หมู่บ้านเกาะปันหยี จ.พังงา

0

หมู่บ้านไร้แผ่นดิน หมู่บ้านเกาะปันหยี จ.พังงา

ปัจจุบันหมู่บ้านชาวประมงหรือหมู่บ้านชาวเล ในประเทศไทย หลงเหลืออยุ่น้อยเต็มที่ และหาได้ยากแล้วในปัจจุบัน หนึ่งในแหล่งที่ยังหลงเหลืออยู่ และยังเป็นหมู่บ้านชาวเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งคนพังงาเรียกกันว่า “หมู่บ้านเกาะปันหยี” เป็นแหล่งรวบรวมวัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวเลอย่างแท้จริง วันนี้ดูเอเซียดอทคอมมีโอกาสได้มาเที่ยว อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เลยแวะมาสัมผัสบรรยากาศ วิถีชีวิตที่แตกต่างจากคนเมืองอย่างสิ้นเชิง มาดูกันว่าที่ “เกาะปันหยี” แห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง จะสวยงามและมีอะไรที่น่าประทับใจบ้าง เราจะเก็บภาพบรรยากาศไปฝากเพื่อน ๆ กันครับ

หมู่บ้านเกาะปันหยี จ.พังงา ตั้งอยู่กลางทะเล ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางประมาณ 20-30 นาที มีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 4,022 คน มีนักท่องเที่ยวหมุนเวียนปีละ 1 ล้านคน ในหนึ่งปีสามารถส่งผู้ป่วยจากเกาะปันหยีเข้ามารักษาในเมืองได้เพียง 4 เดือน คือ ช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. ส่วนอีก 8 เดือนที่เหลือเป็นช่วงพายุและมรสุม ทำให้ไม่สามารถเดินทางด้วยเรือได้เกาะปันหยี เป็นหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งก่อสร้างบนพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึงบ้านถูกสร้างยกระดับให้พ้นการขึ้น- ลง ของน้ำทะเล บริเวณหมู่บ้านอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติ ชาวปันหยีเป็นชุมชนชาวประมงดั้งเดิมประกอบอาชีพประมงน้ำตื้น โดยการทำประมงอวนลอย โป๊ะ เลี้ยงหอยแครง เลี้ยงปลากระชัง ปัจจุบันเกาะปันหยีเป็นชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยว

โดยได้ทำการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยเดิมบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว ชุมชนกลางทะเลของชาวมุสลิมตั้งแต่อดีต ประมาณ 200 ปีมาแล้ว บ้านทั้งหมดอยู่ในน้ำ มีมัสยิดและโรงเรียน ชาวบ้านมีอาชีพขายของที่ระลึก ร้านอาหาร และเลี้ยงปลาในกระชัง เกาะปันหยี เป็นเกาะเล็กปัจจุบันเกาะปันหยีเป็นชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยวโดยได้ทำการปรับปรุง บ้านอยู่อาศัยเดิมบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของ ที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว

ประวัติความเป็นมา

คำว่า “ปันหยี” แปลว่า “ธง” มาจากภาษาอินโดนีเซีย ในอดีตมีครอบครัวชาวชวา หรือชาวอินโดนีเซีย 3 ครอบครัว หนึ่งในนั้น มี “โต๊ะนาบู” เป็นผู้นำการอพยพออกมาหาที่ทำกินใหม่ ตกลงกันว่าหากใครพบที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ ให้ปักธงไว้ ชุมชนเกาะปันหยีเป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตภายใต้บริบทวัฒนธรรมอิสลามและอาชีพประมง อาศัยร่วมกันในพื้นที่ ที่มีข้อจำกัดด้านนิเวศน์ และโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนทศวรรษที่ 2520 ชาวชุมชนมีระบบการผลิตที่ผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับการดำรงชีวิต ที่พึ่งพาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ มีเป้าหมายการผลิตเพื่ออยู่เพื่อกิน มีระบบความเชื่อ ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ เชิงเครือญาติ อันแน่นแฟ้น ต่อมา เมื่อมีการประกาศให้อ่าวพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยมีทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่ง “ล่อใจ” ภายใต้การจัดการ ของภาครัฐและภาคธุรกิจ ส่งผลให้เกาะปันหยี และบริเวณใกล้เคียง “ถูกเที่ยว”อย่างหนักและต่อเนื่อง มาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2520 ก่อให้เกิดภาวะ ตลาดซื้อขายขึ้น แทนที่ตลาดน้ำใจ พื้นที่ทำกินของชุมชน ถูกเบียดแทรก ให้จำกัดและแคบลง เกิดการละเมิดสิทธิชุมชน โดยอำนาจอิทธิพลที่เหนือกว่า เกิดภาวะแย่งชิงทรัพยากร ระหว่างคนนอกกับคนใน

