ทริปนี้ พาเพื่อนไปเที่ยวทำบุญไหว้พระให้จิตใจ สงบ หน้าตาผ่องใส แถมยังได้กินลมชมวิวกับบรรยากาศที่เย็นสบายบนภูเขาทองที่มองเห็นวิวทิวทัศน์ของกรุงเทพได้อย่างชัดเจน ที่วัดกระเกศราชวรมหาวิหารตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานครเรานี่เอง
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่า วัดสะแก มีตำนาน เนื่องใน พงศาวดารเมื่อปีขาลจัตวาศกจุลศักราช 1144 พุทธ ศักราช 2325 ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร วัดสระเกศมีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
เดิมมีชื่อว่า “วัดสะแก” เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก มีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช1134 เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช 2326 นั้นพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งพระบรมมหาราช วังและพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพู เรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลอง หลอดแลขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค
เพื่อให้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาใน เทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาและวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหานาค แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า”วัดสระเกศ”และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศ ทั้งพระอารามตั้งต้น แต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์และขุดคลองรอบวัดอีกด้วย คำว่า “สระเกศ” นี้ ตามรูปคำ ก็แปลว่าชำระหรือทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง
มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า”รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณะปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร”ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า”ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำเล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า ‘วัดสระเกศ’
ที่เห็นได้ชัดเจนคือพระเจดีย์สูงเด่นเป็นสง่าบนภูเขาภายในวัดเรียกกันว่า พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง สร้างเป็นรูปภูเขา มีพระเจดีย์อยู่บนยอด มีบันไดเวียนเป็นทางขึ้นไปถึงพระเจดีย์ 2 ทางคือด้านเหนือทางหนึ่ง ด้านใต้ทางหนึ่ง สำหรับขึ้นและลงคนละทางเพื่อสะดวกในเวลาเทศกาล ฐานโดยรอบวัดได้ 8 เส้น 5 วา ส่วนสูง 1 เส้น 19 วา 2 ศอก หรือ ประมาณ 77 เมตร บรมบรรพตนี้ นับว่าเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง และเป็นสมบัติทรงคุณค่าของชาติอีกด้วย
การเดินขึ้นบน ภูเขาทองจะแบ่งได้ประมาณ 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เดินขึ้นไปก็ไม่ไกลมาก จะมีจุดแวะพักเป็นร้านกาแฟอยู่ทางด้านขวามือไว้พักสำหรับผู้สูงอายุที่เหนื่อยจากการเดินขึ้นภูเขาทองได้แวะพักให้หายเหนื่อย และมีลานไว้ตีระฆังเป็นแถวตามเส้นทางเดินทางด้านซ้ายมือ ต่อด้วยตีฆ้องขนาดใหญ่ยักษ์ ซึ่งมีเสียงดังกังวานทั่วภูเขาทองเลยทีเดียว
ช่วงที่ 2 เดินขึ้นมาประมาณครึ่งของภูเขาทองจะเห็นวิวทิวทัศน์ของบริเวณวัดและวิวทิวทัศน์บริเวณใกล้เคียงได้อย่างชัดเจน ตลอดทางเดินจะมีระฆังและม้านั่งคอยบริการไว้ แวะพักชมวิวให้หายเหนื่อยสักหน่อย จากนั้นเดินขึ้นไปอีกนิดเดียวก็จะถึงโชนด้านบนของถูเขาทองแล้ว
พอขึ้นมาถึงบริเวณด้านบนของถูเขาทองก็หายเหนื่อยครับเพราะด้านบนนี้อากาศเย็นสบายลมพัดโกรกตลอดเวลาแถมยังมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้รอบๆทุกด้านอีกต่างหากภายในก็จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าตั้งไว้ตรงกลางสามารถเดินขึ้นไปสักการบูชาได้ ตรงบริเวณทางเดินรอบๆก็จะมีพระพุทธรูปไว้ให้กราบไหว้บูชาตลอดทางเดินและยังมีที่นั่งไว้นั่งชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามถือว่าเป็นการพักผ่อนไปในตัวอีกด้วย
นอกจากภูเขาทองแล้วภายในวัดยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการบูชาอีกมากมาย อาทิ เช่น รูปหล่อสมเด็จพระพุทฒาจารย์ โต พระพุทธรูป หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปิดทองสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าตกกว้าง 7 ศอก 1คืบ ส่วนสูง 10 ศอก นับเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะ ที่ใหญ่มากองค์หนึ่ง เลยทีเดียว พระพุทธบาท ซึ่งตั้งอยู่บนถัดจากพระวิหาร หลวงพ่อโต นอกจากนั้นยังมี พระตำหนักสมเด็จฯตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหาร และต้นโพธิ์ลังกา ต้นใหญ่มาก และอื่นๆอีกมากมาย ฯลฯ