สยามสแควร์แหล่งแฟชั่นใจกลางกรุง

0

วันนี้พาเพื่อนๆ มาเที่ยวแหล่งแฟชั่นของวัยรุ่นใจกลางกรุงเทพฯ สยามสแควร์ถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญใจกลางกรุงเทพฯเป็นย่านที่มีการค้าขายและสถานที่สำคัญ กิจการร้านค้าที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์มากมายวันนี้เราจะไปเยี่ยมชมบรรยากาศสยามสแควร์กันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง

siam (1) siam (2) siam (3) siam (6) siam (7)

สยามสแควร์ ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และธุรกิจมีการแข่งขันต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายนอก รูปแบบอาคารอยู่เสมอ แต่ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ ก็ย่อมเสื่อมสภาพและทรุดโทรมตามกาลเวลา ปัญหาที่ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องประสบอยู่ เช่น สภาพภายนอกอาคารเก่า ทางเดินเท้าที่แคบและชำรุด ความสกปรกของระบบการระบายน้ำเสีย ปัญหาน้ำท่วม การวางระบบสาธารณูปโภคที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่นสายไฟฟ้าหรือโทรศัพท์และระบบการกำจัดขยะ เป็นต้น ซึ่งมีการแก้ปัญหาเป็นบางส่วน แต่ระบบสาธารณูปโภคโดยรวมยังไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว

เดิมสยามสแควร์ใช้ชื่อว่า ปทุมวันสแควร์ มี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สยามสแควร์ และในขณะนั้นฝั่งตรงข้ามกำลังสร้างโรงแรมสยามอินเตอร์-คอนติเนนตัล ซึ่งเดิมทีจะใช้ชื่อโรงแรมว่า บางกอกอินเตอร์-คอนฯ แต่แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลในเวลาไล่เลี่ยกัน (ปัจจุบัน ได้ถูกทุบและก่อสร้างใหม่เป็นสยามพารากอน) และศูนย์การค้าที่สร้างใหม่ในบริเวณนั้น ก็ตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน คือ สยามเซ็นเตอร์ มีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถ ระบบสาธารณูปโภค และอาคารขนาดใหญ่ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์ จำนวน 3 โรง โรงโบว์ลิ่ง ธุรกิจที่เข้ามาเปิดดำเนินการส่วนใหญ่เป็นร้านอาหาร ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า และร้านตัดผม ซึ่งย้ายหรือขยายสาขามาจากย่านอื่น เช่น วังบูรพา สุรวงค์ สีลม จุดเด่นของสยามสแควร์อยู่ที่มีโรงหนังถึง 3 โรง คือ สยาม และลิโด สร้างก่อน แล้วต่อมาจึงสร้าง สกาลา บริเวณโรงหนังสกาลา เดิมจะทำเป็นไอซ์สเก็ตติ้ง แต่มีปัญหา จึงเปลี่ยนมาเป็นโรงหนังแทน และได้กลุ่มเอเพ็กซ์ ของ คุณพิสิษฐ์ ตันสัจจา เข้ามารับผิดชอบ ส่วนโรงโบว์ลิ่งได้ กลุ่มเจริญรัชตะภาคย์ เครือโรงแรมเพรสิเด้นท์ มาดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อโรงโบว์ลิ่งออก สร้างเป็นโรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์

siam (13) siam (15) siam (16) siam (17) siam (18) siam (19) siam (20)

ธุรกิจในสยามสแควร์มีความหลากหลาย ทั้งโลกของแฟชั่น อาหาร พื้นที่โฆษณา โรงเรียนกวดวิชา สังคมเด็กแนว หรือในแวดวงทางการธุรกิจการตลาด เป็นสถานที่ที่มีการทดลองสินค้า และกิจกรรมการตลาดแบบแปลกใหม่และเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่ง มีจำนวนคนเดินในสยามสแควร์ในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 20,000 คน วันหยุดไม่ต่ำกว่า 50,000 คน ซึ่งแต่ละคนมีกำลังซื้อเฉลี่ย 1,000 บาท/ครั้ง/คนสื่อโฆษณา แบบแปลกๆ ในสยามสแควร์พื้นที่บริเวณสยามสแควร์ นอกจากเป็นสนามทดลอง การประชาสัมพันธ์ของแบรนด์สินค้าใหม่ ๆ และบริการต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสื่อใหม่ ๆ ที่มึความคิดสร้างสรรค์แปลก ๆ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าต่าง ๆ ให้เป็นที่สะดุดตาของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย

ปัจจุบันนี้สื่อขนาดใหญ่และเด่นที่สุดในพื้นที่สยามสแควร์คือจอ LED ขนาด 4 * 4.5 เมตร มีชื่อเรียกว่า “Shaker Screen” จอนี้ติดตั้งอยู่บนตึกแถวขนาด 4 ชั้น บริเวณร้านมิลค์พลัส ตรงข้ามลานน้ำพุเซ็นเตอร์พ้อยท์ ซึ่งมีการลงทุนสูงกว่า 25 ล้านบาท มีการประเมินว่าทุก ๆ 3-5 นาทีจะมีคนแหงนหน้ามอง ในรูปแบบของรายการเพลง และศิลปินคนดัง ซึ่งมีภาพเคลื่อนไหวตลอดทุก ๆ 15-30 นาที มีระบบเสียงรอบทิศที่มีรัศมีความดังตั้งแต่สยามสแควร์ ซอย 1-7 และมีระยะการชมประมาณ 10-20 เมตร

siam (23) siam (24) siam (25) siam (26) siam (27) siam (28) siam (30) siam (22)

