เสาหลักเมืองน่าน ณ วัดมิ่งเมือง

0

วัดมิ่งเมืองน่าน (1) วัดมิ่งเมืองน่าน (13) วัดมิ่งเมืองน่าน (24)

วัดมิ่งเมือง วัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่านครับ ตั้งอยู่ในตัวเมือง บนถนนสุริยพงศ์  หากเดินทางมาถึงเมืองน่านแล้ว อยากให้มาแวะนมัสการพระมิ่งเมือง และศาลหลักเมืองกันก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคลครับ พร้อมกับเรียนรู้ประวัติวัดมิ่งเมืองที่สวยงามแห่งนี้กัน วัดมิ่งเมืองก็คือ สถานที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน มาที่ก็จะได้ไหว้พระและเสาหลักเมืองด้วยครับ

ประวัติของวัดมิ่งเมือง 

เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัดใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง ต่อมาปี 2527ได้มีการรื้อถอนและสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยแบบในปัจจุบัน

วัดมิ่งเมืองน่าน (14) วัดมิ่งเมืองน่าน (15) วัดมิ่งเมืองน่าน (16) วัดมิ่งเมืองน่าน (19) วัดมิ่งเมืองน่าน (20) วัดมิ่งเมืองน่าน (21) วัดมิ่งเมืองน่าน (3)

จารึกการสร้างอุโบสถล้านนาวัดมิ่งเมือง

สาธุเจ้าท่านพระครูสิริธรรมภาณี (เสน่ห์ ฐานสิริ) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง รองเจ้าคณะอำเภอเมืองน่าน เป็นองค์ประธานสร้างอุโบสถหลังนี้ โดยได้รื้อถอนอุโบสถหลังเก่า และสร้างหลังใหม่นี้ขึ้นในที่เดิม ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพุธ ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2529 (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 เหนือ) เวลา 13.19 น. โดยมีท่านพีรพล จันทร์สว่าง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดน่าน เป็นประธานวางศิลาฤกษ์

อุโบสถนี้ออกแบบสร้างตามจินตนาการของท่านเจ้าอาวาส การก่อสร้างตัวอาคารฝีมือสล่า (ช่าง) พื้นบ้านเมืองน่าน ลวดลายปฏิมกรรม ปูนปั้น โดย สล่าเสาร์แก้ว เลาดี (สกุลช่างเชียงแสนโบราณ) ภาพวาดจิตรกรรมฝาพนังในอุโบสถ เป็นภาพตำนานประวัติเมืองน่าน โดยคุณสุรเดช กาละเสน (จิตรกรพรสวรรค์พื้นบ้านเมืองน่าน)

องค์พระประธาน

พระประธานในอุโบสถเป็นองค์เดิมคู่มากับวัด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 เป็นพระพุทธรูปปั้น ลงรักปิดทองทั้งองค์ ใช้เวลาปั้นประมาณ 5 ปี จึงแล้วเสร็จ เป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์ 1 ซึ่งได้ทำการซ่อมแซมมาถึง 4 ครั้งมีอายุถึง 400 กว่าปี ซึ่งครั้งหลังสุด ช่างที่ก่อสร้างได้เพิ่มขนาดขององค์พระให้ใหญ่ขึ้น โดยมีหน้าตักกว้างขนาด 80 นิ้ว มีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสนสิงห์ 1 ยุคต้นโดยเฉพาะที่ยอดพระเกตุโมฬีเป็นรูปดอกบัวตูมแกะสลักจากหินแก้วจุยเจียหรือแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นหินที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาเท่านั้น

วัดมิ่งเมืองน่าน (15) วัดมิ่งเมืองน่าน (2)วัดมิ่งเมืองน่าน (18)

วัดมิ่งเมืองน่าน (8) วัดมิ่งเมืองน่าน (12) วัดมิ่งเมืองน่าน (23)

อุโบสถล้านนาหลังนี้ มีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 18,000,000 บาท สวยงามมากๆ ครับ

ลักษณะเด่น

ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ มีความสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นฝีมือตระกูลช่าง เชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่าง ท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลัก เป็นรูป พรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

วัดมิ่งเมืองน่าน (22)
ลวดลายวิจิตร งดงามมากครับ

เสาหลักเมืองน่าน

ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “เสามิ่งเมือง” เดิมเป็น ไม้สักทองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ ฟุต สูง ประมาณ ๓ เมตร ลักษณะเป็นเสาทรงกลมส่วนหัวเสาเกลาเป็น ดอกบัวตูมฝังไว้กับพื้นที่ดินโดยตรง ไม่มีศาลหรืออาคารครอบ แต่อย่างใด สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างขึ้นในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เหตุเพราะแต่ก่อนมานั้นเมืองน่านไม่มีคติ การสร้างเสาหลักเมือง

วัดมิ่งเมืองน่าน (4) วัดมิ่งเมืองน่าน (5) วัดมิ่งเมืองน่าน (7)

ประวัติ เสาหลักเมืองน่าน และศาลหลักเมืองน่าน

เสาหลักเมืองน่าน สร้างขึ้นโดย สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าครองนครน่าน องค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาหลักเมือง ณ วัดมิ่งเมือง แห่งนี้ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2333 เดิมมีลักษณะเป้นเสาไม้สักทองขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เมตร ทรงกลม หัวเสาเกลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตัวเสาฝังลงกับดินโดยตรงไม่มีศาลครอบ

ในปี พ.ศ.2506 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ กระแสน้ำในแม่น้ำน่าน ได้ไหลบ่าทะลักเข้าท่วมถึงตัวเสาหลักเมือง ทำให้เสาหลักเมืองโค่นล้มลง เพราะรากเสาผุกร่อนมาก เนื่องจาก ฝังกับพื้นดินมานานกว่าร้อยปี ต่อมาทางวัดมิ่งเมือง พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวบ้านมิ่งเมือง ได้ร่วมกันก่อเสาหลักเมืองน่านจำลอง ด้วยอิฐถือปูนขึ้นในสถานที่เดิม

วัดมิ่งเมืองน่าน (9) วัดมิ่งเมืองน่าน (10) วัดมิ่งเมืองน่าน (11)

ถึงปีพุทธศักราช 2514 ดร.สุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน คนที่ 27 ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวน่านทั้งปวง ร่วมกันสร้างเสาหลักเมืองน่าน และสร้างศาลไทยจัตุรมุขครอบเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ โดยได้นำเอาเสาหลักเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มลงนั้น มาเกลาแต่งใหม่และสลักหัวเสาเป็นพรหมสี่หน้า

เชิญแสดงความคิดเห็น