นั่งรถไฟสัมผัสอารยธรรมริมฝั่งโขง … จ.อุดรธานีมาพบกันอีกแล้วกับทริปรถไฟ ทริปนี้ดูเอเซีย.คอมจะพานั่งรถไฟสัมผัสอารยธรรมริมฝั่งโขง จ.อุดรธานี นั่งรถไฟชิวชิวเข้าสู่เขตแดนของจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าสู่ หมู่บ้านนาข่า ตลาดผ้าบ้านนาข่า เป็นการรวมกลุ่มทอผ้าซึ่งกลุ่มนี้ทอผ้าบ้านนาข่า เป็นกลุ่มที่ได้ก่อตั้มาเป็นเวลานานแล้ว จนมีการบริหารจัดการได้ในเชิงธุรกิจ จากกลุ่มใหญ่แยกมาเป็นกลุ่มย่อย ในส่วนของอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ญาติพี่น้องแล้วจะส่งมาจำหน่ายที่ร้านของประธาน โดยจะมีเครือข่ายในสิ่งทอตามหมู่บ้านในตำบลนาข่า และหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดจนตำบลใกล้เคียง หมู่บ้านนาข่าอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๖กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวง หมายเลข ๒)หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่าเป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ จากผ้าขิตในราคาย่อมเยา ยังไงก็เพื่อนๆผามาก็อย่าลืมมาซื้อหาผ้าสวยๆกันได้ราคาย่อมเยามากๆคุณภาพระดับ OTOP 5 เลยทีเดียว ตลาดผ้าบ้านนาข่า นักท่องเที่ยวจะได้เยี่ยมชม ช็อปปิ้ง เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าต่างๆ ที่ชาวบ้านทอเองกับมือ นับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ตอนแรกดูเอเซีย.คอมเข้าใจว่าต้องเป็นสถานที่ที่ขายผ้าไหมแบบคนมีอายุเขาใส่กันแน่ๆ วัยรุ่นอย่างเราคงจะไม่ชอบ แต่ไม่ใช่เลย ที่นี่เขามีผลิตภัณฑ์ผ้าไหม และผ้าพื้นเมืองต่างๆที่นำมาตัดเย็บและทำเป็นเสื้อผ้าที่มีรูปทรงที่หลากหาย ทันสมัย ใส่ได้ทั้งชาย หญิง ที่สำคัญวัยรุ่นนำไปใส่ได้แบบเก๋ๆเลย ราคาก็ไม่แพง เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเองจึงขายได้ในราคาถูก เรียกได้ว่าหมู่บ้านนาข่า ที่อุดรธานีแห่งนี้เรียกความครื้นเครงให้กับสาวๆชาวทริปของเราดีเลยทีเดียว
จากนั้นก็มุ่งหน้าเพื่อไปสักการะศาลเจ้า ปู่ – ย่า สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด อุดรธานี ศาลเจ้าปู่ย่า เทพเจ้าแห่งความเมตตา เป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ แผ่เมตตาอนุเคราะห์แก่คนยากไร้ ในบริเวณโดยรอบ มีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง สร้างอย่างวิจิตร สวยงาม อยู่ในเขตเมืองอุดรธานี ด้านทิศตะวันออก ผ่านทางรถไฟแล้วแยกซ้ายมือ (ทางออกไปสกลนคร)และมาถึงเมืองอุดรธานีทั้งที จะไม่ไปที่แห่งนี้ไม่ได้เลย นั่นก็คือ ศาลาหลักเมือง หรือศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี นั่นเองค่ะ เพราะไปเมืองไหนก็ต้องไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ ศาลาหลักเมืองหรือศาลหลักเมืองอุดรธานี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลากลางเมืองอุดรฯ ข้างๆ กับเทศบาลนครอุดรธานีเลยค่ะ หรือที่รู้จักกันดีในนาม ทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี ศาลาหลักเมืองอุดรธานี หรือที่เรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุดรธานี เป็นศูนย์รวมความเคารพและความศรัทธา ซึ่งชาวเมืองอุดรธานีมักจะพากันมาสักการบูชา ในบริเวณศาลหลักเมืองอุดรธานี ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูงได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง และท้าวเวสสุวัณ ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป ตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 โดยอัญเชิญดวงพระวิญญาณของ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นเมือ พ.ศ.2436 มาสถิต ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วย องค์เสาหลักเมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว 5 เมตรเศษ และฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวน เงิน ทองต่างๆเป็นจำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาในปี พ.ศ.2542 ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมไป ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ผสมผสานศิลปะแห่งภาคอีสาน ให้เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา นอกจากนี้บริเวณศาลหลักเมืองยังมีรูปปั้นท้าวเวสสุวัณ 1 ใน 4 ของท้าวจตุโลกบาลผู้ปกครองเหล่าอสูร และยักษ์ ตลอดจนภูตผีปีศาจทั้งหลายอันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอุดร ที่ได้เชิญมาประดิษฐานไว้หลังการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามาสักการะศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้นสามารถบูชาและกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ได้ในหนเดียว
และอีกหนึ่งสถานที่สำคัญต่อไปที่ดูเอเซีย.คอมพามุ่งหน้าสู่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้างเชียง สถานที่สำคัญที่ไม่มาเยี่ยมชมไม่ได้หากมาถึงจังหวัดอุดรธานีแล้ว เพราะที่นี่เขาเป็นแหล่งอนุสรณ์สถานที่จัดขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งได้จัดแสดงหลักฐานต่างๆที่ได้ขุดพบบริเวณพื้นที่บ้านเชียง อันได้แก่ กลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มีการจัดแสดงวัตถุทางโบราณคดีอย่างเป็นสัดส่วนและน่าสนใจไม่น่าเบื่อ ดูเอเซีย.คอมคิดว่าน่าจะเหมาะมากๆสำหรับบุคคลที่สนใจในเรื่องราวของประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในรุ่นบรรพบุรุษเรา แต่แค่เดินชมรอบๆพิพิธภัณฑ์ก็เพลินเพลินตื่นตาตื่นใจแล้ว คนที่ไม่ชอบประวัติศาสตร์มาเยือนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้างเชียง แล้วอาจเปลี่ยนใจก็ได้ สมแล้วที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ร่วมกันขึ้นบัญชี “แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง” ไว้เป็นแหล่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย
ทริปนี้ดูเอเซีย.คอมพานั่งรถไฟตะลุยอีสานดินแดนริมแม่น้ำโขง จังหวัดอุดรธานีกัน