ขึ้นดอยชมวิถีชีวิต เผ่าตองเหลือง (มลาบรี) จังหวัดน่าน

0

ดูเอเซียพาเที่ยว ที่จังหวัดน่าน เพื่อไปชมวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อย ชนเผ่าตองเหลือง หรือที่เรียกกันอย่างสุภาพว่าชุมชนเผ่ามลาบรี

เราเดินทางสู่จังหวัดน่านกันด้วยรถบัส แต่การเข้าไปเยี่ยมชมชุมชนเผ่าตองเหลืองนั้นเราต้องมาเปลี่ยนพาหนะเสียหน่อย จุดเปลี่ยนรถอยู่ที่บ้านปางเป๋ย เปลี่ยนจากรถบัสมาเป็นรถท้องถิ่นที่มีหน้าตาคล้ายๆ กับรถ 2 แถวแต่มี 3 แถวซึ่งเจ้าคันนี้แหละที่จะพาเรา ให้ขึ้นดอยไปชมวิถีชีวิตของชุมชนมลาบรี หรือผีตองเหลืองกันมลาบรี อาศัยอยู่ในเขตของสองจังหวัดคือ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในอำเภอเวียงสาและอำเภอ สันติสุข จังหวัดน่าน ประชากรรวม 125 คน (ทำเนียบชุมชนฯ 2540, น.57) มลาบรี หรือ ผีตอง เหลือง ข่าตองเหลือง ม้ากู่( ภาษาม้ง) ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า คนป่า หรือ มลาบรี ไม่ชอบถูกเรียกว่า ผีตองเหลือง แต่ที่ผู้คนในที่ ราบคุ้นเคยกับคำว่า ผีตองเหลือง อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วย ใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียวเป็น สีเหลือง ไปแล้ว มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม เป็นกลุ่มชนเร่ร่อนไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ใน เขตจังหวัด สายะบุรี ประเทศลาว ต่อมาเริ่มอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น แถบภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แถบภูกระดึง จังหวัดเลย และตามดอยสูงในป่าทางภาคเหนือ ของประเทศไทย ปัจจุบัน มลาบรีอาศัย อยู่กระจัดกระจาย ตามหมู่บ้านต่างๆในเขตจังหวัดแพร่และน่าน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากจังหวัดสายะบุรีของลาว เข้าสู่ประเทศ ไทยเมื่อราวศตวรรษ ที่แล้ว (สุรินทร์ 2531, น.32)การตั้งถิ่นฐานของมลาบรี ปกติพวกนี้จะอพยพตามลักษณะภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะอาศัยอยู่ในแต่ละพื้น ที่เป็นเวลา 5-10 วัน แล้วย้ายไปที่อื่นที่มีอาหารเพียงพอรูปแบบ ในการอพยพในลักษณะวนกลับมาที่เดิมในรัศมี ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร ในแต่ละปีเมื่อถึงฤดูกาลที่ต้องเร่ร่อนเข้าป่าเพื่อตีผึ้ง ต้องอพยพไปทั้งหมู่บ้าน มลาบรี เป็นกลุ่มสังคมล่าสัตว์ (Hunting and Gathering Society) พวกเขาจะสร้างที่พักชั่วคราว มีลักษณะ เป็นเพิง สร้างจากไม้ไผ่ ขนาดของเพิงจะขึ้นอยู่กับจำนวน สมาชิก แต่ละครอบครัว โดย จะสร้างส่วนท้ายบ้าน เป็นส่วนที่สูง หน้าบ้านจะลาดต่ำเวลานอนมลาบรีจะนอนท่าตะแคงเอาหูแนบพื้น สันนิษฐานว่าใช้ประโยชน์ในการฟังเสียงของสัตว์ และคนเดินหรือ ศัตรู ูที่จะเข้ามาในบริเวณที่พัก (สุรินทร์ 2531, น.34) จำนวนสมาชิกที่จะอาศัยอยู่ในบริเวณหนึ่ง ๆ จะมีจำนวน 2-3 ครอบครัวต่อหนึ่งพื้นที่ หรือประมาณ 10-15 คน ชาวมลาบรียึดมั่นในประเพณีของตนโดยจะไม่ยอมรับแบบแผนในการเป็นผู้ผลิตทำการเกษตร เพราะเชื่อว่าผิดผีความเป็นอยู่ ชนเผ่านี้ เดิมอยู่ในป่าที่มีภูมิประเทศลักษณะเป็นลำห้วย หรือภูเขาที่มีป่าทึบ(ดงดิบ)  เพื่อจะหาอาหารง่าย เพราะในป่าจะมีล้ำต้นเผือกหรือมันตามธรรมชาติ อีกอย่างชนเผ่านี้ อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ ลำห้วย เพื่อไปเอาน้ำสะดวก และมีการใช้ไม้หรือกิ่งไม้ที่หาได้ง่ายมาทำเป็นเพลิงหมาแหงนมีใบตองกล้วยมุงเป็นหลังคา เมื่อยู่ถึง 4 วัน หรือ 7 วันใบตองกล้วยกลายเป็นสีเหลือง เขาก็ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นแต่ไปไม่ไกล อาจเป็นเหนือลำห้วยหรือใต้ลำห้วย หรืออาจเป็นเขาอีกลำห้วยหนึ่ง แล้วแต่การหาอาหารที่จะสะดวก เมื่อเวลาชนเผ่าพบหรือเจอกัน ให้ดูสัญลักษณ์ที่ใบหู คือมีใบหูเจาะรูไว้หรือไม่ ถ้าเจาะไว้ถือว่าเป็นพวกเดียวกัน จากนั้นค่อยทักทายกันโดยปกติชนเผ่านี้ไม่ชอบสวมใส่เสื้อผ้า อยู่อย่างสมถะ ความพออยู่พอกิน (เป็นชนเผ่าที่รักเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด) มีภูมิปัญญาที่จะดำรงอยู่ในป่า คือ การจุดไฟด้วยฝ้ายแห้งและหินจำนวน 2 ก้อน มากระทบกันเกิดประจุไฟ แล้วกองฟืนแห้งกลายเป็นไฟก่อ สามารถเผาเผือก มัน ให้สุกได้ภาษาและวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่าตองเหลือง มีภาษาของตัวเอง มีวัฒนธรรมและประเพณี เช่นเวลาแต่งงาน (สมรส) ถ้าชายและหญิงพอใจกัน ก็จะไปบอกพ่อแม่ฝ่ายหญิง พ่อแม่ฝ่ายหญิงถามว่า รักกันจริงหรือชายหญิงก็ตอบว่า รักกันจริง จากนั้นก็ไปอยู่ด้วยกันเลยไม่ต้องกินเลี้ยงฉลองแต่งแต่อย่างใด โดยจะอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงก่อน เดือนหรือ 2 เดือน หรือเป็นปี จากนั้นก็ให้แยกออกไปหากินอิสระได้ ชายหญิงช่วยกันหากิน ส่วนอายุของชายหญิง แต่งงานได้แล้วหรือไม่นั้น ให้ดูที่ขีดความสามารถในการหาอาหารแต่ละคน เวลาใครเสียชีวิตเมื่อรู้แน่ว่าตายแล้ว ก็ให้นำศพไปไว้ในโพรงไม้ แล้วนำก้อนหินไปปิดไว้ ไม่ต้องมาทำพิธี ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจเอาศพเก็บไว้ข้ามคืน ปัจจุบันชนเผ่าตองเหลือง เริ่มเข้ามารวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านห้วยหยวก หมู่ 6ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มี ประชากรทั้งหมด 30 ครอบครัว มีจำนวน 159 คน ย้ายมาตั้งอยู่เมื่อปี พ.ศ. 2540 มีนายศรี หิรัญคีรี เป็นหัวหน้า มีนายแก้ว นายป๋า และนายทอง เป็นกรรมการ สำหรับนายทองและนายป๋า พูดคำเมืองเก่งมาก ทั้งหมดนี้ทางราชการได้ให้สัญชาติไทยแล้ว จึงสามารถเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (สมาชิกสภา) ได้เช่นเดียวกับเรา