ระหว่างรัฐกับชุมชน รูปแบบการผลิตปรับเปลี่ยนไป เน้นเป้าหมาย เพื่อตอบสนองการบริโภค ที่ไร้ขีดจำกัด ผู้คนถูกดึงออก จากความสัมพันธ์ ระหว่างเครือญาติหันไปสร้างความสัมพันธ์ เชิงผลประโยชน์มากขึ้น ขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติ ลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ชาวชุมชนเกาะปันหยี พยายามดิ้นรนเพื่อหาทางออกให้ตัวเอง ส่วนใหญ่พบว่า ในสถานการณ์ดังกล่าว การยอมจำนน และเชื่อมประสาน เข้ากับอำนาจภายนอก และระบบตลาด ส่งผลให้สามารถ แก้ปัญหาเ©พาะหน้า และเ©พาะตนได้ ขณะที่บางส่วนยังยืนหยัด ที่จะไม่ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของตน เพื่อการปรับตัวแต่กระนั้นก็ตาม กระบวนการ สุดท้าย ของการผลิต ยังคงผูกพันอยู่กับ การตอบสนองผู้บริโภค ที่เป็นคนนอก และระบบธุรกิจท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน

ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ของระบบเศรษฐกิจ และแบบแผนการดำเนินชีวิตพบว่า ได้ส่งผล ให้เกิดภาวะความสูญเสีย และอ่อนแอของชุมชน หลายด้านคือ การสูญเสียความเป็นปึกแผ่น และความเข้มแข็ง การไหลออกของทรัพยากรมนุษย์ การถูกดูดซับทรัพยากร และการสูญเสียอำนาจ ในการจัดการทรัพยากร ก่อให้เกิดภาวะ

การแตกกระจาย ของชุมชนอย่างชัดเจน ในสถานการณ์การแข่งขันที่มี่มากขึ้น ชาวชุมชนเกาะปันหยี มีประสบการณ์ ถึงความผันผวน ของระบบเศรษฐกิจที่ควบคุมได้ และความไม่แน่นอน ของรายได้ที่ต้องพึ่งพาธุรกิจที่ควบคุมไม่ได้ และความไม่แน่นอน ของรายได้ที่ต้องพึ่งพาธุรกิจทุน และกลไกตลาดภายนอกจึงเริ่มตระหนัก ในสภาพการสูญเสียอำนาจ และความเข้มแข็ง เกิดกระบวนการผลิตซ้ำ เพื่อเสริมสร้างอำนาจชุมชน และเรียกร้องความเป็นตัวตน

กลับคืนมาขึ้นหลายรูปแบบ เช่น การส่งเสริม ให้ยึดหลักปฏิบัติทางศาสนา การสร้างเอกลักษณ์ เชิงชาติพันธุ์ การต่อต้านกระแสวัฒนธรรมใหม่ และการสร้างกฎเกณฑ์ กติกาสังคม ทัศนะต่อปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาของชุมชนคือ การให้ความสำคัญ ต่อปัจจัยการใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ที่พึ่งพาทะเล เพื่อแก้ปัญหา การทิ้งถิ่น และทบทวน การรับการช่วยเหลือ จากภาครัฐ การคืนเวที การดำรงชีวิต ให้อยู่ในบทบาทของชุมชน มากกว่าการที่รัฐ จะใช้อาณัติของรัฐเกินจำเป็น

โดยรวมแล้วผมประทับใจในการใช้ชีวิตของคนที่นี้ ซึ่งเรียบง่ายและอยู่รวมกับธรรมชาติมาตั้งแต่เกิด และอีกสิ่งหนึ่งที่ประทับใจยิ่งกว่าเลย ถึงพวกเค้าจะทำอาชีพประมงเป็นหลัก แต่พวกเค้าก็ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมากโดยเปิด โรงเรียนเกาะปันหยี เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดสอน 3 ระดับ คือก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา โดยเค้าเน้นให้ลูกหลานหรือนักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติสามารถใช้ศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกับเกาะปันหยี นอกจากนี้ ที่เกาะปันหยีแห่งนี้ ยังให้ความสำคัญกับกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างมาก มีการสร้างสนามฟุตบอลลอยน้ำขึ้นมา ซึ่งเป็นที่เดียวในประเทศไทย ที่หมู่บ้านกลางทะเลมีสนามฟุตบอล หากเพื่อน ๆ ดูเอเซียดอทคอมมีโอกาสมาท่องเที่ยวที่จังหวัดพังงา ลองแวะมาสัมผัสบรรยากาศของหมู่บ้านเกาะปันหยีกันสักครั้ง ที่นี้มีบริการห้องพัก ร้านอาหาร สินค้าของที่ระลึกต่าง ๆ ก็มีขายครับ เรียกได้ว่า ตลาดนัดบนทะเลเลยก็ว่าได้ แล้วมาติตามกันต่อไปครับว่า ดูเอเซียดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไป กิน เที่ยว ที่ไหนกันต่ออย่าลืมน่ะครับ 

การเดินทาง

อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 4 จะมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร  จะถึงท่าเรือท่าด่านศุลกากรสามารถเช่าเรือจากบริเวณท่าเรือได้ หรือเดินทางโดยรถสองแถวมีรถออกจากตัวเมืองไปท่าเรือท่าด่านศุลกากรทุกวัน

เชิญแสดงความคิดเห็น