ กาศจดทะเบียน วัดพระมหาธาตุเป็น โบราณ สถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ตาม ตำนานกล่าวว่าสร้างมามากกว่า 1,500 ปี มี ศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย ต่อมาปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นทรงสาญจิ และในปี พ.ศ.1770 พระเจ้าจันทรภาณุ กษัตริย์แห่งนครศรีธรรมราช จึงได้รับเอาพระภิกษุ จากลังกามาตั้งคณะสงฆ์ และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมลังกาอันเป็นแบบที่ ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คือ เป็นทรงระฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอด 37 วา ยอดสุดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 1 ศอก แผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (หรือ 960 กิโลกรัม)
ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีโบราณวัตถุมากมายเก็บรักษาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง ซึ่ง เป็นศิลปะสมัยอยุธยา วิหารพระมหาภิเนษกรม(พระทรงม้า) ทางขึ้นไปบนฐานองค์เจดีย์ วิหารทับเกษตรวิหาร เขียน และวิหารโพธิ์ลังกา ซึ่งเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศ ใน ปีงบประมาณ 2530 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาสภาพกายภาพ วัด มหาธาตุวรวิหารขึ้น คือ ก่อสร้างรั้วพร้อมบ่อต้นไม้ด้านทิศเหนือ และ ทิศใต้ห้องสุขาขนาด 8 ที่ 1 หลัง และ แผ่นป้ายแสดงประวัติ และผังบริเวณวัด ขณะนี้วัดพระมหาธาตุฯ ได้รับการบูรณะใหม่ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ขณะนี้คงเหลือแต่ ส่วนยอดพระบรมธาตุเจดีย์เท่านั้น การบูรณะนี้ดำเนินการโดย กรมศิลปากร
ขอบคุณภาพ phramahathat-heritage.com