สยามสแควร์ ยังเป็นศูนย์รวมร้านอาหารนานาชาติ และร้านอาหารมากมายและเครื่องดื่ม ที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 67 ไร่ มีจำนวนร้านมากถึง 150 ร้านไม่ว่าจะเป็นข้าวแกงราคาถูกจนถึงอาหารราคาแพง ในส่วนของชื่อร้านจะถูกตั้งตามสมัยนิยม อย่างเช่นร้านอาหารเมื่อหลายสิบปีก่อน มักจะมีคำว่า เฮ้าส์ ห้องอาหาร ภัตตาคาร อาทิ ยูเอฟเอ็ม เบเกอรี่ เฮ้าส์ นิวไลท์ คอฟฟี่เฮ้าส์ ภัตตาคารหูฉลามสกาล่า และรสดีเด็ด เป็นต้น

เวลาเปิด-ปิดของร้านอาหารในสยามสแควร์ บางร้านอาจเริ่มตั้งแต่หกโมงเช้าเพื่อรองรับมื้อแรกของคนทำงานย่านนั้น เช่น โจ๊ก แต่ส่วนใหญ่จะเปิดบริการก่อนเที่ยงวัน และมีบางร้านปิดบริการเมื่อเข้าสู่วันใหม่ และมีหลายร้านที่เปิดถึง 12 ชั่วโมง เช่น ภัตตาคารหูฉลามสกาล่า เปิดบริการตั้งแต่ 11.00-23.00 น.

siam (33) siam (34) siam (35) siam (38) siam (39) siam (40) siam (31) siam (32)

สำหรับร้านอาหารแบรนด์ชื่อดัง อย่างเช่น ห้องอาหารสีฟ้า ที่เปิดที่สยามสแควร์มากกว่า 31 ปี (ในปี 2550), เอ็มเค สุกี้, ก๋วยเตี๋ยวเรือท่าสยาม (เปิดในปี 2542) และ กาโตว์ เฮ้าส์ ร้านเบเกอรี่ที่เปิดที่สยามสแควร์ซอย 4 เป็นแห่งแรก ตั้งแต่ปี 2530 นอกจากนั้นยังมีธุรกิจอาหารประเภทใหม่ อย่างเช่นร้านตำนัว, ไอดิน กลิ่น ครก, เดอะ ครก และกระต๊าก

แบรนด์ดังๆ อย่าง เอ็มเค สุกี้ เคเอฟซี พิซซ่าฮัท ดังกิ้นโดนัทจะเช่าพื้นที่บริเวณอาคารซึ่งติดกับถนนพระราม 1 ด้วยพื้นที่เช่า 2-3 ชั้น โดยดังกิ้น โดนัท บริเวณด้านหน้าซอย 4 ถือเป็นสาขาแรกในประเทศไทย และยังมีร้านโอ บอง แปง เกิดขึ้นในอาคารเดียวกัน ดังกิ้นโดนัทสาขาสยามสแควร์ยังคงเป็นสถานที่นัดพบ ติวหนังสือของเด็กนักเรียนย่านนี้ด้วย ส่วนร้านอาหารที่หาทานยากจะพบได้ที่สยามสแควร์ที่เดียวอย่างเช่น เอแอนด์ดับบลิว ตั้งอยู่ตรงข้ามกับน้ำพุเซ็นเตอร์ พ้อยท์ และจุฑารส ซอย 1 ซึ่งมีลูกชิ้นรสเด็ดและผัดไทยกุ้งสดเป็นเมนูขึ้นชื่อ เปิดบริการมากว่า 38 ปี และรสดีเด็ด ที่เปิดมาร่วม 30 ปี เป็นต้น ส่วนทางด้านธุรกิจร้านอาหารกลางคืน อย่าง ฮาร์ดร็อกคาเฟ่ ซอย 11 และ กินดื่ม ทูซิท ซอย 3 ที่เป็นร้านอาหารกึ่งผับ เป็นต้น

siam (44) siam (48) siam (49) siam (50) siam (51) siam (41) siam (42) siam (43)

สยามสแควร์ถือเป็นสถานที่ที่มีร้านตัดผมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ บาร์เบอร์ หรือร้านตัดผมชาย, สถาบันออกแบบทรงผม และ ซาลอน สำหรับบาร์เบอร์ ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ 4 ร้าน ซึ่งเปิดมานานแล้วหลายร้านอย่างร้าน “สกาลาบาร์เบอร์” เป็นร้านตัดผมชายร้านแรกๆ ของสยาม เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดยมีกลุ่มเป้าหมายต่างจากเพชรสยามเพชรสยามบาร์เบอร์ ด้วยความที่ไม่ตามแฟชั่น โดยมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็น ”นายทหารและตำรวจชั้นผู้ใหญ่” ในสมัยนั้น ส่วนร้านตัดผมชายอื่นๆ เช่น แววสยามบาร์เบอร์และเพชรสยามบาร์เบอร์ ที่มีกลุ่มลูกค้าจากลูกค้าประจำ

