วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร

0

วัดอรุณ ประวัติ ศิลปะล้านช้าง Temple of Dawn กรุงเทพฯ บางกอกใหญ่ สวัสดีค่ะเพื่อนดูเอเซีย.คอม วันนี้ดูเอเซียขออาสาพาไปเข้าเข้าวา ทำบุญเสริมบารมีให้ตัวเองซะหน่อย แล้ววัดที่ดูเอเซียจะพาไปชมนี้ ก็คือ วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร นอกจากเราจะได้ทำบุญแล้ว ยังจะได้เป็นความยิ่งใหญ่ สวยงามของวัดที่เรียกได่ว่าเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานครอีกแห่งหนึ่ง ที่ได้รับความนอยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก เพราะใครที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมที่วัดแห่งนี้แล้ว ก็จะต้องนำความประทับใจกลับไปบอกต่อๆกันอย่างแน่นอน หากเราเรียกว่าวัดอรุณ นักท่องเที่ยวต่างชาตคงจะทำหน้างงๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวต่างชาติจะรียกวัดแห่งนี้ว่า Temple of Dawn ต่อไปหากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาถามหา Temple of Dawn หวังว่าเพื่อนๆคงจะรู้จักกันแล้วนะคะ วัดอรุณฯแห่งนี้สามารถเข้ามาได้ทั้ง 2 ทางบกและทางน้ำ แต่วันนี้ดูเอเซียขอมาทางน้ำแล้วกันค่ะ โดยการโดยสารเรือข้ามฟากมาจากฝั่งท่าเตียน ค่าโดยสารคนละ 3 บาท เท่านั้นค่ะ ทั้งสองฝั่งก็จะมีจุดจำหน่ายตั๋วให้นักท่องเที่ยว ราคาคนละ 50 บาท แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ สำหรับคนไทยไม่เสียค่าบริการเลย ฝั่งทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีร้านขายของที่ระลึก และมีร้านให้เช่าชุดไทย พร้อมบริการถ่ายรูปลงกรอบรูปให้นักท่องเที่ยวด้วยค่ะ แต่ฝั่งถ.อรุณอัมรินทร์ จะค่อนข้างเงียงแล้วของขายก็ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ จะมีก็แต่นักท่องเที่ยวที่มาโดยรถยนต์ หรือรถตู้ นอกนั้นก็มักจะเลือกทารเดินทางทางเรือมากกว่าเพราะจะได้เห็นวัดอรุณฯแบบไกล เต็มๆตา และยังเก็บภาพในมุมที่สวยงามกว่า

การแต่งกายเข้าวัดนี้ ก็เหมือนๆกับการไปวัดอื่นค่ะ ก็คือ ไม่นุ่งกางเกง หรือกระโปรงสั้นๆ สวมเสื้อมีแขน แต่ถ้านักท่องเที่ยวที่ไม่ได้เตรียมตัวมา ทางวัดก็มีบริการให้เช่าผ้านุ่งได้ค่ะส่วนประวัติของวัดอรุณราชวราราม ทางเวปไซด์ วิกิพีเดีย ได้บอกไว้ว่า

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก” เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลางพระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง ไว้ในมณฑป  และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง  ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทานพระนามวัดว่า “วัดอรุณราชธาราม”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้ ๕ เส้น ๓๗ วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า”วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงินที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่าด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า “โรงเรียนทวีธาภิเศก” นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม ๓ งานพร้อมกันเป็นเวลา ๙ วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ในวันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์และฉลองวัดและพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ครั้นถึงรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันการเดินทาง :

วัดอรุณราชวราราม ตั้งอยู่ที่ 34 ถ.อรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย 19 57 83 ลงป้ายวัดอรุณราชวราราม หรือทางเรือข้ามฟากจากท่าเตียน หน้าวัดโพธิ์มายังวัดอรุณฯ หรือนั่งเรือนำเที่ยวมาจากวัดระฆังโฆสิตารามเป็นเส้นทางเรืออีกทางหนึ่ง ต้องการสอบถามเส้นทางรถเมล์ โทร 184

เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 05.30 – 19.30 น.
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่วัดอรุณราชวราราม โทร 02-8911149

ขอบคุณภาพ lib.thapra.su.ac.th

เชิญแสดงความคิดเห็น