ทริปนี้ดูเอเซียดอทคอมขอพาเพื่อน ๆ เปลี่ยนบรรยากาศการท่องเที่ยวสักหน่อย อยากให้เพื่อน ๆ ดูเอเซียดอทคอมลองเปลี่ยนแนวคิดเดิม ๆ จากเดินเขา เดินชายหาด มาเดินเล่นในแหล่งเกษตรกรรมกันบ้าง เพราะสมัยนี้วัยรุ่นยุคใหม่เริ่มที่จะห่างเหินจากอาชีพการเกษตรกันมากขึ้น ด้วยวัฒนธรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ก้าวไกล ทำให้มนุษย์หันมาใส่ใจการทำเกษตรที่เป็นรากเหง้าของบรรพบุรุษเรากันน้อยลงไปทุกที่ แต่วันนี้ยังมีบุคคลท่านหนึ่งที่เห็นคุณค่าของงานวิจัยทางการเกษตรและการรักษาวิธีชีวิตแบบพอเพียงไว้ “นางทิวาพร ศรีวรกุล” ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ได้เปิดศูนย์อบรมแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการปลูกฝั่งให้วัยรุ่นยุคใหม่และชาวบ้านเกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม เกิดมาจากแรงบันดาลใจที่ได้มาจากการดำเนินการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาทำ การเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากเดิมที่ตนเองทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 30ปี ตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบันโดยเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าเต่าดำ เพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า การทำแนวป้องกันไฟป่า และการดูแลรักษาสัตว์ป่าที่บาดเจ็บในพื้นที่ป่าเต่าดำ จังหวัดกาญจนบุรี จนกระทั่งปี 240 เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ทิวาพรและเครือข่ายป่าต้นน้ำจ.กาญจนบุรี เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดการพึ่งพาป่าให้มากที่สุด โดยพบว่าเกษตรกรทั้งที่อยู่อาศัยรอบๆ ป่าต้นน้ำและเกษตรกรทั่วไปต่างประสบปัญหาที่เหมือนกันคือ มีหนี้สินจากค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง, สภาพดินเสื่อมโทรมจากปุ๋ยและสารเคมี, มีการบุกรุกพื้นที่ป่าและย้ายพื้นที่เพาะปลูกจากสภาพดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงการใช้จ่ายที่ไม่มีการวางแผน ส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย
จากแนวคิดเรื่องการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน การเกษตรอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียง ของเครือข่ายป่าต้นน้ำ จ.กาญจนบุรี ทำให้ทิวาพร ผุดต้นแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ ให้เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นเกษตรธรรมชาติ หรือการวางแผนการใช้ชีวิตที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เน้นแนวคิดการพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิดเรื่องการฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรป่าชุมชน การเกษตรอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียง ของเครือข่ายป่าต้นน้ำ จ.กาญจนบุรี ทำให้ทิวาพร ผุดต้นแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ ให้เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นเกษตรธรรมชาติ หรือการวางแผนการใช้ชีวิตที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เน้นแนวคิดการพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันศูนย์กสิกรรมท่ามะขาม ดำเนินงานภายใต้เครือข่ายป่าต้นน้ำ จ.กาญจนบุรี เป็นศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์แบบธรรมชาติ เปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านปฏิบัติการ มีการลงแปลงสาธิตจริง สามารถนำกลับไปทำเองได้ เน้นการพึ่งพาตนเองอย่างเป็นระบบ และมองการเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
หวังให้เป็นอีกทางเลือกของความอยู่รอดของชุมชน การฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ทางศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม บนเนื้อที่ทั้งหมด 14 ไร่ ได้แบ่งฐานเรียนรู้ทั้งหมดออกเป็น 8 ฐาน คือ 1. ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 2. ฐานเกษตรธรรมชาติ 4. ฐานปุ๋ยชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง 5. ฐานก๊าซชีวภาพ 6.ฐานน้ำส้มควันไม้ 7. ฐานการแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ เป็นฐานการเรียนรู้วิธีการทำแหนมปลา ปลาส้ม ขนมกุยไช และข้าวเกรียบฟักทอง และเรียนรู้การผลิตอาหารให้กับสัตว์ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน และ8.ฐานน้ำยาอเนกประสงค์ เป็นการนำเปลือกมะนาว มะกรูด สับปะรด เศษมะขามเปียก ของเปรี้ยวทุกชนิด นำมาหมักกับน้ำตาลทรายแดง ให้ได้ระยะ แล้วนำน้ำหมักจุลินทรีย์มาผสมกับน้ำด่าง ( ขี้เถ้าแช่น้ำสะอาดประมาณ 15 วัน ) เกลือ และN 70 ตามสูตร จะได้น้ำยาอเนกประสงค์ไว้ใช้ ทั้งล้างจาน ซักผ้า ถูบ้าน ล้างห้องน้ำ และใช้เป็นยาสระผม เป็นต้น
ตราบใดที่สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่คู่กับชีวิตที่พอเพียงของชาวเกษตรกร ในรุ่นต่อ ๆ ไป วัฒนธรรมและการเป็นอยู่ก็จะยังคงอยู่ต่อไปแบบพอเพียง ไม่ต้องดิ้นรน ไขว่ขว้า ตามโลกยุคสมัยใหม่ หลังจากที่ได้มาที่นี้ เราได้ค้นพบเลยว่า “ชีวิตที่พอเพียง คือชีวิตที่เป็นสุข” อยากให้เพื่อน ๆ ดูเอเซียดอทคอมถ้ามีโอกาสลองแวะมาเยี่ยมชม แหล่งวิถีชีวิตที่พอเพียงนี้ดูแล้วเพื่อน ๆ จะได้อะไรกลับไปเยอะกว่าความรู้แน่นอน