สำหรับร้านซาลอน หรือร้านทำผมสมัยใหม่ที่มีจำนวนมากที่สุดในสยาม แต่ก็มีการเปิด-ปิด เปลี่ยนกันไปเช่นเดียวกันกับร้านค้าประเภทอื่นๆ ของสยามสแควร์ เพราะกระแสแฟชั่นที่คาดเดาไม่ได้ของวัยรุ่น ในปัจจุบันรูปแบบร้านทำผมที่ได้รับความนิยมคือร้านทำผมที่ทำผมสไตล์เกาหลี-ญี่ปุ่น อย่างเช่น ร้าน Chic Club, Q Cut, Art Hair เป็นต้น

ธุรกิจแฟชั่นเกี่ยวกับเสื้อผ้าในสยามสแควร์มีมานานแล้วและบางร้านก็ยังคงอยู่ อย่างเช่นร้านคิคูย่า ผู้ประกอบการที่ขายผ้าเมตร ในขณะเดียวกันสยามสแควร์ถือเป็นศูนย์รวมแฟชั่นอันหลากหลาย เสื้อผ้าตามกระแสแฟชั่นของวัยรุ่นมากมาย เสื้อผ้าที่ได้รับความนิยมเป็นแฟชั่นจากนักออกแบบรุ่นใหม่ และ ผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อย โดยมีมากในบริเวณใต้โรงภาพยนตร์ลิโด และ บนชั้น 2 ของโรงภาพยนตร์,โซนบายพาสใกล้กับศูนย์หนังสือจุฬา มีร้านแฮปปี้ เบอร์รี่ ซึ่งเป็นร้านเสื้อผ้าวัยรุ่นที่ได้รับการโปรโมตผ่านสื่อมากที่สุด ,ร้าน Dopespot ร้านขายเสื้อผ้าและ สินค้าแนวสตรีทแวร์ ของวงไทยเทเนี่ยม วงที่มีเสื้อผ้าเป็นของตัวเองภายใต้ชือแบรนด์ 9 Faces ,Thirteen Crowns และ Never Say

siam (52) siam (53) siam (54) siam (55)

ส่วนสินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร หลายรายก็ปิดตัวไปอย่างร้านเพลย์ บอย แต่ก็ยังคงมีร้าน ลาคอสท์ นอติก้า เซอรูติ ที่ยังคงเปิดอยู่

ส่วนร้านค้าและอาคารประเภทอื่น ๆ ในสยามสแควร์เช่น ธนาคาร คลินิกต่างๆ ร้านหนังสือ ร้านขายของขวัญ การ์ด อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ร้านนาฬิกา ร้านแว่นตา ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านดอกไม้ ร้านอัดล้างรูป สำนักงาน และ ร้านนวดแผนไทย

และในปี พ.ศ. 2550 ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม กำกับโดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย สินจัย เปล่งพานิช, เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์, ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี, มาริโอ้ เมาเร่อ, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล, กัญญา รัตนเพชร์ และ อธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ เป็นภาพยนตร์ความรักในรูปแบบต่างๆ และเรื่องราวส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นที่นี่ โดยการถ่ายทำส่วนใหญ่อยู่ที่สยามสแควร์ เหตุที่ใช้ฉากหลังเป็นสยามสแควร์เพราะผู้เขียนบทที่ได้เริ่มเขียนบทตอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เกิดความประทับใจ จึงเป็นที่มาของบทภาพยนตร์เรื่องนี้

นอกจากนี้สยามสแควร์ยังเป็นสถานที่ที่ถ่ายมิวสิกวิดีโออยู่หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น มิวสิกวิดีโอเพลง “Gossip” ของวงเกิร์ลลี่ เบอร์รี่, เพลง “SAY Hi” ของ ฟิล์ม รัฐภูมิ, “กันและกัน” ของคิว วงฟลัวร์ และเพลง “ลำพัง” ของวงเบิร์น เป็นต้น

สำหรับวันนี้ดูเอเซียได้พาเพื่อนๆมาอัฟเดทความเป็นมาเป็นไปของสยามสแควร์หลังจากเกิดเรื่องราวต่างๆมากมายมาให้เพื่อนๆได้เห็นกัน ทุกอย่างถือว่ากลับเข้าสู่สภาวะปกติ ยังไงก็อย่าลืมแวะเวียนกันมาใช้จ่ายช๊อปปิ้งกันที่สยามสแควร์เพื่อให้การค้าขายธุรกิจต่างๆกลับมาครึกคริ้นอีกครั้ง..

ขอบคุณข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เชิญแสดงความคิดเห็น