การศึกษา ปัจจุบันชนเผ่าตองเหลืองเรียนหนังสือในเวียง จังหวัดน่าน แต่ไม่ค่อยอยู่กับเพื่อนได้เนื่องจากความมีปมด้อยของชนเผ่า คือ มีคนเรียกเขาว่า ผีตองเหลือง เขาจึงรับไม่ได้ อย่างไรก็ตามมีเด็กตองเหลืองเรียนจนถึง ม.๓ ก็มีแล้ว แต่ทว่าสังเกตดู เวลาเราขอถ่ายรูปกับเผ่าตองเหลือง และมอบเงินทองให้เขา เขาจะบอกว่าไม่เอาไม่รับ หากต้องการก็ให้ไปมอบที่หัวหน้าเผ่า แสดงว่าในจิตใจของเขายังไม่เกิดความโลภ เป็นจิตใจที่บริสุทธิ์ไม่เหมือนบางชนเผ่าหรือบางหมู่บ้าน ที่เวลานักท่องเที่ยวขอถ่ายรูปก็จะขอเงินด้วย

ศาสนา เดิมชนเผ่าตองเหลือง ไม่มีศาสนาเหตุผลคือ อ้างว่าการนับถือศาสนาคือการเสียเวลา

ผู้ใดที่สนใจศึกษาวิถีชีวิต หรืออยากรู้จักชนเผ่ามลาบรีหรือชนเผ่าตองเหลืองก็สามารถมาชมกันได้ ที่บ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านครับ

ขอบคุณภาพ www.tpso10.org

เชิญแสดงความคิดเห็น